Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) นายธวัชชัย กก.เศรษฐศาสตร์ กสทช. ชี้ แก้ร่างประกาศ 5 ข้อ (ที่น่าสนใจ..ให้บริการโครงข่าย (MUX operator) แยกออกจากผู้ให้บริการช่อง (ชาแนลโพรไวเดอร์) (ห้าม MUX เป็นเจ้าของช่อง) เว้นแต่ในกรณีกิจการสาธารณะ)


ประเด็นหลัก


คณะอนุกรรมการส่งเสริมการแข่งขันฯ ร่วมกันพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศดังกล่าว 5 ประเด็น ได้แก่


1.เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานในการวางหลักประกันการประมูล และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายใหม่และรายย่อยที่เชื่อถือได้มีโอกาสเข้าร่วมการประมูลโดยไม่ติดขัดในการต้องเร่งหาเงินสดหรือออกเช็คมาวางเป็นหลักประกัน คณะอนุกรรมการส่งเสริมการแข่งขันฯ เสนอให้เพิ่มเติมการใช้หนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (แบงก์การันตี) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการวางหลักประกัน ซึ่งก็ใช้กันได้ในกรณีของการประมูล 3จี ที่ผ่านมา

2. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดหรือเลือกปฏิบัติในภายหลัง หลายประเทศเลือกใช้วิธีการกำหนดให้ผู้ให้บริการโครงข่าย (MUX operator) แยกออกจากผู้ให้บริการช่อง (ชาแนลโพรไวเดอร์) (ห้าม MUX เป็นเจ้าของช่อง) เว้นแต่ในกรณีกิจการสาธารณะ ในกรณีประเทศไทยเนื่องจากผู้ให้บริการโทรทัศน์รายเดิมเป็นเจ้าของโครงข่ายและเป็นผู้ให้บริการช่องรายการ และมีแนวโน้มที่จะขอให้บริการในทั้งสองลักษณะต่อไปใน โทรทัศน์ระบบดิจิตอล จึงมีข้อกำหนดในลักษณะดังกล่าวได้ยาก

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการที่ผู้ให้บริการโครงข่ายและผู้ให้บริการโทรทัศน์ (ช่องรายการ) เป็นรายเดียวกันสามารถส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน เมื่อเปรียบเทียบกับรายอื่น ซึ่งเป็นประเด็นที่อาจนำไปสู่การผูกขาด หรือลด หรือจำกัดการแข่งขันได้ในภายหลัง คณะอนุกรรมการฯ จึงขอพิจารณาในประเด็นดังกล่าวอย่างรอบคอบ โดยขอเป็นผู้ยกร่างหลักเกณฑ์การเลือกใช้โครงข่ายโทรทัศน์ของผู้ให้บริการช่องรายการ เพื่อเป็นเงื่อนไขเพิ่มเติม โดยจะเร่งเสนอต่อ กสทช. โดยเร็วก่อนมีการประมูล

3.การประมูลของที่มีลักษณะทดแทนกันได้ โดยกำหนดให้มีการเรียงลำดับการประมูลแยกตามหมวดหมู่ประเภทช่องรายการนั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการจัดลำดับการประมูล โดยคณะอนุกรรมการฯเห็นว่า ลำดับที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการประมูลนั้น ควรเรียงโดยอาศัยข้อมูลความต้องการของผู้เข้าร่วมประมูล หรือเรียงลำดับตามมูลค่า หรือราคาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการประมูล ในที่นี้เมื่อไม่มีข้อมูลการประมาณการที่ชัดเจน จึงเสนอให้นำราคาขั้นต่ำในแต่ละหมวดหมู่มาเป็นเกณฑ์ในการจัดลำดับ เนื่องจากราคาขั้นต่ำในแต่ละหมวดหมู่กำหนดขึ้นจากการประเมินมูลค่าและความต้องการของผู้เข้าร่วมประมูล และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดสรรเห็นควรให้เรียงลำดับการประมูลจากราคาที่สูงสุดไปหาต่ำสุดคือเริ่มจาก วาไรตี้ HD วาไรตี้ SD ข่าวสารสาระ แล้วจบลงที่หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว

4.โดยทั่วไปการประมูลที่เน้นประสิทธิภาพในการแข่งขันจะไม่กำหนดระยะเวลาตายตัวว่าควรจบลงภายในระยะเวลาเท่าใด แต่จะกำหนดให้หยุดลงเมื่อไม่มีการเสนอราคาเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้นเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น คณะอนุกรรมการฯเสนอให้ เพิ่มเติมเงื่อนไขการสิ้นสุดการประมูลเมื่อไม่มีการเสนอราคาเพิ่มภายในห้านาทีนับแต่การเสนอเพิ่มราคาครั้งก่อนหน้า โดยการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้ได้ราคาประมูลที่มีประสิทธิภาพโดยเปิดให้มีการตัดสินใจอย่างเพียงพอในการประมูลรอบสุดท้าย และป้องกันการใช้ยุทธวิธีจู่โจมการประมูลโดยแย่งชิงความได้เปรียบในช่วงเวลาสุดท้ายของการประมูล

5.เพื่อให้ผู้ให้บริการสามารถมีการประมาณการรายรับรายจ่ายและบริหารเงินสดได้ง่ายขึ้น และมีเงินทุนเพียงพอในการให้บริการตามเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนด คณะอนุกรรมการฯเสนอให้พิจารณาปรับเปลี่ยนระยะเวลาการชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในส่วนที่เกินกว่าราคาขั้นต่ำ โดยให้ดำเนินการได้ภายหลังจากผ่านพ้นระยะเวลา 3 ปี นับแต่ที่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งจะเป็นการยืดระยะเวลาการชำระเงินให้สอดคล้องกับรายรับของทีวีดิจิตอลที่ต้องใช้เวลานาน


กรรมการ กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวต่อว่า คณะอนุกรรมการฯจะเสนอความเห็นต่อ การประชุม กสท. ในวันที่ 20 พ.ค. 2556 หาก กสท.มีมติรับข้อเสนอในส่วนที่ขอปรับปรุงแก้ไข จะต้องนำร่างประกาศนี้เข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กสทช. เพื่อขอความเห็นและขอความเห็นชอบให้จัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามขั้นตอนต่อไป และเชื่อว่าหลักเกณฑ์นี้ยังมีโอกาสแก้ไขในรายละเอียดได้อีกหากผู้มีส่วนได้เสียมีความเห็นที่มีน้ำหนักเพียงพอว่าจะส่งผลกระทบต่อความไม่เป็นธรรมในแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง โดยเฉพาะด้านการแข่งขัน ดังนั้นจึงขอให้ร่วมกันพิจารณารายละเอียดของร่างหลักเกณฑ์นี้อย่างรอบคอบเมื่อบอร์ดมีมติให้เผยแพร่ได้ และขอให้เตรียมการเสนอความเห็นในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะด้วย

ต่อข้อถามถึงการปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศดังกล่าวว่ามีการตกลงกันในบอร์ดกสท. ก่อนนำเสนอต่อสาธารณะหรือไม่ นายธวัชชัย กล่าวว่า มีการเสนอในการประชุมบอร์ด กสท. โดยการปรับปรุงแก้ไขครั้งนี้ คาดหวังให้เกิดการกระตุ้นให้ประชาพิจารณ์ หรือ เปลี่ยนแปลง และต้องการให้มีความยุติธรรมเกิดขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำลง ซึ่งการจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการลงคะแนนเสียงของบอร์ด กสท. หากไม่ได้รับการตอบสนองจะส่งผลให้เกิดการแข่งขันน้อย เพราะหลายคนคาดหวังว่าจะเกิดการลดการมีอำนาจ เกิดการกระจายตัว





______________________________________







'ธวัชชัย'เห็นต่างบอร์ดกสท. แนะปรับ5ข้อ ร่างฯประมูลทีวีดิจิตอล
หน้าหลัก » วิทยาการ-ไอที » IT Update




'ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์' กก.เศรษฐศาสตร์ เห็นต่างบอร์ด กสท.ปรับแก้ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การประมูลโทรทัศน์ดิจิตอล 5 ข้อ ชี้หากไม่ปรับแก้กระบวนการจะส่งให้การประมูลเกิดปัญหาระยะยาวกระทบผู้ประกอบการและผู้บริโภค...

เมื่อวันที่ 16 พ.ค. นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้าน ด้านเศรษฐศาสตร์ และกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า หลังจากคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท. เห็นชอบ(ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ….(หลักเกณฑ์การประมูลโทรทัศน์ดิจิตอล) เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา เป็นร่างหลักเกณฑ์ที่นำเสนอโดยผ่านความเห็นจากคณะอนุกรรมการจัดทำแผนปรับเปลี่ยนระบบการรับส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล (อนุฯ DSO) โดยที่คณะอนุกรรมการชุดนี้มีผู้ประกอบการโทรทัศน์ช่องหลักหลายช่องร่วมอยู่ในคณะ และผู้ประกอบการดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้ร่วมในการประมูลโทรทัศน์ดิจิตอลในครั้งนี้ด้วย จึงทำให้หลักเกณฑ์ที่ออกมานั้นมีประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ชอบธรรมทั้งในขั้นตอนการดำเนินการ และอาจมีข้อกำหนดที่ขัดต่อหลักการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม โดยวานนี้ (15 พ.ค.) คณะอนุกรรมการส่งเสริมการแข่งขันฯ ร่วมกันพิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศดังกล่าว 5 ประเด็น ได้แก่


1.เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานในการวางหลักประกันการประมูล และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายใหม่และรายย่อยที่เชื่อถือได้มีโอกาสเข้าร่วมการประมูลโดยไม่ติดขัดในการต้องเร่งหาเงินสดหรือออกเช็คมาวางเป็นหลักประกัน คณะอนุกรรมการส่งเสริมการแข่งขันฯ เสนอให้เพิ่มเติมการใช้หนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (แบงก์การันตี) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการวางหลักประกัน ซึ่งก็ใช้กันได้ในกรณีของการประมูล 3จี ที่ผ่านมา

2. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดหรือเลือกปฏิบัติในภายหลัง หลายประเทศเลือกใช้วิธีการกำหนดให้ผู้ให้บริการโครงข่าย (MUX operator) แยกออกจากผู้ให้บริการช่อง (ชาแนลโพรไวเดอร์) (ห้าม MUX เป็นเจ้าของช่อง) เว้นแต่ในกรณีกิจการสาธารณะ ในกรณีประเทศไทยเนื่องจากผู้ให้บริการโทรทัศน์รายเดิมเป็นเจ้าของโครงข่ายและเป็นผู้ให้บริการช่องรายการ และมีแนวโน้มที่จะขอให้บริการในทั้งสองลักษณะต่อไปใน โทรทัศน์ระบบดิจิตอล จึงมีข้อกำหนดในลักษณะดังกล่าวได้ยาก

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการที่ผู้ให้บริการโครงข่ายและผู้ให้บริการโทรทัศน์ (ช่องรายการ) เป็นรายเดียวกันสามารถส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน เมื่อเปรียบเทียบกับรายอื่น ซึ่งเป็นประเด็นที่อาจนำไปสู่การผูกขาด หรือลด หรือจำกัดการแข่งขันได้ในภายหลัง คณะอนุกรรมการฯ จึงขอพิจารณาในประเด็นดังกล่าวอย่างรอบคอบ โดยขอเป็นผู้ยกร่างหลักเกณฑ์การเลือกใช้โครงข่ายโทรทัศน์ของผู้ให้บริการช่องรายการ เพื่อเป็นเงื่อนไขเพิ่มเติม โดยจะเร่งเสนอต่อ กสทช. โดยเร็วก่อนมีการประมูล

3.การประมูลของที่มีลักษณะทดแทนกันได้ โดยกำหนดให้มีการเรียงลำดับการประมูลแยกตามหมวดหมู่ประเภทช่องรายการนั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการจัดลำดับการประมูล โดยคณะอนุกรรมการฯเห็นว่า ลำดับที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการประมูลนั้น ควรเรียงโดยอาศัยข้อมูลความต้องการของผู้เข้าร่วมประมูล หรือเรียงลำดับตามมูลค่า หรือราคาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการประมูล ในที่นี้เมื่อไม่มีข้อมูลการประมาณการที่ชัดเจน จึงเสนอให้นำราคาขั้นต่ำในแต่ละหมวดหมู่มาเป็นเกณฑ์ในการจัดลำดับ เนื่องจากราคาขั้นต่ำในแต่ละหมวดหมู่กำหนดขึ้นจากการประเมินมูลค่าและความต้องการของผู้เข้าร่วมประมูล และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดสรรเห็นควรให้เรียงลำดับการประมูลจากราคาที่สูงสุดไปหาต่ำสุดคือเริ่มจาก วาไรตี้ HD วาไรตี้ SD ข่าวสารสาระ แล้วจบลงที่หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว

4.โดยทั่วไปการประมูลที่เน้นประสิทธิภาพในการแข่งขันจะไม่กำหนดระยะเวลาตายตัวว่าควรจบลงภายในระยะเวลาเท่าใด แต่จะกำหนดให้หยุดลงเมื่อไม่มีการเสนอราคาเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด ดังนั้นเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้น คณะอนุกรรมการฯเสนอให้ เพิ่มเติมเงื่อนไขการสิ้นสุดการประมูลเมื่อไม่มีการเสนอราคาเพิ่มภายในห้านาทีนับแต่การเสนอเพิ่มราคาครั้งก่อนหน้า โดยการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้ได้ราคาประมูลที่มีประสิทธิภาพโดยเปิดให้มีการตัดสินใจอย่างเพียงพอในการประมูลรอบสุดท้าย และป้องกันการใช้ยุทธวิธีจู่โจมการประมูลโดยแย่งชิงความได้เปรียบในช่วงเวลาสุดท้ายของการประมูล

5.เพื่อให้ผู้ให้บริการสามารถมีการประมาณการรายรับรายจ่ายและบริหารเงินสดได้ง่ายขึ้น และมีเงินทุนเพียงพอในการให้บริการตามเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนด คณะอนุกรรมการฯเสนอให้พิจารณาปรับเปลี่ยนระยะเวลาการชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในส่วนที่เกินกว่าราคาขั้นต่ำ โดยให้ดำเนินการได้ภายหลังจากผ่านพ้นระยะเวลา 3 ปี นับแต่ที่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งจะเป็นการยืดระยะเวลาการชำระเงินให้สอดคล้องกับรายรับของทีวีดิจิตอลที่ต้องใช้เวลานาน


กรรมการ กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวต่อว่า คณะอนุกรรมการฯจะเสนอความเห็นต่อ การประชุม กสท. ในวันที่ 20 พ.ค. 2556 หาก กสท.มีมติรับข้อเสนอในส่วนที่ขอปรับปรุงแก้ไข จะต้องนำร่างประกาศนี้เข้าสู่ที่ประชุมบอร์ด กสทช. เพื่อขอความเห็นและขอความเห็นชอบให้จัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามขั้นตอนต่อไป และเชื่อว่าหลักเกณฑ์นี้ยังมีโอกาสแก้ไขในรายละเอียดได้อีกหากผู้มีส่วนได้เสียมีความเห็นที่มีน้ำหนักเพียงพอว่าจะส่งผลกระทบต่อความไม่เป็นธรรมในแง่มุมใดแง่มุมหนึ่ง โดยเฉพาะด้านการแข่งขัน ดังนั้นจึงขอให้ร่วมกันพิจารณารายละเอียดของร่างหลักเกณฑ์นี้อย่างรอบคอบเมื่อบอร์ดมีมติให้เผยแพร่ได้ และขอให้เตรียมการเสนอความเห็นในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะด้วย

ต่อข้อถามถึงการปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศดังกล่าวว่ามีการตกลงกันในบอร์ดกสท. ก่อนนำเสนอต่อสาธารณะหรือไม่ นายธวัชชัย กล่าวว่า มีการเสนอในการประชุมบอร์ด กสท. โดยการปรับปรุงแก้ไขครั้งนี้ คาดหวังให้เกิดการกระตุ้นให้ประชาพิจารณ์ หรือ เปลี่ยนแปลง และต้องการให้มีความยุติธรรมเกิดขึ้น ลดความเหลื่อมล้ำลง ซึ่งการจะเปลี่ยนแปลงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการลงคะแนนเสียงของบอร์ด กสท. หากไม่ได้รับการตอบสนองจะส่งผลให้เกิดการแข่งขันน้อย เพราะหลายคนคาดหวังว่าจะเกิดการลดการมีอำนาจ เกิดการกระจายตัว

“การปรับปรุงแก้ไขทั้ง 5 ข้อนี้ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการประชาพิจารณ์ ส่วนการกำหนดให้มีการประมูลเสร็จสิ้นภายใน 60 นาที นั้น มีความอ่อนแอในการประมูล และหากไม่แก้ไขกระบวนการบางอย่างจะทำให้เกิดปัญหาตามมาทั้งการประมูล และหลังการประมูล ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ เช่น กระจุกตัวอยู่อย่างเดิม และผู้บริโภค เช่น เสียประโยชน์ระยะยาว ซึ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นมีผลต่อประชาชนตามมา” นายธวัชชัย กล่าว

กรรมการ กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวด้วยว่า จากการประเมินความสนใจของผู้ที่คาดว่าจะเข้าร่วมประมูลทั้ง 4 ประเภท พบว่า ช่องรายการทั่วไป (HD) จำนวน 7 ช่อง มีผู้สนใจ 7-9 ราย ช่องรายการทั่วไป (SD) จำนวน 7 ช่อง มีผู้สนใจ 20 กว่าราย ช่องรายการข่าว 7 ช่อง มีคนสนใจ 7-9 ช่อง และช่องรายการเด็กและเยาวชน มีจำนวน 3 ช่อง มีผู้สนใจ 10 กว่าราย.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/345172


_____________________________________________



“ธวัชชัย”ดันข้อเสนอเปิดทางรายเล็กประมูลทีวีดิจิทัล


“ธวัชชัย” กสท.ด้านเศรษฐศาสตร์ เดินหน้าดันข้อเสนอ 5 ข้อ ต่อที่ประชุม กสท.จันทร์หน้า หวังหนุนผู้ประกอบการรายเล็กเข้าสู่ตลาดทีวีดิจิทัล
วันนี้(16พ.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกสทช. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)ด้านเศรษฐศาสตร์ เปิดเผยว่า วันที่ 20 พ.ค.56 จะนำข้อเสนอให้มีการปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล ประเภทบริการธุรกิจระดับชาติ หรือ หลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิทัล จำนวน 24 ช่อง เข้าให้ที่ประชุมกสท.พิจารณา

โดยมี 5 ประเด็นได้แก่ 1.เสนอเพิ่มเติมให้มีหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ประกอบการรายใหม่และรายย่อยที่ไม่สามารถวางวงเงินค้ำประมูล 10 % ที่กำหนดให้เป็นเฉพาะเงินสด หรือเช็คเงินสด 2. เสนอให้เจ้าของผู้ให้บริการโครงข่ายและผู้ให้บริการช่องรายการ ที่เป็นเจ้าของเดียวกัน แยกออกจากกัน โดยขอให้ช่องรายการไปเช่าโครงข่ายรายอื่นที่ไม่ใช่ของตัวเอง เพื่อป้องกันการผูกขาด 3. ควรเรียงลำดับการประมูลช่องทีวีดิจิทัลจากราคาสูงสุดไปต่ำสุด ได้แก่ วาไรตี้(เอชดี) ราคาเริ่มต้น 1,500 ล้านบาท / ช่อง , วาไรตี้(เอสดี)ราคาเริ่มต้น 380 ล้านบาท / ช่อง , ข่าวสาร สาระ ราคาเริ่มต้น 220 ล้านบาท / ช่อง และช่องเด็ก เยาวชน ราคาเริ่มต้น 140 ล้านบาท / ช่อง

4.เสนอเงื่อนไขการสิ้นสุดการประมูล ที่หากไม่มีการเสนอราคาเพิ่มภายใน 5 นาทีนับตั้งแต่เสนอราคาครั้งก่อนหน้านี้ เพื่อป้องกันแย่งชิงความได้เปรียบช่วงเวลาสุดท้ายของการประมูล และ 5.เสนอให้ปรับเปลี่ยนระยะเวลาชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในส่วนของราคาประมูลขั้นต่ำ โดยให้ผู้ชนะการประมูลได้ประกอบกิจการผ่านไป 3 ปี  เพื่อให้สอดคล้องกับรายรับของทีวีดิจิทัลที่คาดว่าต้องใช้ระยะเวลานาน


http://www.dailynews.co.th/technology/204927


____________________________________________



กสทช.แนะแก้เกณฑ์ทีวีดิจิตอล5ข้อหวั่นครหา
16 พฤษภาคม 2556 เวลา 12:21 น. |เปิดอ่าน 1,178 | ความคิดเห็น 0

2

7

More Sharing Services
ทั้งหมด +


กสทช.เสนอให้ กสท. แก้ไขร่างประกาศเงื่อนไขประมูลทีวีดิจิตอล 5 ประเด็น ลดครหาไม่ชอบธรรมและผลประโยชน์ทับซ้อน

นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมการแข่งขันฯ เมื่อวันที่ 15 พ.ค. ได้มีความเห็นและข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ (หลักเกณฑ์การประมูลโทรทัศดิจิตอล) ที่ผ่านมติ กสท. เมื่อ 14 พ.ค. ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เนื่องจากในคณะอนุกรรมการจัดทำแผนปรับเปลี่ยนระบบการรับส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล (อนุ DSO) ซึ่งเป็นผู้นำเสนอร่างหลักเกณฑ์นั้น มีผู้ประกอบการโทรทัศน์ช่องหลักหลายช่องร่วมอยู่ในคณะ และผู้ประกอบการดังกล่าวมีแนวโน้มว่าจะเป็นผู้ร่วมในการประมูลโทรทัศน์ดิจิตอลในครั้งนี้ด้วย จึงทำให้หลักเกณฑ์ที่ออกมานั้นมีประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่ชอบธรรมทั้งในขั้นตอนการดำเนินการ และอาจมีข้อกำหนดที่ขัดต่อหลักการแข่งขันเสรีอย่างเป็นธรรม

สำหรับ ข้อเสนอและตั้งข้อสังเกตในการปรับปรุงแก้ไขร่างประกาศดังกล่าว โดยมีประเด็นหลักๆ ที่เห็นควรแก้ไข 5 ข้อ ได้แก่

1. เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานในการวางหลักประกันการประมูล และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการรายใหม่และรายย่อยที่เชื่อถือได้มีโอกาสเข้าร่วมการประมูลโดยไม่ติดขัดในการต้องเร่งหาเงินสดหรือออกเช็คมาวางเป็นหลักประกัน คณะอนุกรรมการส่งเสริมการแข่งขันฯ เสนอให้เพิ่มเติมการใช้หนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (Bank Guarantee) เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการวางหลักประกัน ซึ่งก็ใช้กันได้ในกรณีของการประมูล  3G ที่ผ่านมา

2. เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการผูกขาดหรือเลือกปฏิบัติในภายหลัง หลายประเทศเลือกใช้วิธีการกำหนดให้ผู้ให้บริการโครงข่าย (MUX operator) แยกออกจากผู้ให้บริการช่อง (Channel provider) (ห้าม MUX เป็นเจ้าของช่อง) เว้นแต่ในกรณีกิจการสาธารณะ (Public Service Broadcasting) ในกรณีประเทศไทยเนื่องจากผู้ให้บริการโทรทัศน์รายเดิมเป็นเจ้าของโครงข่ายและเป็นผู้ให้บริการช่องรายการ และมีแนวโน้มที่จะขอให้บริการในทั้งสองลักษณะต่อไปใน โทรทัศน์ระบบดิจิตอล จึงมีข้อกำหนดในลักษณะดังกล่าวได้ยาก

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการที่ผู้ให้บริการโครงข่ายและผู้ให้บริการโทรทัศน์ (ช่องรายการ) เป็นรายเดียวกันสามารถส่งผลให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage) เมื่อเปรียบเทียบกับรายอื่น ซึ่งเป็นประเด็นที่อาจนำไปสู่การผูกขาด หรือลด หรือจำกัดการแข่งขันได้ในภายหลัง คณะอนุกรรมการฯ จึงขอพิจารณาในประเด็นดังกล่าวอย่างรอบคอบ โดยขอเป็นผู้ยกร่างหลักเกณฑ์การเลือกใช้โครงข่ายโทรทัศน์ของผู้ให้บริการช่องรายการ เพื่อเป็นเงื่อนไขเพิ่มเติม โดยจะเร่งเสนอต่อ กสทช. โดยเร็วก่อนมีการประมูล

3. การประมูลของที่มีลักษณะทดแทนกันได้ โดยกำหนดให้มีการเรียงลำดับการประมูลแยกตามหมวดหมู่ประเภทช่องรายการนั้น จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการจัดลำดับการประมูล โดยคณะอนุกรรมการฯเห็นว่า ลำดับที่ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการประมูลนั้น ควรเรียงโดยอาศัยข้อมูลความต้องการของผู้เข้าร่วมประมูล หรือเรียงลำดับตามมูลค่า หรือราคาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการประมูล ในที่นี้เมื่อไม่มีข้อมูลการประมาณการที่ชัดเจน จึงเสนอให้นำราคาขั้นต่ำในแต่ละหมวดหมู่มาเป็นเกณฑ์ในการจัดลำดับ เนื่องจากราคาขั้นต่ำในแต่ละหมวดหมู่กำหนดขึ้นจากการประเมินมูลค่าและความต้องการของผู้เข้าร่วมประมูล และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดสรรเห็นควรให้เรียงลำดับการประมูลจากราคาที่สูงสุดไปหาต่ำสุดคือเริ่มจาก Variety HD, Variety SD, ข่าวสารสาระ แล้วจบลงที่หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว

4. โดยทั่วไปการประมูลที่เน้นประสิทธิภาพในการแข่งขันจะไม่กำหนดระยะเวลาตายตัวว่าควรจบลงภายในระยะเวลาเท่าใด แต่จะกำหนดให้หยุดลงเมื่อไม่มีการเสนอราคาเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด  ดังนั้นเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นมากขึ้นคณะอนุกรรมการฯเสนอให้ เพิ่มเติมเงื่อนไขการสิ้นสุดการประมูลเมื่อไม่มีการเสนอราคาเพิ่มภายในห้านาทีนับแต่การเสนอเพิ่มราคาครั้งก่อนหน้า โดยการกำหนดเงื่อนไขดังกล่าวเป็นไปเพื่อให้ได้ราคาประมูลที่มีประสิทธิภาพโดยเปิดให้มีการตัดสินใจอย่างเพียงพอในการประมูลรอบสุดท้าย และป้องกันการใช้ยุทธวิธีจู่โจมการประมูลโดยแย่งชิงความได้เปรียบในช่วงเวลาสุดท้ายของการประมูล

5. เพื่อให้ผู้ให้บริการสามารถมีการประมาณการรายรับรายจ่ายและบริหารเงินสดได้ง่ายขึ้น และมีเงินทุนเพียงพอในการให้บริการตามเงื่อนไขที่ กสทช.กำหนด คณะอนุกรรมการฯเสนอให้พิจารณาปรับเปลี่ยนระยะเวลาการชำระเงินค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในส่วนที่เกินกว่าราคาขั้นต่ำ โดยให้ดำเนินการได้ภายหลังจากผ่านพ้นระยะเวลา 3 ปี นับแต่ที่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งจะเป็นการยืดระยะเวลาการชำระเงินให้สอดคล้องกับรายรับของทีวีดิจิตอลที่ต้องใช้เวลานาน

"ในขั้นตอนการปฏิบัติคณะอนุกรรมการฯจะเสนอความเห็นต่อ กสท.ในการประชุมวันที่ 20 พฤษภาคม 2556 หาก กสท.มีมติรับข้อเสนอในส่วนที่ขอปรับปรุงแก้ไข จะต้องนำร่างประกาศนี้เข้าสู่ที่ประชุม กสทช. (บอร์ดใหญ่) เพื่อขอความเห็นและขอความเห็นชอบให้จัดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามขั้นตอนต่อไป" นายธวัชชัย กล่าว

http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%
B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/222493/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%
E0%B8%8A-
%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8
%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E
0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A55%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8
%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%B2

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.