Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

16 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) จับตากลุ่มทุนใหญ่ เช่น FREE TV และเคเบิล ลุยการประมูล เหตุ ค่าใช้จ่ายในการเช่าโครงข่าย (Mux) และ มัสต์ แคร์รี่ ทำต้นทุนสูงด้วย


ประเด็นหลัก



จับตาทุนใหญ่ฮุบช่อง

แหล่งข่าวจากอุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์ กล่าวว่า จากการกำหนดราคาตั้งต้นประมูลและหลักเกณฑ์วิธีการประมูลทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจของ กสท. เชื่อว่าจะมีผู้ประกอบการ 3 กลุ่มหลัก ที่จะเป็น "เจ้าของ" ทีวีดิจิทัล คือ 1 กลุ่มทุนฟรีทีวีเดิม ที่จำเป็นต้องประมูลเพราะเป็นธุรกิจหลักที่มีโครงสร้างพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว 2.กลุ่มทุนโทรคมนาคม ที่ต้องการต่อยอดธุรกิจสื่อโทรทัศน์กับกิจการโทรคมนาคม โดยเฉพาะการให้บริการทีวีดิจิทัลผ่าน "โมบายทีวี" โดยทั้ง 2 กลุ่มแรก ถือว่าเป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมด้านเงินทุน และสามารถรองรับภาวะขาดทุนในการประกอบกิจการช่วงแรกที่มีฐานผู้ชมต่ำ จนทำให้รายได้จากโฆษณาไม่เพียงพอต่อต้นทุนค่าใช้จ่าย และ 3.กลุ่มคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ ทั้งกลุ่มที่เป็นผู้ผลิตรายการผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ และเจ้าของช่องทีวีดาวเทียม ที่มีความพร้อมด้านคอนเทนท์

ขณะนี้ ปัจจัยที่ผู้ประกอบการต้องการรู้ข้อมูลเพื่อนำไปเตรียมแผนธุรกิจประมูลช่องทีวีดิจิทัล คือ ค่าใช้จ่ายในการเช่าโครงข่าย (Mux) และการบังคับใช้ประกาศ “มัสต์ แคร์รี่” ที่กำหนดให้ส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลครอบคลุมทุกแพลตฟอร์มการรับชมทีวีของครัวเรือนไทยในปัจจุบัน หากมีการบังคับใช้ประกาศมัสต์แคร์รี่ได้จริง ถือเป็นปัจจัย

กระตุ้นผู้ประกอบการให้เข้าร่วมประมูล แต่จะส่งผลต่อต้นทุนค่าเช่าโครงข่ายที่จะมีค่าบริการสูง

"ทั้งราคาตั้งต้น และหลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิทัล ธุรกิจ 24 ช่อง ที่ กสท.กำหนดขึ้น จะนำไปสู่การประมูลทีวีดิจิทัลแน่นอน และผู้ชนะการประมูลจะอยู่ในกลุ่มทุนใหญ่ด้านบรอดแคสต์และโทรคมนาคม แต่จะเป็นแพลตฟอร์มที่ประสบความสำเร็จหรือไม่อยู่ที่การบังคับใช้ประกาศมัสต์แคร์รี่ หากทำได้ในทุกแพลตฟอร์มตั้งแต่วันแรกที่ออกอากาศจะมีผู้ชมรับชมผ่านเคเบิลและจานดาวเทียมทันทีที่ 65% ของครัวเรือนไทย"แหล่งข่าวกล่าว

นายสุระ เกนทะนะศิล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อีกหนึ่งแนวทางในการเร่งขยายการ “เข้าถึง” การรับชมทีวีดิจิทัลให้เข้าถึงครัวเรือนไทยให้เร็วที่สุด คือ การเร่งออกใบอนุญาต “โมบาย ทีวี” ให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขยายโครงข่ายทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินให้เข้าถึงครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น ผ่านการรับชมทางมือถือ เพราะว่าพฤติกรรมการรับชมรายการต่างๆ ของผู้ชมไม่ยึดติดกับจอทีวีอีกต่อไป แต่จะดูผ่านทุกช่องทางที่สามารถเข้าถึงได้
ติงสูตรจ่ายค่าไลเซ่นปีแรก 50%

นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาตั้งต้นช่องเอชดี ที่ 1,510 ล้านบาท ถือว่าสูงมาก ซึ่งมองว่าไม่ควรเกินช่องละ 1,000 ล้านบาท เพราะว่าผู้ประกอบการต้องมีต้นทุนค่าเช่าโครงข่ายและต้นทุนการผลิต และค่าธรรมเนียมรวมอีก 4% ของรายได้ต่อปี ขณะที่หลักเกณฑ์วิธีการประมูลอื่นๆ เป็นเรื่องทั่วไป

นายไพบูลย์ ไม่เห็นด้วยกับวิธีการชำระใบอนุญาตปีแรก 50% ของราคาตั้งต้นประมูลรายประเภทช่อง และต้องชำระอีก 10% ของราคาส่วนเกินที่ชนะการประมูล เพราะเห็นว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่สูงของผู้ประกอบการ และไม่สอดคล้องกับอัตราการเข้าถึงของการส่งสัญญาณและการกระจายอุปกรณ์การรับชมทีวีดิจิทัลในปีแรกที่อยู่ในอัตราต่ำ ซึ่งจะส่งผลต่อการหารายได้จากโฆษณา เนื่องจากยังมีฐานผู้ชมไม่มาก

"กสทช. ควรปรับสูตรการเก็บค่าไลเซ่นใหม่ ในปีแรกๆ ควรกำหนดให้ชำระในสัดส่วนต่ำที่สุด และค่อยๆ ทยอยเพิ่มในช่วงปีหลังๆ เพราะว่า กสทช. มีหน้าที่ดูแลทั้งประชาชนผู้รับชมให้เข้าถึงทีวีดิจิทัล ขณะเดียวกันก็ต้องดูแลผู้ประกอบการให้อยู่รอดได้ไปพร้อมกัน"นายไพบูลย์ กล่าว


ห่วงรายกลาง-เล็กอยู่ยาก

ด้าน นายปราโมทย์ โชคศิริกุลชัย นายกสมาพันธ์สมาคมดิจิทัลบันเทิงไทย กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลนั้น สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ ทุนหนาไม่น่าจะมีปัญหามาก อย่างเช่น ช่อง 3 5 7 และ 9 ที่ต่างเตรียมประมูลกันทั้งสิ้น แต่ที่น่ากังวลคือผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็ก ที่เคยเช่าช่วงเวลาฟรีทีวีปัจจุบันออกอากาศ เมื่อออกมาทำช่องของตัวเอง อาจมีพลังดึงเม็ดเงินโฆษณาน้อยกว่า ขณะเดียวกันผู้ผลิตคอนเทนท์เหล่านี้ก็คงยังต้องออนแอร์ในช่องฟรีทีวีเดิมด้วยระยะหนึ่ง

"ที่น่ากังวล คือ การมีจำนวนช่องทีวีมากขึ้น จากปัจจุบันมีฟรีทีวี ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี ต่อไปมีทีวีดิจิทัล ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มฟรีทีวี ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาไม่ได้เติบโตอย่างรวดเร็วตาม คำถามคือแล้วเม็ดเงินโฆษณา หรือผู้ประกอบการรายใดจะสามารถแย่งเม็ดเงินโฆษณาไปได้บ้าง"นายปราโมทย์ กล่าว

นอกจากการแข่งขันที่มีผู้เล่นมากขึ้นแล้ว ปัจจัยเรื่องการเข้าถึง หรือการแจกกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัล เพื่อให้มีผู้ชมทีวีดิจิทัลมากที่สุด ก็เป็นเงื่อนไขสำคัญว่าผู้ที่เข้าประมูลทีวีดิจิทัลนั้น จะอยู่รอดในการทำธุรกิจหรือไม่


______________________________________







หวั่นทุนใหญ่ฮุบ 'ทีวีดิจิทัล'


วงการวิทยุโทรทัศน์หวั่นเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิทัล หนุน 'ทุนใหญ่' บรอดแคสต์-โทรคมฯ ยึดช่อง จับตาแนวปฏิบัติเกณฑ์ "มัสต์แคร์รี่"

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะพิจารณาร่างประกาศหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) ในวันที่ 22 พ.ค. นี้ แต่วงการยังเห็นว่ามีเงื่อนไขบางข้อไม่เหมาะสมและทำให้รายใหญ่ได้เปรียบ

กสทช. จะพิจารณาร่างประกาศดังกล่าว ภายหลังจากที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) เห็นชอบราคาตั้งต้นการประมูลโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง โดยประกอบด้วย ช่องรายการความคมชัดมาตรฐาน (Standard Definition : SD) และช่องรายการความคมชัดสูง (High Definition : HD) แบ่งเป็น ช่องเด็ก SD เปิดประมูล 3 ช่อง ราคาช่องละ140 ล้านบาท,ช่องข่าว SD เปิดประมูล 7 ช่อง ราคาช่องละ 220 ล้านบาท, ช่องวาไรตี้ SD เปิดประมูล 7 ช่อง ราคาช่องละ 380 ล้านบาท และ เอชดี เปิดประมูล 7 ช่อง ราคาช่องละ 1,510 ล้านบาท รวมมูลค่าราคาตั้งต้น 15,190 ล้านบาท

รวมทั้งเห็นชอบร่างประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล (ทีวีดิจิทัล) ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ ซึ่งประกอบด้วยวิธีการประมูลแบบอีออคชั่น, วิธีเพิ่มเงินประมูล รวมทั้งวิธีการชำระค่าประมูลใบอนุญาต โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกราคาตั้งต้น แบ่งจ่าย 4 ปี โดยปีแรกชำระ 50% ภายใน 60 วัน หลังสิ้นสุดการประมูล ปีที่ 2 ชำระ 30% ปีที่ 3 ชำระ 10% ปีที่ 4 ชำระอีก 10% และส่วนที่สอง มูลค่าประมูลที่เกินจากราคาตั้งต้น ซึ่งจะต้องนำเข้าสมทบในกองทุนวิจัยและพัฒนา ของ กสทช. โดยชำระเป็น 6 งวด เริ่มปีที่ 1 และปีที่ 2 จ่ายปีละ 10% และตั้งแต่ปีที่ 3 ถึงปีที่ 6 จ่ายปีละ 20%

จับตาทุนใหญ่ฮุบช่อง

แหล่งข่าวจากอุตสาหกรรมวิทยุโทรทัศน์ กล่าวว่า จากการกำหนดราคาตั้งต้นประมูลและหลักเกณฑ์วิธีการประมูลทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจของ กสท. เชื่อว่าจะมีผู้ประกอบการ 3 กลุ่มหลัก ที่จะเป็น "เจ้าของ" ทีวีดิจิทัล คือ 1 กลุ่มทุนฟรีทีวีเดิม ที่จำเป็นต้องประมูลเพราะเป็นธุรกิจหลักที่มีโครงสร้างพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว 2.กลุ่มทุนโทรคมนาคม ที่ต้องการต่อยอดธุรกิจสื่อโทรทัศน์กับกิจการโทรคมนาคม โดยเฉพาะการให้บริการทีวีดิจิทัลผ่าน "โมบายทีวี" โดยทั้ง 2 กลุ่มแรก ถือว่าเป็นกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมด้านเงินทุน และสามารถรองรับภาวะขาดทุนในการประกอบกิจการช่วงแรกที่มีฐานผู้ชมต่ำ จนทำให้รายได้จากโฆษณาไม่เพียงพอต่อต้นทุนค่าใช้จ่าย และ 3.กลุ่มคอนเทนท์ โปรวายเดอร์ ทั้งกลุ่มที่เป็นผู้ผลิตรายการผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ และเจ้าของช่องทีวีดาวเทียม ที่มีความพร้อมด้านคอนเทนท์

ขณะนี้ ปัจจัยที่ผู้ประกอบการต้องการรู้ข้อมูลเพื่อนำไปเตรียมแผนธุรกิจประมูลช่องทีวีดิจิทัล คือ ค่าใช้จ่ายในการเช่าโครงข่าย (Mux) และการบังคับใช้ประกาศ “มัสต์ แคร์รี่” ที่กำหนดให้ส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิทัลครอบคลุมทุกแพลตฟอร์มการรับชมทีวีของครัวเรือนไทยในปัจจุบัน หากมีการบังคับใช้ประกาศมัสต์แคร์รี่ได้จริง ถือเป็นปัจจัย

กระตุ้นผู้ประกอบการให้เข้าร่วมประมูล แต่จะส่งผลต่อต้นทุนค่าเช่าโครงข่ายที่จะมีค่าบริการสูง

"ทั้งราคาตั้งต้น และหลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิทัล ธุรกิจ 24 ช่อง ที่ กสท.กำหนดขึ้น จะนำไปสู่การประมูลทีวีดิจิทัลแน่นอน และผู้ชนะการประมูลจะอยู่ในกลุ่มทุนใหญ่ด้านบรอดแคสต์และโทรคมนาคม แต่จะเป็นแพลตฟอร์มที่ประสบความสำเร็จหรือไม่อยู่ที่การบังคับใช้ประกาศมัสต์แคร์รี่ หากทำได้ในทุกแพลตฟอร์มตั้งแต่วันแรกที่ออกอากาศจะมีผู้ชมรับชมผ่านเคเบิลและจานดาวเทียมทันทีที่ 65% ของครัวเรือนไทย"แหล่งข่าวกล่าว

นายสุระ เกนทะนะศิล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า อีกหนึ่งแนวทางในการเร่งขยายการ “เข้าถึง” การรับชมทีวีดิจิทัลให้เข้าถึงครัวเรือนไทยให้เร็วที่สุด คือ การเร่งออกใบอนุญาต “โมบาย ทีวี” ให้เร็วที่สุด เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขยายโครงข่ายทีวีดิจิทัลภาคพื้นดินให้เข้าถึงครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้น ผ่านการรับชมทางมือถือ เพราะว่าพฤติกรรมการรับชมรายการต่างๆ ของผู้ชมไม่ยึดติดกับจอทีวีอีกต่อไป แต่จะดูผ่านทุกช่องทางที่สามารถเข้าถึงได้
ติงสูตรจ่ายค่าไลเซ่นปีแรก 50%

นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม ประธานกรรมการ บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ราคาตั้งต้นช่องเอชดี ที่ 1,510 ล้านบาท ถือว่าสูงมาก ซึ่งมองว่าไม่ควรเกินช่องละ 1,000 ล้านบาท เพราะว่าผู้ประกอบการต้องมีต้นทุนค่าเช่าโครงข่ายและต้นทุนการผลิต และค่าธรรมเนียมรวมอีก 4% ของรายได้ต่อปี ขณะที่หลักเกณฑ์วิธีการประมูลอื่นๆ เป็นเรื่องทั่วไป

นายไพบูลย์ ไม่เห็นด้วยกับวิธีการชำระใบอนุญาตปีแรก 50% ของราคาตั้งต้นประมูลรายประเภทช่อง และต้องชำระอีก 10% ของราคาส่วนเกินที่ชนะการประมูล เพราะเห็นว่าเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่สูงของผู้ประกอบการ และไม่สอดคล้องกับอัตราการเข้าถึงของการส่งสัญญาณและการกระจายอุปกรณ์การรับชมทีวีดิจิทัลในปีแรกที่อยู่ในอัตราต่ำ ซึ่งจะส่งผลต่อการหารายได้จากโฆษณา เนื่องจากยังมีฐานผู้ชมไม่มาก

"กสทช. ควรปรับสูตรการเก็บค่าไลเซ่นใหม่ ในปีแรกๆ ควรกำหนดให้ชำระในสัดส่วนต่ำที่สุด และค่อยๆ ทยอยเพิ่มในช่วงปีหลังๆ เพราะว่า กสทช. มีหน้าที่ดูแลทั้งประชาชนผู้รับชมให้เข้าถึงทีวีดิจิทัล ขณะเดียวกันก็ต้องดูแลผู้ประกอบการให้อยู่รอดได้ไปพร้อมกัน"นายไพบูลย์ กล่าว

เงินทุนพร้อมประมูล

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การเรียกเก็บค่าใบอนุญาต ในส่วนของราคาตั้งต้นภายใน 4 ปี เพื่อนำไปสนับสนุน “คูปอง” ส่วนลดซื้อกล่องรับสัญญาณและเครื่องรับทีวีดิจิทัล ซึ่งถือเป็นการสนับสนุนการเข้าถึงสื่อโทรทัศน์ที่จัดเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะเข้ามาร่วมสนับสนุนงบประมาณด้วยเช่นกัน
นายไพบูลย์ กล่าวว่า แกรมมี่เองมีความพร้อมด้านเงินทุนที่ได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากสถาบันการเงินต่างๆ ภายใต้วงเงินงบประมาณลงทุนทีวีดิจิทัล 3 ช่อง รวม 5,000 ล้านบาท แต่จะพิจารณาแผนการลงทุนอย่างเหมาะสม ภายใต้ต้นทุนและราคาประมูลที่สามารถประกอบกิจการอยู่รอดและทำกำไรได้ในอนาคต

จี้เปิดราคาค่าเช่าโครงข่าย

นายชลากรณ์ ปัญญาโฉม ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานธุรกิจโทรทัศน์ 2 และโครงการพิเศษ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การกำหนดราคาตั้งต้น และหลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิทัล ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง ของ กสท. บริษัทยอมรับเงื่อนไขได้ทุกหลักเกณฑ์ แต่ต้องการให้ กสท. ประกาศราคาค่าเช่าโครงข่าย ว่าจะเรียกเก็บในอัตราใด เพื่อนำไปจัดทำแผนธุรกิจ และการเตรียมงบประมาณสำหรับการประมูล

สำหรับราคาค่าเช่าโครงข่ายช่องความคมชัดปกติ (SD) ที่ 40-60 ล้านบาทต่อปี ถือเป็นอัตราที่ยอมรับได้ โดยขณะนี้ยังไม่มีการประกาศราคาค่าเช่าโครงข่ายสำหรับช่องเอชดี ที่จะมีค่าเช่าสูงกว่าช่อง SD โดยหากเป็นราคาค่าเช่าที่ไม่สูงเกินไป บริษัทสนใจจะประมูลช่องเอชดี แต่หากราคาค่าเช่าโครงข่ายช่องเอชดีสูงมาก จะประมูลช่องเด็ก และช่องวาไรตี้ SD 2 ช่องตามแผนเดิมที่วางไว้ โดยงบประมาณการลงทุนจะเป็นการกู้เงินจากธนาคาร และเงินทุนหมุนเวียนของบริษัท

ห่วงรายกลาง-เล็กอยู่ยาก

ด้าน นายปราโมทย์ โชคศิริกุลชัย นายกสมาพันธ์สมาคมดิจิทัลบันเทิงไทย กล่าวว่า ปัจจัยเสี่ยงของผู้ประกอบการทีวีดิจิทัลนั้น สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ ทุนหนาไม่น่าจะมีปัญหามาก อย่างเช่น ช่อง 3 5 7 และ 9 ที่ต่างเตรียมประมูลกันทั้งสิ้น แต่ที่น่ากังวลคือผู้ประกอบการรายกลางและรายเล็ก ที่เคยเช่าช่วงเวลาฟรีทีวีปัจจุบันออกอากาศ เมื่อออกมาทำช่องของตัวเอง อาจมีพลังดึงเม็ดเงินโฆษณาน้อยกว่า ขณะเดียวกันผู้ผลิตคอนเทนท์เหล่านี้ก็คงยังต้องออนแอร์ในช่องฟรีทีวีเดิมด้วยระยะหนึ่ง

"ที่น่ากังวล คือ การมีจำนวนช่องทีวีมากขึ้น จากปัจจุบันมีฟรีทีวี ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวี ต่อไปมีทีวีดิจิทัล ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มฟรีทีวี ขณะที่เม็ดเงินโฆษณาไม่ได้เติบโตอย่างรวดเร็วตาม คำถามคือแล้วเม็ดเงินโฆษณา หรือผู้ประกอบการรายใดจะสามารถแย่งเม็ดเงินโฆษณาไปได้บ้าง"นายปราโมทย์ กล่าว

นอกจากการแข่งขันที่มีผู้เล่นมากขึ้นแล้ว ปัจจัยเรื่องการเข้าถึง หรือการแจกกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิทัล เพื่อให้มีผู้ชมทีวีดิจิทัลมากที่สุด ก็เป็นเงื่อนไขสำคัญว่าผู้ที่เข้าประมูลทีวีดิจิทัลนั้น จะอยู่รอดในการทำธุรกิจหรือไม่

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130516/505851/%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B
9%88%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%
E0%B8%AE%E0%B8%B8%E0%B8%9A-
%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B
8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.