Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 พฤษภาคม 2556 นายกสมาคมอีคอมเมิร์ซ ชี้ 3G 4G เป็นปัจจัยเอื้อเพื่อรูปแบบการขายสินค้าออนไลน์เริ่มเพิ่มช่องทางเป็นร้านค้ารูปแบบมือถือ สอดคล้องกับ ออฟฟิศดีโปและบีทูเอส


ประเด็นหลัก



นายวรวุฒิ อุ่นใจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออฟฟิศเมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทพร้อมรุกตลาดอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มสูบ โดยเชื่อว่า บริการ 3จี และ 4จี จะกระตุ้นให้คนอยากซื้อของออนไลน์มากขึ้น เพราะเครือข่ายความเร็วสูงจะจูงใจให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้นจากเดิม สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนยุคใหม่ที่มีชีวิตอยู่กับอุปกรณ์พกพา ทั้งสมาร์ทโฟนและแทบเล็ตอยู่แล้ว และคาดว่าจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้เม็ดเงินในธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีการเติบโตมากขึ้น แต่จะไม่เกิดขึ้นในทันที ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ถึง 1 ปี

"สิ่งแรกที่จะได้เห็น หลังจากเปิด 3จี คือ คนจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น ค้นหาข้อมูลบนเน็ตมากขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ จะปรับรูปแบบเว็บไซต์ให้เข้าถึงสมาร์ทโฟนแทบเล็ต รวมไปถึงการพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นเฉพาะ เพื่อให้บริการกับลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าออนไลน์ ปัจจุบันคาดว่ามีเม็ดเงินสะพัดในอีคอมเมิร์ซแบบรีเทล หรือ ซีทูซี (C TO C) ไม่ต่ำกว่า 3-4 หมื่นล้านบาท ซึ่ง 3จี จะดันให้ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นไปอีกเท่าตัว"

เขากล่าวด้วยว่า หลังจากบริษัทควบรวมกับออฟฟิศดีโปและบีทูเอส ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจในเครือเซ็นทรัลรีเทล (CRC) เมื่อปลายปีที่แล้ว ขณะนี้เตรียมพร้อมที่จะเปิดตัวบริการใหม่ ด้านดิจิทัล คอนเทนท์ และอีบุ๊คบนเว็บไซต์บีทูเอส โดยจะเปิดตัวราวไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ซึ่งคาดว่า ในช่วงนั้นการใช้บริการ 3จี รวมถึง 4จี จะเริ่มครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้งาน


นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (อีคอมเมิร์ซ) และกรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้งบริษัทตลาดดอทคอม (Tarad.com) หุ้นส่วนกลุ่มทุนอีคอมเมิร์ซญี่ปุ่น



"บริการ 3จี ยังเป็นปัจจัยเอื้อให้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ สามารถใช้กลยุทธ์ที่สามารถเล่นไปกับสมาร์ทโฟน แทบเล็ตได้ เช่น ชูเรื่อง "โลเคชัน เบส" หรือการระบุพิกัดสถานที่ซึ่งเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบคิดการทำตลาดใหม่ๆ ไปสู่ผู้บริโภคได้มากขึ้น"

เขากล่าวด้วยว่า ขณะนี้สมาคมอีคอมเมิร์ซฯ มีแผนที่จะจัดกิจกรรมการขายสินค้าออนไลน์คล้ายๆ กับต่างประเทศที่มี ไซเบอร์ มันเดย์ วันแห่งการชอปปิง ออนไลน์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนไทยหันมาสนใจซื้อขายออนไลน์มากขึ้นด้วย

"อีคอมเมิร์ซ จะเข้าสู่ยุคชอปผ่านมือถือ และ โซเชียล คอมเมิร์ซ มากขึ้น บริการ 3จีทำให้พฤติกรรมของคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนไปจากคอมพิวเตอร์มาสู่อุปกรณ์พกพา รูปแบบของเว็บขายของออนไลน์เริ่มเพิ่มช่องทางเป็นร้านค้ารูปแบบมือถือ (Mobile Site) หรือ เป็นแอพ (App) ขณะที่ โซเชียล เน็ตเวิร์ค จะเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจซื้อสินค้ามากขึ้น"





______________________________________







'3จี' หนุนช้อปออนไลน์เพิ่ม-ธุรกิจปรับทัพบริหารรับแข่งดุ

ผู้ประกอบการ"อีคอมเมิร์ซ"รับบริการ"3จี-4จี"ดันซื้อขายสินค้าออนไลน์ผ่าน "แทบเล็ต สมาร์ทโฟน" โตก้าวกระโดด คาดเม็ดเงินปีนี้สะพัดแสนล้าน


ภายหลังค่ายมือถือเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือระบบ 3จี ย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ อย่างเป็นทางการ คาดว่าจะช่วยผลักดันให้เม็ดเงินธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ รวมถึงบริการที่เกี่ยวข้องอย่าง "อีคอมเมิร์ซ" เติบโตไม่ต่ำกว่า 100% ด้วยความสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตบนมือถือ ที่จะมีมากขึ้นกว่าเดิม จากข้อมูลล่าสุดมีจำนวนคนใช้บรอดแบนด์มากกว่า 20 ล้านราย บริการ 3จีเต็มรูปแบบ จะยิ่งทำดันให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เพิ่มมากขึ้นไปอีก ขณะที่ การสำรวจของทางเนคเทค (NECTEC) พบว่าคนไทยซื้อสินค้าทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น จาก 47.8% เป็น 57.2%

ชี้ 3จีดันคนช้อปออนไลน์เพิ่ม

นายวรวุฒิ อุ่นใจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ออฟฟิศเมท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทพร้อมรุกตลาดอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มสูบ โดยเชื่อว่า บริการ 3จี และ 4จี จะกระตุ้นให้คนอยากซื้อของออนไลน์มากขึ้น เพราะเครือข่ายความเร็วสูงจะจูงใจให้คนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้นจากเดิม สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนยุคใหม่ที่มีชีวิตอยู่กับอุปกรณ์พกพา ทั้งสมาร์ทโฟนและแทบเล็ตอยู่แล้ว และคาดว่าจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้เม็ดเงินในธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีการเติบโตมากขึ้น แต่จะไม่เกิดขึ้นในทันที ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ถึง 1 ปี

"สิ่งแรกที่จะได้เห็น หลังจากเปิด 3จี คือ คนจะเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น ค้นหาข้อมูลบนเน็ตมากขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ จะปรับรูปแบบเว็บไซต์ให้เข้าถึงสมาร์ทโฟนแทบเล็ต รวมไปถึงการพัฒนาเป็นแอพพลิเคชั่นเฉพาะ เพื่อให้บริการกับลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าออนไลน์ ปัจจุบันคาดว่ามีเม็ดเงินสะพัดในอีคอมเมิร์ซแบบรีเทล หรือ ซีทูซี (C TO C) ไม่ต่ำกว่า 3-4 หมื่นล้านบาท ซึ่ง 3จี จะดันให้ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นไปอีกเท่าตัว"

เขากล่าวด้วยว่า หลังจากบริษัทควบรวมกับออฟฟิศดีโปและบีทูเอส ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจในเครือเซ็นทรัลรีเทล (CRC) เมื่อปลายปีที่แล้ว ขณะนี้เตรียมพร้อมที่จะเปิดตัวบริการใหม่ ด้านดิจิทัล คอนเทนท์ และอีบุ๊คบนเว็บไซต์บีทูเอส โดยจะเปิดตัวราวไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ ซึ่งคาดว่า ในช่วงนั้นการใช้บริการ 3จี รวมถึง 4จี จะเริ่มครอบคลุมความต้องการของผู้ใช้งาน

เซ็นทรัลรุกอีคอมเมิร์ซเต็มรูปแบบชี้แข่งดุ

ขณะเดียวกัน เว็บไซต์รีเทล ที่อยู่ในเครือของเซ็นทรัล ก็พร้อมใช้จังหวะนี้ รุกอีคอมเมิร์ซอย่างเต็มรูปแบบเช่นกัน โดยปัจจุบันมีเม็ดเงินจากการซื้อขายออนไลน์ในเว็บเหล่านี้ไม่ต่ำกว่า 70-80 ล้านบาทต่อปี

นายวรวุฒิ กล่าวว่า หลังจากนี้ ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซจะมีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น นอกเหนือจากการทำ "โปรโมชั่น" ที่จะแข่งกันแล้ว แต่ละรายจะทุ่มทุนจัดการบริหารด้าน "โลจิสติกส์" เพิ่มจากเดิม เพราะถ้าการจัดส่งของให้ลูกค้าเกิดการผิดพลาด ไม่มีระบบบริหารจัดการที่ดี อีคอมเมิร์ซโดยภาพรวมก็จะโตไม่ได้

"ต้องจับตาดูอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ จะทุ่มงบด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์มากขึ้น เพราะเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ยิ่งเมื่อมีบริการ 3จี จะยิ่งกระตุ้นให้คนมีความอยากได้ อยากซื้อของออนไลน์มากขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ไว"

คาด 2 ปีเม็ดเงินสะพัดแสนล้าน

นายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ นายกสมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย (อีคอมเมิร์ซ) และกรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้งบริษัทตลาดดอทคอม (Tarad.com) หุ้นส่วนกลุ่มทุนอีคอมเมิร์ซญี่ปุ่น "ราคุเท็น" ยอมรับว่า บริการ 3จี มีส่วนสำคัญทำให้อีคอมเมิร์ซไทยเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทั้งยังมีส่วนสำคัญทำให้อุปกรณ์พกพาอย่าง สมาร์ทโฟน และแทบเล็ตมียอดขายโตเพิ่มส่งผลให้คนออนไลน์พุ่งเป็น 100% ซึ่งในจำนวนนี้กว่า 30% เป็นกลุ่มที่ซื้อสินค้าออนไลน์

"การเติบโตของสมาร์ทโฟน และแทบเล็ต ดันให้คนซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนได้ตลอดเวลาเพิ่มขึ้นจาก 10% เป็น 13% และมีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นอีกมาก"

ปัจจุบันการซื้อขายออนไลน์ จะมี 2 ลักษณะ คือ ซื้อผ่านเว็บที่ใช้งานผ่านพีซี และซื้อผ่านเว็บที่ใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน และแทบเล็ต (เอ็ม-คอมเมิร์ซ) เอ็มคอมเมิร์ซ เป็นเทรนด์การซื้อขายออนไลน์ที่จะเติบโตแซงหน้าการซื้อขายผ่านหน้าจอพีซี ขณะที่เม็ดเงินสะพัดในธุรกิจอีคอมเมิร์ซปัจจุบัน เติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี เม็ดเงินรวมหลายหมื่นล้านบาท

"แต่หากนับรวมถึงการซื้อสินค้าขนาดใหญ่ บริการจองตั๋วเครื่องบิน เช่ารถ บริการด้านประกันภัย บริการดาวน์โหลดคอนเทนท์ต่างๆ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ (อีออคชั่น) เม็ดเงินในอีคอมเมิร์ซจะสะพัดเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่าแสนล้านบาทภายใน 2 ปี" นายกสมาคมอีคอมเมิร์ซไทย กล่าว

"โซเชียล คอมเมิร์ซ" ยังแรง

ขณะที่ การซื้อขายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย (โซเชียล คอมเมิร์ซ) ยังเติบโตต่อเนื่อง ยิ่งเครือข่ายเร็วยิ่งกระตุ้นให้คนหันมาทำกิจกรรมผ่านสมาร์ทโฟน แทบเล็ตตลอดเวลา การซื้อขายสินค้าออนไลน์ผ่านโซเชียล เน็ตเวิร์ค อย่าง เฟซบุ๊ค อินสตาแกรม จึงเติบโตอย่างก้าวกระโดด แน่นอนว่าปีนี้จะเติบโตขึ้นอีกมาก

จากการสำรวจของ "ราคุเท็น" พบว่า คนไทย 47.5% เริ่มซื้อสินค้าออนไลน์ครั้งแรกช่วง 2 ปีที่ผ่านมา และจากข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้าของคนไทยในเว็บตลาดดอทคอม พบว่า สินค้าประเภทเสื้อผ้า แฟชั่น ยังนิยมซื้อทางออนไลน์มากสุด รองลงมา คือ อาหารเสริมและนาฬิกา

นอกจากนี้ ช่วงต้นปี 2556 ทางวีซ่าและทางธนาคารต่างๆ เริ่มเน้นการกระตุ้นให้คนไทยใช้บัตรเดบิต ซื้อสินค้าออนไลน์แทนการใช้บัตรเครดิตเพิ่มมากขึ้น มีการกระตุ้นโดยการจัดแคมเปญ หากซื้อสินค้าด้วยบัตรเดบิต จะได้รับส่วนลดราคาถึง 10% เพิ่มทันที โดยมีส่วนยอดการใช้จ่าย 9.19% และบัตรเครดิต 43.48% โดยยอดขายที่เกิดขึ้นผ่านจากทางโซเชียลมีเดียเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ และอินสตาแกรม

อีคอมเมิร์ซวีดิโอ-ผุดแอพซื้อสินค้า

เมื่อดูข้อมูลทั้งการใช้โซเชียลมีเดีย และการซื้อสินค้าออนไลน์ของคนไทย จะเห็นได้ชัดว่าพฤติกรรมคนไทยได้เปลี่ยนไปอย่างมากจากปีก่อน ผู้ใหญ่จะเริ่มใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะใช้ผ่านทางแทบเล็ต เพราะใช้งานง่ายและสะดวก ซึ่งแนวโน้มจะเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเปิดตัวของ 3จี เต็มรูปแบบ ความนิยมของอุปกรณ์พกพาที่หลากหลาย

นายภาวุธ กล่าวว่า บริการ 3จี ยังจะช่วยให้เกิดอีคอมเมิร์ซแบบใหม่ๆ ขึ้น เช่น การซื้อขายสินค้าผ่าน "วีดิโอ สตรีมมิ่ง" ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีให้เห็นรับกับเทรนด์การทำคอนเทนท์ในรูปแบบวีดิโอผ่านยูทูบ รวมไปถึงการพัฒนาแอพ อีคอมเมิร์ซ ให้ผู้ใช้สมาร์ทโฟน แทบเล็ตดาวน์โหลดไว้ที่หน้าจอ

"บริการ 3จี ยังเป็นปัจจัยเอื้อให้ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ สามารถใช้กลยุทธ์ที่สามารถเล่นไปกับสมาร์ทโฟน แทบเล็ตได้ เช่น ชูเรื่อง "โลเคชัน เบส" หรือการระบุพิกัดสถานที่ซึ่งเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบคิดการทำตลาดใหม่ๆ ไปสู่ผู้บริโภคได้มากขึ้น"

เขากล่าวด้วยว่า ขณะนี้สมาคมอีคอมเมิร์ซฯ มีแผนที่จะจัดกิจกรรมการขายสินค้าออนไลน์คล้ายๆ กับต่างประเทศที่มี ไซเบอร์ มันเดย์ วันแห่งการชอปปิง ออนไลน์ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้คนไทยหันมาสนใจซื้อขายออนไลน์มากขึ้นด้วย

"อีคอมเมิร์ซ จะเข้าสู่ยุคชอปผ่านมือถือ และ โซเชียล คอมเมิร์ซ มากขึ้น บริการ 3จีทำให้พฤติกรรมของคนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเปลี่ยนไปจากคอมพิวเตอร์มาสู่อุปกรณ์พกพา รูปแบบของเว็บขายของออนไลน์เริ่มเพิ่มช่องทางเป็นร้านค้ารูปแบบมือถือ (Mobile Site) หรือ เป็นแอพ (App) ขณะที่ โซเชียล เน็ตเวิร์ค จะเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจซื้อสินค้ามากขึ้น"

"ทรู" เชื่ออีคอมเมิร์ซ พุ่ง 1.6 หมื่นล้าน

นายสืบสกล สกลสัตยาทร ผู้จัดการทั่วไป ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ บริษัท ทรู ดิจิตอล คอนเท้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด กล่าวว่า การแข่งขันในธุรกิจอีคอมเมิร์ซจะ "รุนแรง" กว่าเดิม โดยรับว่าบริการ 3จี และ 4จี เป็นส่วนสำคัญดันให้ธุรกิจที่เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตคึกคักขึ้น ที่ผ่านมากลุ่มทรูเปิดบริการ 3จี ล่วงหน้าไปแล้ว และพบว่าลูกค้าของทรูใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือมากกว่า 60% ขณะที่ เว็บไซต์ วีเลิฟชอปปิง (weloveshopping.com) ของ ทรู ปัจจุบันมีลูกค้าเข้าถึงผ่านสมาร์ทโฟนและแทบเล็ตมากกว่าพีซี สูงขึ้นกว่าเท่าตัว

"หลังจากโครงข่าย 3จี และ 4จี สมบูรณ์ จะดันอีคอมเมิร์ซผ่านสมาร์ทโฟน แทบเล็ต เติบโตจากเดิม 20-30% ส่วนเว็บไซต์วีเลิฟชอปปิง คาดว่าจะมีเม็ดเงินสะพัดเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 1.2 หมื่นล้านบาท เป็น 1.5 หมื่นล้านบาท ในปีนี้"

ปีนี้ ทรู วางแผนจัดทัพธุรกิจอีคอมเมิร์ซทั้งเครือ อย่างจริงจัง หนุนการใช้จ่ายด้านออนไลน์ของผู้บริโภค ที่คาดว่าจะโตมากกว่า 2 เท่า โดยมีการตั้งทีม เพิ่มงบประมาณลงทุนในด้านต่างๆ พร้อมทั้งทำข้อตกลงร่วมกับพาร์ทเนอร์ด้านโลจิสติกส์ เพื่อช่วยในการจัดส่งสินค้า หนุนให้อี คอมเมิร์ซ ของกลุ่มทรู ก้าวเทียบชั้นระดับภูมิภาค

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130520/506471/3%E0%B8%88%E0%B8%B5-
%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0
%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8
%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1-
%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%
B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A
B%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%82%E0%B9%88%E0
%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B8.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.