Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 พฤษภาคม 2556 DTAC ชี้อีสานใช้ดาต้าสูงสุด จัดทัวร์เครือข่ายใหม่ Trinet ที่อีสาน ( เมื่อตรวจสอบ โคราช 6.15 Mbps ถ้าติดFULL 0.11 Mbps บุรีรัมย์พบแต่ E)


ประเด็นหลัก


นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่าโครงการ 77/77 ดีแทค อินเทอร์เน็ต ฟอร์ ออล โรด ทริป (77/77 Internet For All Road Trip) เป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ของ “Internet for all” ที่เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของดีแทคที่ต้องการให้คนไทยทุกคนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ภายใน 3 ปี เพื่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและโอกาสต่าง ๆ ที่เท่าเทียมกัน และส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในที่สุดด้วยการครอบคลุมของสัญญาณคุณภาพ TriNet จากดีแทคที่เป็นโครงข่ายอัจฉริยะหนึ่งเดียวของไทยที่มีคลื่นความถี่มากที่สุด บนแบนด์วิธที่กว้างที่สุด

“ถ้าเทียบกับทุกภาคแล้วอัตราการเข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile penetration rate) ของภาคอีสานยังต่ำกว่าภาคอื่นคือ 64.12% ของจำนวนประชากรในภูมิภาค ในขณะที่กรุงเทพมีอัตราการเข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงสุดอยู่ที่ 84% ของประชากรในภูมิภาค นอกจากนั้น ภาคอีสานยังมีอัตราการเข้าถึงอุปกรณ์เทคโนโลยีสื่อสารและมีการใช้งานเพียง 21.5% ต่ำกว่ากรุงเทพซึ่งสูงถึง 44.4% ของจำนวนประชากรในภูมิภาค แนวโน้มที่น่าสนใจคือภาคอีสานกลับมีอัตราการเติบโตการใช้ดาต้าสูงสุดกว่าทุกภูมิภาคในประเทศไทย คือ จาก 8% เป็น 13% ภายใน 6 เดือน” นายจอนกล่าว

ภาคอีสานมีประชากรมากที่สุดคิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ หรือคิดเป็นจำนวนประชากรประมาณกว่า 23 ล้านคน ดีแทคจึงให้ความสำคัญแก่ภาคอีสานไม่ต่างจากพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย โดยเดินหน้าลงทุนพัฒนาโครงข่ายการใช้งานครอบคลุมทั้ง 850 MHz, 1800MHz และ 2100 MHz ซึ่งก็คือโครงข่ายอัจฉริยะ TriNet นั่นเอง




  โดยการทดสอบใช้ระยะเวลา 3 วันตลอดทั้งทริปการเดินทางภาคอีสาน เริ่มต้นจากกรุงเทพฯมุ่งหน้าสู่ประตูแห่งภาคอีสานซึ่งก็คือ เมืองโคราช เพื่อส่งมอบสัญญาณใหม่ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาอย่างเป็นทางการ งานนี้ทีมงานก็อดไม่ได้ที่จะงัดเครื่องโทรศัพท์ขึ้นมาตรวจสอบความเร็วสัญญาณทั้งในมุมของเครื่องที่ติด ข้อจำกัด FUP และไม่ติดเพื่อตรวจเช็คความเร็วในโครงข่ายใหม่ของ Trinet โดยชื่ออย่างไม่เป็นทางการของย่านความถี่ใหม่ที่เครื่องสามารถเชื่อมต่อได้นั้นคือ ‘520-05’ ทั้งนี้สำหรับเลขหมายที่ยังไม่ได้โอนย้ายไปสู่เครือข่ายใหม่ จะยังไม่สามารถทดสอบบนเครือข่ายใหม่ได้ เนื่องจากระบบจะแจ้งว่า ’ไม่สามารถลงทะเบียนบนเครือข่ายใหม่ได้’ แต่เครื่องจะเลือกจับสัญญาณเครือข่ายบนความถี่ 850 และ 1800 Mhz แทน โดยวิธีการลงทะเบียนผ่าน 4 ช่องทางได้แก่ 1.การติดต่อที่ศูนย์บริการลูกค้าดีแทค 2.การลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บ 3.ระบบตอบรับอัตโนมัติ *3000 4. กด *3000*เลขบัตรประชาชน 13 หลัก# แล้วกดโทรออก



       ผลการทดสอบความเร็วในระหว่างที่ส่งมอบเป็นที่น่าพอใจเนื่องจากความเร็วจากเครื่อง Iphone 5 ซึ่งใส่ซิมที่ได้มีการโอนย้ายไปสู่เครือข่ายใหม่แล้ว สามารถทำความเร็วดาวน์โหลดได้กว่า 6.15 Mbps แต่การอัพโหลดยังไม่เป็นที่ประทับใจเท่าไหร่นัก เนื่องจากทำได้เพียงแค่ 0.11 Mbps เท่านั้น ขณะที่เครื่อง HTC ONE ซึ่งใส่ซิมการ์ดที่ติดข้อจำกัด FUP และยังไม่ได้ทำการลงทะเบียนย้ายไปสู่เครือข่ายใหม่ ทำความเร็วในการอัพโหลดได้เพียงแค่ 326 kbps และอัปโหลดที่ความเร็ว128 kbpsเท่านั้น โดยในช่วงแรกของการเริ่มทดสอบความเร็วทำท่าจะกระโดดขึ้นไปเร็วพอสมควร แต่ก็น่าจะเป็นเพราะข้อจำกัดของ FUP ที่ทำให้ความเร็วโดนบล็อกอย่างที่เห็น ในขณะที่การใช้งานจริงนั้นก็อาจจะรู้สึกขัดๆอยู่บ้างในเครื่อง HTC ที่ทำความเร็วได้เพียงแค่นั้นในการเข้าอินเทอร์เน็ต ในขณะที่เครื่อง Iphone 5 สามารถใช้งานเข้าอินเทอร์เน็ตได้อย่างลื่นไหลมากกว่า


 เมื่อเดินทางถึงที่พักในบริเวณโรงแรมพบว่าระดับของสัญญาณมีอาการแกว่งอย่างเห็นได้ชัด โดยภายในห้องประชุมสังเกตเห็นสัญลักษณ์ 3G H และ E สลับกันแสดงบนเครื่อง HTC One อย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการไม่ได้สลับเข้าสู่เครือข่ายใหม่อย่างสมบูรณ์ของซิมการ์ดนั่นเอง และไม่นานนักจากที่พัก ทีมสำรวจก็ได้เดินทางสู่ปราสาทเหมือนต่ำ ซึ่งอยู่ติดขอบชายแดนประเทศกัมพูชา โดยเมื่อเข้าสู่ภายในอุทยานพบว่าระดับของสัญญาณเครื่อง Iphone 5 ยังสามารถทำความเร็วได้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1 Mbps ในขณะที่เครื่อง HTC One ทำความเร็วได้ต่ำกว่าจนน่าตกในแม้ว่าจะมีสัญลักษณ์ H, 3G ขึ้นก็ตาม แต่เมื่อถ่ายภาพแล้วอัพโหลดขึ้นสู่เฟสบุ๊กแล้วกลับพบว่าการเข้าสู่ระบบมีโลโก้ E แสดงอย่างชัดเจน ทั้งนี้คณะทดสอบดังกล่าวมีกว่า 60 ชีวิต ซึ่งก็น่าจะเป็นไปได้ว่ามีการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างหนาแน่น เนื่องจากความสวยงามของปราสาทเหมือนต่ำในยามค่ำคืนเป็นภาพที่ใครๆก็อยากถ่ายเพื่อส่งต่อให้เพื่อนในโซเชียลได้ชื่นชมกัน



______________________________________







ลุยอีสานพร้อมเผยข้อมูลทดสอบสัญญาณบนเครือข่ายใหม่ Trinet จากดีแทค (Day #1)


ทดลองทดสอบความเร็วสัญญาณที่โคราช นครราชสีมา Iphone 5

       เริ่มต้นการทดสอบกันที่อีสานพื้นที่ที่มีประชากรมากกว่า 23 ล้านคนซึ่งนับว่าเป็น 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศที่จะมีโอกาสใช้งานเครือข่ายใหม่ก่อนภูมิภาคใดๆ ซึ่งโครงการ 77/77 อินเทอร์เน็ต ฟอร์ ออล โรด ทริป (77/77 Internet For All Road Trip) จากดีแทคได้นำทีมทดสอบสัญญาณไดร์ฟเทสต์ (drive test) ไปทุกจังหวัดทั่วไทย โดยเริ่มที่ภาคอีสานเป็นภาคแรก และจะยังมีภาคอื่นๆ ตามมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องคุณภาพการให้บริการบนเครือข่ายใหม่อย่างแท้จริง
     
       โดยการทดสอบใช้ระยะเวลา 3 วันตลอดทั้งทริปการเดินทางภาคอีสาน เริ่มต้นจากกรุงเทพฯมุ่งหน้าสู่ประตูแห่งภาคอีสานซึ่งก็คือ เมืองโคราช เพื่อส่งมอบสัญญาณใหม่ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาอย่างเป็นทางการ งานนี้ทีมงานก็อดไม่ได้ที่จะงัดเครื่องโทรศัพท์ขึ้นมาตรวจสอบความเร็วสัญญาณทั้งในมุมของเครื่องที่ติด ข้อจำกัด FUP และไม่ติดเพื่อตรวจเช็คความเร็วในโครงข่ายใหม่ของ Trinet โดยชื่ออย่างไม่เป็นทางการของย่านความถี่ใหม่ที่เครื่องสามารถเชื่อมต่อได้นั้นคือ ‘520-05’ ทั้งนี้สำหรับเลขหมายที่ยังไม่ได้โอนย้ายไปสู่เครือข่ายใหม่ จะยังไม่สามารถทดสอบบนเครือข่ายใหม่ได้ เนื่องจากระบบจะแจ้งว่า ’ไม่สามารถลงทะเบียนบนเครือข่ายใหม่ได้’ แต่เครื่องจะเลือกจับสัญญาณเครือข่ายบนความถี่ 850 และ 1800 Mhz แทน โดยวิธีการลงทะเบียนผ่าน 4 ช่องทางได้แก่ 1.การติดต่อที่ศูนย์บริการลูกค้าดีแทค 2.การลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บ 3.ระบบตอบรับอัตโนมัติ *3000 4. กด *3000*เลขบัตรประชาชน 13 หลัก# แล้วกดโทรออก


โครงการ 77/77 อินเทอร์เน็ต ฟอร์ ออล โรด ทริป (77/77 Internet For All Road Trip) จากดีแทคได้นำทีมทดสอบสัญญาณไดร์ฟเทสต์ (drive test) ไปทุกจังหวัดทั่วไทย

       เครื่องที่ใช้ทำการทดสอบนั้นมีด้วยกัน 2 เครื่อง โดยเครื่องแรกเป็น Iphone 5 ซึ่งใส่ซิมการ์ดดีแทค ที่มีการปรับไปสู่เครือข่ายใหม่แล้วเรียบร้อย โดยซิมดังกล่าวไม่ติดข้อกำหนด Fair Usage Policy (FUP) ที่จะจำกัดความเร็วอินเทอร์เน็ตเมื่อมีการใช้งานข้อมูลครบตามจำนวนที่ระบุในโปรโมชัน ขณะที่อีกเครื่องเป็นมือถือรุ่น HTC One ซึ่งใส่ซิมการ์ดโปรโมชันแบบไม่จำกัด และติด FUP โดยเป็นซิมที่ยังไม่ได้โอนย้ายไปสู่บริการใหม่แต่อย่างใด
     
       ผลการทดสอบความเร็วในระหว่างที่ส่งมอบเป็นที่น่าพอใจเนื่องจากความเร็วจากเครื่อง Iphone 5 ซึ่งใส่ซิมที่ได้มีการโอนย้ายไปสู่เครือข่ายใหม่แล้ว สามารถทำความเร็วดาวน์โหลดได้กว่า 6.15 Mbps แต่การอัพโหลดยังไม่เป็นที่ประทับใจเท่าไหร่นัก เนื่องจากทำได้เพียงแค่ 0.11 Mbps เท่านั้น ขณะที่เครื่อง HTC ONE ซึ่งใส่ซิมการ์ดที่ติดข้อจำกัด FUP และยังไม่ได้ทำการลงทะเบียนย้ายไปสู่เครือข่ายใหม่ ทำความเร็วในการอัพโหลดได้เพียงแค่ 326 kbps และอัปโหลดที่ความเร็ว128 kbpsเท่านั้น โดยในช่วงแรกของการเริ่มทดสอบความเร็วทำท่าจะกระโดดขึ้นไปเร็วพอสมควร แต่ก็น่าจะเป็นเพราะข้อจำกัดของ FUP ที่ทำให้ความเร็วโดนบล็อกอย่างที่เห็น ในขณะที่การใช้งานจริงนั้นก็อาจจะรู้สึกขัดๆอยู่บ้างในเครื่อง HTC ที่ทำความเร็วได้เพียงแค่นั้นในการเข้าอินเทอร์เน็ต ในขณะที่เครื่อง Iphone 5 สามารถใช้งานเข้าอินเทอร์เน็ตได้อย่างลื่นไหลมากกว่า


เส้นทางวันแรกจากกรุงเทพฯมุ่งหน้าสู่โคราชและบุรีรัมย์

       การเดินทางมุ่งหน้าสู่จังหวัดบุรีรัมย์เพื่อเข้าพักที่อำเภอนางรอง ซึ่งแม้ว่าจะเป็นอำเภอที่เงียบสงบแต่ก็เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มากมาย การทดสอบบนรถตลอดการเดินทางตั้งแต่โคราชสู่บุรีรัมย์ เครื่อง HTC One ได้ผลที่ไม่ต่างจากการทดสอบที่ตัวเมืองโคราชเท่าไหร่นัก แต่เครื่อง Iphone 5 นั้นความเร็วของอินเทอร์เน็ตลงลดบ้างแต่ก็ยังลื่นไหลกว่าซิมที่ติด FUP อย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ตลอดเส้นทางมีอาการลดทอนคุณคุณภาพของสัญญาณลงมาอยู่ที่ EDGE บ้างเป็นบางช่วง โดยช่วงอำเภอแก่งคอยซึ่งเป็นภูมิประเทศแบบภูเขาเป็นส่วนมาก ระดับของสัญญาณแกว่งมาอยู่ที่ความเร็ว EDGE อยู่บ่อยครั้ง โดยการทดสอบดังกล่าวนี้อยู่บนเส้นทางหลวงทั้งสิ้น
     
       และเมื่อเดินทางมาถึงอำเภอนางรองก็ได้รับรายงานจากนายประเทศ ตันกุรานันท์ ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานปฏิบัติการโครงข่าย บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมในการเดินทางสำรวจเครือข่ายในครั้งนี้ว่า การทดสอบด้านเสียงโดยการโทรผ่านเครือข่ายเป็นเวลา 2 นาทีแล้วพักและโทรใหม่แบบนี้ไปเรื่อยๆ พบว่ามีอาการสายหลุดอยู่ 2-3 ครั้ง ในบางช่วงของการเดินทางจากกรุงเทพถึงบุรีรัมย์ แต่ก็เป็นสัดส่วนที่น้อยมากหากเทียบกับจำนวนครั้งที่โทร โดยรับว่าจะทำการปรับปรุงให้มีข้อผิดพลาดในอนาคตให้น้อยกว่าที่เป็นอยู่อย่างแน่นอน ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีครั้งนี้สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จกว่า 1,000 สถานีฐานทั่วภาคอีสานแล้ว หากแต่อาจจะต้องใช้เวลาสักพักเพื่อเปลี่ยนเทคโนโลยีใหม่ทั้งหมดเพื่อรองรับการใช้งานที่มากขึ้นในอนาคต


ทดลองทดสอบความเร็วสัญญาณที่โคราช นครราชสีมาด้วยเครื่อง HTC One

       เมื่อเดินทางถึงที่พักในบริเวณโรงแรมพบว่าระดับของสัญญาณมีอาการแกว่งอย่างเห็นได้ชัด โดยภายในห้องประชุมสังเกตเห็นสัญลักษณ์ 3G H และ E สลับกันแสดงบนเครื่อง HTC One อย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการไม่ได้สลับเข้าสู่เครือข่ายใหม่อย่างสมบูรณ์ของซิมการ์ดนั่นเอง และไม่นานนักจากที่พัก ทีมสำรวจก็ได้เดินทางสู่ปราสาทเหมือนต่ำ ซึ่งอยู่ติดขอบชายแดนประเทศกัมพูชา โดยเมื่อเข้าสู่ภายในอุทยานพบว่าระดับของสัญญาณเครื่อง Iphone 5 ยังสามารถทำความเร็วได้โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1 Mbps ในขณะที่เครื่อง HTC One ทำความเร็วได้ต่ำกว่าจนน่าตกในแม้ว่าจะมีสัญลักษณ์ H, 3G ขึ้นก็ตาม แต่เมื่อถ่ายภาพแล้วอัพโหลดขึ้นสู่เฟสบุ๊กแล้วกลับพบว่าการเข้าสู่ระบบมีโลโก้ E แสดงอย่างชัดเจน ทั้งนี้คณะทดสอบดังกล่าวมีกว่า 60 ชีวิต ซึ่งก็น่าจะเป็นไปได้ว่ามีการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างหนาแน่น เนื่องจากความสวยงามของปราสาทเหมือนต่ำในยามค่ำคืนเป็นภาพที่ใครๆก็อยากถ่ายเพื่อส่งต่อให้เพื่อนในโซเชียลได้ชื่นชมกัน
     
       จบการทดสอบของวันนี้ คณะสำรวจเดินทางเข้าที่พัก พร้อมลุยต่อในวันพรุ่งนี้ โดยทีมสำรวจจะเดินทางต่อไปที่จังหวัดในเขตภาคอีสานแล้วมาลองดูกันว่าการใช้งานเครือข่ายใหม่ของ Trinet จากดีแทคจะเป็นอย่างใรต่อไปครับ
     

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000059541


____________________________________________________




ดีแทคประกาศทุ่ม7พันล้านวางโครงข่าย3Gชิงพื้นที่อีสาน

ดีแทค” เดินสายภาคอีสาน พร้อมลงทุนโครงข่าย 3G เพิ่ม พร้อมยอมรับการเปิดให้บริการ 3G ทำให้ ต้นทุนลดลง จากเดิมจ่ายค่าสัมปทานให้กสท 30% ของรายได้ มาจ่ายค่าใบอนุญาตให้ กสทช.เพียง 5.25% ประกาศพร้อมประมูลคลื่นระบบ 4G

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2556 ที่ผ่านมา นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดตัวโครงการ “77/77 dtac Digital Thailand Road Trip” เป็นการเดินทางสู่ภาคอีสาน ครอบคลุมจังหวัดต่างๆ คือ นครราชสีมา – บุรีรัมย์ – สุรินทร์ - ศรีสะเกษ – อุบลราชธานี เพื่อเยี่ยมชมศูนย์บริการของดีแทคในจังหวัดต่างๆ การพบปะกับผู้แทนจำหน่ายและลูกค้าของดีแทคในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนการทำกิจกรรมเพื่อชุมชนและประชาสัมพันธ์โครงข่ายสื่อสารTriNet ของดีแทค

นายจอน กล่าวว่า บริษัท ดีแทคเนทเวอร์ค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของดีแทค และได้รับใบอนุญาต (ไลเซ่นส์)การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3Gบนย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์(GHz) นั้นมีความยินดีที่จะปรับราคาค่าบริการ 3G สำหรับบริการแบบเหมาจ่าย (แพ็กเกจ) เดิม ลง 15% ตามเงื่อนไขใบอนุญาตของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้กำหนดไว้

ทั้งนี้ ดีแทค ถือว่าได้เปรียบบริษัทอื่นๆ เพราะอายุสัญญาสัมปทานที่อายุยาวกว่า ผู้ให้บริการรายอื่นในตลาด โดยจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานที่ทำกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ในปี 2561 ในย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์(MHz) ที่ให้บริการระบบ 2G อยู่ขณะนี้ รวมถึงดีแทคยังมีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในระบบ 850 MHz (เอชเอสพีเอ) จำนวน 10 MHz ซึ่งทำให้ดีแทคมีความได้เปรียบในการถือครองคลื่นความถี่มากที่สุด จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบลงทุนสำหรับโครงข่ายระบบ 2.1 GHz (ภายใต้ใบอนุญาตกสทช.) ในเวลานี้ โดยดีแทคจะเปิดให้บริการ 3G ในเดือนมิถุนายน 2556 เป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วโดยปัจจุบันมีการอัพเกรดอุปกรณ์และติดตั้งอุปกรณ์โครงข่าย 2.1 GHz ในภาคอีสานที่มีจำนวนสถานีฐานแล้วราว 1,000 แห่ง ซึ่งการให้บริการ 3G ก็จะเปิดให้บริการควบคู่ไปกับการให้บริการ 3G บนย่านความถี่ 850 MHz ซึ่งขณะนี้มีสถานีฐานแล้วกว่า 5,200 แห่ง

สำหรับงบลงทุนในการขยายโครงข่าย 2.1 GHz สำหรับในภาคอีสานจะลงทุนราว 7,000 ล้านบาท จากงบลงทุนในภาพรวมและ 34,000 ล้านบาท ในการลงทุนโครงข่ายตลอด 3 ปี ที่ต้องขยายโครงข่ายให้ได้ 80% ครอบคลุมจำนวนประชากร ซึ่งตั้งเป้าว่าจะขยายได้ใน 3 ปี

ขณะที่จุดคุ้มทุนของการให้บริการ 3G บนย่านความถี่ 2.1 GHz จะถึงจุดคุ้มทุนของธุรกิจได้เมื่อไหร่นั้น นายจอน กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยากที่จะสามารถรับรู้ได้แต่การที่มีคลื่น 2.1 GHz จะช่วยลดการจ่ายค่าสัมปทานลง จากปัจจุบันที่ต้องจ่ายค่าสัมปทานให้ กสท จำนวน 30% ของรายได้ ในที่สุดแล้วเมื่อผู้ใช้บริการโอนย้ายคลื่นมาอยู่ภายใต้ในระบบ 2.1 GHz มากขึ้น ทำให้บริษัทชำระเพียงค่าใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) 5.25% ซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้ในระดับหนึ่ง และนำค่าใช้จ่ายเหล่านั้นหมุนกลับมาลงทุนสำหรับการพัฒนาโครงข่าย 3G (2.1 GHz) ต่อไป ในที่สุดผู้บริโภคก็จะได้รับบริการที่ดี และจะได้รับค่าบริการที่ถูกลงด้วย เนื่องจาก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจลดลง ที่มีปัจจัยต่างๆเกี่ยวข้อง จึงค่อนข้างยากที่จะทราบ ในขณะนี้ยังไม่มีตัวเลขที่จะสามารถมาอ้างอิงได้ว่าจะถึงจุดคุ้มทุนเมื่อไหร่

นายจอน กล่าวว่า ดีแทคมีความพร้อมที่จะคืนคลื่นความถี่ 1800 MHz ของบริษัท จำนวน 25 MHzให้กสทช.เมื่อสัมปทานสิ้นสุดลง เพื่อนำไปประมูลในระบบ4G และยังมีความสนใจที่จะประมูลคลื่นความถี่ย่านดังกล่าว กลับคืนมา

 http://www.naewna.com/business/52344


____________________________________



ดีแทคยกระดับโมบายอินเทอร์เน็ตทั่วไทย


ดีแทค ยกระดับเข้าถึงโมบายอินเทอร์เน็ตด้วย TriNet พร้อมทดสอบสัญญาณการใช้งาน 77 จังหวัด เริ่มเฟสแรกที่อีสาน

นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่าโครงการ 77/77 ดีแทค อินเทอร์เน็ต ฟอร์ ออล โรด ทริป (77/77 Internet For All Road Trip) เป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ของ “Internet for all” ที่เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของดีแทคที่ต้องการให้คนไทยทุกคนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ภายใน 3 ปี เพื่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและโอกาสต่าง ๆ ที่เท่าเทียมกัน และส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในที่สุดด้วยการครอบคลุมของสัญญาณคุณภาพ TriNet จากดีแทคที่เป็นโครงข่ายอัจฉริยะหนึ่งเดียวของไทยที่มีคลื่นความถี่มากที่สุด บนแบนด์วิธที่กว้างที่สุด

“ถ้าเทียบกับทุกภาคแล้วอัตราการเข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile penetration rate) ของภาคอีสานยังต่ำกว่าภาคอื่นคือ 64.12% ของจำนวนประชากรในภูมิภาค ในขณะที่กรุงเทพมีอัตราการเข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงสุดอยู่ที่ 84% ของประชากรในภูมิภาค นอกจากนั้น ภาคอีสานยังมีอัตราการเข้าถึงอุปกรณ์เทคโนโลยีสื่อสารและมีการใช้งานเพียง 21.5% ต่ำกว่ากรุงเทพซึ่งสูงถึง 44.4% ของจำนวนประชากรในภูมิภาค แนวโน้มที่น่าสนใจคือภาคอีสานกลับมีอัตราการเติบโตการใช้ดาต้าสูงสุดกว่าทุกภูมิภาคในประเทศไทย คือ จาก 8% เป็น 13% ภายใน 6 เดือน” นายจอนกล่าว

ภาคอีสานมีประชากรมากที่สุดคิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ หรือคิดเป็นจำนวนประชากรประมาณกว่า 23 ล้านคน ดีแทคจึงให้ความสำคัญแก่ภาคอีสานไม่ต่างจากพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย โดยเดินหน้าลงทุนพัฒนาโครงข่ายการใช้งานครอบคลุมทั้ง 850 MHz, 1800MHz และ 2100 MHz ซึ่งก็คือโครงข่ายอัจฉริยะ TriNet นั่นเอง

และเร็วๆ นี้ดีแทคจะเปิดตัวมือถือโออีเอ็มที่ผลิตขึ้นมาสำหรับดีแทคโดยเฉพาะเพื่อรองรับการใช้งานทั้ง 3 โครงข่ายในเครื่องเดียวทั้งแบบฟีเจอร์โฟน และสมาร์ทโฟนมาทำตลาดในราคาที่คุ้มค่าสำหรับลูกค้าดีแทค ทั้งนี้ ดีแทคยังมีแนวคิด More Choice  ด้วยการศึกษาความต้องการของลูกค้าอย่างจริงจังเพื่อนำมาสร้างสรรค์แพ็กเกจบริการ และผลิตภัณฑ์อุปกรณ์สื่อสารที่หลากหลายยิ่งขึ้น พร้อมระดับราคาที่มีความเหมาะสม คุ้มค่าที่สุด เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มทั่วประเทศ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ลูกค้าสามารถเลือกจับคู่แพ็กเกจการใช้โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตได้ตามการใช้งานจริงด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

นอกจากนั้น ดีแทคยังได้ปรับเปลี่ยนศูนย์บริการดีแทคและลงทุนครั้งใหญ่เป็นการลงทุนกว่า 150 ล้านบาทในภาคอีสาน โดยนำความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมาเป็นโจทย์ในการออกแบบบริการต่างๆ ตามแนวคิด Customer Centricity แนวคิดใหม่ที่มีคุณภาพเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งสุดท้ายดีแทคได้จัดรูปแบบร้านเป็น 3 รูปแบบคือ ดีแทคฮอลล์ ดีแทคเซ็นเตอร์ และดีแทคเอ็กซ์เพรส เพื่อตอบสนองการขายและบริการแบบครบวงจร (Sales & Service Integration) ซึ่งมีมุมที่ลูกค้าจะได้ทดลองใช้งานและเลือกซื้อสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ต่าง ๆ มีบริการแนะนำการใช้งานเครื่องและเลือกแพ็กเกจที่เหมาะสม

ผลการศึกษาระบุว่าการเพิ่มขึ้นของบริการ 3G จะส่งผลที่เป็นประโยชน์ต่อระดับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ โดยตรง และการเพิ่มขึ้นทุก 10% ของการใช้งานจาก 2G เป็น 3G จะทำให้รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี (GDP per captita) สูงขึ้นประมาณ 0.15% และจะช่วยเร่งกระตุ้นภาคเศรษฐกิจให้เกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ Internet for All ดีแทคกำลังผลักดันหลายโครงการให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมกับสังคมไทย อาทิ โครงการ Best Start ซึ่งสืบเนื่องมาจากผลการศึกษา ที่พบว่า ในแต่ละปี มีเด็กทารกแรกเกิดกว่า 5 หมื่นคนไม่ได้จดทะเบียนเกิด นำมาซึ่งปัญหาการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการเข้ารับการรักษา ทำให้ไม่ได้รับการรักษาและดูแลสุขภาพและการพัฒนาการทางร่างกายอย่างเหมาะสม รวมไปถึง หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้เข้ารับการดูแลฝากครรภ์กับแพทย์ ดีแทคจึงได้ร่วมมือกับกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ UNICEF เปิดการบริการ Mother and Child Information Service Center ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับแม่และเด็ก เพื่อการพัฒนาอนาคตของชาติที่ยั่งยืน และทางด่วนข้อมูลการเกษตร ที่เปิดช่องทางให้เกษตรกรไทยสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทางด้านการเกษตรและการทำตลาดผ่านโครงข่ายมือถือดีแทค

ทั้งนี้ โครงการ 77/77 อินเทอร์เน็ต ฟอร์ ออล โรด ทริป (77/77 Internet For All Road Trip) ดีแทคยังได้นำทีมทดสอบสัญญาณไดร์ฟเทสต์ (drive test) ไปทุกจังหวัดทั่วไทย ซึ่งเริ่มที่ภาคอีสานเป็นภาคแรก และยังมีภาคอื่นๆ ตามมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโครงการนี้จะตอกย้ำความสำเร็จจากการเปิดตัว TriNet จากดีแทค หรือ โครงข่ายอัจฉริยะที่รวมคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ คลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ และคลื่น 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ เข้าไว้ด้วยกัน และเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมหนึ่งเดียวของไทยที่มีคลื่นความถี่มากที่สุด บนแบนด์วิธที่กว้างที่สุด เพื่อมุ่งสู่ธุรกิจโมบายอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบอีกด้วย


http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8
%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/222989/%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8
%97%E0%B8%84%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0
%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%8
0%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95%E0%
B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

_______________________________________



ดีแทคชูวิสัยทัศน์ “Internet for all” เข้าถึงโมบายล์อินเตอร์เน็ตด้วย TriNet ทั่วไทย


ดีแทคพร้อมลุยโครงการ 77/77 อินเทอร์เน็ต ฟอร์ ออล โรด ทริป (77/77 Internet For All Road Trip) หลังเปิดตัว TriNet สามโครงข่ายอัจฉริยะหนึ่งเดียวในไทย พร้อมผลักดันความเท่าเทียมในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทุกพื้นที่ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วประเทศ สร้างมิติใหม่ใช้ภาคโทรคมนาคมช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติ ลุยประเดิมไดร์ฟเทสต์อีสานภาคแรกทดสอบสัญญาณเพื่อสร้างความมั่นใจ เชื่อการใช้งานอีสานยังเติบโตได้อีกมาก

นายจอน เอ็ดดี้ อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค กล่าวว่าโครงการ 77/77 ดีแทค อินเทอร์เน็ต ฟอร์ ออล โรด ทริป (77/77 Internet For All Road Trip) เป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ของ “Internet for all” ที่เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของดีแทคที่ต้องการให้คนไทยทุกคนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ภายใน 3 ปี เพื่อการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและโอกาสต่าง ๆ ที่เท่าเทียมกัน และส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในที่สุดด้วยการครอบคลุมของสัญญาณคุณภาพ TriNet จากดีแทคที่เป็นโครงข่ายอัจฉริยะหนึ่งเดียวของไทยที่มีคลื่นความถี่มากที่สุด บนแบนด์วิธที่กว้างที่สุด

“การใช้งานอินเทอร์เน็ตในภาคอีสานยังสามารถเติบโตได้อีกมาก เพราะที่ผ่านมาประสบปัญหาการเข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ตแบบเดิมที่มาตามสาย ทำให้มีอุปสรรคในการเข้าถึงของแต่ละพื้นที่ แต่ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี 3G จะทำให้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างเท่าเทียมและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ถ้าเทียบกับทุกภาคแล้วอัตราการเข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile penetration rate) ของภาคอีสานยังต่ำกว่าภาคอื่นคือ 64.12% ของจำนวนประชากรในภูมิภาค ในขณะที่กรุงเทพมีอัตราการเข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สูงสุดอยู่ที่ 84% ของประชากรในภูมิภาค นอกจากนั้น ภาคอีสานยังมีอัตราการเข้าถึงอุปกรณ์เทคโนโลยีสื่อสารและมีการใช้งานเพียง 21.5% ต่ำกว่ากรุงเทพซึ่งสูงถึง 44.4% ของจำนวนประชากรในภูมิภาค แนวโน้มที่น่าสนใจคือภาคอีสานกลับมีอัตราการเติบโตการใช้ดาต้าสูงสุดกว่าทุกภูมิภาคในประเทศไทย คือ จาก 8% เป็น 13% ภายใน 6 เดือน” นายจอนกล่าว

ภาคอีสานมีประชากรมากที่สุดคิดเป็น 1 ใน 3 ของประเทศ หรือคิดเป็นจำนวนประชากรประมาณกว่า 23 ล้านคน ดีแทคจึงให้ความสำคัญแก่ภาคอีสานไม่ต่างจากพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย โดยเดินหน้าลงทุนพัฒนาโครงข่ายการใช้งานครอบคลุมทั้ง 850 MHz, 1800MHz และ 2100 MHz ซึ่งก็คือโครงข่ายอัจฉริยะ TriNet นั่นเอง และเร็วๆ นี้ดีแทคจะเปิดตัวมือถือโออีเอ็มที่ผลิตขึ้นมาสำหรับดีแทคโดยเฉพาะเพื่อรองรับการใช้งานทั้ง 3 โครงข่ายในเครื่องเดียวทั้งแบบฟีเจอร์โฟน และสมาร์ทโฟนมาทำตลาดในราคาที่คุ้มค่าสำหรับลูกค้าดีแทค ทั้งนี้ ดีแทคยังมีแนวคิด More Choice เกิดจากกลยุทธ์การมุ่งให้ความสำคัญกับลูกค้า Customer Centricity ด้วยการศึกษาความต้องการของลูกค้าอย่างจริงจังเพื่อนำมาสร้างสรรค์แพ็กเกจบริการ และผลิตภัณฑ์อุปกรณ์สื่อสารที่หลากหลายยิ่งขึ้น พร้อมระดับราคาที่มีความเหมาะสม คุ้มค่าที่สุด เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มทั่วประเทศ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ลูกค้าสามารถเลือกจับคู่แพ็กเกจการใช้โทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตได้ตามการใช้งานจริงด้วยตัวเองอย่างแท้จริง

นอกจากนั้น ดีแทคยังได้ปรับเปลี่ยนศูนย์บริการดีแทคและลงทุนครั้งใหญ่เป็นการลงทุนกว่า 150 ล้านบาทในภาคอีสาน โดยนำความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมาเป็นโจทย์ในการออกแบบบริการต่างๆ ตามแนวคิด Customer Centricity แนวคิดใหม่ที่มีคุณภาพเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งสุดท้ายดีแทคได้จัดรูปแบบร้านเป็น 3 รูปแบบคือ ดีแทคฮอลล์ ดีแทคเซ็นเตอร์ และดีแทคเอ็กซ์เพรส เพื่อตอบสนองการขายและบริการแบบครบวงจร (Sales & Service Integration) ซึ่งมีมุมที่ลูกค้าจะได้ทดลองใช้งานและเลือกซื้อสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์ต่าง ๆ มีบริการแนะนำการใช้งานเครื่องและเลือกแพ็กเกจที่เหมาะสม

ผลการศึกษาระบุว่าการเพิ่มขึ้นของบริการ 3G จะส่งผลที่เป็นประโยชน์ต่อระดับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ โดยตรง และการเพิ่มขึ้นทุก 10% ของการใช้งานจาก 2G เป็น 3G จะทำให้รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี (GDP per captita) สูงขึ้นประมาณ 0.15% และจะช่วยเร่งกระตุ้นภาคเศรษฐกิจให้เกิดการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น ภายใต้วิสัยทัศน์ Internet for All ดีแทคกำลังผลักดันหลายโครงการให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมกับสังคมไทย อาทิ โครงการ Best Start ซึ่งสืบเนื่องมาจากผลการศึกษา ที่พบว่า ในแต่ละปี มีเด็กทารกแรกเกิดกว่า 5 หมื่นคนไม่ได้จดทะเบียนเกิด นำมาซึ่งปัญหาการเข้าถึงบริการสาธารณสุขและการเข้ารับการรักษา ทำให้ไม่ได้รับการรักษาและดูแลสุขภาพและการพัฒนาการทางร่างกายอย่างเหมาะสม รวมไปถึง หญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้เข้ารับการดูแลฝากครรภ์กับแพทย์ ดีแทคจึงได้ร่วมมือกับกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ UNICEF เปิดการบริการ Mother and Child Information Service Center ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับแม่และเด็ก เพื่อการพัฒนาอนาคตของชาติที่ยั่งยืน และทางด่วนข้อมูลการเกษตร ที่เปิดช่องทางให้เกษตรกรไทยสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทางด้านการเกษตรและการทำตลาดผ่านโครงข่ายมือถือดีแทค

ทั้งนี้ โครงการ 77/77 อินเทอร์เน็ต ฟอร์ ออล โรด ทริป (77/77 Internet For All Road Trip) ดีแทคยังได้นำทีมทดสอบสัญญาณไดร์ฟเทสต์ (drive test) ไปทุกจังหวัดทั่วไทย ซึ่งเริ่มที่ภาคอีสานเป็นภาคแรก และยังมีภาคอื่นๆ ตามมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโครงการนี้จะตอกย้ำความสำเร็จจากการเปิดตัว TriNet จากดีแทค หรือ โครงข่ายอัจฉริยะที่รวมคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ คลื่น 850 เมกะเฮิร์ตซ์ และคลื่น 2100 เมกะเฮิร์ตซ์ เข้าไว้ด้วยกัน และเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมหนึ่งเดียวของไทยที่มีคลื่นความถี่มากที่สุด บนแบนด์วิธที่กว้างที่สุด เพื่อมุ่งสู่ธุรกิจโมบายอินเทอร์เน็ตเต็มรูปแบบอีกด้วย

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=183637:-internet-for-all--trinet-&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.