Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 พฤษภาคม 2556 สื่อโฆษณาQ1เศร้าโตเพียง 2%จาก10% ชี้เพราะกำลังซื้อน้อยลง // มุมโทรคมนาคมซื่อโฆษณาเพิ่ม Real Move (ทรูมูฟ เอช) 35%


ประเด็นหลัก

    นางวรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย  และประธานกรรมการบริหาร บริษัทไอพีจี มีเดีย แบรนด์ส จำกัด  เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ไตรมาสแรกของปีนี้สื่อมีเดียโดยภาพรวมลดลงจากเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้  จากเดิมในปีที่ผ่านมาตลาดมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และสมาคมประเมินสถานการณ์แล้วคาดว่าปีนี้จะเติบโตดีเช่นเดิม พร้อมทั้งตั้งเป้าเติบโต 10% ในไตรมาสแรก แต่ตัวเลขที่สำรวจออกมาพบว่าสื่อมีเดียในไตรมาสแรกมีการเติบโตเพียง 2% เท่านั้น ซึ่งตัวเลขที่ลดลงคาดว่าจะเกิดจากหลายปัจจัย อาทิ  การออกแคมเปญที่ล่าช้า , กำลังซื้อจากบ้านหลังแรก ,รถยนต์คันแรก และการลดงบการใช้จ่ายของแบรนด์ต่างประเทศ เป็นต้น


  ทั้งนี้เมื่อดูตัวเลขแบรนด์ต่างๆที่ใช้จ่ายงบโฆษณาระหว่างไตรมาสแรกของปีนี้เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วพบว่า แบรนด์ที่ใช้งบโฆษณาลดลง คือ ยูนิลีเวอร์ -2% ,พรอคเตอร์แอนด์แกมเบิล -8% และBeiersdorf  -18% ขณะที่แบรนด์โลคัลส่วนใหญ่กลับใช้จ่ายงบโฆษณามากขึ้น อาทิ ซีพี กรุ๊ป ใช้งบเพิ่มขึ้น 56% , ดัชมิลล์ 62%,โอสถสภา 14% , Real Move (ทรูมูฟ เอช) 35% ,  เนสท์เล่ + เอฟ แอนด์ เอ็น แดรี่  9% , โคคา -โคลา (ไทยแลนด์) 36% และโตโยต้า 8%
    ขณะที่ 5 อันดับบริษัทที่ใช้จ่ายงบโฆษณาสูงสุดได้แก่  ยูนิลีเวอร์ 1.48 พันล้านบาท , โตโยต้า มอเตอร์ 505 ล้านบาท , พรอคเตอร์แอนด์แกมเบิล 490 ล้านบาท ,โคคา-โคลา (ไทยแลนด์)  454 ล้านบาท และ เนสท์เล่ + เอฟ แอนด์ เอ็น แดรี่  404 ล้านบาท (ดูตามตาราง)
    นอกจากนี้คาดว่าในไตรมาส 2 อัตราการเติบโตการใช้จ่ายงบโฆษณาของแบรนด์ต่างๆจะเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อยราว  5-6% ซึ่งหากการใช้จ่ายงบโฆษณาของแบรนด์ต่างประเทศยังลดลงอย่างนี้ต่อเนื่อง สมาคมมองว่าอาจจะเข้าสู่สถานการณ์วิกฤติเช่นเดียวกับปี 2544 หรือยุควิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ก็เป็นได้
    นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ กล่าวอีกว่า ภาพรวมของการใช้จ่ายสื่อในไตรมาสแรก พบว่ามีการใช้จ่ายเงินซื้อสื่อรวม 2.78 หมื่นล้านบาท แบ่งตามประเภทของสื่อ พบว่า สื่อโทรทัศน์ ยังเป็นสื่อที่มีการใช้จ่ายมากสุดคือ 1.65 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 59%  รองลงมาได้แก่  สื่อหนังสือพิมพ์ 4.93 พันล้านบาท และ สื่อวิทยุ 1.47 พันล้านบาท แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จะพบว่า สื่อโทรทัศน์ มีการเติบโตเพิ่มขึ้น 4% , สื่อวิทยุ - 2% ,สื่อสิ่งพิมพ์  1% ,สื่อโรงภาพยนตร์ -22% ,สื่อ outdoor  -7% , สื่อ transit 30% ,สื่อ In-store  17% และสื่อinternet  53%








______________________________________







สื่อโฆษณาQ1วืดโต2% ส.มีเดียฯ วิตกซ้ำรอยวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์




นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ  เผยยอดใช้จ่ายสื่อไตรมาสแรกวืดเป้า โตแค่ 2%  ชี้สัญญาณร้ายซ้ำรอยวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หลังบริษัทต่างชาติทั้งยูนิลีเวอร์/พีแอนด์จี/ไบเออร์สด๊อรฟ หั่นงบลดทุ่มเงินโฆษณา  ส่งผล 3 เดือน เม็ดเงินสะพัด 2.78 หมื่นล้าน ขณะที่สื่อฮอต อันดับ 1 ยังคงเป็นโทรทัศน์ ตามติดด้วยหนังสือพิมพ์และวิทยุ ส่วนสื่ออินเตอร์เน็ตโตพรวด 53%

    นางวรรณี รัตนพล นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย  และประธานกรรมการบริหาร บริษัทไอพีจี มีเดีย แบรนด์ส จำกัด  เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ไตรมาสแรกของปีนี้สื่อมีเดียโดยภาพรวมลดลงจากเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้  จากเดิมในปีที่ผ่านมาตลาดมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และสมาคมประเมินสถานการณ์แล้วคาดว่าปีนี้จะเติบโตดีเช่นเดิม พร้อมทั้งตั้งเป้าเติบโต 10% ในไตรมาสแรก แต่ตัวเลขที่สำรวจออกมาพบว่าสื่อมีเดียในไตรมาสแรกมีการเติบโตเพียง 2% เท่านั้น ซึ่งตัวเลขที่ลดลงคาดว่าจะเกิดจากหลายปัจจัย อาทิ  การออกแคมเปญที่ล่าช้า , กำลังซื้อจากบ้านหลังแรก ,รถยนต์คันแรก และการลดงบการใช้จ่ายของแบรนด์ต่างประเทศ เป็นต้น
    "ตอนนี้ไม่มีใครทราบสาเหตุว่าทำไมตลาดมีเดียจึงลดลงจากเป้าที่คาดการณ์ไว้เป็นจำนวนมาก  จากความคิดเห็นส่วนตัว กำลังซื้อของผู้บริโภคในปีนี้ค่อนข้างสูงเนื่องจากปรับค่าแรงขั้นต่ำขึ้นมาแล้ว อีกทั้งในแง่ของกลุ่มคนต่างจังหวัดก็มีรายได้จากเงินประกันราคาข้าว ดังนั้นรายได้ของผู้บริโภคค่อนข้างสูงขึ้น แต่ทำไมงบโฆษณาที่นำมาใช้จ่ายจึงถูกตัด ซึ่งเรื่องดังกล่าวยังเป็นที่แปลกใจของสมาคมและหลายฝ่ายอยู่มาก อีกทั้งข้อมูลที่ออกมาพบว่าแบรนด์ที่ลดอัตรางบโฆษณาลงส่วนใหญ่จะเป็นแบรนด์สินค้าต่างประเทศทั้งสิ้น เช่น ยูนิลีเวอร์ ,พีแอนด์จี และBeiersdorf เป็นต้น"
    ทั้งนี้เมื่อดูตัวเลขแบรนด์ต่างๆที่ใช้จ่ายงบโฆษณาระหว่างไตรมาสแรกของปีนี้เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วพบว่า แบรนด์ที่ใช้งบโฆษณาลดลง คือ ยูนิลีเวอร์ -2% ,พรอคเตอร์แอนด์แกมเบิล -8% และBeiersdorf  -18% ขณะที่แบรนด์โลคัลส่วนใหญ่กลับใช้จ่ายงบโฆษณามากขึ้น อาทิ ซีพี กรุ๊ป ใช้งบเพิ่มขึ้น 56% , ดัชมิลล์ 62%,โอสถสภา 14% , Real Move (ทรูมูฟ เอช) 35% ,  เนสท์เล่ + เอฟ แอนด์ เอ็น แดรี่  9% , โคคา -โคลา (ไทยแลนด์) 36% และโตโยต้า 8%
    ขณะที่ 5 อันดับบริษัทที่ใช้จ่ายงบโฆษณาสูงสุดได้แก่  ยูนิลีเวอร์ 1.48 พันล้านบาท , โตโยต้า มอเตอร์ 505 ล้านบาท , พรอคเตอร์แอนด์แกมเบิล 490 ล้านบาท ,โคคา-โคลา (ไทยแลนด์)  454 ล้านบาท และ เนสท์เล่ + เอฟ แอนด์ เอ็น แดรี่  404 ล้านบาท (ดูตามตาราง)
    นอกจากนี้คาดว่าในไตรมาส 2 อัตราการเติบโตการใช้จ่ายงบโฆษณาของแบรนด์ต่างๆจะเพิ่มมากขึ้นเล็กน้อยราว  5-6% ซึ่งหากการใช้จ่ายงบโฆษณาของแบรนด์ต่างประเทศยังลดลงอย่างนี้ต่อเนื่อง สมาคมมองว่าอาจจะเข้าสู่สถานการณ์วิกฤติเช่นเดียวกับปี 2544 หรือยุควิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ก็เป็นได้
    นายกสมาคมมีเดียเอเยนซี่ฯ กล่าวอีกว่า ภาพรวมของการใช้จ่ายสื่อในไตรมาสแรก พบว่ามีการใช้จ่ายเงินซื้อสื่อรวม 2.78 หมื่นล้านบาท แบ่งตามประเภทของสื่อ พบว่า สื่อโทรทัศน์ ยังเป็นสื่อที่มีการใช้จ่ายมากสุดคือ 1.65 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 59%  รองลงมาได้แก่  สื่อหนังสือพิมพ์ 4.93 พันล้านบาท และ สื่อวิทยุ 1.47 พันล้านบาท แต่เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จะพบว่า สื่อโทรทัศน์ มีการเติบโตเพิ่มขึ้น 4% , สื่อวิทยุ - 2% ,สื่อสิ่งพิมพ์  1% ,สื่อโรงภาพยนตร์ -22% ,สื่อ outdoor  -7% , สื่อ transit 30% ,สื่อ In-store  17% และสื่อinternet  53%
    โดยสื่อที่น่าจับตามองมากที่สุด คือ สื่อแซตเทลไลต์ทีวี เพราะถึงแม้ในปีนี้จะเกิดทีวีดิจิตอลแต่ก็ยังเชื่อว่าสื่อดังกล่าวจะเติบโต เนื่องจากผู้บริโภคต้องการชมรายการที่หลากหลายมากขึ้น ดังนั้นสื่อแซตเทลไลต์ที่ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่มีช่องให้เลือกกว่า 200 ช่องจะเติบโตก้าวกระโดดในอนาคต  และทิศทางการเติบโตดังกล่าวจะเติบโตเหมือนตลาดสหรัฐอเมริกา และไต้หวัน  นอกจากนี้แม้จะมีช่องรายการที่เพิ่มขึ้นแต่ในฐานะนายกสมาคมมองว่าอัตราค่าโฆษณาฟรีทีวีจะไม่ลดลง แต่จะเป็นการใช้วิธีแถมสปอร์ตโฆษณาเข้ามาแทนที่
    ด้านภาพรวมของบริษัท ไอพีจีฯ ในปีที่ผ่านมามีอัตราการเติบโต 30% และปีนี้ตั้งเป้าหมายที่จะเติบโตกว่า 10%  อีกทั้งในปีนี้บริษัทมีลูกค้าใหม่ในกลุ่มโลคัลเข้ามาจำนวนมาก เช่น บีควิก , ไทยทิพรส , แอตแลนติกฟูดส์ และซีพีเอฟ เอ็กซ์ตร้า เป็นต้น ขณะเดียวกันบริษัทมีเป้าหมายระยะยาว จนถึงปี 2558 จะปรับปรุงองค์กร และมุ่งเน้นด้านดิจิตอล แบรนด์เดดคอนเทนต์ มากขึ้น  พร้อมทั้งในแง่การแข่งขันของมีเดียเอเยนซีปีนี้ทุกฝ่ายจะพยายามดึงลูกค้ากันมากขึ้น ขณะที่มีเดียเอเยนซีต่างประเทศก็จะเข้ามารุกตลาดประเทศไทยมากขึ้นด้วย

 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=183270:q12-&catid=106:-marketing&Itemid=456

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.