Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 พฤษภาคม 2556 (บทความ) ความท้าทายของสื่อสารมวลชน กับโลก Online ยุค 3G // วิเชียร CEO AIS ชี้ ต้องช่วยกันส่งเสริมให้คนใช้ Social Media ในทางสร้างสรรค์ ตั้งสติก่อน กดแบ่งปัน!!


ประเด็นหลัก



เพราะสื่อมวลชนจะมีกรอบของจริยธรรมสื่อควบคุมอยู่ หรือเรียกง่าย ๆ ว่ามีจิตสำนึกที่จะตรวจสอบ บาลานซ์ข้อเท็จจริง ด้วยการให้โอกาสทุกฝ่ายได้ชี้แจง เลือกที่จะนำเสนออย่างเหมาะสม หากประเด็นนั้นสุ่มเสี่ยง

เรา กำลังเจอเรื่องนี้มากขึ้นทุกวัน จนขอเรียกว่า การขยายข่าวสารแบบ Persons to Persons และ Gorilla War Fair หรือเอาให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ใน Social Network จะสามารถเกิดสงครามกองโจรได้เสมอจาก Normal User ที่สร้างสรรค์ Content ขึ้นมาเอง

ผมเคยตั้งคำถามกับทีมและน้อง ๆ บางท่านที่เป็นสื่อ ต่างบอกกันว่า ต้องช่วยกันส่งเสริมให้คนใช้ Social Media ในทางสร้างสรรค์ และองค์กรต่าง ๆ ทั้งสื่อและที่ประกอบธุรกิจอื่นก็ต้องหันมาช่วยรณรงค์ประเด็นนี้กันด้วย อาทิ เห็นเขา Forward อะไรมา ให้หยุดอ่านซะก่อน อย่าเพิ่งเอะอะก็กด Share แบบนั้นก็เท่ากับเราเองนั่นแหละไปเสริมให้เรื่องมันถูกขยายต่อ

สรุปต้องใช้สติและมีจุดยืนมาก ๆ



______________________________________







ความท้าทายของสื่อสารมวลชน กับโลก Online ยุค 3G


คอลัมน์ เรื่องเล่าซีอีโอ โดย วิเชียร เมฆตระการ

ครั้ง นี้ผมกล้าหาญพูดถึงเรื่องที่มิได้มีความชำนาญเอาซะเลย เนื่องด้วยเกิดมาเป็นวิศวกรที่พูดจาตรงไปตรงมาสุดสุด เพียงแต่สนใจเรื่องความท้าทายของสื่อมวลชนเมื่อ New Media ทางโลก Online เริ่มเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้น แล้วสื่อมวลชนจะปรับตัวตามอย่างไร

ส่วนตัวผมขอบอกแบบไม่อายว่า แม้จะเป็น CEO บริษัทสื่อสาร แต่ตัวเองกลับไม่เล่น Social Media เลย เพราะต้องการความเป็นส่วนตัว !

ลูกน้องผมเคยแซวว่า CEO เราส่วนตัวม้ากกกกกก ไม่ต้องมีหรอก FB, IG, TWT เพราะลงหนังสือพิมพ์บ่อยเหลือเกิน ก็คงจะส่วนตัว (มาก)

ว่า ไปก็เป็นข้อดีที่คนไม่ค่อยรู้จัก อย่างวันก่อนผมเดินไปกินก๋วยเตี๋ยวแถว Office คนเดียว ระหว่างกำลังนั่งซดอย่างหน้าดำหน้าแดง (เพราะเผ็ด) พลันก็มีชายหนุ่ม Office แถวนั้นมาขอนั่งด้วย เพราะทั้งร้านเต็มหมด ซึ่งผมก็เชื้อเชิญเต็มที่ แล้วก็ก้มหน้าหม่ำต่อ

พ่อหนุ่มคนนั้น ระหว่างรอก๋วยเตี๋ยวก็ถามผมแก้เขินว่า พี่อยู่เอไอเอสเหรอครับ (เพราะผมใส่เสื้อบริษัท) ดูแลอะไรเหรอ เพราะผมมีเพื่อนอยู่ที่นั่นเหมือนกัน

เผื่อจะรู้จักกันมั่ง ไอ้ตัวผมก็กำลังเคี้ยวเลยบอกไปสั้น ๆ ว่า "ดูแลทั่วไปแหละครับ"

จากนั้นต่างคนก็ต่างก้มหน้าก้มตาหม่ำชามของตัวเองจนหมด

สุด ท้ายกำลังจะแยกกัน พ่อหนุ่มคนนั้นก็เลยบอกว่า รบกวนขอนามบัตรพี่ได้มั้ย เผื่อจะได้ไปถามเพื่อน ผมก็เลยต้องยื่นให้เขาไป แล้วก็รีบเดินกลัวเขาเขิน

เพราะตำแหน่งที่ดูแลทั่วไปก็แค่ CEO เอ๊งงงง

นอกเรื่องมาซะยาว เอาเป็นว่า ถ้าผมทำตัวดัง ๆ เด่น ๆ โดด ๆ ทั้งในโลก Online และ Offline คงไม่มี Moment น่ารักแบบนี้แน่

ในขณะที่บางท่านพอผมบอกว่า ไม่เล่น Social Network ก็อาจจะไปแอบเมาท์กันว่า CEO ประสาอะไรไม่ยอมอินเทรนด์ แบบนี้จะไล่ตามลูกค้าได้อย่างไร !

ขอ แอบปฏิเสธว่า ผมไม่ได้ Out ขนาดนั้น เพียงแค่ส่วนตัวไม่ชอบเล่น Social Network เท่านั้น แต่ถ้าเรื่องติดตามข่าวสาร ติดตามพฤติกรรมลูกค้า หรืออ่านหนังสือ ผมไม่เป็นรองใครแน่นอน...

ย้อนกลับมาเข้าประเด็นที่ อยากชวนคุยดีกว่า วันนี้ 3G 2100 ได้เริ่มเกิดอย่างเป็นทางการแล้วในประเทศไทย ทั้ง 3 ค่ายต่างก็งัดกลยุทธ์การตลาดกันเต็มที่เพื่อจับจองใจลูกค้า

โดยส่วนตัวผมชอบบรรยากาศแบบนี้ เพราะคึกคัก อะดรีนาลินหลั่งดี สนุกและใจเต้นตลอดเวลา !

เรื่องการแข่งขันก็ว่ากันไป แต่ที่น่าสนใจกว่าก็คือ Effect ของเทคโนโลยีอย่าง 3G มีมิติที่น่าสนใจมากมาย อาทิ

1.สื่อสาร : ทุกที่ ทุกเวลา สำหรับทุกคน

2.การศึกษา : โอกาสที่จะเชื่อมต่อกับโลกแห่งการเรียนรู้แบบไร้ข้อจำกัด

3.เศรษฐกิจ : ขยายและลบข้อจำกัดในการเติบโต และสร้างศักยภาพทางการแข่งขันให้แข็งแรงขึ้น

4.สุขภาพ : โอกาสในการรับการรักษาที่เท่าเทียมจาก Telemedicine, Telematics

5.การเกษตร : โอกาสในการรับรู้ข้อมูลการขาย และขยายความรู้ในการเสริมคุณภาพของผลผลิต

6.คุณภาพชีวิต : การกระจายโอกาสต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตทุกด้าน

7.การพัฒนาคน : ศึกษาทางไกลด้วยตนเอง

8.ระบบขนส่ง : พัฒนาระบบนำทาง และบริหารจัดการระบบขนส่งอย่างมีประสิทธิภาพ

9.ความบันเทิง : เข้าถึง Content ความบันเทิงทุกเวลาที่ต้องการ

10.สิ่งแวดล้อม : ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ, เวลา และประหยัด

อีกมิติที่ผมสนใจมากและแอบเฝ้าดูอยู่ตลอดก็คือ ความท้าทายของสื่อสารมวลชนกับโลก Online ยุค 3G จะเป็นอย่างไร

พวก เราคงไม่ปฏิเสธว่า วันนี้ข้อมูลข่าวสารแบบที่เรียกว่า Self Generate Content มากมายเหลือเกิน และเกือบทั้งหมดอยู่ในโลก Online ที่ชวนคุยเรื่องนี้ไม่ได้จะพูดว่าพฤติกรรมเป็นเรื่องน่ากลัว หรือเป็นเรื่องน่ารัก แต่นี่คือปรากฏการณ์

เหล่านี้ให้ทั้งมุมน่ารัก อาทิ เมื่อมีคนถูกรังแก ได้รับความไม่เป็นธรรม สื่อนี้จะช่วยเปิดโอกาสให้ได้รับความช่วยเหลือ เห็นได้จากหลายกรณีที่เกิดขึ้น หรือบางครั้งเป็นมุมของการสร้างโอกาสใหม่ ๆ Business Model ใหม่ ๆ ของสื่อเองด้วย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละค่ายจะมีลูกเล่นอย่างไร ซึ่งข้อนี้เอไอเอสยินดีเข้าไปร่วมสนับสนุนอย่างมาก เพราะเท่ากับสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ด้วย

แต่บางครั้งก็มีมุมที่ผมว่าน่ากลัว หากไม่มีการ Balance หรือถ่วงดุลแห่งอำนาจไว้บ้าง !

ซึ่ง ที่ผมสนใจมากกว่านั้น คือ การนำเสนอเนื้อหาในโลก Online บางเรื่อง มิได้ผ่านกระบวนการคัดกรองอย่างเหมาะสม อาจเพราะเป็นการนำเสนอโดยคน โดยกลุ่มบุคคลที่มีความมุ่งหวังให้เกิดผลทางใดทางหนึ่งที่วางไว้ ซึ่งแน่นอนย่อมไม่ได้ให้ข้อมูลที่ครบถ้วนทุกด้าน บาลานซ์ และระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นการ Share, Post, Download, Comment, Forward !

มุมนี้แตกต่างจากการที่เราเสพข่าวสารจากสื่อมวลชนแน่นอน !

เพราะสื่อมวลชนจะมีกรอบของจริยธรรมสื่อควบคุมอยู่ หรือเรียกง่าย ๆ ว่ามีจิตสำนึกที่จะตรวจสอบ บาลานซ์ข้อเท็จจริง ด้วยการให้โอกาสทุกฝ่ายได้ชี้แจง เลือกที่จะนำเสนออย่างเหมาะสม หากประเด็นนั้นสุ่มเสี่ยง

เรา กำลังเจอเรื่องนี้มากขึ้นทุกวัน จนขอเรียกว่า การขยายข่าวสารแบบ Persons to Persons และ Gorilla War Fair หรือเอาให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ใน Social Network จะสามารถเกิดสงครามกองโจรได้เสมอจาก Normal User ที่สร้างสรรค์ Content ขึ้นมาเอง

ผมเคยตั้งคำถามกับทีมและน้อง ๆ บางท่านที่เป็นสื่อ ต่างบอกกันว่า ต้องช่วยกันส่งเสริมให้คนใช้ Social Media ในทางสร้างสรรค์ และองค์กรต่าง ๆ ทั้งสื่อและที่ประกอบธุรกิจอื่นก็ต้องหันมาช่วยรณรงค์ประเด็นนี้กันด้วย อาทิ เห็นเขา Forward อะไรมา ให้หยุดอ่านซะก่อน อย่าเพิ่งเอะอะก็กด Share แบบนั้นก็เท่ากับเราเองนั่นแหละไปเสริมให้เรื่องมันถูกขยายต่อ

สรุปต้องใช้สติและมีจุดยืนมาก ๆ

พี่ ๆ น้อง ๆ สื่อมีไอเดียเรื่องนี้กันยังไงบ้าง ฝากนำมาเล่าสู่กันฟังนะครับ

ผมว่าน่าสนใจที่จะต่อยอดท่ามกลางสังคมยุค 3-4G ในทุกวันนี้

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1368786923

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.