Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 พฤษภาคม 2556 มีผลแน่นอน!!! 1 กรกฎาคม ลดค่าบริการการย้ายค่าย เหลือ 29 บาท ( กลุ่มองครักษ์พิทักษ์ค่ายมือถือ แฉ AIS ย้ายลูกค้าผ่านทาง SMS ถือว่าผิดกฏหมาย )


ประเด็นหลัก


นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติเมื่อวันที่ 21 พ.ค อนุมัติค่าธรรมเนียมการโอนย้ายเลขหมายตามบริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์ พอร์ทิบิลิตี้)ในอัตรา 29 บาท ลดลงจากราคาที่เรียกเก็บในปัจจุบันอยู่ที่ 99 บาท  โดยมีผลตั้งแต่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป

ทั้งนี้ เดิมที่ผู้ให้บริการทั้ง 3 รายเสนอเก็บค่าบริการที่ 39 บาทเป็นระยะเวลา 2 เดือน ก่อนจะลดลงเหลือ 29 บาท แต่บอร์ดเห็นว่าควรเก็บค่าบริการที่ 29 บาทเลย และให้ทุกรายเร่งดำเนินการเพื่อให้เปิดบริการได้ทันวันที่ 1 ก.ค. หรือเปิดได้ทันทีหากสามารถดำเนินการได้เร็วกกว่านั้น  โดยการโอนย้ายจะใช้เวลา 3วัน

นอกจากนี้ ยังได้ให้หน่วยงานกลางเพื่อดำเนินการย้ายเลขหมาย (เคลียริ่งเฮ้าส์) เพิ่มปริมาณการโอนย้ายจาก 4 หมื่นเลขหมายเป็น 3 แสนเลขหมายต่อวัน เพื่อรองรับปริมาณการโอนย้ายที่จะเพิ่มมากขึ้น หลังผู้ให้บริการทุกรายเปิด 3 จี เต็มรูปแบบ

สำหรับภาพรวมนัมเบอร์พอร์ทิบิลิตี้เดือนเม.ย. มีการโอนย้ายอยู่ที่ 8 หมื่นเลขหมาย  โดยทรูมูฟ มีการโอนย้ายมากที่สุดจาก ทรูมูฟไปทรูมูฟเอช รองลงมาคือ บริษัท  แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ขณะที่จำนวนเลขหมายที่มีอยู่ในระบบประมาณ 120 ล้านเลขหมาย และมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องจำนวน 88 ล้านเลขหมาย




 แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมตั้งข้อสังเกตุว่า ขณะนี้ได้เกิดกลุ่มองครักษ์พิทักษ์ค่ายมือถือพยายามที่จะไล่ล่าประเด็นบริการคงสิทธิเลขหมาย หรือ การย้ายค่ายเบอร์เดิม โดยเฉพาะหลังจากที่เอไอเอสแถลงลูกค้าที่ย้ายเข้ามาใช้ระบบ 3G 2.1 GHz ของบริษัท AWN จำนวน 8 แสนเลขหมาย ทำนองว่าผิดกฎหมาย หรือ ไม่ปฎิบัติตามกฎระเบียบ หรือ เป็นการย้ายค่ายด้วยการส่ง SMS พยายามกดดันสร้างเรื่องให้กสทช.เต้นตามที่หวัง ซึ่งหากทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์ก็น่ายกย่อง เพราะดูเหมือนจะอ้างเหตุผลว่าหากกสทช.ไม่ทำอะไรก็เหมือนการเอื้อประโยชน์เอกชน
     
       แต่ความระหว่างบรรทัดที่ตกหล่นไป คือ ปรากฎว่าตัวเลขจากกสทช.ระบุชัดเจนว่าลูกค้าทรูมูฟย้ายไปทรูมูฟเอช มากที่สุดในตลาดในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ทั้งๆที่กทค.มีมติให้แก้ไขสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ของทรูมูฟเอช 6 ข้อตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2555 หรือ เกือบจะครบ 1 ปีแล้ว แต่ทุกอย่างไม่มีอะไรคืบหน้า ทรูมูฟเอชก็ยังให้บริการตามปกติ และเหนือกว่าปกติด้วยซ้ำ และดูเหมือน กสทช.เอย สำนักงานกสทช.เอย ไม่มีใครบังคับใช้อำนาจอย่างเคร่งครัดให้เอกชนปฎิบัติตามมติ และกลายเป็นว่ากลุ่มองครักษ์นั้นๆ ไม่ติดใจสนใจสักนิดเลยว่ากสทช.เอื้อประโยชน์เอกชนหรือไม่ หรือทำให้รัฐเสียหาย เสียประโยชน์มากแค่ไหน












______________________________________






สั่งลดค่าบริการย้ายค่ายเหลือ 29 บาท


บอร์ด กทค. เคาะราคาย้ายค่ายเบอร์เดิมเหลือ 29 บาทเริ่ม 1 ก.ค. พร้อม เร่งเพิ่มปริมาณเป็น 3 แสนรายต่อวัน

นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ  (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติเมื่อวันที่ 21 พ.ค อนุมัติค่าธรรมเนียมการโอนย้ายเลขหมายตามบริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์ พอร์ทิบิลิตี้)ในอัตรา 29 บาท ลดลงจากราคาที่เรียกเก็บในปัจจุบันอยู่ที่ 99 บาท  โดยมีผลตั้งแต่ 1 ก.ค.เป็นต้นไป

ทั้งนี้ เดิมที่ผู้ให้บริการทั้ง 3 รายเสนอเก็บค่าบริการที่ 39 บาทเป็นระยะเวลา 2 เดือน ก่อนจะลดลงเหลือ 29 บาท แต่บอร์ดเห็นว่าควรเก็บค่าบริการที่ 29 บาทเลย และให้ทุกรายเร่งดำเนินการเพื่อให้เปิดบริการได้ทันวันที่ 1 ก.ค. หรือเปิดได้ทันทีหากสามารถดำเนินการได้เร็วกกว่านั้น  โดยการโอนย้ายจะใช้เวลา 3วัน

นอกจากนี้ ยังได้ให้หน่วยงานกลางเพื่อดำเนินการย้ายเลขหมาย (เคลียริ่งเฮ้าส์) เพิ่มปริมาณการโอนย้ายจาก 4 หมื่นเลขหมายเป็น 3 แสนเลขหมายต่อวัน เพื่อรองรับปริมาณการโอนย้ายที่จะเพิ่มมากขึ้น หลังผู้ให้บริการทุกรายเปิด 3 จี เต็มรูปแบบ

สำหรับภาพรวมนัมเบอร์พอร์ทิบิลิตี้เดือนเม.ย. มีการโอนย้ายอยู่ที่ 8 หมื่นเลขหมาย  โดยทรูมูฟ มีการโอนย้ายมากที่สุดจาก ทรูมูฟไปทรูมูฟเอช รองลงมาคือ บริษัท  แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ขณะที่จำนวนเลขหมายที่มีอยู่ในระบบประมาณ 120 ล้านเลขหมาย และมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องจำนวน 88 ล้านเลขหมาย

นายก่อกิจ กล่าวว่า ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการจัดทำข้อมูลต้นทุนการโอนย้ายเพื่อนำเสนอ กสทช. รวมทั้งต้องแจ้งลูกค้าที่ต้องการเปลี่ยนไปใช้ 3 จีใหม่ จะต้องเปลี่ยนซิมใหม่ทั้งหมด จากเดิมที่สามารถแสดงความจำนงผ่านเอสเอ็มเอสได้ เนื่องจากผู้ให้บริการ 3 จีใหม่ เป็นคนละบริษัทกับรายเดิม และเพื่อป้องกันการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ขณะที่การร้องเรียนเรื่องคุณภาพการใช้งานดาต้าที่ไม่เร็วจริง ทางกสทช. ได้เร่งให้ทุกรายปรับปรุงและขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมมากขึ้น แต่ในส่วนของดีแทคได้ชี้แจงว่า เนื่องจากยังไม่ได้เริ่มเปิดอย่างเป็นทางการ สัญญาณจึงยังไม่ใช่ 3 จีเต็มรูปแบบ

http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%
B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/223565/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0
%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%
B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E
0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD-29-
%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97


__________________________________________________

กทค.คิดค่าโอนย้ายเลขหมายเหลือ 29 บาทเริ่ม 1 ก.ค.นี้



       กทค.คิดค่าธรรมเนียมโอนย้ายเลขหมายเหลือ 29 บาท เริ่ม1ก.ค.นี้ หวังอำนวยความสะดวกผู้บริโภคโอนย้ายจาก 2G มา 3G และเพิ่มความสามารถเป็น 3 แสนเลขหมายต่อวันทั้งระบบ ระบุในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาทรูมูฟโอนย้ายไปเรียลมูฟมากที่สุด ส่วนกรณีเอไอเอสขอเวลาตรวจสอบก่อนว่าเป็นการโอนย้ายนอกระบบหรือไม่
     
       นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เมื่อวันที่ 21 พ.ค. มีมติอนุมัติการปรับลดค่าธรรมเนียมการโอนย้ายเลขหมายในอัตรา 29 บาทต่อเลขหมาย จากเดิม 99 บาทโดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.นี้ โดยให้บริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ จำกัด หรือเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ จะต้องเตรียมความพร้อมรองรับการย้ายเลขหมายให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิ.ย.2556
     
       ทั้งนี้ที่ประชุมบอร์ดยังรับทราบว่า เคลียร์ริงเฮ้าส์ ได้เตรียมขยายจำนวนการโอนย้ายจาก 40,000 เลขหมายต่อวัน เพิ่มเป็น 300,000 เลขหมายต่อวัน แบ่งเป็นผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ 5 รายๆ ละ 60,000 เลขหมายต่อวัน เพื่อเตรียมการรองรับการโอนย้ายเลขหมายจากระบบ 2G เป็นระบบ 3G ที่ผู้ให้บริการ 3G บนความถี่ 2.1GHz เริ่มทยอยเปิดให้บริการตั้งแต่ต้นเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา
     
       'การโอนย้ายเลขหมายจะเริ่มคึกคัก และมียอดการโอนย้ายเพิ่มขึ้นภายใน 1 - 2 เดือนต่อจากนี้ ดังนั้นกสทช.ต้องกำชับให้เคลียร์ริ่งเฮ้าส์ รายงานการโอนย้ายเลขหมายให้รับทราบตลอด'
     
       ทั้งนี้ในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมามีการโอนย้ายเลขหมายในระบบ 80,000 เลขหมาย โดยบริษัท ทรูมูฟ ย้ายไปยังบริษัท เรียลมูฟ มากที่สุด รองลงมา เป็นบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซล คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ซึ่งมีทั้งย้ายจาก 2G ไป 3G และย้ายไปค่ายอื่นแต่ไม่สามารถบอกจำนวนการโอนย้ายเลขหมายจากอีกค่ายไปอีกค่ายหนึ่งได้
     
       ขณะเดียวกันกรณีที่เอไอเอส มีการโอนย้ายเลขหมายการใช้งานจาก 2G เป็นระบบ 3G ด้วยระบบคอลทรานซิส (Call transit) นั้น สำนักงานกสทช. ต้องพิจารณา และตรวจสอบรายละเอียดก่อนว่าเป็นการดำเนินการนอกระบบหรือว่าเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ
     
       แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมตั้งข้อสังเกตุว่า ขณะนี้ได้เกิดกลุ่มองครักษ์พิทักษ์ค่ายมือถือพยายามที่จะไล่ล่าประเด็นบริการคงสิทธิเลขหมาย หรือ การย้ายค่ายเบอร์เดิม โดยเฉพาะหลังจากที่เอไอเอสแถลงลูกค้าที่ย้ายเข้ามาใช้ระบบ 3G 2.1 GHz ของบริษัท AWN จำนวน 8 แสนเลขหมาย ทำนองว่าผิดกฎหมาย หรือ ไม่ปฎิบัติตามกฎระเบียบ หรือ เป็นการย้ายค่ายด้วยการส่ง SMS พยายามกดดันสร้างเรื่องให้กสทช.เต้นตามที่หวัง ซึ่งหากทำด้วยเจตนาบริสุทธิ์ก็น่ายกย่อง เพราะดูเหมือนจะอ้างเหตุผลว่าหากกสทช.ไม่ทำอะไรก็เหมือนการเอื้อประโยชน์เอกชน
     
       แต่ความระหว่างบรรทัดที่ตกหล่นไป คือ ปรากฎว่าตัวเลขจากกสทช.ระบุชัดเจนว่าลูกค้าทรูมูฟย้ายไปทรูมูฟเอช มากที่สุดในตลาดในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ทั้งๆที่กทค.มีมติให้แก้ไขสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ของทรูมูฟเอช 6 ข้อตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2555 หรือ เกือบจะครบ 1 ปีแล้ว แต่ทุกอย่างไม่มีอะไรคืบหน้า ทรูมูฟเอชก็ยังให้บริการตามปกติ และเหนือกว่าปกติด้วยซ้ำ และดูเหมือน กสทช.เอย สำนักงานกสทช.เอย ไม่มีใครบังคับใช้อำนาจอย่างเคร่งครัดให้เอกชนปฎิบัติตามมติ และกลายเป็นว่ากลุ่มองครักษ์นั้นๆ ไม่ติดใจสนใจสักนิดเลยว่ากสทช.เอื้อประโยชน์เอกชนหรือไม่ หรือทำให้รัฐเสียหาย เสียประโยชน์มากแค่ไหน

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000060947

______________________________________________________


กทค.ลดค่าธรรมเนียมย้ายค่ายเหลือ 29 บาท


กทค.ลั่นประกาศปรับลดค่าธรรมเนียม โอนย้ายเลขหมาย เหลือ 29 บาท ใช้งานได้วันที่ 1 ก.ค.นี้ ดันเพิ่มประสิทธิภาพระบบโอนย้ายเป็น 3 แสนเลขหมาย ต่อ วัน
วันนี้(21พ.ค.56)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการกสทช.เปิดเผยว่า ที่ประชุมกทค.ได้ดำเนินการอนุมัติอัตราค่าธรรมเนียมการโอนย้ายเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในบริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ทิบิลิตี้) ให้เหลือในอัตรา 29 บาทต่อเลขหมาย รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว และเร่งรัดดำเนินการให้บริการในอัตราดังกล่าวให้แล้วเสร็จภายใน 30 มิ.ย.56 เพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้ค่าบริการอัตราใหม่ในวันที่ 1 ก.ค.56  และระยะเวลาการโอนย้ายเลขหมายต้องทำให้เสร็จภายใน 3 วัน

นอกจากนี้ให้เพิ่มขีดความสามารถโอนย้ายเลขหมายได้สูงสุด 300, 000 เลขหมาย / วัน รวมทั้ง 5 ค่ายมือถือ จากเดิมอยู่ที่ 40,000 เลขหมาย/ วัน แต่ผู้บริโภคมีการใช้งานจริงราว 20,000 เลขหมาย / วัน   โดยล่าสุดเมื่อเดือนเม.ย. 56 มีการโอนย้ายเลขหมายอยู่ที่ 80,000 เบอร์พบว่า มีการโอนย้ายค่ายจากทรูมูฟไปทรูมูฟเอช ของบริษัทเรียลมูฟ จำกัด  ที่ได้ทำสัญญาให้บริการเทคโนโลยี 3 จี ร่วมกับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)  รองลงมาคือ เอไอเอส   คาดว่าหลังจากลดราคาในอีก2-3 เดือนข้างหน้าจะมีการโอนย้ายมากขึ้น

http://www.dailynews.co.th/technology/206128

_______________________________________________________________


ยันไม่รื้อเกณฑ์ทีวีดิจิตอล นทีรับอาจประมูลล่าช้า ลดค่าย้ายค่าย29บ./เลข



  กสทช.ยันมติเดิม ไม่ปรับหลักเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิตอลตามที่คณะอนุฯ เสนอ คาดประมูลช้าสุด ต.ค.นี้ กสทช.อนุมัติแล้ว ราคาค่าโอนย้าย 29 บาท/เลขหมาย ดีเดย์ 1 ก.ค.นี้
    พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และประธานคณะกรรมการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นความเห็นต่อ (ร่าง) ประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบทีวีดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ... และได้รวบรวม ตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องที่คณะอนุกรรมการแข่งขันส่งเสริมและกำกับดูแลการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เสนอให้ปรับแก้เงื่อนไขจากมติบอร์ด กสท. เดิม 5 ประเด็น ทั้งเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน การวางหลักประกันการประมูล กติกา ขั้นตอนการประมูล และการชำระค่าธรรมเนียม โดยที่ประชุมได้มีการทบทวนและมีมติยืนยันตามเดิมโดยจะนำร่างฉบับดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม กสทช.ในวันที่ 22 พ.ค.นี้
    "การกำหนดระยะเวลาการประมูลทีวีดิจิตอลนั้น ในวันที่ 22 พ.ค.นี้ จะนำเข้าบอร์ด กสทช. พิจารณา และถ้าอนุมัติแล้ว จะใช้เวลา 45 วัน เข้าสู่ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และจะกลับเข้าสู่บอร์ด กสท. อีกครั้ง โดยใช้ระยะเวลา 7 วัน ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยคาดการณ์ว่าจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาได้ประมาณสิ้นเดือน ก.ค. หรือ อย่างช้าเดือน ส.ค. และส่งหนังสือเชิญชวน ก่อนเปิดประมูลได้ในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.นี้" พ.อ.นที กล่าว
    พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้มีมติ 3:2 อนุมัติประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การแพร่เสียงแพร่ภาพรายการที่สำคัญ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายการที่อยู่ในความสนใจ โดยไม่ถูกจำกัดในช่องทางการรับชม ซึ่งประกอบด้วย รายการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก รายการแข่งขันคอนเฟดเดอเรชั่นส์คัพ รายการแข่งขันเอเชียนคัพนัดสุดท้าย และนัดที่มีทีมชาติไทยเข้าร่วมแข่งขัน รายการแข่งขันฟุตบอล ฟุตซอล วอลเลย์บอล และเทนนิส นัดที่มีตัวแทนจากไทยมาเข้าร่วมแข่งขัน แต่ทั้งนี้ ในมติเสียงข้างมาก ไม่เห็นชอบให้มีรายการฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก และฟุตบอลดิวิชั่น 1 อยู่ในร่างประกาศดังกล่าวด้วย โดยผู้ประกอบการที่ได้สิทธิ์ในการแพร่ภาพ จะต้องจัดทำข้อเสนอเพื่อให้ผู้ประกอบการรายอื่นสามารถเผยแพร่ได้ด้วย
    ด้าน นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองเลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีมติอนุมติค่าธรรมเนียมการโอนย้ายเลขหมายตามบริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ทบิลิตี้) หรือการย้ายค่ายเบอร์เดิม ในอัตรา 29 บาทต่อเลขหมาย ซึ่งราคานี้ได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ตามที่สำนักงาน กสทช.เสนอ โดยกำหนดให้ดำเนินการโดยเร็วที่สุด ภายในวันที่ 30 มิ.ย.56 และผู้ใช้บริการจะได้ใช้อัตราดังกล่าวในวันที่ 1 ก.ค.นี้ โดยการโอนย้ายจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการ.

http://www.thaipost.net/news/220513/73883

____________________________________________




ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.