Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) ชี้ชะตาวันนี้++ กำหนดระยะเวลาการประมูลทีวีดิจิตอล ++ ถ้าอนุมัติเปิดประมูลเปิดประมูลได้ในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.2556 แน่นอน++ เรื่องเงินในวิธีเดียวกับประมูล3G


ประเด็นหลัก


ประธาน กสท. กล่าวต่อว่า สำหรับการกำหนดระยะเวลาการประมูลทีวีดิจิตอลนั้น ในวันพรุ่งนี้ (22 พ.ค.) จะนำเข้าบอร์ด กสทช. พิจารณา และถ้าอนุมัติแล้ว จะใช้เวลา 45 วัน เข้าสู่ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และจะกลับเข้าสู่บอร์ด กสท. อีกครั้ง โดยใช้ระยะเวลา 7 วัน ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยคาดการณ์ว่าจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาได้ประมาณสิ้นเดือน ก.ค. หรืออย่างช้าเดือน ส.ค.2556 และส่งหนังสือเชิญชวนก่อนเปิดประมูลได้ในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.2556

“หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ในการประมูล และไม่ถือว่าผิดระยะเวลาเดิมที่กำหนดไว้ในการประมูลมากนัก” พ.อ.นที กล่าว

พ.อ.นที กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การแพร่เสียงแพร่ภาพรายการที่สำคัญ ที่ผู้ประกอบกิจการจะต้องปฏิบัติตาม 7 รายการ ประกอบด้วย 1.รายการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก 2.รายการแข่งขันคอนเฟเดอเรชั่นส์คัพ 3.รายการแข่งขันเอเชียนคัพนัดสุดท้าย และนัดที่มีทีมชาติไทยเข้าร่วมแข่งขัน 4.รายการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์โลก และฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 5.รายการแข่งขันเซปักตะกร้อชิงแชมป์โลก 6.รายการแข่งขันวอลเลย์บอล ระดับชิงแชมป์โลก และ 7.รายการแข่งขันเทนนิสเดวิสคัพ นัดที่มีตัวแทนจากชาติไทยเข้าร่วมแข่งขัน โดยตัดรายการฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก และฟุตบอลดิวิชั่น 1 ออก ด้วยมติ 3:2 เสียง ซึ่งเสียงข้างน้อย คือ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ และ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กก.กสท.





พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า กสทช.คาดว่าประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. .... จะจัดทำเสร็จและประกาศในราชกิจจานุเบกษาในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคม หรือกลางเดือนสิงหาคมนี้ และจะสามารถเปิดประมูลได้ ในช่วงเดือนกันยายนนี้ หากไม่ทันก็เลื่อนไปเป็นเดือนตุลาคม ปีนี้ ซึ่งระหว่างนี้จะเตรียมการคู่ขนานกันไป

สำหรับประเด็นอาจมีการขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ไม่ชอบธรรม เนื่องจากมีผู้ประกอบการโทรทัศน์ช่องหลักหลายช่องร่วมอยู่ใน
อนุกรรมการจัดทำแผนปรับเปลี่ยนการรับส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้น พ.อ.นทีกล่าวว่า อนุกรรมการชุดดังกล่าวมีหน้าที่ให้ความเห็นเป็นข้อมูลประกอบให้สำนักงาน กสทช.พิจารณา ก่อนเสนอคณะกรรมการ กสทช. โดยไม่มีอำนาจในการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างประกาศใดๆ ทั้งสิ้น

ส่วนการวางหลักประกันการประมูล กสทช.กำหนดให้วางหลักประกันการประมูลด้วยเงินสดหรือเช็คสั่งจ่ายเช่นเดียวกันกับการประมูลคลื่นความถี่ 3G ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการทำผิดกติกาการประมูลหรือการสมยอมในการประมูล หากมีการทำผิดกติกากสทช.สามารถยึดหลักประกันเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการเปิดประมูลใหม่ต่อไปได้ แต่ถ้าหากเป็นแบงก์การันตีจะทำให้ต้องเสียเวลาในการดำเนินการบังคับให้จ่ายเงินซื้อ ต้องต่อสู้กันในศาลยุติธรรมจนถึงชั้นศาลฎีกา ทำให้ใช้เวลามาก

ส่วนประเด็นการออกใบอนุญาต Multiplexer Operator สำหรับให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้น ไม่ได้กำหนดห้ามการที่ผู้ประกอบการกิจการโครงข่าย จะเป็นผู้รับใบอนุญาตให้บริการโทรทัศน์ด้วย การประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ครั้งนี้ เป็นไปเพื่อให้ผู้ได้รับสัมปทานใช้คลื่นความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นราคาที่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง และมิได้มีวัตถุประสงค์ในการหารายได้สูงสุดจากการประมูล ส่วนการกำหนดเวลาจำกัดก็เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประมูลทุกรายศึกษารายละเอียด ตกลงใจถึงราคาสุดท้ายที่จะเสนอก่อนที่จะเข้าร่วมการประมูล เพื่อมิให้มีการเสนอราคาที่เกินจริง ซึ่งจะนำมาซึ่งการให้บริการที่ด้อยคุณภาพในเชิงเนื้อหารายการ



______________________________________






บอร์ด กสท.ตีตก 5ประเด็น 'ธวัชชัย' เสนอปรับหลักเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิตอล


บอร์ด กสท. ไม่ปรับแก้มติหลักเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิตอล ตาม “ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์” กก.กสท. เสนอทบทวน 5 ประเด็น นั่งยันยึดมติเดิม คาดประมูลได้ช้าสุด ต.ค. พร้อมพิจารณาร่างประกาศเรื่อง หลักเกณฑ์การแพร่เสียงแพร่ภาพรายการที่สำคัญ 7 รายการ...

เมื่อวันที่ 21 พ.ค. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท. ว่า ได้พิจารณาประเด็นความเห็นต่อ (ร่าง) ประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบทีวีดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ... และได้รวบรวมตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องที่คณะอนุกรรมการแข่งขัน ส่งเสริมและกำกับดูแลการแข่งขันในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เสนอให้ปรับแก้เงื่อนไขจากมติบอร์ด กสท. เดิม 5 ประเด็น ดังนี้ 1.การนำเสนอ (ร่าง) ประกาศฯ ต่อคณะอนุกรรมการจัดทำแผนปรับเปลี่ยนระบบการรับส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบทีวีดิจิตอลเพื่อพิจารณาให้ความเห็น อาจส่งผลกระทบเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากมีผู้ประกอบการโทรทัศน์ช่องหลักหลายช่อง โดยคณะอนุฯ จัดทำแผนฯ ได้รับการแต่งตั้งตามมติคณะกรรมการ กสทช. โดยมาจากผู้แทนส่วนต่างๆ จำนวน 45 คน

2.การวางหลักประกันการประมูล ที่เสนอมาให้เพิ่มเติมการใช้หนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจพาณิชย์ (แบงก์การันตี) แทนกติกาเดิม คือ การวางเงินสดหรือเช็คนั้นไม่สามารถทำได้ เนื่องจากในการประมูลถ้ามีการทำผิดจะยึดเงินหรือเช็คทันที ส่วนแบงก์การันตี ถ้าทำผิดต้องดำเนินการตามกฎหมาย และจากการตรวจสอบระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้กำหนดวิธีการวางหลักประกันไว้ โดยให้แต่ละหน่วยงานกำหนดตามความเหมาะสมในทีโออาร์ และประกาศเชิญชวนของการประมูลแต่ละคราว 3.กำหนดผู้ให้บริการโครงข่าย (MUX) แยกออกจากผู้ให้บริการช่องรายการนั้น ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากการออกใบอนุญาตคลื่นความถี่กับโครงข่าย เป็นคนละกติกา 4.การจัดเรียงลำดับการประมูลแยกตามหมวดหมู่ประเภทช่องรายการนั้น จากร่างประกาศยังไม่ได้กำหนดลำดับการประมูล เป็นเพียงกำหนดให้แยกการประมูลเป็นหมวดหมู่การให้บริการเท่านั้น ส่วนลำดับการประมูลก่อนหลัง ระบุให้กำหนดอีกครั้งตามหนังสือเชิญชวนของสำนักงาน กสทช. และ 5.หลักเกณฑ์โดยทั่วไปการประมูลจะไม่กำหนดระยะเวลาตายตัวว่าควรจะจบลงในระยะเวลาเท่าใด โดยมองว่าการออกแบบการประมูลต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของการประมูลด้วย

ประธาน กสท. กล่าวต่อว่า สำหรับการกำหนดระยะเวลาการประมูลทีวีดิจิตอลนั้น ในวันพรุ่งนี้ (22 พ.ค.) จะนำเข้าบอร์ด กสทช. พิจารณา และถ้าอนุมัติแล้ว จะใช้เวลา 45 วัน เข้าสู่ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ และจะกลับเข้าสู่บอร์ด กสท. อีกครั้ง โดยใช้ระยะเวลา 7 วัน ก่อนประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยคาดการณ์ว่าจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาได้ประมาณสิ้นเดือน ก.ค. หรืออย่างช้าเดือน ส.ค.2556 และส่งหนังสือเชิญชวนก่อนเปิดประมูลได้ในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค.2556

“หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาจะใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือน ในการประมูล และไม่ถือว่าผิดระยะเวลาเดิมที่กำหนดไว้ในการประมูลมากนัก” พ.อ.นที กล่าว

พ.อ.นที กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาร่างประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การแพร่เสียงแพร่ภาพรายการที่สำคัญ ที่ผู้ประกอบกิจการจะต้องปฏิบัติตาม 7 รายการ ประกอบด้วย 1.รายการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก 2.รายการแข่งขันคอนเฟเดอเรชั่นส์คัพ 3.รายการแข่งขันเอเชียนคัพนัดสุดท้าย และนัดที่มีทีมชาติไทยเข้าร่วมแข่งขัน 4.รายการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์โลก และฟุตซอลชิงแชมป์เอเชีย 5.รายการแข่งขันเซปักตะกร้อชิงแชมป์โลก 6.รายการแข่งขันวอลเลย์บอล ระดับชิงแชมป์โลก และ 7.รายการแข่งขันเทนนิสเดวิสคัพ นัดที่มีตัวแทนจากชาติไทยเข้าร่วมแข่งขัน โดยตัดรายการฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก และฟุตบอลดิวิชั่น 1 ออก ด้วยมติ 3:2 เสียง ซึ่งเสียงข้างน้อย คือ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ และ พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กก.กสท.



โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/346183


______________________________________

กสท.คลอดเงื่อนไงทีวีดิจิตอล มั่นใจมีมาตรการสกัดฮั้วราคา


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า กสทช.คาดว่าประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. .... จะจัดทำเสร็จและประกาศในราชกิจจานุเบกษาในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคม หรือกลางเดือนสิงหาคมนี้ และจะสามารถเปิดประมูลได้ ในช่วงเดือนกันยายนนี้ หากไม่ทันก็เลื่อนไปเป็นเดือนตุลาคม ปีนี้ ซึ่งระหว่างนี้จะเตรียมการคู่ขนานกันไป

สำหรับประเด็นอาจมีการขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ไม่ชอบธรรม เนื่องจากมีผู้ประกอบการโทรทัศน์ช่องหลักหลายช่องร่วมอยู่ใน
อนุกรรมการจัดทำแผนปรับเปลี่ยนการรับส่งวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้น พ.อ.นทีกล่าวว่า อนุกรรมการชุดดังกล่าวมีหน้าที่ให้ความเห็นเป็นข้อมูลประกอบให้สำนักงาน กสทช.พิจารณา ก่อนเสนอคณะกรรมการ กสทช. โดยไม่มีอำนาจในการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างประกาศใดๆ ทั้งสิ้น

ส่วนการวางหลักประกันการประมูล กสทช.กำหนดให้วางหลักประกันการประมูลด้วยเงินสดหรือเช็คสั่งจ่ายเช่นเดียวกันกับการประมูลคลื่นความถี่ 3G ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการทำผิดกติกาการประมูลหรือการสมยอมในการประมูล หากมีการทำผิดกติกากสทช.สามารถยึดหลักประกันเพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการเปิดประมูลใหม่ต่อไปได้ แต่ถ้าหากเป็นแบงก์การันตีจะทำให้ต้องเสียเวลาในการดำเนินการบังคับให้จ่ายเงินซื้อ ต้องต่อสู้กันในศาลยุติธรรมจนถึงชั้นศาลฎีกา ทำให้ใช้เวลามาก

ส่วนประเด็นการออกใบอนุญาต Multiplexer Operator สำหรับให้บริการโครงข่ายโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลนั้น ไม่ได้กำหนดห้ามการที่ผู้ประกอบการกิจการโครงข่าย จะเป็นผู้รับใบอนุญาตให้บริการโทรทัศน์ด้วย การประมูลคลื่นความถี่โทรทัศน์ครั้งนี้ เป็นไปเพื่อให้ผู้ได้รับสัมปทานใช้คลื่นความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นราคาที่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง และมิได้มีวัตถุประสงค์ในการหารายได้สูงสุดจากการประมูล ส่วนการกำหนดเวลาจำกัดก็เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประมูลทุกรายศึกษารายละเอียด ตกลงใจถึงราคาสุดท้ายที่จะเสนอก่อนที่จะเข้าร่วมการประมูล เพื่อมิให้มีการเสนอราคาที่เกินจริง ซึ่งจะนำมาซึ่งการให้บริการที่ด้อยคุณภาพในเชิงเนื้อหารายการ

ในการประมูล ยุทธวิธีจู่โจมการประมูล โดยแย่งชิงความได้เปรียบในช่วงเวลาสุดท้ายของการประมูลนั้น ได้มีการป้องกันโดยกำหนดให้มีการเสนอราคาเพิ่มขึ้นตามจำนวนที่กำหนด และให้ผู้เข้าร่วมรายการประมูลเห็นราคาตนเอง สถานะความเป็นผู้ชนะและลำดับที่ชนะ ตลอดจนราคาของผู้ชนะรายสุดท้าย ซึ่งวิธีนี้ผู้ชนะการประมูลจะได้ราคาที่เกาะกลุ่มกันไปไม่ทิ้งห่างกัน

ส่วนการชำระค่าธรรมเนียม กสท.เห็นว่าข้อเสนอที่ให้ชำระได้ภายใน 9 ปีนั้น นานเกินไปจะเข้าลักษณะ คล้ายกับการอนุญาตสัมปทาน ซึ่งมีแนวความคิดที่แตกต่างไปจากระบบใบอนุญาต ดังนั้น จึงกำหนดให้ จ่ายภายใน 6 ปีเท่านั้น

http://www.naewna.com/business/52613

______________________________________________________


กสท.ยื้อถกโครงข่ายชงบอร์ดเคาะประมูล

บอร์ด กสท. ยื้อพิจารณาโครงข่ายทีวีดิจิตอล ดันเกณฑ์ประมูลช่องเข้าคณะใหญ่

นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) วานนี้ (20 พ.ค.) ยังไม่ได้พิจารณาโครงข่ายการให้บริการโทรทัศน์ดิจิตอล แต่ยืนยันเสนอร่างหลักเกณฑ์ประมูลทีวีดิจิตอลภาคธุรกิจที่ผ่านการเห็นชอบเมื่อวันที่ 14 พ.ค. เข้าที่ประชุมบอร์ดชุดใหญ่ 22 พ.ค.นี้

อย่างไรก็ตาม จะนำ 5 ข้อเสนอของอนุกรรมการแข่งขันด้านเศรษฐศาสตร์เข้าสู่การพิจารณาของบอร์ดชุดใหญ่ด้วย โดยเฉพาะเรื่องโครงข่ายควรกำหนดราคาให้ชัดเจนก่อนประมูลช่องรายการ

น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. กล่าวว่า จะทำสงวนความเห็นให้คณะกรรมการประกาศเงื่อนไขการให้บริการโครงข่าย ก่อนที่จะประมูลช่องทีวีดิจิตอล เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถคำนวณต้นทุนได้

ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงาน กสทช. เปิดเผยว่า ร่างหลักเกณฑ์การประมูลช่องธุรกิจ จะต้องนำมาทำประชาพิจารณ์จากผู้เกี่ยวข้องอีกครั้ง อาจจะปรับเปลี่ยนได้

http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8
%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/223409/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97-
%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B
8%A3%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%87%E0%B8%9A%
E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8
%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5

_______________________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.