Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 พฤษภาคม 2556 ซิคเว่ เบรกเก้ (แห่งเทเลนอร์ พ่อDTAC) บุกพม่ายึดใบอนุญาติให้ได้++ ไม่กลัวถูกยึดใบอนุญาติเหมือนในอินเดียเสียหายกว่า 3,000 ล้านเหรียญฯ (ดีใจDTACรายได้งามที่สุด)


ประเด็นหลัก


ทั้งนี้ ซิคเว่ เบรกเก้ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดีแทคตั้งแต่ปี 2545-2551 ก่อนขยับไปดำรงตำแหน่งซีอีโอเทเลนอร์ เอเชีย ดูแลการลงทุนของบริษัทเทเลนอร์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศนอร์เวย์ ในเอเชียทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย บังกลาเทศ ปากีสถาน มาเลเซีย และล่าสุด อินเดีย โดยปัจจุบันเอเชีย เป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตด้านรายได้สูงที่สุด ในปีที่ผ่านมารายได้ของเทเลนอร์ 45% มาจากเอเชีย ด้วยฐานลูกค้า 133 ล้านคน


“สิ่งที่ผมอยากเห็นในดีแทคจากนี้ คือการผลักดันบุคลากรที่มีคุณภาพสู่ตลาดต่างประเทศ เพื่อหาประสบการณ์ทำงานในระดับอินเตอร์เนชั่นแนล เพราะที่เทเลนอร์ เรามีโครงการสนับสนุนกระตุ้นและสร้างโอกาสให้แก่พนักงานในเครือ ในการออกไปทำงานทั่วโลก ผมอยากเห็นพนักงานไทยตอบรับโอกาสนี้มากขึ้น เพราะนอกจากจะได้เผยแพร่ความรู้ ความชำนาญของประเทศไทยแล้ว ยังจะมีโอกาสเสาะแสวงหาความรู้จากภายนอกเพื่อต่อยอดความสามารถของตัวเองด้วย”

นายซิคเว่ ยังกล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับยูนินอร์ (บริษัทในอินเดีย) ซึ่งถูกยึดใบอนุญาตคืนจากปัญหาการเมืองภายใน และกลายเป็นปัจจัยเขย่าเก้าอี้ซีอีโอของเขา เพราะเทเลนอร์ลงทุนในอินเดียเป็นมูลค่ากว่า 3,000 ล้านเหรียญฯ หากที่สุดต้องเลิกกิจการจะกลายเป็นความสูญเสียที่มากที่สุดของเทเลนอร์เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ที่สุดทุกอย่างก็ผ่านพ้นมาได้ ด้วยความเชื่อมั่นและไม่ยอมแพ้ ซึ่งครั้งนั้นเขาใช้วิธีเดียวกันกับในไทย คือการยกทัพเดินสายไปทั่วประเทศ พบปะลูกค้า ครอบครัวพนักงาน ทุกคนเพื่อยืนยันว่าเทเลนอร์มีความตั้งใจจริง ไม่ยอมแพ้ พูดจริงทำจริง ซึ่งที่สุดทำให้เทเลนอร์สามารถเข้าประมูลได้ใบอนุญาตใหม่มาให้บริการต่อได้ โดยลูกค้าจำนวนมากและผู้บริหารทั้งหมดยังคงอยู่กับยูนินอร์ต่อไป

หลังจากภารกิจที่อินเดียเสร็จสิ้นลง ขณะนี้เทเลนอร์เอเชียกำลังเตรียมความพร้อมเพื่อลุยแข่งขันประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการในพม่า ซึ่งจัดสรรเพียง 2 ใบ โดยเทเลนอร์เข้ารอบในกลุ่ม 12 บริษัทสุดท้าย ร่วมกับสิงคโปร์เทเลคอม Axiata เคดีดีไอ โวดาโฟน ฟรานซ์เทเลคอม เป็นต้น โดยพม่าถือเป็นตลาดที่มีโอกาสดี ณ สิ้นปีที่ผ่านมา พม่ามีผู้ใช้บริการเพียง 5.44 ล้านคน คิดเป็นแค่เพียง 9% ของประชากรทั้งหมด โดยคาดว่าภายในวันที่ 27 มิ.ย.นี้ จะได้รู้ผลกันว่าใครจะเป็นผู้ชนะ ซึ่งหลังจากพม่าแล้ว เทเลนอร์ยังมีแผนที่จะเดินหน้าขยายสู่ตลาดเอเชียอื่นๆต่อไปด้วย.






______________________________________






ดัน "เทเลนอร์" รุกพม่าเต็มสูบ! "ซิคเว่ เบรกเก้" หลังพ้นห้วงวิบากในแดนภารตะ


หายหน้าไปร่วม 5 ปี วันนี้ “ซิคเว่ เบรกเก้” ซีอีโอเทเลนอร์ เอเชีย กลับมายิ้มสดใสได้อีกครั้ง หลังเคลียร์ปัญหาลงทุนสุดยุ่งเหยิงของเทเลนอร์กรุ๊ปในอินเดียได้สำเร็จ เตรียมบ่ายหน้ารุกพม่าเต็มสูบ หวังปักธงคว้าใบอนุญาตมือถือ ท่ามกลางการแข่งขันจากบิ๊กเนมทั่วโลก เผยสุดแฮปปี้ ดีแทคโตพรวดทำรายได้สูงสุดในกรุ๊ป

นายซิคเว่ เบรกเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์ เอเชีย ผู้ถือหุ้น บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค เปิดเผยว่า นับจากวันที่เดินออกมาจากดีแทคเมื่อปี 2551 จนปัจจุบัน รู้สึกมีความสุขที่ได้เห็นการเติบโตของดีแทค ซึ่งปัจจุบันถือเป็นบริษัทในกลุ่มเทเลนอร์ที่ทำรายได้สูงสุด เมื่อเทียบกับการลงทุนในประเทศต่างๆทั่วโลก 12 ประเทศที่เหลือ

ทั้งนี้ ซิคเว่ เบรกเก้ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดีแทคตั้งแต่ปี 2545-2551 ก่อนขยับไปดำรงตำแหน่งซีอีโอเทเลนอร์ เอเชีย ดูแลการลงทุนของบริษัทเทเลนอร์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในประเทศนอร์เวย์ ในเอเชียทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย บังกลาเทศ ปากีสถาน มาเลเซีย และล่าสุด อินเดีย โดยปัจจุบันเอเชีย เป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตด้านรายได้สูงที่สุด ในปีที่ผ่านมารายได้ของเทเลนอร์ 45% มาจากเอเชีย ด้วยฐานลูกค้า 133 ล้านคน

ดีแทคในสมัยของซิคเว่ มีภาพลักษณ์ที่สดใส น่ารัก เปิดเผย ตรงไปตรงมา ไม่ต่างจากบุคลิกภาพส่วนตัวของเขา ซิคเว่เป็นซีอีโอต่างชาติรายแรกๆ ที่ริเริ่มการแถลงข่าวสุดแหวกแนว ไม่ว่าจะเป็นขึ้นเวทีมวย ขี่มอเตอร์ไซค์ วิ่งมินิมาราธอน เขายังลงทุนเป็นพรีเซ็นเตอร์ภาพยนตร์โฆษณาของดีแทคเอง และเคยรับเชิญเล่นหนัง (มหา’ลัยเหมืองแร่ ของค่าย จีทีเอช) มาแล้ว เนื่องด้วยเคยเป็นนักการเมืองมาก่อน ซิคเว่จึงรู้จักวิธีการสื่อสารกับลูกค้า พนักงานและสื่อมวลชนเป็นอย่างดี ทำให้เขาเป็นซีอีโอดีแทค ที่ได้รับความนิยมและถูกจดจำมาจนถึงปัจจุบัน

“จากวันนั้นถึงวันนี้ ผมรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นดีแทคเติบโตเป็นมืออาชีพและมีกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ดี ยกตัวอย่างเช่น การใช้กลยุทธ์อันชาญฉลาดและล้ำหน้าในการคิดค้นแคมเปญ แพ็กเกจราคาค่าบริการใหม่ๆ ซึ่งนอกจากจะทำให้ลูกค้าพึงพอใจแล้ว ยังให้ผลตอบแทนที่ดีในทางธุรกิจ ทำให้บริษัทมีรายได้เติบโตสูงขึ้นด้วย ซึ่งในยุคของผม ไม่มีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้น”

นอกจากนั้น การใช้งานอินเตอร์เน็ตบนเครือข่ายของดีแทคที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องยังถือเป็นเรื่องน่ายินดีอีกเรื่อง ซึ่งแน่นอนทำให้รายได้ของดีแทคเพิ่มมากขึ้นด้วย สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของดีแทคในการผลักดันให้มีการใช้งานอินเตอร์เน็ตไร้สายในพื้นที่ทั่วประเทศ เข้าถึงผู้คนแม้ในพื้นที่ห่างไกล ทำให้กรณีของดีแทคกลายเป็นกรณีศึกษาความสำเร็จในการกระตุ้นการเติบโตของการใช้งานอินเตอร์เน็ตลงสู่ตลาดทั่วไป (Mass) ของบริษัทในเทเลนอร์กรุ๊ปทั่วโลก

“สิ่งที่ผมอยากเห็นในดีแทคจากนี้ คือการผลักดันบุคลากรที่มีคุณภาพสู่ตลาดต่างประเทศ เพื่อหาประสบการณ์ทำงานในระดับอินเตอร์เนชั่นแนล เพราะที่เทเลนอร์ เรามีโครงการสนับสนุนกระตุ้นและสร้างโอกาสให้แก่พนักงานในเครือ ในการออกไปทำงานทั่วโลก ผมอยากเห็นพนักงานไทยตอบรับโอกาสนี้มากขึ้น เพราะนอกจากจะได้เผยแพร่ความรู้ ความชำนาญของประเทศไทยแล้ว ยังจะมีโอกาสเสาะแสวงหาความรู้จากภายนอกเพื่อต่อยอดความสามารถของตัวเองด้วย”

นายซิคเว่ ยังกล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับยูนินอร์ (บริษัทในอินเดีย) ซึ่งถูกยึดใบอนุญาตคืนจากปัญหาการเมืองภายใน และกลายเป็นปัจจัยเขย่าเก้าอี้ซีอีโอของเขา เพราะเทเลนอร์ลงทุนในอินเดียเป็นมูลค่ากว่า 3,000 ล้านเหรียญฯ หากที่สุดต้องเลิกกิจการจะกลายเป็นความสูญเสียที่มากที่สุดของเทเลนอร์เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม ที่สุดทุกอย่างก็ผ่านพ้นมาได้ ด้วยความเชื่อมั่นและไม่ยอมแพ้ ซึ่งครั้งนั้นเขาใช้วิธีเดียวกันกับในไทย คือการยกทัพเดินสายไปทั่วประเทศ พบปะลูกค้า ครอบครัวพนักงาน ทุกคนเพื่อยืนยันว่าเทเลนอร์มีความตั้งใจจริง ไม่ยอมแพ้ พูดจริงทำจริง ซึ่งที่สุดทำให้เทเลนอร์สามารถเข้าประมูลได้ใบอนุญาตใหม่มาให้บริการต่อได้ โดยลูกค้าจำนวนมากและผู้บริหารทั้งหมดยังคงอยู่กับยูนินอร์ต่อไป

หลังจากภารกิจที่อินเดียเสร็จสิ้นลง ขณะนี้เทเลนอร์เอเชียกำลังเตรียมความพร้อมเพื่อลุยแข่งขันประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการในพม่า ซึ่งจัดสรรเพียง 2 ใบ โดยเทเลนอร์เข้ารอบในกลุ่ม 12 บริษัทสุดท้าย ร่วมกับสิงคโปร์เทเลคอม Axiata เคดีดีไอ โวดาโฟน ฟรานซ์เทเลคอม เป็นต้น โดยพม่าถือเป็นตลาดที่มีโอกาสดี ณ สิ้นปีที่ผ่านมา พม่ามีผู้ใช้บริการเพียง 5.44 ล้านคน คิดเป็นแค่เพียง 9% ของประชากรทั้งหมด โดยคาดว่าภายในวันที่ 27 มิ.ย.นี้ จะได้รู้ผลกันว่าใครจะเป็นผู้ชนะ ซึ่งหลังจากพม่าแล้ว เทเลนอร์ยังมีแผนที่จะเดินหน้าขยายสู่ตลาดเอเชียอื่นๆต่อไปด้วย.

โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
http://m.thairath.co.th/content/eco/346272

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.