Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 พฤษภาคม 2556 สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสาร (เพิ่มเติม) ประจำวัน 23/05/2556


สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสาร (เพิ่มเติม) ประจำวัน 23/05/2555

( ข้อจำกัดด้านข้อความ ข่าวที่เหลือ UP ผ่าน ช่องทางอื่นแทนครับ )

1....           TME ปีนี้มั่นใจยอดเงินสะพัด1,600ลบ.และมีคนร่วมงานกว่า6แสนราย!!(จำตาดูWindows Phone 8 และ BlackBerry 10 ใครจะอยู่ใครจะไป)
2....           MBK โทษค่ายมือถือเปิดตัว3Gไม่ร้อนแรงพอทำยอดขายตก+ต้องจัดPROพิเศษร่วมมือกับบริษัทบัตรเครดิตแทน!(ปรับขายสินค้าอุปกรณ์เสริม
3....           TOT กริ๊ดแตก++กำไรเพิ่ม16.5%ทำยอดขาดทุนลด6.5%หรือคิดเป็น141ลบ(เตรียมเซ็นใหม่MVNOสามารถโยนฝ่ายบริหารทบทวนเรื่องฟิกไลน์ )


_________________
(เพิ่มเติม)
1.....  กสท ตัดสินใจ ขอ สุภิญญา ถอนวาระร่างบิวตี้คอนเทสต์ ออก// สุภิญญา สู้ต่อรอการนำเรื่องนี้กลับมาพิจารณาอีกครั้งก่อนหาแนวทางอื่นต่อไป
2.....  TOT เร่งเจรจากับ AIS จัดตั้ง บริษัท ทาวเวอร์โค จำกัด เหตุ(พรบ.กสทช. กำหนดหากเกิด3ปีตามที่พรบ.เกิด รายได้สัปทานหลักหักค่าใช้จ่ายต้องผ่าน กสทช.)
3.....  i-mobile ลุยมือถือสมาร์ทโฟนต่ำกว่าหมื่น อ้างถูกกว่าอินเตอร์แบรนด์ในสเปกเดียวกัน 30 - 50% ตั้งเป้า 1.66 ล้านเครื่อง (50%) ฟีเจอร์โฟนจะอยู่ที่ราว 1 ล้านเครื่อง (30%) และแท็บเล็ต 6.4 แสนเครื่อง (20%)



23 พฤษภาคม 2556 กสท ตัดสินใจ ขอ สุภิญญา ถอนวาระร่างบิวตี้คอนเทสต์ ออก// สุภิญญา สู้ต่อรอการนำเรื่องนี้กลับมาพิจารณาอีกครั้งก่อนหาแนวทางอื่นต่อไป


ประเด็นหลัก


เมื่อวันที่ 23 พ.ค. นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท)  กล่าวถึงความคืบหน้าจากที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด ) กสทช.  วานนี้ (22 พ.ค.) ว่า ส่วนตัว และนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กก.กสท ได้เสนอให้พิจารณาข้อหารือขอบเขตอำนาจหน้าที่ ให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้กระบวนการดำเนินการชอบด้วยกฎหมาย และ ความจำเป็นในการจัดให้มีประกาศหลักเกณฑ์เพื่ออนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินประเภทบริการสาธารณะ หรือ บิวตี้คอนเทสต์ เช่นเดียวกับที่จัดให้มีหลักเกณฑ์สำหรับกิจการทางธุรกิจ ที่กำหนดให้จัดทำประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือก และเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล ตามประกาศ กสทช. เรื่อง แผนการเปลี่ยนผ่านเปลี่ยนระบบส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล พ.ศ.2555



กรรมการ กสทช. กล่าวต่อว่า การพิจารณาวาระนี้มีการเสนอขอให้ตนถอนวาระออก แต่ตนยืนยันไม่ถอน เนื่องจากเหตุผลที่เสนอวาระนี้ต่อชุดใหญ่เพราะเป็นอำนาจที่คาบเกี่ยวกันตามกฎหมายที่บอร์ด กสทช. ควรใช้อำนาจวินิจฉัยในกรณีที่มีความขัดแย้งเกิดขึ้น ซึ่งผลจากที่ประชุมได้ขอให้นำเรื่องนี้กลับไปพิจารณาที่บอร์ด กสท โดยส่วนตัวคงรอการนำเรื่องนี้กลับมาพิจารณาอีกครั้งก่อนหาแนวทางอื่นต่อไป ทั้งนี้ กสทช.มีมติผ่าน (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจ โดย นางสาวสุภิญญา ได้ขอสงวนบางประเด็น อาทิ การใช้หนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงินประเภทธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 (แบงก์การันตี) และราคาโครงข่ายมัลติเพล็กเซอร์ พร้อมตั้งข้อสังเกตในบางประเด็นที่เกี่ยวข้องกับวิธีการประมูล ที่น่าจะเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นเฉพาะกลุ่ม และทำความเข้าใจกับสาธารณะและผู้เกี่ยวข้อง


http://m.thairath.co.th/content/tech/346647

______________________________________

23 พฤษภาคม 2556 TOT เร่งเจรจากับ AIS จัดตั้ง บริษัท ทาวเวอร์โค จำกัด เหตุ(พรบ.กสทช. กำหนดหากเกิด3ปีตามที่พรบ.เกิด รายได้สัปทานหลักหักค่าใช้จ่ายต้องผ่าน กสทช.)


ประเด็นหลัก



ยงยุทธ์ วัฒนสินธุ์    นายยงยุทธ์ วัฒนสินธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" เกี่ยวกับความคืบหน้าการเจรจากับ เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)  เพื่อจัดตั้ง บริษัท ทาวเวอร์โค จำกัด (คือการแชร์โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาร่วมกันเนื่องจาก บมจ. เอไอเอส  ต้องการใช้สิทธิ์อีก 2 ปีจนกว่าสัญญาสัมปทานร่วมการงานหมดอายุลงในปี 2558 ซึ่งการจัดตั้งบริษัทดังกล่าวเพื่อนำเสาโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 2 จี จำนวน 12,000 ต้น ซึ่งเป็นไปตามสัญญาสัมปทาน (Build Transfer Operate) ต้องส่งมอบให้กับ บมจ.ทีโอที
    สำหรับเหตุผลที่ บมจ.ทีโอที มีแผนจัดตั้งบริษัททาวเวอร์โคฯ เนื่องจากว่า ตาม พ.ร.บ. จัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 48 ที่ได้กำหนดเอาไว้ว่า "เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้รัฐวิสาหกิจนำรายได้จากผลประกอบการในส่วนที่ได้รับจากการให้อนุญาต สัมปทาน หรือ สัญญาตามวรรคสองที่รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้ดำเนินการทั้งหมดหรือบางส่วน โดยให้หักค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้แล้วเหลือเท่าใดให้ส่ง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=183795:2013-05-21-07-52-17&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491
______________________________________


23 พฤษภาคม 2556 i-mobile ลุยมือถือสมาร์ทโฟนต่ำกว่าหมื่น อ้างถูกกว่าอินเตอร์แบรนด์ในสเปกเดียวกัน 30 - 50% ตั้งเป้า 1.66 ล้านเครื่อง (50%) ฟีเจอร์โฟนจะอยู่ที่ราว 1 ล้านเครื่อง (30%) และแท็บเล็ต 6.4 แสนเครื่อง (20%)

ประเด็นหลัก



       ไอ-โมบาย เล็งเห็นช่องว่างตลาดเกิดใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟน ชูความโดดเด่นด้วยสเปกเทียบเท่าอินเตอร์แบรนด์ราคาต่ำกว่า 30 - 50% มั่นใจทำยอดขายได้ตามเป้า 3.2 ล้านเครื่องภายในสิ้นปี ด้วยสัดส่วนสมาร์ทโฟนกว่า 70%
   
       นายสุภสิทธิ์ รักกสิกร หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตลาดหลักที่ไอ-โมบายให้ความสำคัญอยู่ในขณะนี้ยังคงเป็นสมาร์ทโฟนต่ำกว่าหมื่นบาทในซีรีส์ IQ ซึ่งไอโมบายสามารถทำราคาจำหน่ายได้ถูกกว่าอินเตอร์แบรนด์ในสเปกเดียวกัน 30 - 50% ทำให้ได้รับความนิยมเป็นอย่างดีในปัจจุบัน
   
       "คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดรวมโทรศัพท์มือถือในปีนี้อยู่ที่ราว 4.5 หมื่นล้านบาท โดยอาจจะสูงกว่านี้ถ้ามีปัจจัยสนับสนุนอย่าง 3G และการปรับลดราคาของสินค้าที่จะรุนแรงขึ้นในช่วงปลายปี ซึ่งในส่วนของสมาร์ทโฟนน่าจะมีมูลค่าราว 3.2 หมื่นล้านบาท"
   
       ปริมาณโทรศัพท์ในตลาดรวมปีนี้น่าจะอยู่ที่ราว 15.5 ล้านเครื่อง จากปีที่ผ่านมา 14.6 ล้านเครื่อง ซึ่งถ้าดูในส่วนของตลาดสมาร์ทโฟนจะกินสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากเดิม 4.3 ล้านเครื่อง เป็นมากกว่า 7 ล้านเครื่อง ที่น่าจะขยายเพิ่มได้อีกถ้านับรวมเครื่องในระดับราคาต่ำกว่าหมื่นบาทที่ไอ-โมบายจำหน่ายอยู่
   
       โดยในปีนี้ไอ-โมบายตั้งเป้าจำหน่ายโทรศัพท์มือถือทั้งหมด 3.2 ล้านเครื่อง แบ่งเป็นสมาร์ทโฟน 1.66 ล้านเครื่อง (50%) ฟีเจอร์โฟนจะอยู่ที่ราว 1 ล้านเครื่อง (30%) และแท็บเล็ต 6.4 แสนเครื่อง (20%) คิดเป็นมูลค่าเกือบ 9 พันล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมา 55%
   
       "ราคาเฉลี่ยของไอ-โมบายในปัจจุบันอยู่ที่ 2,500 บาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 2,000 บาท เนื่องมาจากมีการจำหน่ายสมาร์ทโฟนในระดับราคาที่สูงขึ้นเกือบๆหมื่นบาท โดยในช่วงไตรมาสแรกสามารถจำหน่ายไปได้กว่า 4 แสนเครื่อง"
   

“สมาร์ทโฟนที่เป็นตัวชูโรงในงานนี้ รุ่นล่าสุด “ไอคิวเอ็กซ์” ที่มีดีไซน์สวย บาง เบา ฟังก์ชั่นและฟีเจอร์ที่ทำให้ทุกคนเห็นแล้วอยากลองสัมผัสตัวจริงสักครั้ง ด้วยซีพียูควอดคอร์  1.2  กิกะเฮิรตซ์  แรม 1  กิกะไบต์ รอม 4 กิกะไบต์  แบตเตอรี่ 2,000 มิลลิแอมป์  ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 4.2  มาพร้อมฟังก์ชั่นโดนใจอย่าง กล้องหลัง 18 ล้านพิกเซล พร้อมแฟลช  ออโต้โฟกัส และกล้องหน้า 8 ล้านพิกเซล พร้อมสุดยอดเทคโนโลยีบีเอสไอ (BSI) ช่วยในการถ่ายภาพแม้ในสภาพแสงน้อย หน้าจอไอพีเอส ขนาด 4.7 นิ้ว  ความคมชัดระดับ HD ความละเอียดหน้าจอ 720x1280 พิกเซล ใช้กระจก Corning Glass ทนทานต่อรอยขีดข่วนได้ดี  สามารถใช้นิ้วที่เปียกน้ำสัมผัสหน้าจอสั่งงานได้ทันที   เล่นเกมไหลลื่นด้วยกราฟฟิกการ์ด SGX544 นอกจากนี้ ยังใช้งานได้พร้อมกันสองซิม เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ทั้ง WiFi และ 3G ราคาเพียง 9,490 บาท”

“สำหรับ “ไอคิว 9” สุดยอดสมาร์ทโฟน ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์  4.2 ที่มาพร้อมระบบประมวลผลซีพียูควอดคอร์ 1.2  กิกะเฮิรตซ์  แรม 1  กิกะไบต์ รอม 4 กิกะไบต์ มาพร้อมกล้องหลัง 18 ล้านพิกเซล พร้อมแฟลช  ออโต้โฟกัส และกล้องหน้า 8 ล้านพิกเซล เทคโนโลยีแบบบีเอสไอ (BSI)  หน้าจอ ขนาด 5.7 นิ้ว  ความคมชัดระดับ HD ความละเอียดหน้าจอ 720x1280 พิกเซล กระจกดรากอนเทรียลป้องกันรอยขีดข่วน แบตเตอรี่อึดทนนาน 2,600     มิลลิแอมป์ จำหน่ายพร้อมไมโครเอสดีการ์ด 16 กิกะไบต์  ในราคา 9,990 บาท”

นายธีรพล อัศวธิตานนท์ ผู้จัดการฝ่ายอำนวยการธุรกิจเอ็มวีเอ็นโอ บริษัท ไอ-โมบาย พลัส จำกัด กล่าวว่า “ไอ-โมบาย พลัส ผู้ให้บริการระบบ 3G บนโครงข่ายของทีโอที ปัจจุบันมีพื้นที่บริการครอบคลุมในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 4,200 สถานี ได้รับความวางใจสูงสุดจากผู้ใช้บริการบนระบบ 3G กว่า 150,000 ราย พร้อมสำหรับการขยายพื้นที่ให้บริการของทีโอทีแล้วทั่วประเทศ บนคลื่นความถี่ 2100 เมกกะเฮิรตซ์ เพื่อรองรับการเติบโตของผู้ใช้บริการ 3G ที่มากขึ้น“






เมื่อวันที่ 23 พ.ค. นายสุภสิทธิ์ รักกสิกร หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดฟีเจอร์โฟนมีแนวโน้มลดอย่างต่อเนื่อง บริษัทจึงหันมาทำตลาดสมาร์ทโฟนมากขึ้น เนื่องจากตลาดดังกล่าวมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยในไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัทสามารถจำหน่ายสมาร์ทโฟนตระกูลไอคิวได้กว่า 400,000 เครื่อง ส่งผลให้มีรายได้รวม 2,466 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 55% อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปีนี้ยอดขายสมาร์ทโฟนจะเพิ่มขึ้น โดยคิดเป็นสัดส่วนกว่า 70% ของยอดขายรวม หรือคิดเป็นเงิน 2.3 ล้านบาท

หัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายการตลาด บริษัท สามารถ ไอ-โมบาย กล่าวอีกว่า ส่วนยอดขายไอ-โมบายของปีนี้ บริษัทตั้งเป้าไว้ที่ 3.2 ล้านเครื่อง แบ่งเป็นยอดขายต่างประเทศ 100,000 เครื่อง และที่เหลือเป็นยอดขายในประเทศ ส่งผลให้รายได้ในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ขณะที่ไตรมาส 2 บริษัทจะเปิดตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดกว่า 40 รุ่น แบ่งเป็นฟีเจอร์และแท็บเล็ต รวมถึงสมาร์ทโฟนอีกกว่า 12 รุ่น

นอกจากนี้ ภายในงานไทยแลนด์ โมบายล์ เอ็กซ์โป 2013 ไฮเอนด์ ไอ-โมบายยังได้เปิดตัวสมาร์ทโฟน 2 รุ่นล่าสุด คือ ไอคิวเอ็กซ์ และไอคิว 9 เพื่อรองรับการใช้งาน 3จี 2.1 กิกะเฮิรตซ์.








http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000062080
http://m.thairath.co.th/content/tech/346668
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=184184:-9-&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
http://m.thairath.co.th/content/tech/346689

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.