Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 พฤษภาคม 2556 กสทช. ร้องขอให้ประชาชนผู้ใช้เติมเงินที่จะย้ายระบบไป3G (กรุณาใช้เงินให้หมด+) เหตุพบปัญหา AIS อัพเป็น AIS3Gใหม่ และ TRUEMOVE ย้ายไป TRUE H



ประเด็นหลัก


ทั้งนี้ ในขั้นตอนการโอนย้ายจาก 2จี ไปยัง 3จี แม้จะเป็นผู้ให้บริการรายเดิมที่ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาให้บริการ แต่ถือเป็นนิติบุคคลใหม่ ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เนทเวอร์ค ในเครือเอไอเอส บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค เครือดีแทค และบริษัท เรียลฟิวเจอร์ กลุ่มบมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น ดังนั้นการใช้บริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้) ยังไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนผ่านได้ และไม่สามารถนำเงินที่เหลือไปใช้ได้

"หากลูกค้าใช้บัตรเติมเงินและมีเงินเหลือในระบบไม่ว่าจำนวนเท่าไร แต่ลูกค้าอยากย้ายจากเอไอเอสไปยังเอดับบลิวเอ็น หรือย้ายจากทรูมูฟ เอชไปยังเรียลฟิวเจอร์ ประชาชนควรใช้เงินในระบบของตัวเองให้หมดก่อน หรือโอนไปให้ผู้อื่นเพราะเมื่อลูกค้าย้ายไป3จี แล้วเงินจะไม่ติดไปด้วย ขณะนี้กสทช.ได้ประสานกับโอเปอเรเตอร์แล้วว่าจะมีทางออกให้ลูกค้าอย่างไรบ้าง"

เขาเชื่อว่าช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า การโอนย้ายเลขหมายจะคึกคักและมียอดโอนย้ายเพิ่มขึ้นแน่นอน จึงได้กำชับให้บริษัท ศูนย์กลางโอนย้ายเลขหมาย จำกัด (เคลียร์ริ่งเฮ้าส์) เร่งรายงานการโอนย้ายให้ทราบ และแจ้งยอดว่ามีลูกค้าโอนจากระบบอะไรไประบบอะไรอย่างละเอียด

ทั้งนี้ เมื่อมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ให้ลดราคาค่าธรรมเนียมโอนย้ายเหลือ 29 บาท จาก 99 บาท ประชาชนต้องไปโอนย้ายจำนวนมากจึงได้สั่งให้เอกชนเพิ่มพนักงานรับเรื่อง และเร่งขยายความจุโครงข่ายให้ได้รายละ 60,000 เลขหมายต่อวัน รวมทั้งอุตสาหกรรมจะเป็น 300,000 เลขหมายต่อวัน



______________________________________





แนะลูกค้าพรีเพดใช้เงินให้หมดก่อนย้าย3จี

กสทช.ออกโรงแนะลูกค้าเติมเงินหากต้องการย้ายจาก 2จี ไป 3จี ใหม่ ควรใช้เงินที่มีในระบบให้หมดก่อน เพราะหากย้ายแล้วเงินจะถูกริบ


นายฐากร ตัณฑสิทธิ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวยอมรับว่า หากลูกค้าที่ใช้บริการระบบพรีเพด (เติมเงิน) ต้องการโอนย้ายจากระบบ 2จี ไปยัง 3จี คลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จำเป็นต้องใช้เงินคงเหลือในบัตรให้หมดก่อนโอนย้าย

ทั้งนี้ ในขั้นตอนการโอนย้ายจาก 2จี ไปยัง 3จี แม้จะเป็นผู้ให้บริการรายเดิมที่ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาให้บริการ แต่ถือเป็นนิติบุคคลใหม่ ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เนทเวอร์ค ในเครือเอไอเอส บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค เครือดีแทค และบริษัท เรียลฟิวเจอร์ กลุ่มบมจ.ทรูคอร์ปอเรชั่น ดังนั้นการใช้บริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้) ยังไม่สามารถรองรับการเปลี่ยนผ่านได้ และไม่สามารถนำเงินที่เหลือไปใช้ได้

"หากลูกค้าใช้บัตรเติมเงินและมีเงินเหลือในระบบไม่ว่าจำนวนเท่าไร แต่ลูกค้าอยากย้ายจากเอไอเอสไปยังเอดับบลิวเอ็น หรือย้ายจากทรูมูฟ เอชไปยังเรียลฟิวเจอร์ ประชาชนควรใช้เงินในระบบของตัวเองให้หมดก่อน หรือโอนไปให้ผู้อื่นเพราะเมื่อลูกค้าย้ายไป3จี แล้วเงินจะไม่ติดไปด้วย ขณะนี้กสทช.ได้ประสานกับโอเปอเรเตอร์แล้วว่าจะมีทางออกให้ลูกค้าอย่างไรบ้าง"

เขาเชื่อว่าช่วง 1-2 เดือนข้างหน้า การโอนย้ายเลขหมายจะคึกคักและมียอดโอนย้ายเพิ่มขึ้นแน่นอน จึงได้กำชับให้บริษัท ศูนย์กลางโอนย้ายเลขหมาย จำกัด (เคลียร์ริ่งเฮ้าส์) เร่งรายงานการโอนย้ายให้ทราบ และแจ้งยอดว่ามีลูกค้าโอนจากระบบอะไรไประบบอะไรอย่างละเอียด

ทั้งนี้ เมื่อมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ให้ลดราคาค่าธรรมเนียมโอนย้ายเหลือ 29 บาท จาก 99 บาท ประชาชนต้องไปโอนย้ายจำนวนมากจึงได้สั่งให้เอกชนเพิ่มพนักงานรับเรื่อง และเร่งขยายความจุโครงข่ายให้ได้รายละ 60,000 เลขหมายต่อวัน รวมทั้งอุตสาหกรรมจะเป็น 300,000 เลขหมายต่อวัน

ปัจจุบันในไทยมีการยื่นขอใช้เลขหมายราว 130 ล้านเลขหมาย แต่ใช้เลขหมายจริง 85 ล้านเลขหมาย แบ่งเป็นพรีเพด (เติมเงิน) 75 ล้านเลขหมาย โพสต์เพด (รายเดือน) 10 ล้านเลขหมาย

"หลังมีสมาร์ทดีไวซ์ เพิ่มขึ้นจำนวนทรัพยากรเลขหมายจะสูงขึ้นไปด้วย ดังนั้นการใช้เลขหมายโทรคมนาคม กสทช.อยากขอความร่วมมือกับประชาชนให้ลงทะเบียนแจ้งรายละเอียดผู้ใช้งาน เพื่อความสะดวกในการสืบทราบตัวผู้ใช้งานจริง"

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130527/507635/%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%
A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%
B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%
E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B9%
88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A23%E0%B8%88%E0%B8%B5.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.