27 พฤษภาคม 2556 อนุดิษฐ์ เร่ง CAT TOT เกิดบริษัททาวเวอร์ คัมพะนี กับ ค่ายสัมปทานขอตน++ (เพื่อทำให้รายได้จากการเช่าเสาของเอกชน 3G 2100)
ประเด็นหลัก
ในส่วนของกสท จะจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเช่นกันโดยรับโอนเสาสถานีฐานจาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด มาบริหารหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงแต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกัน เพราะติดปัญหาเรื่องการเจรจา เพื่อที่จะดำเนินธุรกิจเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย (เน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์) ซึ่งจะต้องเป็นบริษัทที่เป็นกลาง
“ขั้นตอนต่อไปอยู่ที่ ทีโอที กับกสท ว่าจะต้องฟอร์มทีมงาน และจัดตั้งบริษัทได้เมื่อไร ซึ่งงบประมาณก็ต้องดูตามไซต์ของบริษัทว่าในเฟสแรกจะประมาณเท่าไร ถ้างบลงทุนในเบื้องต้นอยู่ที่ 10-50 ล้านบาท ก็เป็นอำนาจของกรรมการผู้จัดการใหญ่สามารถอนุมัติได้เลย แต่หากมากกว่านั้นก็ต้องรอความเห็นชอบจาก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ แต่ก็มั่นใจว่าหากเข้าสภาพัฒน์ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะได้ผ่านความเห็นชอบเบื้องต้นมาแล้ว”
รมว.ไอซีที กล่าวว่า การที่ กนร.อนุมัติทาวเวอร์ โค และไฟเบอร์ โค ในช่วงเวลานี้ ถือเป็นช่วงที่เวลาที่พอเหมาะ เพราะขณะนี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เอกชนได้ทยอยเปิดให้บริการ 3G ในย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ และการตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาก็เพื่อให้สององค์กรอยู่รอด หรือจะมีรายได้จากการให้เช่าโครงข่าย หลังจากรายได้ที่ได้จากสัมปทานใกล้สิ้นสุดลงตามสัญญาสัมปทาน ถึงแม้ ทีโอที และ กสท จะทำธุรกิจในลักษณะเดียวกันแต่ไม่ใช่เป็นการแข่งขันกันเอง เนื่องจากปัจจุบันการบริโภค และใช้งานด้านสื่อสารข้อมูลมียอดการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
______________________________________
กนร.เปิดทาง TOT ตั้งบริษัทลูก บริการเช่าโครงข่ายมือถือ ดึงAISร่วมทุนหารายได้
“ทีโอที-กสท” ลุยตั้งบริษัททาวเวอร์ คัมพะนี กับ บริษัท ไฟเบอร์ คัมพะนี “อนุดิษฐ์” เผย กนร.ไฟเขียวให้จัดตั้งแล้ว โดยขั้นตอนต่อไปให้ไปฟอร์มทีมงานบริหาร รวมทั้งงบลงทุน
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เมื่อเร็วๆ นี้ได้อนุมัติแผนการจัดตั้ง บริษัท ทาวเวอร์ คัมพะนี จำกัด (ทาวเวอร์ โค) และบริษัท ไฟเบอร์ คัมพะนี จำกัด (ไฟเบอร์ โค) ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) กับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นไปตามที่ กระทรวงไอซีที ได้เสนอขออนุมัติไป
สำหรับบริษัท ทาวเวอร์ โค จะเป็นผู้ดำเนินธุรกิจในลักษณะของการบริหารจัดการเสาโทรคมนาคมที่จะมาจากการโอนทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทาน (บีทีโอ) เช่น เสาสัญญาณ อุปกรณ์โครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยขณะนี้ การเจรจาระหว่าง ทีโอที กับบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส ได้ข้อสรุปในการเจรจาแล้ว ดังนั้น ทีโอที จะมี ทาวเวอร์ โค เพื่อให้ผู้ประกอบการเอกชนรายอื่นๆ มาเช่าใช้โครงข่าย ซึ่งเป็นสถานีฐานของ เอไอเอส ที่โอนให้ตามสัญญาสัมปทาน บีทีโอ จำนวน 15,000 แห่ง
ในส่วนของกสท จะจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเช่นกันโดยรับโอนเสาสถานีฐานจาก บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด มาบริหารหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงแต่ขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปร่วมกัน เพราะติดปัญหาเรื่องการเจรจา เพื่อที่จะดำเนินธุรกิจเป็นผู้ให้บริการโครงข่าย (เน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์) ซึ่งจะต้องเป็นบริษัทที่เป็นกลาง
“ขั้นตอนต่อไปอยู่ที่ ทีโอที กับกสท ว่าจะต้องฟอร์มทีมงาน และจัดตั้งบริษัทได้เมื่อไร ซึ่งงบประมาณก็ต้องดูตามไซต์ของบริษัทว่าในเฟสแรกจะประมาณเท่าไร ถ้างบลงทุนในเบื้องต้นอยู่ที่ 10-50 ล้านบาท ก็เป็นอำนาจของกรรมการผู้จัดการใหญ่สามารถอนุมัติได้เลย แต่หากมากกว่านั้นก็ต้องรอความเห็นชอบจาก สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ แต่ก็มั่นใจว่าหากเข้าสภาพัฒน์ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะได้ผ่านความเห็นชอบเบื้องต้นมาแล้ว”
รมว.ไอซีที กล่าวว่า การที่ กนร.อนุมัติทาวเวอร์ โค และไฟเบอร์ โค ในช่วงเวลานี้ ถือเป็นช่วงที่เวลาที่พอเหมาะ เพราะขณะนี้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เอกชนได้ทยอยเปิดให้บริการ 3G ในย่านความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ และการตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาก็เพื่อให้สององค์กรอยู่รอด หรือจะมีรายได้จากการให้เช่าโครงข่าย หลังจากรายได้ที่ได้จากสัมปทานใกล้สิ้นสุดลงตามสัญญาสัมปทาน ถึงแม้ ทีโอที และ กสท จะทำธุรกิจในลักษณะเดียวกันแต่ไม่ใช่เป็นการแข่งขันกันเอง เนื่องจากปัจจุบันการบริโภค และใช้งานด้านสื่อสารข้อมูลมียอดการใช้งานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ปัจจุบัน เอไอเอส ซึ่งเป็นคู่สัญญาสัมปทาน ทีโอที มีเสาโทรคมนาคมทั้งหมดมากกว่า 15,000 แห่งทั่วประเทศ โอนให้ ทีโอทีแล้ว 13,000 แห่ง ขณะที่ บริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) บริษัทในเครือ เอไอเอส มีเสาโทรคมนาคม 2,000 แห่ง โอนให้ กสท 180 แห่ง, ดีแทค มีเสาโทรคมนาคม 12,000 แห่ง แต่โอนให้ กสท เพียง 1,100 แห่งเท่านั้น ส่วนกลุ่มทรูมีเสาโทรคมนาคม 11,000 แห่ง แต่ยังไม่ได้โอนให้ กสท แต่อย่างใด ซึ่งประเด็นนี้เป็นเหตุให้การเจรจาตั้งทาวเวอร์ โค ของ กสท ยังไม่ลงตัว
http://www.naewna.com/business/53000
ไม่มีความคิดเห็น: