Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

3 พฤษภาคม 2556 แก้วสรร อติโพธิ หัวหน้าคณะทำงานการมีส่วนร่วม(ใบอนุญาติ1800)ชี้ ยกร่างประกาศนี้ทำให้ CAT ไม่มีสิทธิในคลื่นนี้ทันที++แหล่งข่าวชี้ประเคนเอกชน


ประเด็นหลัก



นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกฎหมาย กล่าวถึงการประชุมนัดแรกของคณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ว่า ที่ประชุมเห็นตรงกันยืนยันตามมติ กทค.ว่า สิทธิ์การใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ของบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะสิ้นสุดลง ภายหลังหมดสัญญาสัมปทาน ในวันที่ 15 กันยายน นี้ และ กสท. จะไม่สามารถขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ได้ โดยสิ่งที่คณะอนุกรรมการฯ เป็นห่วงมากที่สุดคือ เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งต้องเร่งดำเนินการเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ โดยมีแผนการดำเนินการคือ การยกร่างประกาศเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ หลังจากที่สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง
        นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญในการเร่งย้ายผู้ใช้บริการไปสู่ระบบอื่น โดยจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจงความคืบหน้า รวมถึงการเยียวยาผู้บริโภค และมาตรการรองรับผู้บริโภคที่ยังคงเหลืออยู่ในระบบ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ทางสำนักงาน กสทช. เร่งดำเนินการในเรื่องนี้

  2.ในระหว่างช่วงมีการให้บริการเป็นการเฉพาะกิจนี้ ผู้ประกอบการทั้ง 5 รายในตลาดที่มีเอ็มโอยูกับบริษัท เคลียร์ริ่งเฮ้าส์ จำกัด จะต้องมีการเพิ่มความสามารถในการให้บริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้) เพราะหากลูกค้ายังคงเหลืออยู่ในระบบสัญญาสัมปทานความถี่ 1800 MHz จนถึงวันที่มีการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz สำหรับการให้บริการ 4Gในปลายปี 2557 ก็จะมีการส่งต่อลูกค้าไปยังผู้ที่ชนะการประมูล 1800 MHz ต่อไปในอนาคต






ด้านนายแก้วสรร อติโพธิ หัวหน้าคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้ความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กล่าวว่า จากมติ กทค.ครั้งที่ 11/2556  กสทช.และกทค ยืนยันความคิดเห็นเกี่ยวกับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ระบุว่าผู้ให้บริการรายเดิมที่ได้รับสัมปทานจำเป็นต้องส่งอำนาจการถือครองคลื่นดังกล่าว มายัง กสทช. ทันที ทำให้ กสท โทรคมนาคม และผู้ให้บริการรายดังกล่าว (ทรูมูฟ) ไมมีสิทธิในคลื่นนั้น

นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีมติให้ คณะอนุกรรมการฯ เตรียมยกร่างประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการเฉพาะกิจภายหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง เพื่อให้ทรูมูฟรับช่วงดูแลลูกค้าที่มีอยู่กว่า 17 ล้านรายต่อไปจนกว่าจะมีการประมูลคลื่นใหม่ โดย กสทช. และผู้ให้บริการรายเดิมต้องประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับระยะเวลาสิ้นสุดการให้บริการ และการย้ายเครือข่ายโดย คาดว่าร่างประกาศดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม

และในช่วงเวลาเฉพาะกิจนี้ผู้ให้บริการโครงข่ายที่ทำบันทึกความเข้าใจกับบริษัท เคลียร์ริ่งเฮ้าส์ จำกัด ในการเพิ่มศักยภาพโครงข่ายในการบริการคงสิทธิเลขหมายเพื่อ ให้ผู้ใช้บริการย้ายโครงข่ายทันตามกำหนด และหากมีลูกค้ายังเหลืออยู่ในระบบภายหลังการประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่แล้วเสร็จต้องส่งต่อลูกค้าที่มีอยู่ไปยังผู้ที่ได้รับใบอนุญาต
ขณะที่นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช.ด้านกฎหมาย กล่าวเสริมว่า ในที่ประชุมได้มีการมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาอีก 1  ชุด สำหรับกำหนดเงื่อนไขการประมูลและบริหารงานในคลื่นความถี่1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งมีหน้าที่กำหนด ราคาเริ่มต้นการประมูล การเลือกแบบและวิธีการประมูล โดยกรอบระยะเวลาในการประมูลใบอนุญาตยังเป็นไปตามเดิม คือในช่วงไตรมาส 3 ของปี 255








แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าวว่า ต้องปรบมือดังๆให้กทค.ชุดนี้ ที่หาทางออกให้สัญญามือถือ 1800 MHz โดยไม่ใช่เป็นการต่ออายุสัญญาสัมปทานหรือขยายเวลาออกไป เป็นแค่ให้เอกชนรายเดิมทั้งทรูมูฟ กับดีพีซี ได้เวลาอีก 1 ปีเพื่อเยียวยาลูกค้า ทั้งๆที่เมื่อสัมปทานหมดอายุ ทรัพย์สิน โครงข่ายต่างๆ เอกชนต้องหมดสิทธิ์บริหารจัดการ หรือ หมายถึงควรเป็นสิทธิของบริษัท กสท โทรคมนาคม ที่สามารถเลือกใครก็ได้มาให้บริการ ที่ให้ผลประโยชน์กสทหรือประโยชน์รัฐสูงสุด หรือ อาจอยากดูแลลูกค้าเองก็สามารถทำได้ แต่กทค.ผู้ทรงเกียรติ กลับคิดแทนให้เสร็จสรรพทุกอย่าง เพราะอาจคิดว่าธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทย ควรอยู่ภายใต้กำมือของ 3 เอกชนเท่านั้น
   
       ‘แค่พูดว่าไม่ได้ต่ออายุสัมปทานหรือขยายอายุสัมปทาน น่าเชื่อมากๆว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ สิ่งที่เป็นประเด็นน่าคิดตามมา คือ รายได้จากค่าบริการที่เกิดขึ้นจะส่งถึงกระเป๋าใคร แบ่งกันอย่างไร หรือ คิดว่ากทค.ทำได้ทุกอย่าง แล้วค่อยออกประกาศฯ มารองรับ เก่งจริงๆ เพราะผลงานที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น 1.สร้างเรื่องประมูลความถี่ 2.1 GHz หรือประมูล 3G ว่าต้องแข่งขันกันรุนแรงเพื่อแย่งความถี่ที่ดีที่สุด ประเทศชาติได้ประโยชน์เต็มที่ แต่เหลวไหลสิ้นเชิง 2.แถข้อกม.เรื่อง BFKT ขนาดเลขาฯยังยอมรับว่าหลีกเลี่ยงกฎหมายแต่ไม่ผิดกฎหมาย ทั้งๆที่ฟันธงว่าผิดเพราะกสทไม่มีอำนาจบริหารจัดการความถี่ แต่เห็นว่า BFKT ไม่ถือว่าประกอบกิจการแค่ให้เช่าอุปกรณ์ 3.เรื่องลดค่าบริการ 3G ลง 15% ตอนแรกขึงขังว่าต้องลดทุกประเภทบริการ แต่ไปๆมาๆกลับบอกบางแพกเกจอาจลดไม่ถึง 15% อยู่ที่ผู้บริโภคจะฉลาดเลือกเอง 4.ประเคน 1800 MHz ให้เอกชนทำต่ออีก 1 ปี แต่ไม่ใช่ต่ออายุสัมปทานนะ เชื่อฉันอย่าหลงไปเชื่อใคร สุดยอดกทค.ในฝันเอกชนจริงๆ’






______________________________________








กสทช.เร่งยกร่างประกาศคุ้มครองผู้บริโภค หลังสัมปทานสิ้นสุดลง



       นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านกฎหมาย กล่าวถึงการประชุมนัดแรกของคณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ว่า ที่ประชุมเห็นตรงกันยืนยันตามมติ กทค.ว่า สิทธิ์การใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ของบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะสิ้นสุดลง ภายหลังหมดสัญญาสัมปทาน ในวันที่ 15 กันยายน นี้ และ กสท. จะไม่สามารถขอปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ได้ โดยสิ่งที่คณะอนุกรรมการฯ เป็นห่วงมากที่สุดคือ เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งต้องเร่งดำเนินการเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ โดยมีแผนการดำเนินการคือ การยกร่างประกาศเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ หลังจากที่สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง
        นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญในการเร่งย้ายผู้ใช้บริการไปสู่ระบบอื่น โดยจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องเข้ามาชี้แจงความคืบหน้า รวมถึงการเยียวยาผู้บริโภค และมาตรการรองรับผู้บริโภคที่ยังคงเหลืออยู่ในระบบ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ทางสำนักงาน กสทช. เร่งดำเนินการในเรื่องนี้


http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000053434


_______________________________________




กทค.ประเคนความถี่ 1800 MHz ให้ 2 เอกชนรายเดิมทำต่อ 1 ปี



       อนุฯ1800MHz เตรียมคลอดร่างประกาศเฉพาะกิจดูแลลูกค้า1800 MHz ก่อนหมดสัญญาสัมปทาน 15ก.ย.นี้ พร้อมสั่งผู้ประกอบการขยายบริการคงสิทธิเลขหมาย
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ว่าที่ประชุมนัดแรกเมื่อวันที่ 2 พ.ค. มีการพิจารณาหามาตรการเยียวลูกค้า และดูแลลูกค้าที่ใช้บริการโทรศัพท์มือถือบนคลื่นความถี่ 1800 MHz ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย.นี้ โดยจะกำหนดมาตรการเยียวยาในช่วงเปลี่ยนผ่านหลังหมดสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต เป็นระยะเวลา 1 ปี แต่ไม่ใช่เป็นลักษณะการขยายเวลาในการให้สัมปทานแก่เอกชน และไม่ใช่การต่ออายุสัมปทาน
     
       ในเบื้องต้นคณะอนุฯ 1800 MHz เตรียมออกร่างประกาศ กสทช.ว่าด้วยการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นอายุสัญญาสัมปทาน หรือ ร่างประกาศเฉพาะกิจภายในเดือนก.ค.2556 เพื่อให้ทรูมูฟ และดีพีซีเป็นผู้ดูแลลูกค้าต่อไป
     
       นายแก้วสรร อติโพธิ หัวหน้าคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้ความถี่ 1800 MHz กล่าวว่า ที่ประชุมนัดแรกมีมติออกมา 3 แนวทาง คือ 1.คณะอนุฯ 1800 MHz เตรียมยกร่างประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการเฉพาะกิจ หลังจากที่สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง ซึ่งจะต้องไม่ใช่การขยายอายุสัมปทาน โดยเอกชนรายเดิมต้องไม่มุ่งหาลูกค้าใหม่ ซึ่งจะมีการกำหนดกรอบเวลาว่าในช่วงการให้บริการเฉพาะกิจนี้ จะให้ทรูมูฟ และดีพีซีสามารถให้บริการลูกค้ารายเดิมในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น โดยในช่วงเฉพาะกิจผู้ใช้บริการต้องไม่เกิดซิมดับ และในระหว่างนั้น ผู้ประกอบการเอกชนรวมทั้งกสทช.เองจะต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคโอนย้ายไปยังระบบอื่น ซึ่งร่างประกาศฯนี้ คาดว่าภายในเดือนก.ค.ต้องมีความชัดเจน และเปิดให้มีการรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) อย่างเร่งด่วนด้วย
     
       2.ในระหว่างช่วงมีการให้บริการเป็นการเฉพาะกิจนี้ ผู้ประกอบการทั้ง 5 รายในตลาดที่มีเอ็มโอยูกับบริษัท เคลียร์ริ่งเฮ้าส์ จำกัด จะต้องมีการเพิ่มความสามารถในการให้บริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้) เพราะหากลูกค้ายังคงเหลืออยู่ในระบบสัญญาสัมปทานความถี่ 1800 MHz จนถึงวันที่มีการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz สำหรับการให้บริการ 4Gในปลายปี 2557 ก็จะมีการส่งต่อลูกค้าไปยังผู้ที่ชนะการประมูล 1800 MHz ต่อไปในอนาคต
     
       3.สร้างประกาศฯรองรับให้กสทช.มีฐานะทางกฎหมายเพื่อยืนยันว่ากสทช.มีสิทธิในการออกมาตรการชั่วคราวได้ สำหรับอำนาจการใช้งานและสิทธิในการบริหารจัดการคลื่น
     
       ‘คลื่นความถี่ 1800 MHz หากสิ้นสุดสัมปทานแล้วจำเป็นต้องส่งมอบอำนาจการถือครอง และสิทธิในคลื่นความถี่มายังกสทช.ทันทีที่สัมปทานสิ้นสุดลง กสทและผู้รับใบอนุญาตรายเดิมไม่มีสิทธิอ้างการปรับปรุงคลื่นได้’
     
       นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกสทช.ด้านกฎหมาย กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้สำนักงานกสทช.จัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 1 ชุดในการวางเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) สำหรับคลื่นความถี่ 1800 MHz อาทิ ราคาเริ่มต้นการประมูล และการเลือกแบบวิธีการประมูล ส่วนกรอบระยะเวลาก่อนหน้านี้ที่เคยวางไว้ว่าจะสามารถเปิดประมูลความ 1800 MHz ได้ภายในไตรมาส 3 ปี 2557 นั้นหลังตั้งคณะอนุฯ 1800 MHz แล้วเชื่อว่าจะเกิดการประมูลเร็วกว่าเดิมแน่นอน
     
       แหล่งข่าวในวงการโทรคมนาคมกล่าวว่า ต้องปรบมือดังๆให้กทค.ชุดนี้ ที่หาทางออกให้สัญญามือถือ 1800 MHz โดยไม่ใช่เป็นการต่ออายุสัญญาสัมปทานหรือขยายเวลาออกไป เป็นแค่ให้เอกชนรายเดิมทั้งทรูมูฟ กับดีพีซี ได้เวลาอีก 1 ปีเพื่อเยียวยาลูกค้า ทั้งๆที่เมื่อสัมปทานหมดอายุ ทรัพย์สิน โครงข่ายต่างๆ เอกชนต้องหมดสิทธิ์บริหารจัดการ หรือ หมายถึงควรเป็นสิทธิของบริษัท กสท โทรคมนาคม ที่สามารถเลือกใครก็ได้มาให้บริการ ที่ให้ผลประโยชน์กสทหรือประโยชน์รัฐสูงสุด หรือ อาจอยากดูแลลูกค้าเองก็สามารถทำได้ แต่กทค.ผู้ทรงเกียรติ กลับคิดแทนให้เสร็จสรรพทุกอย่าง เพราะอาจคิดว่าธุรกิจโทรคมนาคมในประเทศไทย ควรอยู่ภายใต้กำมือของ 3 เอกชนเท่านั้น
     
       ‘แค่พูดว่าไม่ได้ต่ออายุสัมปทานหรือขยายอายุสัมปทาน น่าเชื่อมากๆว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ สิ่งที่เป็นประเด็นน่าคิดตามมา คือ รายได้จากค่าบริการที่เกิดขึ้นจะส่งถึงกระเป๋าใคร แบ่งกันอย่างไร หรือ คิดว่ากทค.ทำได้ทุกอย่าง แล้วค่อยออกประกาศฯ มารองรับ เก่งจริงๆ เพราะผลงานที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น 1.สร้างเรื่องประมูลความถี่ 2.1 GHz หรือประมูล 3G ว่าต้องแข่งขันกันรุนแรงเพื่อแย่งความถี่ที่ดีที่สุด ประเทศชาติได้ประโยชน์เต็มที่ แต่เหลวไหลสิ้นเชิง 2.แถข้อกม.เรื่อง BFKT ขนาดเลขาฯยังยอมรับว่าหลีกเลี่ยงกฎหมายแต่ไม่ผิดกฎหมาย ทั้งๆที่ฟันธงว่าผิดเพราะกสทไม่มีอำนาจบริหารจัดการความถี่ แต่เห็นว่า BFKT ไม่ถือว่าประกอบกิจการแค่ให้เช่าอุปกรณ์ 3.เรื่องลดค่าบริการ 3G ลง 15% ตอนแรกขึงขังว่าต้องลดทุกประเภทบริการ แต่ไปๆมาๆกลับบอกบางแพกเกจอาจลดไม่ถึง 15% อยู่ที่ผู้บริโภคจะฉลาดเลือกเอง 4.ประเคน 1800 MHz ให้เอกชนทำต่ออีก 1 ปี แต่ไม่ใช่ต่ออายุสัมปทานนะ เชื่อฉันอย่าหลงไปเชื่อใคร สุดยอดกทค.ในฝันเอกชนจริงๆ’

http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000053018

________________________________________________



กทค.อุ้มลูกค้าทรูมูฟ-ดีพีซี ป้องซิมดับ

กทค.ถกนัดแรกออก 3 มติดูแลลูกค้าทรูมูฟ-ดีพีซี ที่ใช้คลื่นความถี่ 1800 จะหมดสัมปทานก.ย.นี้ ยันไม่ให้ลูกค้าเดิมกว่า 18 ล้านรายเกิดปัญหาซิมดับ

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กล่าวว่า วานนี้ (2 พ.ค.) การประชุมหารือเกี่ยวกับการเตรียมการเปลี่ยนผ่านระบบโทรศัพท์มือถือ 2จีของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ในย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานวันที่ 16 ก.ย.2556

การประชุมเป็นการพิจารณาหามาตรการเยียวยาลูกค้า และดูแลลูกค้าระบบ 2จี ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทาน โดยช่วงเปลี่ยนผ่านจากสัมปทานไปสู่ใบอนุญาตเป็นเวลา 1 ปี จะไม่ใช่ลักษณะขยายระยะเวลาให้สัมปทานแก่เอกชน ไม่ใช่การต่ออายุสัมปทาน แต่เป็นการกำหนดมาตรการเยียวยาช่วงเปลี่ยนผ่าน

นายแก้วสรร อติโพธิ หัวหน้าคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้ความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กล่าวว่า จากการรับฟังการสรุปผลศึกษาคลื่นความถี่ 1800 และได้รับรายงานเกี่ยวกับมติของกทค.เกี่ยวกับกรอบบริการบนคลื่น 1800 ยืนยันว่าหากสิ้นสุดสัมปทานแล้วจำเป็นต้องส่งมอบอำนาจการถือครอง และสิทธิในคลื่นมายังกสทช.ทันทีที่สัมปทานสิ้นสุด กสท และผู้รับใบอนุญาตรายเดิมไม่มีสิทธิอ้างปรับปรุงคลื่น โดยที่ประชุมมีมติออกมา 3 แนวทาง

1. คณะอนุกรรมการคลื่น 1800 เตรียมยกร่างประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการเฉพาะกิจ หลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงต้องไม่ใช่การขยายสัมปทาน เอกชนรายเดิมไม่มุ่งหาลูกค้าใหม่ ซึ่งจะกำหนดกรอบเวลาช่วงการให้บริการเฉพาะกิจนี้ จะให้ทรูมูฟและดีพีซีให้บริการลูกค้ารายเดิมในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น ช่วงเฉพาะกิจผู้ใช้บริการต้องไม่มีซิมดับ และระหว่างนั้นผู้ประกอบการเอกชน รวมทั้ง กสทช.เองต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคโอนย้ายไปยังระบบอื่น คาดว่าใน ก.ค. ร่างประกาศนี้จะชัดเจน และเปิดประชาพิจารณ์อย่างเร่งด่วน

2. ช่วงให้บริการเป็นการเฉพาะกิจผู้ประกอบการทั้ง 5 รายในตลาดที่ลงนามทำเอ็มโอยูกับบริษัท เคลียร์ริ่งเฮ้าส์ จำกัด ต้องเพิ่มความจุโครงข่ายสำหรับบริการคงสิทธิเลขหมาย หากลูกค้ายังคงเหลือจนถึงวันที่ประมูลคลื่น 1800 สำหรับการให้บริการ 4จี ปลายปี 2557 จะส่งต่อไปยังผู้ชนะการประมูล 1800 และ 3.สร้างประกาศรองรับให้ กสทช. มีฐานะทางกฎหมาย ยืนยันว่ากสทช.มีสิทธิออกมาตรการชั่วคราวได้ในอำนาจการใช้งานและสิทธิในการบริหารจัดการคลื่น

นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช.ด้านกฎหมาย กล่าวว่า ที่ประชุมยังได้มอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นอีก 1 ชุดวางเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) สำหรับบริหารงานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ราคาเริ่มต้นการประมูล การเลือกแบบวิธีการประมูล ซึ่งกรอบเวลาประมูลใบอนุญาตยังเป็นตามเดิมคือประมูลในช่วงไตรมาส 3 ปี 2557

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130503/503555/%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%84.%E0%B
8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%
E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%9F-
%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%B5-
%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%
B8%B1%E0%B8%9A.html

____________________________________________



ให้ "ทรูมูฟ"รับช่วงดูแลลูกค้า 17 ล. ช่วงรอยต่อหมดสัมปทานก.ย.นี้ ย้ำดึงคลื่นประมูลใหม่ปีหน้า


ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ"รายงานจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เมื่อวานนี้(2พ.ค.)ว่า หลังการประชุมคณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์  โดยดร. เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. ประธาน คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ในฐานะประธาน คณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว เปิดเผยว่าในที่ประชุมได้กำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินงานการเตรียมการก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิร์ตซ์ โดยพิจารณามาตรการเยียวยาลูกค้า พร้อมการติดตามผลการดำเนินงานหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และบริษัททรูมูฟ ที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 16 กันยายน 2556 ที่จะถึงนี้ ซึ่งจะมีช่วงการเปลี่ยนผ่าน เป็นเวลา 1 ปี ไม่ใช่การขยายเวลาสัมปทานหรือให้ใบอนุญาตใหม่แต่อย่างใด

ด้านนายแก้วสรร อติโพธิ หัวหน้าคณะทำงานการมีส่วนร่วมและสร้างความเข้าใจแนวทางการอนุญาตให้ใช้ความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ กล่าวว่า จากมติ กทค.ครั้งที่ 11/2556  กสทช.และกทค ยืนยันความคิดเห็นเกี่ยวกับการสิ้นสุดสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ระบุว่าผู้ให้บริการรายเดิมที่ได้รับสัมปทานจำเป็นต้องส่งอำนาจการถือครองคลื่นดังกล่าว มายัง กสทช. ทันที ทำให้ กสท โทรคมนาคม และผู้ให้บริการรายดังกล่าว (ทรูมูฟ) ไมมีสิทธิในคลื่นนั้น

นอกจากนี้ ในที่ประชุมยังมีมติให้ คณะอนุกรรมการฯ เตรียมยกร่างประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการเฉพาะกิจภายหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง เพื่อให้ทรูมูฟรับช่วงดูแลลูกค้าที่มีอยู่กว่า 17 ล้านรายต่อไปจนกว่าจะมีการประมูลคลื่นใหม่ โดย กสทช. และผู้ให้บริการรายเดิมต้องประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับระยะเวลาสิ้นสุดการให้บริการ และการย้ายเครือข่ายโดย คาดว่าร่างประกาศดังกล่าวจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม

และในช่วงเวลาเฉพาะกิจนี้ผู้ให้บริการโครงข่ายที่ทำบันทึกความเข้าใจกับบริษัท เคลียร์ริ่งเฮ้าส์ จำกัด ในการเพิ่มศักยภาพโครงข่ายในการบริการคงสิทธิเลขหมายเพื่อ ให้ผู้ใช้บริการย้ายโครงข่ายทันตามกำหนด และหากมีลูกค้ายังเหลืออยู่ในระบบภายหลังการประมูลใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่แล้วเสร็จต้องส่งต่อลูกค้าที่มีอยู่ไปยังผู้ที่ได้รับใบอนุญาต
ขณะที่นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช.ด้านกฎหมาย กล่าวเสริมว่า ในที่ประชุมได้มีการมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. ตั้งอนุกรรมการขึ้นมาอีก 1  ชุด สำหรับกำหนดเงื่อนไขการประมูลและบริหารงานในคลื่นความถี่1800 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งมีหน้าที่กำหนด ราคาเริ่มต้นการประมูล การเลือกแบบและวิธีการประมูล โดยกรอบระยะเวลาในการประมูลใบอนุญาตยังเป็นไปตามเดิม คือในช่วงไตรมาส 3 ของปี 255

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1367543541&grpid=02&catid=06&subcatid=0603

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.