Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

6 พฤษภาคม 2556 เลขาธิการไอทียู แนะกสทช.ประเทศไทย ชี้(ช่องสัญญาณที่เหลือจาก Digital TV) ควรนำเคลื่น 700 MHz ให้บริการอินเตอร์เน็ตด้วย


ประเด็นหลัก


เลขาธิการไอทียู กล่าวต่อว่า สำหรับประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากอะนาล็อกไปสู่ทีวีดิจิตอลนอกเหนือจากการบริหารคลื่นความถี่ให้พอเพียงกับกิจการวิทยุและกิจการโทรทัศน์แล้ว ยังควรต้องคำนึงถึงการกำหนด Digital Dividend ในช่วง 700 MHz เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ได้อย่างทั่วถึง จึงจะนับว่าเป็นการใช้คลื่นความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเด็นเกี่ยวกับการกำกับดูแลในเรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน อยากให้ดูแลเรื่องการลดการลงทุนซ้ำซ้อน เพราะจะทำให้ต้นทุนบริการลดลง อันจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น

______________________________________






ไอทียู แนะไทยลดลงทุนซ้ำซ้อนระบบโทรคมนาคม


เลขาฯ ไอทียู เผยมุมมองการกำกับดูแลในยุคหลอมสื่อ แนะการกำกับดูแลโทรคมนาคม ควรเป็นแบบไม่ลงไปควบคุมมากจนเกินไป และลดการลงทุนซ้ำซ้อน...


พล.อ.อ.ธเรศ ปุณศรี ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวในงานปาฐกถาพิเศษ ภายใต้หัวข้อมุมมองของเลขาธิการสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือไอทียู กับการกำกับดูแลในยุคหลอมรวมสื่อว่า กสทช. มีความร่วมมือกับไอทียูหลายด้านมายาวนาน ด้วยความรู้และประสบการณ์ของไอทียูได้สร้างประโยชน์ต่อ กสทช. ของประเทศไทย ทั้ง 2 องค์กร ได้ร่วมมือกันในหลายโครงการ อาทิ โครงการบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการโทรคมนาคมอย่างเท่าเทียม หรือโครงการพัฒนาสมรรถภาพบุคลากรของ กสทช. สำนักงาน กสทช. และอุตสาหกรรมโทรคมนาคม ล่าสุด กสทช. ได้รับการสนับสนุนจากไอทียูในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ 3จี โดยไอทียูจัดทำรายงาน Thailand 3G Auction Review Report


นายฮามาดูน ตูเร เลขาธิการไอทียู กล่าวว่า ประเทศไทยใช้โทรศัพท์มือถือจำนวนเกินกว่า 100% แล้ว จึงเห็นโอกาสของการใช้การสื่อสารที่จะเข้ามาพัฒนาทุกๆ สิ่งได้เป็นอย่างดี เป้าหมายสูงสุดของไอทียูคือการเห็นสังคมเป็นสังคมอุดมปัญญาที่ประชาชนสามารถที่จะเข้าถึงและใช้ฐานข้อมูลความรู้ พัฒนาต่อยอดและถ่ายทอดกันได้อย่างกว้างขวาง ในมุมมองไอทียู การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่ผ่านมาของประเทศไทยนั้น ส่วนตัวมองว่าเหมาะสม และประชาชนควรจะมีโอกาสได้รับบริการโทรคมนาคมพื้นฐานทั่วถึง อันจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ รวมทั้งบริการต่างๆ จากภาครัฐได้ โดยไม่มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทางต่อไป ปัจจุบันกว่า 2 ใน 3 ของประชากรในโลกนี้สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เป้าหมายท้ายที่สุด คือการเชื่อมโยงเหล่านี้จะทำให้ไปสู่สังคมอุดมปัญญา และในสังคมอุดมปัญญาดังกล่าวประชาชนจะต้องสามารถทำ 4 อย่างนี้ได้ ได้แก่ 1. ประชาชนต้องเข้าถึงความรู้เหล่านี้ได้ 2. ประชาชนต้องสามารถใช้ความรู้เหล่านี้ได้ 3. ประชาชนสามารถสร้างความรู้ได้ 4. ประชาชนสามารถแบ่งปันความรู้นี้ได้


เลขาธิการไอทียู กล่าวต่อว่า สำหรับประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านจากอะนาล็อกไปสู่ทีวีดิจิตอลนอกเหนือจากการบริหารคลื่นความถี่ให้พอเพียงกับกิจการวิทยุและกิจการโทรทัศน์แล้ว ยังควรต้องคำนึงถึงการกำหนด Digital Dividend ในช่วง 700 MHz เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงบริการบรอดแบนด์ได้อย่างทั่วถึง จึงจะนับว่าเป็นการใช้คลื่นความถี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเด็นเกี่ยวกับการกำกับดูแลในเรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน อยากให้ดูแลเรื่องการลดการลงทุนซ้ำซ้อน เพราะจะทำให้ต้นทุนบริการลดลง อันจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้มากขึ้น


นายฮามาดูน กล่าวด้วยว่า ท้ายนี้ในเรื่องของแนวทางการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม ควรเป็นแบบ Light-Touch Regulation คือการกำกับดูแลแบบไม่ลงไปควบคุมมากจนเกินไป แต่จะปล่อยให้กลไกในตลาดควบคุมกันเอง อาจกล่าวได้ว่าการกำกับดูแลที่ดีที่สุดคือการไม่จำเป็นต้องไปกำกับดูแล สำหรับไอทียูใช้การให้คำแนะนำแทนการออกกฎระเบียบ ข้อบังคับ และใช้วิธีการแสวงหาความเห็นร่วมของสมาชิกมากกว่าจะใช้วิธีการลงคะแนนเสียง




โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/342982

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.