Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

6 พฤษภาคม 2556 DTAC เชื่อ ช่วงนี้ยังไม่ใช้ สงคราม 3G (เป็นเพียงการเปลื่ยนผ่านจาก2Gไปเป็น3Gเท่านั้น) เศรษฐพงค์ ชี้ราคาต้องลดนาทีละ 83 สตางค์NET 30-35 สตางค์ต่อ MB



ประเด็นหลัก


AIS โยกลูกค้า 20 ล.ใช้ 3G

นายฐิติพงษ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาด และการขาย บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอสกล่าวว่า เมื่อทุกค่ายเปิดให้บริการ 3G บนคลื่น 2.1 GHz ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ดาต้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ด้วยการที่ทุกเจ้าเริ่มต้นพร้อมกันทำให้การแข่งขันนั้นอยู่ที่การเร่งขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมการใช้งานได้เร็วมากที่สุด รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน

"จากนี้ไปจึงตั้งเป้าหมายไว้ที่ใน 3 ปี ลูกค้าเอไอเอสที่มีมากกว่า 30 ล้านเลขหมาย ต้องเปลี่ยนไปใช้ 3G ทั้งหมด 20 ล้านเครื่องให้ได้ โดยจะเร่งประชาสัมพันธ์และรุกด้านการตลาดเต็มที่ รวมทั้งจะใช้งบฯกว่า 40 ล้านบาท ปรับปรุงตัวแทนจำหน่ายรายย่อยให้เป็น AIS 3G Center ในร้านนอกจากขายมือถือที่ใช้ 3G คลื่น 2.1 GHz ได้ยังมีบริการย้ายค่ายเบอร์เดิมจาก 2G ไปเครือข่ายใหม่ มีผู้ให้คำแนะนำเรื่องการใช้สมาร์ทโฟนทุกรุ่น เดือนนี้จะมี 157 แห่ง ครอบคลุม 20 จังหวัด และปลายปีจะเพิ่มเป็น 1 พันแห่งทั่วประเทศ"

สงครามราคารอก่อน

สำหรับการแข่งขันด้านราคา นายฐิติพงศ์เชื่อว่าในช่วงแรกจะยังไม่มี เพราะทุกเจ้าแข่งกันที่ประสิทธิภาพในการให้บริการ และการมอบประสบการณ์การใช้ 3G บนคลื่นใหม่ ดังนั้นแพ็กเกจช่วงแรกอาจไม่หวือหวามากนัก

ด้านนายชัยยศ จิรบวรกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มลูกค้า บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวตรงกันว่า การแข่งขันของค่ายมือถือหลังจากนี้จะเน้นไปที่การขยายโครงข่าย เพราะช่วงการเปลี่ยนผ่านผู้บริโภคยังไม่มีความรู้เรื่อง 3G มากนักจึงต้องให้ข้อมูลใหม่ ๆ ซึ่ง

ดีแทคจะเพิ่มผู้ให้ข้อมูลในดีแทคช้อป รวมถึงใช้จุดเด่นในเรื่องแถบคลื่นที่มีมากที่สุดเป็นแกนหลักในการทำตลาด โดยมีด้วยกัน 3 แถบ คือ 850 MHz, 1800 MHz และ 2.1 GHz เมื่อรวมแล้วจะมีความจุถึง 50 MHz เท่ากับมีถนนเส้นที่ใหญ่ที่สุด ใช้วอยซ์และดาต้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าผู้บริโภคเข้าใจโอกาสที่ลูกค้ารายเดิมและจากค่ายอื่น ๆ จะเข้ามาใช้ก็มีมาก

"แพ็กเกจไม่ได้แตกต่างจากเดิมมากนัก เราเน้นขยายโครงข่ายมากกว่าแข่งราคา หรือ Price War ซึ่งทุกค่ายก็จะไม่ทำ"


พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า สำนักงาน กสทช.จะคอยมอนิเตอร์ว่าแพ็กเกจค่าบริการแต่ละค่ายเมื่อรวมทุกแพ็กเกจต้องลดลงเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15% ฉะนั้นลูกค้าจะได้ลดราคาในอัตราที่ไม่เท่ากัน ผู้บริโภคต้องเลือกแพ็กเกจที่เหมาะกับการใช้ของตนเอง

สำหรับอัตราอ้างอิงที่สำนักงาน กสทช.คำนวณจากค่าบริการ ณ วันที่ 7 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันที่แต่ละค่ายได้รับใบอนุญาต ค่าโทร.จะอยู่ที่นาทีละ 97 สตางค์ หากปรับลดราคา 15% ตามเงื่อนไขของ กสทช.จะทำให้ค่าบริการบนโครงข่าย 2.1 GHz เหลือนาทีละ 83 สตางค์ ส่วนค่าเฉลี่ยของอินเทอร์เน็ตจะอยู่ที่ราว 30-35 สตางค์ต่อ MB

ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.เสริมว่า ได้ขอให้เอกชนนำโปรโมชั่นเดิมที่มีคนใช้เยอะมาใช้บนคลื่น 2.1 GHz เพื่อให้ประชาชนเห็นชัดเจนว่ามีการลดราคาลง 15% และยืนยันว่ารับไม่ได้หากคิดว่าการเพิ่มสปีดให้เร็วขึ้นเท่ากับลดราคาให้แล้ว





















______________________________________




ธุรกิจตีปีกยักษ์มือถือกดปุ่ม3G สมาร์ทโฟนเฮโลปูพรมรุ่นใหม่

ธุรกิจตื่นตัวรอกดปุ่ม 3G คลื่น 2.1 GHz บิ๊กแบรนด์สมาร์ทโฟนตบเท้าขนโปรดักต์เรือธงลงตลาดคึกคัก ฟากโอเปอเรเตอร์แข่งโชว์ความพร้อมเครือข่าย เชื่อศึกยกแรกยังไม่ถึงคิวสงครามราคา "เอไอเอส" ตั้งเป้า 3 ปี ดึง ลูกค้า 20 ล้าน ใช้ คลื่นใหม่ ฟาก "ทรูมูฟเอช" ชิงซีนชู "4G" บนเครือข่าย 3G รายแรก ลุ้น กสทช.ไม่ขึ้น บีบลดราคา 15%

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ล่าสุดค่ายมือถือได้จัดคิวกันเอง (7-8-9 พ.ค.) โดยไม่นัดหมายสำหรับการเปิด 3G บนคลื่นใหม่ 2.1 GHz นำโดย "เอไอเอส" ใช้ฤกษ์ดี 7 พ.ค.นี้ โดยบริษัทในเครือ "เอดับบลิวเอ็น" ผู้รับใบอนุญาต ถัดมาเป็นคิว "ทรูมูฟเอช" (8 พ.ค.) โชว์เหนือด้วยการประกาศความพร้อมในการให้บริการ 4G ใช้ได้จริงเป็นเจ้าแรก ปิดท้ายด้วย "ดีแทค"ค่ายที่จริงจังกับ 3G คลื่นใหม่คงเป็นใครไปไม่ได้มากกว่า "เอดับบลิวเอ็น" ด้วยเร่งปูพรมเครือข่ายไม่คิดชีวิต ภายใน 4 เดือนหลังได้รับใบอนุญาต พร้อมประเดิมเปิดเฟสแรก 20 จังหวัด ขณะเดียวกัน ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือหลายแบรนด์ก็มีคิวเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่เช่นกัน

สมาร์ทโฟนใหม่ลงตลาดพรึ่บ

ล่าสุด "ซัมซุง" เปิดตัวสมาร์ทโฟนเรือธง "กาแล็คซี่ เอส 4" ซึ่งแทบเป็นธรรมเนียมปฏิบัติไปแล้วที่ค่ายมือถือจะชิงเปิดรับพรีออร์เดอร์กันล่วงหน้า เมื่อวางขายจริงก็มีแพ็กเกจเสริมดึงดูดกำลังซื้อ เช่น "ทรูมูฟ เอช" (รองรับเฉพาะ 3G คลื่น 850 GHz) ให้ส่วนลดค่าบริการรายเดือน 50% ในแพ็กเกจ iSmart 899 มีผ่อน 0% นาน 10 เดือน ขณะที่เอไอเอส 3G มีโปรโมชั่น 3G โทรฟรีทุกเครือข่าย 500 นาที จ่าย 499 บาท/เดือน แถมแอปพลิเคชั่นฟรี อาทิ ฟรีภาพยนตร์ HD 30 เรื่อง, ฟรี e-books กว่า 30 ฉบับ นาน 3 เดือน พร้อมโปรแกรมเงินผ่อน 0% นาน 10 เดือน เป็นต้น

ก่อนหน้านี้ "โซนี่" ก็มีรุ่น Xperia Z ลงตลาด (ราคา 20,900 บาท) เช่นกันกับแบล็คเบอร์รี่ Z 10 และเอชทีซี "วัน"
จากการสำรวจของ "ประชาชาติธุรกิจ" พบว่าเดือน พ.ค.นี้ ค่ายมือถือมีแพ็กเกจใหม่ ดังนี้ "เอไอเอส 3G" ราคาถูกสุด 149 บาท ใช้ 3G และ Edge ได้ 150 MB, 350 บาท ใช้ได้ 1 GB และ 550 บาท ใช้ได้สูงสุด 2 GB (ค่าบริการอินเทอร์เน็ตส่วนเกิน MB ละ 2 บาท) ส่วนโปรโมชั่นใช้ไม่จำกัดจำนวนแต่จำกัดความเร็ว มีตั้งแต่ 799 บาท (สูงสุด 3 จิกะไบต์) ราคา 899 บาท สูงสุด 5 จิกะไบต์ และ 999 บาท ใช้ได้สูงสุด 7 GB (หลังใช้ครบตามปริมาณที่กำหนดยังใช้อินเทอร์เน็ตต่อได้ แต่ความเร็วสูงสุดทำได้ไม่เกิน 384 Kbps) ใช้ได้ทั้งพรีเพดและโพสต์เพด

ฝั่ง "ดีแทค" แพ็กเกจถูกสุดอยู่ที่ 99 บาท ใช้ 3G และ Edge ได้ 75 MB, แพ็กเกจ 199 บาท ใช้ได้ 250 MB ส่วนแพ็กเกจที่ใช้ได้ไม่อั้นมีราคาตั้งแต่ 399 บาท (3G ได้สูงสุด 1 GB ราคา 499 บาท ใช้ได้ 1.2 GB, 650 บาท ความเร็วสูงสุด 2 GB และ 890 บาท ที่ 5 GB จากนั้นความเร็วจะลดลงเหลือไม่เกิน 384 Kbps

ขณะที่ "ทรูมูฟเอช" มีแพ็กเกจเน็ตแบบเติมเงินรายเดือน ค่าบริการถูกสุด 90 บาท ใช้ 3G และ Edge สูงสุด 70 MB ราคา 150 บาท สูงสุด 150 MB ส่วนเกินคิด 0.1 บาท/Kbps ส่วนแพ็กเกจใช้ได้ไม่จำกัดมีให้เลือกตั้งแต่ 599 บาท ความเร็วได้สูงสุด 2 GB จนถึงราคาสูงสุด 999 บาท ใช้ได้สูงสุด 7 GB

AIS โยกลูกค้า 20 ล.ใช้ 3G

นายฐิติพงษ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาด และการขาย บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอสกล่าวว่า เมื่อทุกค่ายเปิดให้บริการ 3G บนคลื่น 2.1 GHz ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ดาต้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ด้วยการที่ทุกเจ้าเริ่มต้นพร้อมกันทำให้การแข่งขันนั้นอยู่ที่การเร่งขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมการใช้งานได้เร็วมากที่สุด รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน

"จากนี้ไปจึงตั้งเป้าหมายไว้ที่ใน 3 ปี ลูกค้าเอไอเอสที่มีมากกว่า 30 ล้านเลขหมาย ต้องเปลี่ยนไปใช้ 3G ทั้งหมด 20 ล้านเครื่องให้ได้ โดยจะเร่งประชาสัมพันธ์และรุกด้านการตลาดเต็มที่ รวมทั้งจะใช้งบฯกว่า 40 ล้านบาท ปรับปรุงตัวแทนจำหน่ายรายย่อยให้เป็น AIS 3G Center ในร้านนอกจากขายมือถือที่ใช้ 3G คลื่น 2.1 GHz ได้ยังมีบริการย้ายค่ายเบอร์เดิมจาก 2G ไปเครือข่ายใหม่ มีผู้ให้คำแนะนำเรื่องการใช้สมาร์ทโฟนทุกรุ่น เดือนนี้จะมี 157 แห่ง ครอบคลุม 20 จังหวัด และปลายปีจะเพิ่มเป็น 1 พันแห่งทั่วประเทศ"

สงครามราคารอก่อน

สำหรับการแข่งขันด้านราคา นายฐิติพงศ์เชื่อว่าในช่วงแรกจะยังไม่มี เพราะทุกเจ้าแข่งกันที่ประสิทธิภาพในการให้บริการ และการมอบประสบการณ์การใช้ 3G บนคลื่นใหม่ ดังนั้นแพ็กเกจช่วงแรกอาจไม่หวือหวามากนัก

ด้านนายชัยยศ จิรบวรกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มลูกค้า บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวตรงกันว่า การแข่งขันของค่ายมือถือหลังจากนี้จะเน้นไปที่การขยายโครงข่าย เพราะช่วงการเปลี่ยนผ่านผู้บริโภคยังไม่มีความรู้เรื่อง 3G มากนักจึงต้องให้ข้อมูลใหม่ ๆ ซึ่ง

ดีแทคจะเพิ่มผู้ให้ข้อมูลในดีแทคช้อป รวมถึงใช้จุดเด่นในเรื่องแถบคลื่นที่มีมากที่สุดเป็นแกนหลักในการทำตลาด โดยมีด้วยกัน 3 แถบ คือ 850 MHz, 1800 MHz และ 2.1 GHz เมื่อรวมแล้วจะมีความจุถึง 50 MHz เท่ากับมีถนนเส้นที่ใหญ่ที่สุด ใช้วอยซ์และดาต้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าผู้บริโภคเข้าใจโอกาสที่ลูกค้ารายเดิมและจากค่ายอื่น ๆ จะเข้ามาใช้ก็มีมาก

"แพ็กเกจไม่ได้แตกต่างจากเดิมมากนัก เราเน้นขยายโครงข่ายมากกว่าแข่งราคา หรือ Price War ซึ่งทุกค่ายก็จะไม่ทำ"

ร้านมือถือส้มหล่น

นายอดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เจ มาร์ท เปิดเผยว่า ร้านค้าปลีกทั้งรายย่อยและรายใหญ่ต่างได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยี เพราะความต่างที่เห็นชัดที่สุดก็คือ การใช้ดาต้าที่เสถียรและเร็วกว่าคลื่นเดิม แต่ถ้าจะใช้ดาต้าได้เต็มประสิทธิภาพ ผู้บริโภคต้องเปลี่ยนเครื่องจากฟีเจอร์โฟนเป็นสมาร์ทโฟน เพื่อให้ใช้งานต่าง ๆ ได้ ปัจจุบันผู้ใช้ฟีเจอร์โฟนยังมากกว่ากึ่งหนึ่งของผู้ใช้ทั้งหมดจึงเป็นโอกาสของร้านค้าในการขายเครื่อง คาดว่ายอดขายร้านค้าปลีกมือถือจะเพิ่มขึ้นชัดเจน เฉพาะเจมาร์ทเชื่อว่ารายได้จะเติบโตถึง 40% หรืออยู่ที่ 1.1 หมื่นล้านบาท จากการขายสมาร์ทโฟน 64% และแท็บเลต 26% ที่เหลือเป็นฟีเจอร์โฟน

"เรายังปรับการบริหารสต๊อกใหม่ โดยให้ความสำคัญกับโทรศัพท์ที่ใช้ 3G ได้ เฉลี่ย 1.2 แสนเครื่องต่อเดือน เป็นอินเตอร์แบรนด์ 1 แสนเครื่อง และเฮาส์แบรนด์ JFone อีก 2 หมื่นเครื่อง ฟีเจอร์โฟนที่มีก็จะใช้ 3G ได้ ส่วนราคาเครื่องสมาร์ทโฟน 3G ยังอยู่ที่ 3,900 บาทขึ้นไป แต่ปลายปีอาจปรับลงมาที่ 2,000 บาทต้น ๆ"

ลดราคา 15% แค่ค่าเฉลี่ย

อย่างไรก็ตาม แม้ค่ายมือถือทุกเจ้าจะพูดตรงกันว่า ยินดีให้ความร่วมมือกับ กสทช.ในการลดราคาค่าบริการ 3G แต่ไม่ใช่ว่าทุกแพ็กเกจจะลดลง 15% ทันที

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า สำนักงาน กสทช.จะคอยมอนิเตอร์ว่าแพ็กเกจค่าบริการแต่ละค่ายเมื่อรวมทุกแพ็กเกจต้องลดลงเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 15% ฉะนั้นลูกค้าจะได้ลดราคาในอัตราที่ไม่เท่ากัน ผู้บริโภคต้องเลือกแพ็กเกจที่เหมาะกับการใช้ของตนเอง

สำหรับอัตราอ้างอิงที่สำนักงาน กสทช.คำนวณจากค่าบริการ ณ วันที่ 7 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันที่แต่ละค่ายได้รับใบอนุญาต ค่าโทร.จะอยู่ที่นาทีละ 97 สตางค์ หากปรับลดราคา 15% ตามเงื่อนไขของ กสทช.จะทำให้ค่าบริการบนโครงข่าย 2.1 GHz เหลือนาทีละ 83 สตางค์ ส่วนค่าเฉลี่ยของอินเทอร์เน็ตจะอยู่ที่ราว 30-35 สตางค์ต่อ MB

ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.เสริมว่า ได้ขอให้เอกชนนำโปรโมชั่นเดิมที่มีคนใช้เยอะมาใช้บนคลื่น 2.1 GHz เพื่อให้ประชาชนเห็นชัดเจนว่ามีการลดราคาลง 15% และยืนยันว่ารับไม่ได้หากคิดว่าการเพิ่มสปีดให้เร็วขึ้นเท่ากับลดราคาให้แล้ว

http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1367810450&grpid=00&catid=no&subcatid=0000

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.