Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

7 พฤษภาคม 2556 อนุดิษฐ์จับมือCAT ส่งเรื่องถึงครม.แน่!!(เหตุความจำเป็นใช้คลื่นอย่างต่ำอีก10ปี สัญญาระบุชัดต่ออีก2 ปี) ลึกว่านั้นต้องการทำ4Gผ่านพรบ.เงินกู้2.2ล้านล้านบาท


ประเด็นหลัก


น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 พ.ค.นี้ ไอซีทีจะเสนอเหตุแห่งความจำเป็นในการขอใช้คลื่นความถี่ภายใต้สัญญาสัมปทานทั้งหมดที่บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ถือครองอยู่ทั้งในย่านความถี่ 1800 MHz ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเดือน ก.ย.นี้ของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) รวมทั้งย่านความถี่ 900 MHz ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่ให้บริการระบบ 2G ซึ่งจะสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2558 และคลื่นความถี่ 850 MHz ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2561
   
       เหตุผลที่เสนอให้ ครม.เห็นชอบ เนื่องจากความจำเป็นในการใช้ความถี่ต่อไปนั้นเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของประเทศที่เป็นนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2544 เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านไอซีทีของประเทศ ซึ่งในกรอบการขอความเห็นชอบจาก ครม.จะอยู่ภายใต้โครงการสมาร์ทไทยแลนด์ ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะเน้นการพัฒนาระบบสมาร์ทเน็ตเวิร์กของประเทศ เพื่อรองรับการวางโครงสร้างพัฒนาระบบขนส่ง ตาม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจำเป็นต้องมีการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางไอซีทีของประเทศควบคู่กันไปด้วย
   
       “เรื่องเร่งด่วนที่ต้องขอความเห็นชอบคือ จะให้ ครม.อนุมัติให้ กสท มีสิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 1800 MHz ของทรูมูฟ และดีพีซีต่อไปอย่างน้อย 10 ปีตามอายุใบอนุญาตประเภทที่ 3 และเพื่อไม่ให้ กสทช.นำคลื่นความถี่ดังกล่าวไปจัดสรรใหม่เพื่อเปิดประมูล 4G”
   
       สำหรับรายละเอียดที่จะเสนอ ครม.ให้พิจารณานั้นเป็นไปตามที่นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ได้เสนอแผนการขอใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 82, 83 และ 84 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ในบทเฉพาะกาลที่บัญญัติเกี่ยวกับเหตุแห่งความจำเป็นและสิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 1800 MHz ต่อไป โดย กสท ก็ยังยืนยันว่าในรายละเอียดของกฎหมายที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลเขียนไว้ชัดเจนเกี่ยวกับการให้บริหารต่อไปได้
   
       นอกจากนี้ ในบทแนบท้ายของสัญญาสัมปทานได้ระบุอย่างชัดเจนว่า หากอายุของสัญญานั้นสิ้นสุดลง การคิดค่าเช่า การบริหารเสาโทรคมนาคม และ สถานีฐานยังให้สิทธิรายเดิมไปอีก 2 ปี ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่าน ดังนั้นไม่ใช่ว่า กสทช.จะกำหนดให้มีการปิดระบบ 2G ทันทีที่สัญญาหมดซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และยังเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชนที่อยู่ในระบบนี้ราว 20 ล้านราย ให้ต้องย้ายไปยังโครงข่ายใหม่ ซึ่งจะเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคด้วย



น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่ต้องการขอความเห็นชอบจาก ครม. อย่างเร่งด่วน คือ การขออนุมัติให้ กสท มีสิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ต่อไปอีกอย่างต่ำ 10 ปี เพื่อชะลอไม่ให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นำคลื่นไปจัดสรรใหม่เพื่อเปิดประมูล 4จี เนื่องจากในปัจจุบัน ยังคงมีลูกค้าใช้งานค้างอยู่ในคลื่นดังกล่าวที่ใกล้จะหมดอายุสัญญาสัมปทานลง ราว 17 ล้านราย

อย่างไรก็ตาม ในส่วนแผนงานที่จะนำเสนอต่อ ครม. จะเป็นไปตามที่นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ได้เสนอแผนรายละเอียดการขอใช้คลื่นความถี่ แบ่งเป็นคลื่น 12.5 เมกะเฮิรตซ์ ของทรูมูฟ จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี2568 คลื่นจำนวน 12.5 เมกะเฮิรตซ์ของดีพีซี จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2559 รวมถึงคลื่นจำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ของดีแทค ที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งานและจะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2561 ซึ่งกสท จะขอใช้งานต่อไปจนถึงปี 2568 อ้างอิงตามมาตรา 82 83 และ 84 แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ที่ว่าด้วยการรองรับการเปลี่ยนผ่านเมื่อมีการตรากฎหมายใหม่ โดยในรายละเอียดของกฎหมายในบทเฉพาะกาลเขียนไว้ชัดเจน เกี่ยวกับการให้บริหารต่อ





น.ท.สมพงษ์ โพธิ์เกษม บอร์ดกสท กล่าวว่า กสท ได้นำเสนอแนวทางการขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ของกสทต่อครม. และเสนอต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลควรเข้าช่วยแก้ปัญหา เพราะคลื่นความถี่เป็นทรัพย์สมบัติของชาติ ที่ต้องทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และหากปล่อยให้คลื่นความถี่อยู่ในการครอบครองของภาคเอกชนทั้งหมด อาจกระทบต่อความมั่นคงระบบโทรคมนาคมของประเทศชาติด้วย

โดยที่ผ่านมา กสท และกสทช. มีความเห็นไม่ตรงกัน โดยกสท ยืนยันที่ขอสิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่ต่อหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด ซึ่งได้เสนอแนวทางไปยังกสทช.แล้ว แต่กสทช.ยืนยันว่าต้องคืนคลื่นมายังกสทช.ตามกฎหมาย เพื่อนำไปจัดสรรด้วยวิธีการประมูลต่อไป ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยตัดสินปัญหาดังกล่าว

นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกสทช.ด้านกฎหมาย กล่าวว่า ได้เตรียมเอกสารพร้อมส่งไปชี้แจงว่า กสทช.มีอำนาจในการนำคลื่นมาจัดสรรใหม่ ตามอำนาจในรัฐธรรมนูญ ขณะที่ กสทช.ได้เตรียมมาตรการเยียวยาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ใช้บริการไว้เรียบร้อยแล้ว











______________________________________






“อนุดิษฐ์” เปิดศึก กสทช.ชิงความถี่ 1800 MHz



       “อนุดิษฐ์” ท้ารบ กสทช. ชง ครม.พิจารณาให้ทีโอที และ กสท สามารถบริหารจัดการความถี่ทั้ง 900 MHz 1800 MHz และ 850 MHz หลังหมดอายุสัญญาสัมปทานได้อย่างน้อย 10 ปี อ้างเป็นยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2554
     
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 พ.ค.นี้ ไอซีทีจะเสนอเหตุแห่งความจำเป็นในการขอใช้คลื่นความถี่ภายใต้สัญญาสัมปทานทั้งหมดที่บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ถือครองอยู่ทั้งในย่านความถี่ 1800 MHz ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเดือน ก.ย.นี้ของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) รวมทั้งย่านความถี่ 900 MHz ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่ให้บริการระบบ 2G ซึ่งจะสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2558 และคลื่นความถี่ 850 MHz ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2561
     
       เหตุผลที่เสนอให้ ครม.เห็นชอบ เนื่องจากความจำเป็นในการใช้ความถี่ต่อไปนั้นเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของประเทศที่เป็นนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2544 เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านไอซีทีของประเทศ ซึ่งในกรอบการขอความเห็นชอบจาก ครม.จะอยู่ภายใต้โครงการสมาร์ทไทยแลนด์ ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะเน้นการพัฒนาระบบสมาร์ทเน็ตเวิร์กของประเทศ เพื่อรองรับการวางโครงสร้างพัฒนาระบบขนส่ง ตาม พ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจำเป็นต้องมีการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางไอซีทีของประเทศควบคู่กันไปด้วย
     
       “เรื่องเร่งด่วนที่ต้องขอความเห็นชอบคือ จะให้ ครม.อนุมัติให้ กสท มีสิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 1800 MHz ของทรูมูฟ และดีพีซีต่อไปอย่างน้อย 10 ปีตามอายุใบอนุญาตประเภทที่ 3 และเพื่อไม่ให้ กสทช.นำคลื่นความถี่ดังกล่าวไปจัดสรรใหม่เพื่อเปิดประมูล 4G”
     
       สำหรับรายละเอียดที่จะเสนอ ครม.ให้พิจารณานั้นเป็นไปตามที่นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ได้เสนอแผนการขอใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 82, 83 และ 84 ของ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ในบทเฉพาะกาลที่บัญญัติเกี่ยวกับเหตุแห่งความจำเป็นและสิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 1800 MHz ต่อไป โดย กสท ก็ยังยืนยันว่าในรายละเอียดของกฎหมายที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลเขียนไว้ชัดเจนเกี่ยวกับการให้บริหารต่อไปได้
     
       นอกจากนี้ ในบทแนบท้ายของสัญญาสัมปทานได้ระบุอย่างชัดเจนว่า หากอายุของสัญญานั้นสิ้นสุดลง การคิดค่าเช่า การบริหารเสาโทรคมนาคม และ สถานีฐานยังให้สิทธิรายเดิมไปอีก 2 ปี ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่าน ดังนั้นไม่ใช่ว่า กสทช.จะกำหนดให้มีการปิดระบบ 2G ทันทีที่สัญญาหมดซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และยังเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชนที่อยู่ในระบบนี้ราว 20 ล้านราย ให้ต้องย้ายไปยังโครงข่ายใหม่ ซึ่งจะเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคด้วย
     
       ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช.ด้านกฎหมาย กล่าวว่า ทราบประเด็นที่ไอซีทีจะเสนอ ครม.ขอใช้คลื่นความถี่ในย่าน 1800 MHz แล้ว โดยได้เตรียมเอกสารพร้อมส่งไปชี้แจงว่า กสทช.มีอำนาจในการนำคลื่นมาจัดสรรใหม่ ตามอำนาจในรัฐธรรมนูญ ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ สทช.5011/04492 ลงวันที่ 12 ก.พ. 2556 ที่ กสทช.ได้ส่งไปยังกสท เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ภายหลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานถึง กสท โดยขอให้คืนคลื่นความถี่ในย่าน 1800 MHz เพื่อนำมาเปิดประมูลต่อไป นอกจากนี้ กสทช.ได้จัดเตรียมมาตรการเยียวผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งแนวทางในการประชาสัมพันธ์แล้วด้วย
     
       กสทช.ยื้ออำนาจจัดสรรความถี่
     
       ก่อนหน้านี้ พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการเตรียมการเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 1800 MHz ยืนยันว่าจะให้เวลาทรูมูฟและดีพีซี ดูแลลูกค้าต่อไปอีก 1 ปี ด้วยการออกร่างประกาศ กสทช.ว่าด้วยการคุ้มครองผู้ใช้บริการกรณีสิ้นอายุสัญญาสัมปทาน หรือ ร่างประกาศเฉพาะกิจภายในเดือน ก.ค. 2556 เพื่อให้ทรูมูฟ และดีพีซีเป็นผู้ดูแลลูกค้าต่อไป
     
       พร้อมทั้งกำหนด 3 แนวทางดำเนินการประกอบด้วย 1. คณะอนุฯ 1800 MHz เตรียมยกร่างประกาศคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการเฉพาะกิจ หลังจากที่สัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง ซึ่งจะต้องไม่ใช่การขยายอายุสัมปทาน โดยเอกชนรายเดิมต้องไม่มุ่งหาลูกค้าใหม่ ซึ่งจะมีการกำหนดกรอบเวลาว่าในช่วงการให้บริการเฉพาะกิจนี้ จะให้ทรูมูฟ และดีพีซีสามารถให้บริการลูกค้ารายเดิมในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น โดยในช่วงเฉพาะกิจผู้ใช้บริการต้องไม่เกิดซิมดับ และในระหว่างนั้น ผู้ประกอบการเอกชน รวมทั้ง กสทช.เองจะต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคโอน ย้ายไปยังระบบอื่น ซึ่งร่างประกาศฯ นี้คาดว่าภายในเดือนก.ค.ต้องมีความชัดเจน และเปิดให้มีการรับฟังความเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) อย่างเร่งด่วนด้วย
     
       2. ในระหว่างช่วงมีการให้บริการเป็นการเฉพาะกิจนี้ ผู้ประกอบการทั้ง 5 รายในตลาดที่มีเอ็มโอยูกับบริษัท เคลียร์ริ่งเฮ้าส์ จำกัด จะต้องมีการเพิ่มความสามารถในการให้บริการคงสิทธิเลขหมาย (นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้) เพราะหากลูกค้ายังคงเหลืออยู่ในระบบสัญญาสัมปทานความถี่ 1800 MHz จนถึงวันที่มีการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz สำหรับการให้บริการ 4G ในปลายปี 2557 ก็จะมีการส่งต่อลูกค้าไปยังผู้ที่ชนะการประมูล 1800 MHz ต่อไปในอนาคต
     
       3. สร้างประกาศฯรองรับให้ กสทช.มีฐานะทางกฎหมายเพื่อยืนยันว่า กสทช.มี สิทธิในการออกมาตรการชั่วคราวได้ สำหรับอำนาจการใช้งานและสิทธิในการบริหารจัดการคลื่น
     
       ‘คลื่นความถี่ 1800 MHz หากสิ้นสุดสัมปทานแล้วจำเป็นต้องส่งมอบอำนาจการถือครอง และสิทธิในคลื่นความถี่มายัง กสทช.ทันทีที่สัมปทานสิ้นสุดลง กสทและผู้รับใบอนุญาตรายเดิมไม่มีสิทธิอ้างการปรับปรุงคลื่นได้’
     
       นอกจากนี้ยังสั่งการให้สำนักงานกสทช.จัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาอีก 1 ชุดในการวางเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) สำหรับคลื่นความถี่ 1800 MHz อาทิ ราคาเริ่มต้นการประมูล และการเลือกแบบวิธีการประมูล โดยคาดว่าระยะเวลาประมูลอาจเร็วกว่าไตรมาส 3 ปี 2557

http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000054460

______________________________________________________



'อนุดิษฐ์' เปิดศึกกสทช. ชิงความถี่ 1800 MHz

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 6 พฤษภาคม 2556 20:32 น.




       'อนุดิษฐ์' ท้ารบกสทช. ชงครม.พิจารณาให้ทีโอทีและกสท สามารถบริหารจัดการความถี่ทั้ง 900 MHz 1800 MHz และ 850 MHz หลังหมดอายุสัญญาสัมปทานได้อย่างน้อย10 ปี อ้างเป็นยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 2554
     
       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 พ.ค.นี้ ไอซีทีจะเสนอเหตุแห่งความจำเป็นในการขอใช้คลื่นความถี่ภายใต้สัญญาสัมปทานทั้งหมด ที่บริษัท ทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ถือครองอยู่ทั้งในย่านความถี่ 1800 MHz ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเดือนก.ย.นี้ของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) รวมทั้งย่านความถี่ 900 MHz ของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ที่ให้บริการระบบ 2G ซึ่งจะสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2558 และคลื่นความถี่ 850 MHz ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2561
     
       เหตุผลที่เสนอให้ครม.เห็นชอบ เนื่องจากความจำเป็นในการใช้ความถี่ต่อไปนั้นเป็นไปตามยุทธศาสตร์ของประเทศที่เป็นนโยบายที่รัฐบาลแถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2544 เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านไอซีทีของประเทศ ซึ่งในกรอบการขอความเห็นชอบจากครม.จะอยู่ภายใต้โครงการสมาร์ท ไทยแลนด์ ตามนโยบายของรัฐบาลที่จะเน้นการพัฒนาระบบสมาร์ทเน็ตเวิร์กของประเทศ เพื่อรองรับการวางโครงสร้างพัฒนาระบบขนส่ง ตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจำเป็นต้องมีการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางไอซีทีของประเทศควบคู่กันไปด้วย
     
       'เรื่องเร่งด่วนที่ต้องขอความเห็นชอบคือจะให้ครม.อนุมัติให้กสทมีสิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 1800 MHz ของทรูมูฟและดีพีซีต่อไปอย่างน้อย 10 ปีตามอายุใบอนุญาตประเภทที่ 3และเพื่อไม่ให้กสทช.นำคลื่นความถี่ดังกล่าวไปจัดสรรใหม่เพื่อเปิดประมูล 4G'
     
       สำหรับรายละเอียดที่จะเสนอครม.ให้พิจารณานั้นเป็นไปตามที่นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่กสทได้เสนอแผนการขอใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 82 ,83 และ 84 ของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 ในบทเฉพาะกาลที่บัญญัติเกี่ยวกับเหตุแห่งความจำเป็นและสิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 1800 MHz ต่อไป โดยกสทก็ยังยืนยันว่าในรายละเอียดของกฎหมายที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลเขียนไว้ชัดเจนเกี่ยวกับการให้บริหารต่อไปได้
     
       นอกจากนี้ในบทแนบท้ายของสัญญาสัมปทานได้ระบุอย่างชัดเจนว่า หากอายุของสัญญานั้นสิ้นสุดลง การคิดค่าเช่า การบริหารเสาโทรคมนาคม และ สถานีฐานยังให้สิทธิรายเดิมไปอีก 2 ปี ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนผ่าน ดังนั้นไม่ใช่ว่ากสทช.จะกำหนดให้มีการปิดระบบ2G ทันทีที่สัญญาหมดซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง และยังเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชนที่อยู่ในระบบนี้ราว 20 ล้านราย ให้ต้องย้ายไปยังโครงข่ายใหม่ ซึ่งจะเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคด้วย
     
       ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกสทช.ด้านกฎหมาย กล่าวว่า ทราบประเด็นที่ไอซีทีจะเสนอครม.ขอใช้คลื่นความถี่ในย่าน 1800 MHz แล้ว โดยได้เตรียมเอกสารพร้อมส่งไปชี้แจงว่ากสทช.มีอำนาจในการนำคลื่นมาจัดสรรใหม่ ตามอำนาจในรัฐธรรมนูญ ตามหนังสือด่วนที่สุดที่ สทช.5011/04492 ลงวันที่ 12 ก.พ.2556 ที่กสทช.ได้ส่งไปยังกสท เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ภายหลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานถึงกสท โดยขอให้คืนคลื่นความถี่ในย่าน 1800 MHz เพื่อนำมาเปิดประมูลต่อไป นอกจากนี้ กสทช.ได้จัดเตรียมมาตรการเยียวผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งแนวทางในการประชาสัมพันธ์แล้วด้วย


http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000054403&Keyword=%a1%ca%b7


_____________________________________


‘อนุดิษฐ์’ ยื้อส่งคืนคลื่นให้ กสทช.ยืมมือ ครม.7พค.อนุมัติสิทธิ‘กสท’

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 7 พฤษภาคม 2556 ไอซีที จะเสนอขอความเห็นชอบตามยุทธศาสตร์ชาติ และนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา ไปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2554 โดยจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านไอซีทีของประเทศ ซึ่งในกรอบการขอความเห็นชอบจากครม.จะอยู่ภายใต้โครงการสมาร์ท ไทยแลนด์ ตามนโยบายของรัฐบาล โดยในแผนโครงสร้างการพัฒนาสมาร์ท ไทยแลนด์นั้น จะเน้นการพัฒนาระบบสมาร์ท เน็ตเวิร์กของประเทศ เพื่อรองรับการวางโครงสร้างพัฒนาระบบขนส่งในพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ซึ่งจำเป็นต้องมีการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานทางไอซีที

ในเบื้องต้น ไอซีที จะเสนอเหตุแห่งความจำเป็นในการขอใช้คลื่นความถี่ภายใต้สัญญาสัมปทานของ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ให้กับ สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

“ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ขอความเห็นชอบจาก ครม.ให้ครม.อนุมัติให้กสทมีสิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 1800 ของทรูมูฟ และดีพีซีต่อไปอย่างต่ำ 10 ปีตาม ใบอนุญาตประเภท 3 ก่อนจะเสนอต่อยังคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อไม่ให้ กสทช.นำคลื่นไปจัดสรรใหม่เพื่อเปิดประมูล 4G”

ปัจจุบัน กสท ถือครองคลื่นย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ให้สัมปทานกับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเดือนกันยายน 2556 นี้ และคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ที่ให้สัมปทานกับ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2561

ส่วน ทีโอที ถือครองย่านความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ และให้สัมปทานกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส จะสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2558

สำหรับการเสนอครม.ครั้งนี้เป็นไปตามที่นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ได้เสนอแผนรายละเอียดการขอใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 82 ,83 และ 84 แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 ตามที่มีบทเฉพาะกาลบัญญัติเกี่ยวกับเหตุแห่งความจำเป็นและสิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ต่อไป โดย กสท ก็ยังยืนยันว่า ในรายละเอียดของกฎหมายที่กำหนดไว้ในบทเฉพาะกาลเขียนไว้ชัดเจน เกี่ยวกับการให้บริหารต่อ

ด้าน นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกสทช.ด้านกฎหมาย กล่าวว่า ทราบประเด็นที่ ไอซีที จะเสนอครม.ขอใช้คลื่นความถี่ในย่าน1800 แล้ว โดยได้เตรียมเอกสารพร้อมส่งไปชี้แจงว่า กสทช.มีอำนาจในการนำคลื่นมาจัดสรรใหม่ ตามอำนาจในรัฐธรรมนูญ โดยจะยืนยันตามหนังสือด่วนที่สุดที่ สทช.5011/04492 ลงวันที่ 12 ก.พ. 2556 ที่ กสทช.ได้ส่งไปยัง กสท เรื่อง การดำเนินการเกี่ยวกับคลื่นความถี่ภายหลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานถึง กสท โดยขอให้คืนคลื่นความถี่ในย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำมาเปิดประมูลต่อไป

http://www.naewna.com/business/50937

____________________________________



'อนุดิษฐ์'ชงครม.ยืดสัมปทานคลื่น1800

"อนุดิษฐ์"งัดข้อกสทช.เสนอ ครม.วันนี้ (7 พ.ค.) ขอใช้คลื่น 1800 ทรูมูฟ-ดีพีซี ที่จะหมดสัมปทาน ตาม กสท ร้องขอ

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (7 พ.ค.) จะเสนอขอใช้คลื่นความถี่ภายใต้สัญญาสัมปทานทั้งหมด ที่บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท โทรคมนาคม ถือครองอยู่ทั้งในย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเดือน ก.ย.นี้ ของบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี) ย่านความถี่ 900 เมกะเฮิรตช์ ที่บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ให้บริการระบบ 2จี ซึ่งจะสิ้นสุดอายุสัมปทานในปี 2558 และรวมถึงคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ของบมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในปี 2561

โดยจะเสนอเหตุจำเป็นในการขอใช้คลื่นความถี่ดังกล่าว ให้ครม.อนุมัติให้ กสท มีสิทธิบริหารคลื่นความถี่ 1800 ของทรูมูฟ และดีพีซีต่อไปอย่างต่ำ 10 ปีตามใบอนุญาตประเภท 3 ซึ่งจะเสนอต่อยังคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อไม่ให้กสทช.นำคลื่นไปจัดสรรใหม่เพื่อเปิดประมูล 4จี

ทั้งนี้ แผนที่จะเสนอต่อครม.เป็นไปตามที่ นายกิตคิศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท เสนอแผนขอใช้คลื่นความถี่ตามมาตรา 82 83 และ 84 แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ตามที่มีบทเฉพาะกาลบัญญัติเกี่ยวกับเหตุแห่งความจำเป็นและสิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ต่อไป

น.ท.สมพงษ์ โพธิ์เกษม บอร์ดกสท กล่าวว่า กสท ได้นำเสนอแนวทางการขอปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ของกสทต่อครม. และเสนอต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลควรเข้าช่วยแก้ปัญหา เพราะคลื่นความถี่เป็นทรัพย์สมบัติของชาติ ที่ต้องทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และหากปล่อยให้คลื่นความถี่อยู่ในการครอบครองของภาคเอกชนทั้งหมด อาจกระทบต่อความมั่นคงระบบโทรคมนาคมของประเทศชาติด้วย

โดยที่ผ่านมา กสท และกสทช. มีความเห็นไม่ตรงกัน โดยกสท ยืนยันที่ขอสิทธิ์ในการใช้คลื่นความถี่ต่อหลังสัญญาสัมปทานสิ้นสุด ซึ่งได้เสนอแนวทางไปยังกสทช.แล้ว แต่กสทช.ยืนยันว่าต้องคืนคลื่นมายังกสทช.ตามกฎหมาย เพื่อนำไปจัดสรรด้วยวิธีการประมูลต่อไป ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยตัดสินปัญหาดังกล่าว

นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกสทช.ด้านกฎหมาย กล่าวว่า ได้เตรียมเอกสารพร้อมส่งไปชี้แจงว่า กสทช.มีอำนาจในการนำคลื่นมาจัดสรรใหม่ ตามอำนาจในรัฐธรรมนูญ ขณะที่ กสทช.ได้เตรียมมาตรการเยียวยาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ใช้บริการไว้เรียบร้อยแล้ว

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130507/504016/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B
8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%
E0%B8%A1.%E0%B8%A2%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8
%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%991800.html

___________________________________________



′ไอซีที′ชงครม.สกัดกสทช. ยึดคลื่นมือถือประมูลใหม่ ชี้ละเมิดสิทธิผู้ใช้17ล้านราย


"อนุดิษฐ์"รับลูก กสท ชง ครม.ขอยืดใช้คลื่นตามสัมปทานต่ออีก 10 ปี สกัด กสทช.นำไปประมูลใหม่ อ้างกฎหมายเปิดช่อง แถมป้องผู้บริโภค 17 ล้านคนถูกละเมิดสิทธิ ขณะที่ กสทช.เตรียมข้อมูลสู้


น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 7 พฤษภาคมนี้ กระทรวงไอซีทีจะเสนอ ครม. ในเรื่องเหตุแห่งความจำเป็นในการขอใช้คลื่นความถี่ภายใต้สัญญาสัมปทานทั้งหมดภายใต้การถือครองของหน่วยงานรัฐในปัจจุบัน ประกอบด้วย บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่ถือครองสัญญาสัมปทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทำร่วมกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ซึ่งจะหมดลงในเดือนกันยายนนี้ สัญญาสัมปทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 850 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทำร่วมกับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่จะหมดลงในปี 2561 รวมทั้งบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ที่ถือครองสัญญาสัมปทานคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งทำร่วมกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ที่จะหมดลงในปี 2558

น.อ.อนุดิษฐ์กล่าวว่า สำหรับประเด็นที่ต้องการขอความเห็นชอบจาก ครม. อย่างเร่งด่วน คือ การขออนุมัติให้ กสท มีสิทธิในการบริหารคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ต่อไปอีกอย่างต่ำ 10 ปี เพื่อชะลอไม่ให้สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นำคลื่นไปจัดสรรใหม่เพื่อเปิดประมูล 4จี เนื่องจากในปัจจุบัน ยังคงมีลูกค้าใช้งานค้างอยู่ในคลื่นดังกล่าวที่ใกล้จะหมดอายุสัญญาสัมปทานลง ราว 17 ล้านราย

อย่างไรก็ตาม ในส่วนแผนงานที่จะนำเสนอต่อ ครม. จะเป็นไปตามที่นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท ได้เสนอแผนรายละเอียดการขอใช้คลื่นความถี่ แบ่งเป็นคลื่น 12.5 เมกะเฮิรตซ์ ของทรูมูฟ จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี2568 คลื่นจำนวน 12.5 เมกะเฮิรตซ์ของดีพีซี จะขอบริหารจัดการต่อถึงปี 2559 รวมถึงคลื่นจำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ของดีแทค ที่ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้งานและจะหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2561 ซึ่งกสท จะขอใช้งานต่อไปจนถึงปี 2568 อ้างอิงตามมาตรา 82 83 และ 84 แห่งพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 ที่ว่าด้วยการรองรับการเปลี่ยนผ่านเมื่อมีการตรากฎหมายใหม่ โดยในรายละเอียดของกฎหมายในบทเฉพาะกาลเขียนไว้ชัดเจน เกี่ยวกับการให้บริหารต่อ

"เมื่ออายุสัญญาสัมปทานหมดลง ไม่ใช่ว่า กสทช. จะกำหนดให้ปิดระบบทันที เพื่อเตรียมนำไปประมูล จึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง และยังเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชนที่อยู่ในระบบนี้ราว 17 ล้านราย ให้ต้องย้ายไปยังโครงข่ายใหม่ ซึ่งจะเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคด้วย" น.อ.อนุดิษฐ์กล่าว

ด้าน นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการ กสทช. และกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ด้านกฎหมาย กล่าวว่า ได้เตรียมเอกสารพร้อมนำส่งชี้แจงต่อครม. ระบุว่า กสทช.มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญ ในการนำคลื่นมาจัดสรรใหม่ พร้อมทั้งจะขอให้นำคลื่นความถี่ในย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ มาเปิดประมูลต่อไป นอกจากนี้ ทางฝั่ง กสทช. เองเตรียมจัดทำมาตรการเยียวยาผลกระทบต่อผู้ใช้บริการที่ค้างในระบบดังกล่าวแล้วเช่นกัน

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1367893278&grpid=03&catid=03


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.