Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

7 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) ผลวิจัย จุฬาชี้ชัด++าเริ่มต้นประมูลHD 1,507 ลบ. //ช่องรายการทั่วไป SD มูลค่า 354 ลบ.ต่อช่อง// ช่องข่าว มูลค่า 211 ลบ.ต่อช่อง ช่องเด็ก 134 ลบ.ต่อช่อง


ประเด็นหลัก


เปิดผลศึกษาราคาเริ่มต้นประมูลทีวีดิจิตอล ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง  ช่องรายการทั่วไป HD 7 มูลค่า 1,507 ล้านบาท ช่องรายการทั่วไป SD มูลค่า 354 ล้านบาทต่อช่อง ช่องข่าว มูลค่า  211 ล้านบาทต่อช่อง ช่องเด็ก 134 ล้านบาทต่อช่อง หากบอร์ด กสท.เห็นชอบ พร้อมเสนอบอร์ด กสทช.เพื่อรับฟังความเห็นสาธารณะ และนำไปสู่การเปิดประมูลทีวีดิจิตอล เดือน ส.ค.-ก.ย.นี้



ทั้งนี้ ทางจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้ศึกษารูปแบบการประมูลไว้ว่า หากมีผู้เข้าร่วมประมูลมากกว่าจำนวนช่อง ราคาเริ่มต้นการประมูล ก็จะลดลง (N+) แต่หากมีผู้เข้าร่วมประมูลเท่ากับจำนวนช่อง ทาง กสทช.ก็สามารถขยายระยะเวลาการยื่นเอกสารการประมูลออกไปอีก 1 เดือน หากสิ้นสุดระยะเวลาการขยายแล้ว ไม่มีผู้สนใจรายใหม่ เข้าร่วมประมูลเพิ่มเติมอีก ก็สามารถเดินหน้าประมูลได้ทันที  และผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องเคาะราคาทุกครั้ง ครั้งละ 1% ของราคาเริ่มต้นประมูล และจะต้องไม่หยุดการเคาะจนกว่าจะพอใจราคาประมูล หรือ ชนะการประมูลช่องนั้นๆ  ส่วนรายละเอียดวิธีการประมูลนั้นต้องพิจารณาอีกครั้ง

สำหรับกรณีมีเข้าร่วมประมูลมากกว่าช่อง 1 ราย หรือ N+  โดยช่องวาไรตี้ระบบ HD 7 ช่อง กรณีN+1 ราคาช่องละ 1,458 ล้านบาท N+2 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 1,437 ล้านบาท N+3  ราคาช่องละ 1,396 ล้านบาท N+4 ราคาเริ่มช่องละ 1,396 ล้านบาท N+5 ราคาช่องละ 1,375 ล้านบาท และ N+6 ราคาช่องละ 1,354 ล้านบาท

ส่วนช่องวาไรตี้ระบบ SD 7 ช่อง  กรณี N+1 ราคาช่องละ 362 ล้านบาท N+2 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 356 ล้านบาท N+3  ราคาเริ่มต้นช่องละ 352 ล้านบาท N+4 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 346 ล้านบาท N+5 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 341 ล้านบาท และ N+6 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 336  ล้านบาท ช่องข่าว  7 ช่อง กรณี N+1 ราคาช่องละ 204  ล้านบาท N+2 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 201 ล้านบาท N+3  ราคาเริ่มต้นช่องละ  198 ล้านบาท N+4 ราคาเริ่มต้นประมูลช่อง 195 ล้านบาท  N+5 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 192 ล้านบาท และ N+6 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 189  ล้านบาท

ช่องเด็ก 3 ช่อง กรณี N+1 ราคาช่องละ 129 ล้านบาท N+2 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 127 ล้านบาท N+3  ราคาเริ่มต้นช่องละ 125 ล้านบาท N+4 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 124 ล้านบาท N+5 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 122 ล้านบาท และ N+6 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 120 ล้านบาท   ทั้งนี้ หากที่ประชุมบอร์ดกสทเห็นชอบ ก็ต้องนำเสนอบอร์ดกสทช.พิจารณาอนุมัติ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) และนำไปสู่ประกาศในราชกิจการนุเบกษา เพื่อมีผลบังคับใช้ และเปิดประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ 24 ช่องในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ กสทช.ได้กำหนดไว้.



______________________________________






เปิดราคาประมูลทีวีดิจิตอล ช่องHDทั่วไปแพงสุด1,507ล้าน


เปิดผลการศึกษา ราคาเริ่มต้น การประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ 24  ช่อง โดยหากมีผู้เข้าร่วมประมูลมากกว่าจำนวนช่อง ราคาเริ่มต้นการประมูล ก็จะลดลง แต่หากมีผู้เข้าร่วมประมูลเท่ากับจำนวนช่อง จะยืดเวลาการยื่นเอกสารการประมูลไปอีก 1 เดือน

เปิดผลศึกษาราคาเริ่มต้นประมูลทีวีดิจิตอล ประเภทธุรกิจ 24 ช่อง  ช่องรายการทั่วไป HD 7 มูลค่า 1,507 ล้านบาท ช่องรายการทั่วไป SD มูลค่า 354 ล้านบาทต่อช่อง ช่องข่าว มูลค่า  211 ล้านบาทต่อช่อง ช่องเด็ก 134 ล้านบาทต่อช่อง หากบอร์ด กสท.เห็นชอบ พร้อมเสนอบอร์ด กสทช.เพื่อรับฟังความเห็นสาธารณะ และนำไปสู่การเปิดประมูลทีวีดิจิตอล เดือน ส.ค.-ก.ย.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ (กสท) ที่มี พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เป็นประธาน จะมีการพิจารณาหลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ 24  ช่อง

โดยเฉพาะประเด็นราคาเริ่มต้นการประมูล ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในเบื้องต้นได้กำหนดราคาเริ่มต้นประมูลสำหรับทีวีดิจิตอล รวม 24 ช่อง คิดเป็นเงิน 15,044 ล้านบาท  ซึ่งจะมีเงินอุดหนุนสำหรับการแจกคูปองเงินสด เพื่อนำไปซื้อกล่องรับสัญญาณ (SET TOP BOX) ได้ในอัตรา 680 บาทต่อครัวเรือน จาก 22 ล้านครัวเรือน

โดยราคาเริ่มต้นการประมูลช่องข่าว 7 ช่อง ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 211 ล้านบาท ช่องรายการทั่วไป (วาไรตี้) ระบบ SD จำนวน  7 ช่องราคาช่องละ 375 ล้านบาท ช่องวาไรตี้ระบบHD จำนวน 7 ช่องราคาช่องละ 1,507 ล้านบาท  และช่องรายการเด็ก 3 ช่องราคาช่องละ 134 ล้านบาท

ทั้งนี้ ทางจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ได้ศึกษารูปแบบการประมูลไว้ว่า หากมีผู้เข้าร่วมประมูลมากกว่าจำนวนช่อง ราคาเริ่มต้นการประมูล ก็จะลดลง (N+) แต่หากมีผู้เข้าร่วมประมูลเท่ากับจำนวนช่อง ทาง กสทช.ก็สามารถขยายระยะเวลาการยื่นเอกสารการประมูลออกไปอีก 1 เดือน หากสิ้นสุดระยะเวลาการขยายแล้ว ไม่มีผู้สนใจรายใหม่ เข้าร่วมประมูลเพิ่มเติมอีก ก็สามารถเดินหน้าประมูลได้ทันที  และผู้เข้าร่วมประมูลจะต้องเคาะราคาทุกครั้ง ครั้งละ 1% ของราคาเริ่มต้นประมูล และจะต้องไม่หยุดการเคาะจนกว่าจะพอใจราคาประมูล หรือ ชนะการประมูลช่องนั้นๆ  ส่วนรายละเอียดวิธีการประมูลนั้นต้องพิจารณาอีกครั้ง

สำหรับกรณีมีเข้าร่วมประมูลมากกว่าช่อง 1 ราย หรือ N+  โดยช่องวาไรตี้ระบบ HD 7 ช่อง กรณีN+1 ราคาช่องละ 1,458 ล้านบาท N+2 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 1,437 ล้านบาท N+3  ราคาช่องละ 1,396 ล้านบาท N+4 ราคาเริ่มช่องละ 1,396 ล้านบาท N+5 ราคาช่องละ 1,375 ล้านบาท และ N+6 ราคาช่องละ 1,354 ล้านบาท

ส่วนช่องวาไรตี้ระบบ SD 7 ช่อง  กรณี N+1 ราคาช่องละ 362 ล้านบาท N+2 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 356 ล้านบาท N+3  ราคาเริ่มต้นช่องละ 352 ล้านบาท N+4 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 346 ล้านบาท N+5 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 341 ล้านบาท และ N+6 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 336  ล้านบาท ช่องข่าว  7 ช่อง กรณี N+1 ราคาช่องละ 204  ล้านบาท N+2 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 201 ล้านบาท N+3  ราคาเริ่มต้นช่องละ  198 ล้านบาท N+4 ราคาเริ่มต้นประมูลช่อง 195 ล้านบาท  N+5 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 192 ล้านบาท และ N+6 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 189  ล้านบาท

ช่องเด็ก 3 ช่อง กรณี N+1 ราคาช่องละ 129 ล้านบาท N+2 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 127 ล้านบาท N+3  ราคาเริ่มต้นช่องละ 125 ล้านบาท N+4 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 124 ล้านบาท N+5 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 122 ล้านบาท และ N+6 ราคาเริ่มต้นประมูลช่องละ 120 ล้านบาท   ทั้งนี้ หากที่ประชุมบอร์ดกสทเห็นชอบ ก็ต้องนำเสนอบอร์ดกสทช.พิจารณาอนุมัติ เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) และนำไปสู่ประกาศในราชกิจการนุเบกษา เพื่อมีผลบังคับใช้ และเปิดประมูลทีวีดิจิตอลประเภทธุรกิจ 24 ช่องในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ กสทช.ได้กำหนดไว้.

โดย: ทีมข่าวเศรษฐกิจ
http://m.thairath.co.th/content/tech/343255

___________________________________



เผยตัวเลขประมูลทีวีดิจิทัลธุรกิจ 24 ช่องกว่า1.5 หมื่นล้าน


กสท. เปิดตัวเลขประมูลช่องธุรกิจ มูลค่ารวมกว่า 15,190 ลบ. ชี้คำนวณคูปองส่วนลดเซต ทอป บ็อกซ ใบละ 690 บาท
วันนี้(7พ.ค.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์ รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคม(กสท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมกสท.ได้พิจารณาราคาเริ่มต้นการประมูลทีวีดิจิทัลช่องธุรกิจจำนวน 24 ช่องที่มอบหมายให้คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปศึกษา ซึ่งผลการศึกษาออกมาปรากฎว่ามีมูลค่ารวม 15,190 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นช่องรายการทั่วไป คุณภาพคมชัดสูง (เอชดี) จำนวน 7 ช่องราคาช่องละ 1,510 ล้านบาท  , ช่องรายการทั่วไป คุณภาพคมชัดปกติ (เอสดี)  7 ช่อง ราคาช่องละ 380 ล้านบาท , ช่องข่าว 7 ช่อง ราคาช่องละ 220 ล้านบาท และช่องเด็กเยาวชนและครอบครัว 3 ช่อง ราคาช่องละ 140 ล้าน  โดยมีเงื่อนไขห้ามผู้ประมูลช่องข่าวประมูลช่องเอชดี


โดยจะนำผลการศึกษาเข้าสู่หลักเกณฑ์การประมูลทีวีดิจิทัลช่องบริการธุรกิจ แล้วนำเข้าที่ประชุมบอร์ด กสท. และกสทช. เพื่อเข้าสู่กระบวนการประชาพิจารณ์และนำไปประกาศลงราชกิจจานุเบกษา โดยคาดว่าการประมูลทีวีดิจิทัลจะเริ่มได้ประมาณเดือน ส.ค.-ก.ย. 56


  พ.อ.ดร. นที ระบุต่อว่า สำหรับมูลค่าการประมูลดิจิทัลดังกล่าวนำมาหาร 22 ล้านครัวเรือน  ประชาชนจะได้รับคูปองส่วนลดเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทีวีดิจิทัลประมาณ  690 บาทต่อครัวเรือน เพื่อใช้เป็นส่วนลดเพื่อซื้อเครื่องรับโทรทัศน์ที่สามารถรับชมทีวีดิจิทัล หรือ เซต ทอป บ็อกซ์  ในขณะที่มาตรฐานของเซต ทอป บ็อกซ์ สามารถรับสัญญาณได้ทั้งระบบเอสดี และเอชดี คาดว่าสามารถจะนำเข้าช่วงประมาณเดือนมิ.ย.56

http://www.dailynews.co.th/technology/202824


ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.