Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

7 พฤษภาคม 2556 รัฐมนตรีICTชี้ICT ไม่มีสิทธิในการปิดเว็บที่ว่านายกเสียหายนอกจากศาล(ส่วนการดำเนินการกับเว็บหมิ่นสถาบันเต็มที่) อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกาชี้ต้องร้องศาลมาตรา 326 เท่านั้น


ประเด็นหลัก



ทำเนียบรัฐบาล น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แถลงถึงกรณีพรรคประชาธิปัตย์ระบุกระทรวงไอซีทีใช้อำนาจหน้าที่ทำการปิดกั้นเว็บไซต์ที่เสนอความเห็นแสดงความคิดเห็นหมิ่นประมาทนายกฯว่า

ไอซีทีไม่มีอำนาจตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ปิดกั้นเว็บไซต์ ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลอาญา ไอซีทีไม่ได้ปฏิบัติสองมาตรฐานให้ความสำคัญกับกรณีของนายกฯเท่านั้น ดำเนินการทุกกรณีที่มีผู้เสียหาย ส่วนที่กล่าวหาว่าไอซีทีละเลยปิดเว็บไซต์หมิ่นสถาบันนั้น ไม่เป็นความจริง เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันช่วยกัน ทั้งไอซีที กองทัพไทย สตช.

อย่างไรก็ตามประชาชนแสดงความคิดเห็นบนช่องทางโซลเชียลเน็ตเวิร์กเป็นสิทธิที่ทำได้ แต่หากกล่าวหาให้ร้ายดูถูกดูแคลนเป็นเท็จกับบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และกฎหมายอาญา มีผู้เสียหายเข้าแจ้งความ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมาย รมว.ไอซีทีกล่าว.

       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ไม่มีอำนาจในการปิดเว็บไซต์ เพราะการปิดเว็บไซต์ต้องเป็นอำนาจจากศาลสั่ง พร้อมยืนยันด้วยว่า การดำเนินการกับเว็บหมิ่นสถาบันนั้น ดำเนินการอยู่


นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Chuchart Srisaeng ถึงกรณีที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า หากมีการตรวจพบผู้โพสต์ข้อความตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาด่าทอผู้นำประเทศ จะทำการติดต่อขอให้เจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ ทำการลบข้อความดังกล่าวทันที หรือหากเป็นเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ในการด่าทอ ว่าร้าย หมิ่นประมาทโดยเฉพาะ ทางกระทรวงก็ถือได้ว่า มีอำนาจในการระงับการใช้งานเว็บไซต์ดังกล่าวทันทีเช่นกัน โทษจากการโพสต์ข้อความด่าทอ ว่าร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย ทางเว็บไซต์ จะเข้าข่ายมีความผิดข้อหาหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับนั้น




ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เร่งออกมาดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่โพสต์ข้อความหมิ่นประมาทนายกฯ ในทางที่เสียทางเว็บไซต์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบว่า ตนก็เพิ่งทราบข่าว เรียนว่าเรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลนั้นเป็นสิทธิเสรีภาพที่ควรทำได้ แต่ว่าการที่กล่าวหาใครคนใดคนหนึ่งที่ค่อนข้างจะเกินเลยความเป็นจริงนั้นเป็นหน้าที่ของกระทรวงไอซีทีที่จะดูแล และต้องเรียนว่าไม่ใช่ตนคนเดียว ต้องบอกว่าทุกคน ตามสิทธิเสรีภาพของบุคคลนั้น คงต้องยึดหลักตรงนี้ ขั้นตอนต่างๆ นั้นเจ้าหน้าที่ไม่สามารถที่จะดูแลเป็นพิเศษได้ขอให้ทุกอย่างเป็นไปตามกติกา





______________________________________







"อนุดิษฐ์"พลิกลิ้น! ไร้อำนาจปิดเว็บ ชี้ต้องเป็นคำสั่งศาล



       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ไม่มีอำนาจในการปิดเว็บไซต์ เพราะการปิดเว็บไซต์ต้องเป็นอำนาจจากศาลสั่ง พร้อมยืนยันด้วยว่า การดำเนินการกับเว็บหมิ่นสถาบันนั้น ดำเนินการอยู่

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000054757&Keyword=%e4%cd%ab%d5%b7%d5

________________________________________


“ปู” สั่ง “เหลิม” เพิ่ม ตร.คุมม็อบแดง-ส่งซิก ICT ฟันโพสต์หมิ่น


นายกฯ อุบวิจารณ์ “แบงก์ชาติ” อ้างแทรกแซงการทำงานไม่ได้ มอบ “กิตติรัตน์” ถก-โยน “กนง.” แก้บาทแข็ง อีกด้านทำห่วงแดงยกระดับไล่ตุลาการ รธน. ฝาก “เฉลิม” ช่วยดูแล ส่งสัญญาณ “อนุดิษฐ์” ฟันเว็บด่านายกฯ อ้างไม่ใช่ทำเพื่อตัวเอง ไปหมดสมงสมองบอกสปีชฉาวอยากให้เป็นอุทาหรณ์ ใช้หนังหน้าการันตี “ความจริงคือความจริง”
     
       วันนี้ (7 พ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 13.10 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์โดยรวมของค่าเงินบาทว่า นายกิติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รายงานเรื่องผลกระทบและความห่วงใยให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ ซึ่งจะให้นายกิตติรัตน์ประสานงาน เรื่องของนโยบายการเงินการคลังร่วมกัน โดยในส่วนของการคลังจะให้ประสานงานกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และรวบรวมมาตรการที่เราได้แก้ไขไปแล้ว พร้อมดูว่ามีกรณีไหนอีกที่จะต้องเร่งในการช่วยเหลือแก้ปัญหาเรื่องค่าเงินบาทที่แข็งค่า ส่วนมาตรการทางการเงินคงต้องประสานไปยังผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
     
       ผู้สื่อข่าวถามว่า นายกฯ จะบูรณาการท่าทีของผู้ว่าฯธปท.อย่างไร ซึ่งดูจะแข็ง ไม่ค่อยสนองนโยบายรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เราต้องพยายามอย่างเต็มที่ ซึ่งจริงๆแล้วในส่วนของข้อกฎหมายให้ความอิสระกับ ธปท. ที่จะตัดสินใจในวิธีการ แต่ในฐานะรัฐมนตรีคลังคงจะมีหน้าที่เรื่องการมอบนโยบายอย่างเดียว คงจะเป็นการประสานในเชิงพูดคุย ทั้งนี้คงต้องอยู่ที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะเป็นผู้พิจารณาร่วมกับทางผู้ว่าฯ ธปท. ขณะเดียวกัน เราจะทำหน้าที่อย่างเต็มที่ ในส่วนของรัฐบาลที่จะให้ความช่วยเหลือ แต่อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่าการแก้ปัญหาเศรษฐกิจต้องแก้เป็นองค์รวม ในการทำงานคงจะใช้ลักษณะการพูดคุยได้อย่างเดียว เพราะเชิงข้อกฎหมายไม่เอื้ออำนวยให้เราเข้าไปทำงานได้
     
       เมื่อถามว่า ปัจจุบันรัฐบาลพอใจการทำงานของผู้ว่าฯ ธปท. หรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ขออนุญาตไม่วิพากษ์วิจารณ์ เพราะจริงๆ แล้วเราไม่สามารถที่จะเข้าไปแทรกแซงได้ แต่เรามีหน้าที่ในการร่วมกันประเมินและพูดคุยถึงผลกระทบ โดยนายกิตติรัตน์จะเป็นผู้ประสานหารือแก้ปัญหาทางมาตการการเงินการคลังคู่กัน ขอเรียนว่าถ้าทั้งสองส่วนนี้ทำงานอย่างเต็มที่ก็จะได้แก้ปัญหา ดังนั้นต้องขอความร่วมมือ ซึ่งวันนี้เราเห็นอยู่แล้วว่าปัญหาต่างๆในส่วนของผลกระทบเริ่มมีเข้ามาแล้ว และในส่วนของภาครัฐได้ทำอย่างเต็มที่ในการลงไปช่วยเหลือ ซึ่งได้สั่งการกระทรวงที่เกี่ยวข้องแล้ว คงจะมีการรายงานทุกๆสัปดาห์
     
       ส่วนการแต่งตั้งนายวิม รุ่งวัฒนจินดา เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี มาทำหน้าที่ประสานเผยแพร่ข้อมูลด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า นายวิมจะมาช่วยทางด้านสำนักโฆษกในการประสานงานให้ข้อมูลด้านเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพราะวันนี้ไม่มีใครช่วยบูรณาการในการส่งข่าวหรือข้อมูลต่างๆ ให้แก่สื่อมวลชน ซึ่งที่ผ่านมานายกิตติรัตน์เป็นผู้ให้ข่าวเองอยู่แล้ว แต่นายวิมมีหน้าที่ประสานเรื่องเนื้อหารายละเอียดของข่าวเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ
     
       เมื่อถามว่า รัฐบาลมองว่าเวลานี้ผู้ว่าฯ ธปท.เป็นอุปสรรคในการแก้ปัญหาค่าเงินบาทหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ขออนุญาตบอกว่าในส่วนของผู้ว่าฯ ธปท.เป็นเรื่องของโครงสร้างที่ไม่สามารถลงไปนั่งคุยกันถึงรายละเอียดในการปฎิบัติได้ อาจจะต้องใช้วิธีการพูดคุยกันและการตัดสินใจคงต้องเป็นเรื่องของคณะกรรมการ กนง.อีกครั้ง
     
       น.ส.ยิ่งลักษณ์ยังให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่กลุ่มคนเสื้อแดงยกระดับการเคลื่อนไหวล่ารายชื่อขับไล่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า ขอเรียนว่าเป็นห่วงสถานการณ์การเมืองในประเทศ คงต้องขอความร่วมมือในการชุมนุมอย่างสงบ เพราะเราเองก็ห่วงเรื่องความมั่นคง ซึ่งได้ฝากทางด้านฝ่ายความมั่นคงภายใต้การดูแลของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ไปดูแลหารือในส่วนการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ในการดูแลให้ความปลอดภัยกับพี่น้องประชาชน และขอความร่วมมืออย่าให้การจราจรต่างๆ ติดขัดและการเรียกร้องต่างๆ ขอให้เป็นไปโดยสงบ
     
       ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ออกมาระบุใครโพสต์ข้อความหมิ่นประมาทนายกรัฐมนตรีจะดำเนินคดีทางกฎหมายและปิดเว็บนั้นๆ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ขอเรียนว่าเพิ่งจะทราบข่าวและจากข่าวขอเรียนว่าการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องนโนบายต่างๆ ของรัฐบาลถือเป็นสิทธิเสรีภาพที่ควรทำได้ แต่การกล่าวหาใครคนใดคนหนึ่งที่ค่อนข้างจะเกินเลยความเป็นจริงนั้นก็เป็นหน้าที่ของกระทรวงไอซีทีที่จะดูแล แต่ต้องเรียนว่าไม่ใช่เพื่อตนคนเดียว ทุกคนตามสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล ต้องยึดหลักตรงนี้ ขอให้ทุกอย่างเป็นไปตามกติกา
     
       เมื่อถามว่ามีการประเมินหรือไม่หลังจากไปพูดในเวทีประชาธิปไตยที่ประเทศมองโกเลีย เป็นผลบวกหรือผลลบต่อนายกฯ และประเทศ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า การไปชี้แจงตนเองพูดตามความจริง และเราอยากให้เป็นอุทาหรณ์เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก ถ้าฟังดีๆ ไม่มีเจตนาใดๆ เจตนาจริงๆ อยากให้ทุกอย่างเป็นอุทาหรณ์ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก เพราะจากเหตุการณ์ที่ผ่านมาประเทศเราเสียหายไปเยอะ เราน่าจะมาร่วมในการช่วยกันแก้ไขปัญหาให้เดินหน้าต่อไป เมื่อถามว่า นายกฯ เจตนาพูดให้เป็นอุทาหรณ์แต่กลับกลายเป็นผลลบกับตัวนายกฯเอง รู้สึกเข็ดหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า “ดิฉันยืนยันทุกอย่างถ้าเป็นความจริง ทุกอย่างก็คือความจริง ก็เรียนว่าความจริงคือความจริง แต่ถ้าเราเอาความจริงนั้นมาเป็นบทเรียน เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก ดิฉันว่าน่าจะดีกว่าการที่เราหลีกเลี่ยงความเป็นจริง”

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000054706

_______________________________________



“อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา” คอนเฟิร์ม รมว.ไอซีที ขู่ไม่มีอะไรในกอไผ่




“ชูชาติ ศรีแสง” ยันพฤติกรรม “น.อ.อนุดิษฐ์” โดดเชลียร์เจ้านาย ไม่มีอะไรในกอไผ่นอกจากต้นไผ่ ชี้แค่ขู่คนไม่รู้ กม. ระบุติชม “ปูนิ่ม” ด้วยความเป็นธรรมเข้า ป.อาญา ม.329 (3) ถือว่าไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท แม้หากผิด ม.330 ยังให้สิทธิพิสูจน์ยกเว้นโทษ
     
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชูชาติ ศรีแสง อดีตผู้พิพากษาศาลฎีกา ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Chuchart Srisaeng ถึงกรณีที่ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า หากมีการตรวจพบผู้โพสต์ข้อความตามเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีเนื้อหาด่าทอผู้นำประเทศ จะทำการติดต่อขอให้เจ้าของเว็บไซต์นั้นๆ ทำการลบข้อความดังกล่าวทันที หรือหากเป็นเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ในการด่าทอ ว่าร้าย หมิ่นประมาทโดยเฉพาะ ทางกระทรวงก็ถือได้ว่า มีอำนาจในการระงับการใช้งานเว็บไซต์ดังกล่าวทันทีเช่นกัน โทษจากการโพสต์ข้อความด่าทอ ว่าร้ายผู้อื่นให้เกิดความเสียหาย ทางเว็บไซต์ จะเข้าข่ายมีความผิดข้อหาหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 มีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับนั้น
     
       “จากการอ่านคำสัมภาษณ์ของ รมต.ไอซีทีแล้ว นั่งอ่านพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 อ่านแล้วอ่านเล่าอยู่หลายตลบจนตาลายก็ไม่พบว่ามีบทบัญญัติในมาตราใดที่ระบุว่าการโพสต์ข้อความด่าผู้นำประเทศหรือบุคคลอื่นเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ หากถ้าใครอ่านพบว่ามี กรุณาช่วยบอกกันด้วยครับ
     
       ที่ รมต.ไอซีที ว่า ถ้าพบจะแจ้งให้เจ้าของเว็บไซต์ลบข้อความออกทันที ก็ไม่มีกฎหมายเขียนไว้ให้กระทำได้ ซึ่งในเมื่อไม่มีบทบัญญัติเขียนไว้ว่า การด่าผู้นำประเทศเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ก็ย่อมไม่มีอำนาจที่จะไปแจ้งให้เจ้าของเว็บไซต์ลบข้อความที่มีการโพสต์กันได้ในตัวมันเองอยู่แล้ว
     
       ส่วนที่กล่าวว่า หากเป็นเว็บไซต์ที่ตั้งขึ้นโดยวัตถุประสงค์ในการด่าทอ ว่าร้าย หมิ่นประมาทโดยเฉพาะ กระทรวงมีอำนาจในการระงับการใช้งานเว็บไซต์ดังกล่าวได้ทันทีนั้น ก็สงสัยอีกว่า รมต.ไอซีที จะรู้ได้อย่างไรว่าเว็บไซต์ใดตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ในการด่าทอ ว่าร้าย หมิ่นประมาทโดยเฉพาะ เพราะการตั้งเว็บไซต์หรือเฟชบุ๊ก ไม่ต้องจดทะเบียนและระบุวัตถุประสงค์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เหมือนการจดทะเบียนตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัด
     
       โดยเฉพาะที่กล่าวว่า กระทรวงมีอำนาจระงับการใช้เว็บไซต์ดังกล่าวได้ทันที ก็สงสัยอีกว่า รมต.ไอซีที จะใช้อำนาจตามกฎหมายฉบับใดหรือจะอาศัยอำนาจที่เป็น รมต.สั่งให้ข้าราชการประจำซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่กระทำ โดยไม่สนใจบทบัญญัติของกฎหมายเหมือนกับที่ผู้มีอำนาจของพรรคเพื่อไทยใช้หรือสนับสนุนให้กลุ่มคนเสื้อแดงกระทำต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่ในขณะนี้
     
       ทั้งนี้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 บัญญัติใว้ว่า ในกรณีที่มีการกระทำความผิดตามพรบ.นี้ ซึ่งได้กล่าวมาแล้วว่า ไม่มีความผิดฐานด่าผู้นำประเทศหรือบุคคลอื่นใดรวมอยู่ด้วย ให้ดำเนินการตามมาตรา 19 ที่บัญญัติว่า การใช้อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 18 (4) (5) (6) (7)และ (8) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคําร้องต่อศาลที่มีเขตอํานาจเพื่อมีคําสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ดําเนินการตามคําร้อง ทั้งนี้ คําร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทําหรือกําลังจะกระทําการ อย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อํานาจ ลักษณะของการกระทํา ความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทําความผิดและผู้กระทําความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคําร้องด้วย ในการพิจารณาคําร้องให้ศาลพิจารณาคําร้องดังกล่าวโดยเร็ว
     
       เมื่อศาลมีคําสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดําเนินการตามคําสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสําเนา บันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทําให้ต้องใช้อํานาจตามมาตรา 18 (4) (5) (6) (7) และ (8)มอบให้ เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครอง เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสําเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือ ผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทําได้
     
       ที่กล่าวมาคือบทบัญญัติของกฎหมาย จะเห็นได้ว่า แม้การกระทำที่มีความผิดตามพรบ.ฉบับนี้ การที่จะกระทำการใดๆ แก่ผู้กระทำผิด ก็ต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่กระทำการใดๆ ที่ต้องการกระทำ ถ้าศาลไม่อนุญาตก็ไม่อาจกระทำได้ ไม่ใช่ รมต.ไอซีที มีอำนาจกระทำได้ดังที่กล่าวอ้าง
     
       อดีตผู้พิพากษาระบุต่อว่า ไม่ต้องพูดถึงการด่าผู้นำประเทศหรือบุคคลอื่นซึ่งไม่ได้เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ จึงไม่อาจไปยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการอะไรได้ หรือแม้จะไปยื่นศาลก็ไม่อาจอนุญาตได้
     
       ส่วนที่ รมต.ไอซีที กล่าวว่า การโพสต์ข้อความด่าทอ ว่าร้ายผู้อื่นให้ได้รับความเสียหาย ทางเว็บไซต์ จะเข้าข่ายความผิดข้อหาหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ก็ไม่ถูกต้องบทบัญัติของกฎหมาย
     
       ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 บัญญัติไว้ดังนี้ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาท
     
       ที่ว่า รมต.ไอซีที กล่าวไว้ไม่ถูกต้องนั้น เพราะสาระสำคัญของความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องเป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง และไม่เข้าการกระทำตามมาตรา 329 จึงจะมีความผิดฐานหมิ่นประมาท ไม่ใช่ว่า การโพสต์ข้อความด่าทอว่าร้ายผู้อื่นให้ได้รับความเสียหายก็จะเข้าข่ายความผิดฐานหมิ่นประมาทเสมอไป
     
       มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
       (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
       (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
       (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทํา หรือ
       (4)ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องราวการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
       ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
     
       แม้จะเป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง แต่ถ้าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 329 อนุมาตรา 1 ถึง 4 โดยเฉพาะสำหรับการพูดถึงผู้นำของประเทศ ถ้าเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริต ติชมด้วความเป็นธรรม ซึ่งเป็นวิสัยของประชาชนที่เป็นผู้เสียภาษี เป็นเจ้าของประเทศย่อมกระทำ ก็ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
     
       แม้จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ข้อความที่ถูกหาว่าหมิ่นประมาทเป็นความจริง ก็ไดัรบการยกเว้นไม่ต้องรับโทษ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๓๓๐ ที่ว่า ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทําความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
     
       นายชูชาติโพสต์อีกว่า ถ้าเราโพสต์ข้อความว่า รมต. ป.เดินทางไปต่างประเทศกับผู้จัดการของบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่งซึ่งกำลังประมูลงานรับจ้างก่อสร้างงานของกระทรวงที่ ป.เป็น รมต. และต่อมาบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประมูลงานได้ จึงน่าสงสัยหรือเชื่อว่าจะมีการจ่ายเงินให้แก่ รมต.ป. แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า การประมูลงานครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบการประมูลงานก่อสร้างของราชการทุกประการ ไม่มีการตุกติกใดๆ และ รมต. ป.ก็ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ จากผู้จักการบริษัทดังกล่าวเลย การไปต่างประเทศด้วยกันก็เป็นตามคำเชิญของต่างประเทศ เช่นนี้ ก็ต้องถือว่า เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ตามมาตรา 329 (3) ย่อมไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
     
       ถ้าเราโพสต์ข้อความว่า บริษัท ก. จ่ายเงินให้ รมต ป. เป็นเงิน 500 ล้านบาท เป็นการตอบแทนที่สามารถประมูลงานของกระทรวงที่ ป.เป็น รมต.ได้ ถ้าปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีการจ่ายเงินให้กัน 500 ล้านบาทจริง เช่นนี้ แม้จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ก็ไม่ต่องถูกลงโทษตามมาตรา 330
     
       กล่าวโดยสรุปการโพสต์ข้อความต่างๆ ไม่ว่าจะกล่าวว่าผู้นำหรือใครก็ต้องพิจารณาว่าจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่ เท่านั้นเหมือนกัน
     
       การที่ รมต.ไอซีที ออกมากล่าวขู่ประชาชนไม่ให้โพสต์ข้อความด่าเจ้านายของตัวเอง โดยอ้างว่าจะใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จัดการนั้น ก็ไม่มีอะไรในกอไผ่นอกจากต้นไผ่ คือข่มขู่ได้เฉพาะคนที่ไม่รู้กฎหมาย แต่ก็เป็นเรื่องปกติของผู้คนในพรรคไทยรักไทยที่มักจะทำอะไรก็ไม่เคยคำนึงถึงหลักกฎหมายมักจะทำตามพอใจของตนเองเป็นใหญ่ ถือว่าตนเองมีอำนาจจะทำอะไรก็ได้ หรือข้าคือกฎหมายนั่นเอง”
     
       ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ก่อนหน้านี้ นายชูชาติ ศรีแสง ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีที่ นายชัย ราชวัตร โพสต์เฟซบุ๊กว่า “โปรดเข้าใจ กะหรี่ไม่ใช่หญิงคนชั่ว กะหรี่แค่เร่ขายตัว แต่หญิงคนชั่วเที่ยวเร่ขายชาติ” ดังนี้
     
       ข้อความดังกล่าว ชัย ราชวัตร เป็นเปรียบเปรยให้เห็นว่า ผู้หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการขายบริการทางเพศไม่ใช่เป็นคนชั่ว แต่ผู้หญิงที่เป็นคนชั่วคือคนที่เร่ขายชาติ โดยที่ชัย ราชวัตร ไม่ได้กล่าวเฉพาะเจาจงว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นใคร
     
       การที่กลุ่ม ส.ส.หญิงพรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดงออกมาประท้วง ชัย ราชวัตร โดยอ้างว่าเป็นดูหมิ่นเหยียดหยามสุภาพสตรีทั้งหลาย หรือกลุ่มที่ไปประท้วงที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐที่มีนางลัดดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ อดีตรัฐมนตรี อดีต ส.ส.พะเยาหลายสมัยเป็นผู้นำมีการถือป้ายที่มีข้อความกล่าวหาว่าชัย ราชวัตร ดูหมิ่นว่าแม่บังเกิดเกล้าของเขาว่าเป็นกะหรี่ ก็ทำให้สงสัยว่าคนพวกนี้อ่านภาษาไทยไม่ออกหรืออ่านออกแต่ไม่รู้ความหมาย จึงคิดว่าชัย ราชวัตร กล่าวหาว่าแม่พวกเขาเป็นกะหรี่
     
       ผู้ที่คิดว่าตนเองได้รับความเสียหาย ได้มอบให้ทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทย ที่มีผู้ที่นำเงินค่าขนม 2 ล้านบาทไปทิ้งไว้ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จนถูกศาลฎีกาลงโทษจำคุก 6 เดือน รวมอยู่ด้วย ไปร้องทุกข์กล่าวหาว่า ชัย ราชวัตร ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
     
       นายชูชาติระบุว่า ชัย ราชวัตร ไม่ระบุว่าใครเป็นกะหรี่ หรือใครคือคนชั่วที่เร่ขายชาติ และสำหรับคำว่า กะหรี่ ก็พูดชัดเจนว่าไม่ใช่คนชั่ว จึงไม่ได้ใส่ความใครในอันที่จะทำให้เกิดความเสียหาย ย่อมไม่มีความผิด
     
       ส่วนที่ว่าหญิงคนชั่วเที่ยวเร่ขายชาติ ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นใคร แต่ถ้าจะฟังว่า หมายถึงคนที่ไปอ่านข้อความที่มีคนเขียนให้ที่มองโกเลีย ก็ต้องพิจารณาต่อไปอีกคือ
     
       มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต...(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทํา... ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
     
       ทั้งนี้ เมื่อ ชัย ราชวัตร เป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่ง โดยปกติคนที่เป็นคนไทยจริงทั้งกายและใจก็ย่อมรัก หวงแหนประเทศไทย ไม่ยอมให้ใครไม่ว่าจะเป็นคนต่างชาติหรือคนที่ตัวเป็นไทยแต่ไม่เคยรักประเทศไทย มาดูหมิ่นดูแคลน เหยียดหยาม กล่าวใส่ร้ายหรือด่าประเทศให้ได้รับความเสียหาย การที่คนที่ได้ชื่อว่าเป็นหัวหน้ารัฐบาลแม้จะเป็นเพียงตัวหุ่นมีคนคอยเชิดกำกับสั่งการทุกอย่างก็ตาม ไปพูดในลักษณะสาวไส้ให้กากินทำให


   มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
       (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
       (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
       (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทํา หรือ
       (4)ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องราวการดำเนินการอันเปิดเผยในศาลหรือในการประชุม
       ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
     
       แม้จะเป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง แต่ถ้าเป็นการกระทำที่เข้าข่ายดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 329 อนุมาตรา 1 ถึง 4 โดยเฉพาะสำหรับการพูดถึงผู้นำของประเทศ ถ้าเป็นการแสดงความเห็นโดยสุจริต ติชมด้วความเป็นธรรม ซึ่งเป็นวิสัยของประชาชนที่เป็นผู้เสียภาษี เป็นเจ้าของประเทศย่อมกระทำ ก็ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
     
       แม้จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ข้อความที่ถูกหาว่าหมิ่นประมาทเป็นความจริง ก็ไดัรบการยกเว้นไม่ต้องรับโทษ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา ๓๓๐ ที่ว่า ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทําความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
     
       นายชูชาติโพสต์อีกว่า ถ้าเราโพสต์ข้อความว่า รมต. ป.เดินทางไปต่างประเทศกับผู้จัดการของบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่งหนึ่งซึ่งกำลังประมูลงานรับจ้างก่อสร้างงานของกระทรวงที่ ป.เป็น รมต. และต่อมาบริษัทดังกล่าวเป็นผู้ประมูลงานได้ จึงน่าสงสัยหรือเชื่อว่าจะมีการจ่ายเงินให้แก่ รมต.ป. แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า การประมูลงานครั้งนี้เป็นไปโดยถูกต้องตามระเบียบการประมูลงานก่อสร้างของราชการทุกประการ ไม่มีการตุกติกใดๆ และ รมต. ป.ก็ไม่ได้รับผลประโยชน์ใดๆ จากผู้จักการบริษัทดังกล่าวเลย การไปต่างประเทศด้วยกันก็เป็นตามคำเชิญของต่างประเทศ เช่นนี้ ก็ต้องถือว่า เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ตามมาตรา 329 (3) ย่อมไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
     
       ถ้าเราโพสต์ข้อความว่า บริษัท ก. จ่ายเงินให้ รมต ป. เป็นเงิน 500 ล้านบาท เป็นการตอบแทนที่สามารถประมูลงานของกระทรวงที่ ป.เป็น รมต.ได้ ถ้าปรากฏข้อเท็จจริงว่า มีการจ่ายเงินให้กัน 500 ล้านบาทจริง เช่นนี้ แม้จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ก็ไม่ต่องถูกลงโทษตามมาตรา 330
     
       กล่าวโดยสรุปการโพสต์ข้อความต่างๆ ไม่ว่าจะกล่าวว่าผู้นำหรือใครก็ต้องพิจารณาว่าจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญาหรือไม่ เท่านั้นเหมือนกัน
     
       การที่ รมต.ไอซีที ออกมากล่าวขู่ประชาชนไม่ให้โพสต์ข้อความด่าเจ้านายของตัวเอง โดยอ้างว่าจะใช้ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จัดการนั้น ก็ไม่มีอะไรในกอไผ่นอกจากต้นไผ่ คือข่มขู่ได้เฉพาะคนที่ไม่รู้กฎหมาย แต่ก็เป็นเรื่องปกติของผู้คนในพรรคไทยรักไทยที่มักจะทำอะไรก็ไม่เคยคำนึงถึงหลักกฎหมายมักจะทำตามพอใจของตนเองเป็นใหญ่ ถือว่าตนเองมีอำนาจจะทำอะไรก็ได้ หรือข้าคือกฎหมายนั่นเอง”
     
       ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ก่อนหน้านี้ นายชูชาติ ศรีแสง ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีที่ นายชัย ราชวัตร โพสต์เฟซบุ๊กว่า “โปรดเข้าใจ กะหรี่ไม่ใช่หญิงคนชั่ว กะหรี่แค่เร่ขายตัว แต่หญิงคนชั่วเที่ยวเร่ขายชาติ” ดังนี้
     
       ข้อความดังกล่าว ชัย ราชวัตร เป็นเปรียบเปรยให้เห็นว่า ผู้หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการขายบริการทางเพศไม่ใช่เป็นคนชั่ว แต่ผู้หญิงที่เป็นคนชั่วคือคนที่เร่ขายชาติ โดยที่ชัย ราชวัตร ไม่ได้กล่าวเฉพาะเจาจงว่าผู้หญิงคนนั้นเป็นใคร
     
       การที่กลุ่ม ส.ส.หญิงพรรคเพื่อไทย และกลุ่มคนเสื้อแดงออกมาประท้วง ชัย ราชวัตร โดยอ้างว่าเป็นดูหมิ่นเหยียดหยามสุภาพสตรีทั้งหลาย หรือกลุ่มที่ไปประท้วงที่หนังสือพิมพ์ไทยรัฐที่มีนางลัดดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ อดีตรัฐมนตรี อดีต ส.ส.พะเยาหลายสมัยเป็นผู้นำมีการถือป้ายที่มีข้อความกล่าวหาว่าชัย ราชวัตร ดูหมิ่นว่าแม่บังเกิดเกล้าของเขาว่าเป็นกะหรี่ ก็ทำให้สงสัยว่าคนพวกนี้อ่านภาษาไทยไม่ออกหรืออ่านออกแต่ไม่รู้ความหมาย จึงคิดว่าชัย ราชวัตร กล่าวหาว่าแม่พวกเขาเป็นกะหรี่
     
       ผู้ที่คิดว่าตนเองได้รับความเสียหาย ได้มอบให้ทีมกฎหมายของพรรคเพื่อไทย ที่มีผู้ที่นำเงินค่าขนม 2 ล้านบาทไปทิ้งไว้ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จนถูกศาลฎีกาลงโทษจำคุก 6 เดือน รวมอยู่ด้วย ไปร้องทุกข์กล่าวหาว่า ชัย ราชวัตร ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
     
       นายชูชาติระบุว่า ชัย ราชวัตร ไม่ระบุว่าใครเป็นกะหรี่ หรือใครคือคนชั่วที่เร่ขายชาติ และสำหรับคำว่า กะหรี่ ก็พูดชัดเจนว่าไม่ใช่คนชั่ว จึงไม่ได้ใส่ความใครในอันที่จะทำให้เกิดความเสียหาย ย่อมไม่มีความผิด
     
       ส่วนที่ว่าหญิงคนชั่วเที่ยวเร่ขายชาติ ก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นใคร แต่ถ้าจะฟังว่า หมายถึงคนที่ไปอ่านข้อความที่มีคนเขียนให้ที่มองโกเลีย ก็ต้องพิจารณาต่อไปอีกคือ
     
       มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต...(3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทํา... ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
     
       ทั้งนี้ เมื่อ ชัย ราชวัตร เป็นประชาชนคนไทยคนหนึ่ง โดยปกติคนที่เป็นคนไทยจริงทั้งกายและใจก็ย่อมรัก หวงแหนประเทศไทย ไม่ยอมให้ใครไม่ว่าจะเป็นคนต่างชาติหรือคนที่ตัวเป็นไทยแต่ไม่เคยรักประเทศไทย มาดูหมิ่นดูแคลน เหยียดหยาม กล่าวใส่ร้ายหรือด่าประเทศให้ได้รับความเสียหาย การที่คนที่ได้ชื่อว่าเป็นหัวหน้ารัฐบาลแม้จะเป็นเพียงตัวหุ่นมีคนคอยเชิดกำกับสั่งการทุกอย่างก็ตาม ไปพูดในลักษณะสาวไส้ให้กากินทำให้ประเทศไทยได้รับความเสียหาย แล้ว ชัย ราชวัตร ก็แสดงความคิดเห็นโดยสุจริตติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชนคนไทยที่รักประเทศไทยย่อมต้องกระทำ จึงน่าจะไม่มีความผิด ตามมาตรา 329 (3)
     
       “แต่หากฟังว่า ชัย ราชวัตร มีความผิด ก็ดูต่อไปอีก
     
       มาตรา ๓๓๐ ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทําความผิดพิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ
     
       กล่าวคือถ้าฟังว่า การกระทำของชัย ราชวัตร มีความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่า ข้อความที่มีคนเขียนให้หุ่นเชิดอ่านนั้น ทำให้ประเทศไทยเสียหาย ถูกนานาประเทศดูถูกเหยียดหยาม ฯลฯ ก็น่าจะถือได้ว่าเป็นการขายชาติ เมื่อเป็นการขายชาติก็ต้องเป็นการกระทำชั่วแน่นอน สิ่งที่ชัย ราชวัตร กล่าวจึงเป็นความจริง ถ้าฟังได้เช่นนี้ชัย ราชวัตร ก็ไม่ต้องรับโทษ หมายความว่า แม้จะมีความผิดแต่ศาลลงโทษไม่ได้
     
       ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวซึ่งถ้าคดีนี้ขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ผู้พิพากษาที่พิจารณาพิพากษาอาจมีความเห็นต่างจากที่กล่าวมาก็ได้ซี่งก็เป็นเรื่องปกติธรรมดา ครับ”

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000054472&Keyword=%e4%cd%ab%d5%b7%d5

___________________________________________




"อนุดิษฐ์"พล่าน! ประณามคนบิดเบือนข่าวป้ายสี ICT

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 พฤษภาคม 2556 17:06 น.




       น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แถลงว่า จากพฤติกรรมการบิดเบือนข้อเท็จจริงและกล่าวหาว่ากระทรวงไอซีทีใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ และ 2 มาตราฐานนั้น ขอชี้แจงว่า กระทรวงไอซีทีไม่มีอำนาจในการสั่งปิดกั้นเว็บไซต์ต่างๆ แต่อย่างใด เพราะเป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลอาญา ส่วนการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ผ่านโซเชียลมีเดียนั้นสามารถทำได้ เพราะเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่หากก้าวล้วงบุคคลอื่นแล้วถูกแจ้งความร้องทุกข์ ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งอยากแนะนำให้ผู้แสดงความเห็นทางการเมืองคิดถึงความรู้สึกส่วนตัวด้วย
        ขณะเดียวกัน น.อ.อนุดิษฐ์ ปฏิเสธว่า ทางกระทรวงไอซีทีไม่เคยกระทำการใดๆ 2 มาตราฐาน เพราะดำเนินการทุกกรณีที่มีการร้องเรียนตามอำนาจหน้าที่ และยืนยันว่าการดำเนินการกับเว็บไซต์หมิ่นสถาบันนั้น ทางข้าราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกคนให้ความสำคัญในเรื่องนี้สูงสุดทุกองค์กร
        อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงไอซีทีขอประณามบุคคลที่ให้ข่าวบิดเบือนเพื่อตีกินทางการเมือง และสร้างความเกลียดชังกระทรวงไอซีทีต่อสังคมอย่างตั้งใจ และขอเรียกร้องให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว เพราะเป็นการสร้างความแตกแยกในสังคม


http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000054814&Keyword=%e4%cd%ab%d5%b7%d5

_________________________________________



ICTโต้ ปชป.ยันปิดเว็บต้องผ่านอำนาจศาลทำเองไม่ได้


รมว.ไอซีที "อนุดิษฐ์" โต้ปชป. ปัดรัฐสองมาตรฐาน ตั้งหน้าปิดเว็บหมิ่น "ปู" ยืนยันกระทรวงไม่มีอำนาจปิดกั้น ต้องเป็นอำนาจศาลเท่านั้น...

เมื่อเวลา 13.30 น. ทำเนียบรัฐบาล น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แถลงถึงกรณีพรรคประชาธิปัตย์ระบุกระทรวงไอซีทีใช้อำนาจหน้าที่ทำการปิดกั้นเว็บไซต์ที่เสนอความเห็นแสดงความคิดเห็นหมิ่นประมาทนายกฯว่า

ไอซีทีไม่มีอำนาจตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ปิดกั้นเว็บไซต์ ต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาลอาญา ไอซีทีไม่ได้ปฏิบัติสองมาตรฐานให้ความสำคัญกับกรณีของนายกฯเท่านั้น ดำเนินการทุกกรณีที่มีผู้เสียหาย ส่วนที่กล่าวหาว่าไอซีทีละเลยปิดเว็บไซต์หมิ่นสถาบันนั้น ไม่เป็นความจริง เป็นหน้าที่ของทุกภาคส่วนที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันช่วยกัน ทั้งไอซีที กองทัพไทย สตช.

อย่างไรก็ตามประชาชนแสดงความคิดเห็นบนช่องทางโซลเชียลเน็ตเวิร์กเป็นสิทธิที่ทำได้ แต่หากกล่าวหาให้ร้ายดูถูกดูแคลนเป็นเท็จกับบุคคลอื่น ทำให้เกิดความเสียหาย เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และกฎหมายอาญา มีผู้เสียหายเข้าแจ้งความ เจ้าหน้าที่จำเป็นต้องดำเนินการตามกฎหมาย รมว.ไอซีทีกล่าว.

โดย: ทีมข่าวการเมือง

7 พฤษภาคม 2556, 15:45 น.

http://m.thairath.co.th/content/pol/343347


_________________________________________



'อนุดิษฐ์'โพสต์FBย้ำอำนาจปิดเว็บอยู่ที่ศาลเท่านั้น
หน้าหลัก » การเมือง

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.ICT โพสต์ FB ย้ำ กระทรวงไม่มีอำนาจปิดเว็บไซต์โดยลำพัง ชี้เป็นอำนาจศาลเท่านั้น ขณะประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นภายใต้ พ.ร.บ.คอมฯ ICT ไม่เคย 2 มาตรฐาน ยืนยันเดินหน้าจัดการเว็บหมิ่นฯมาตลอดไม่เคยปล่อยปละละเลย...

ภายหลังจากที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากกรณีการวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง โดยล่าสุดมีการกล่าวอ้างว่ากระทรวง ICT สั่งปิดเว็บไซต์ที่กล่าวหาพาดพิงนายกรัฐมนตรี และถือเป็นการกระทำที่สองมาตรฐานนั้น ล่าสุด น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ได้โพสต์ข้อความผ่านหน้าเฟซบุ๊กของตนเอง (น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ, สำนักงานปราบโกง Anti-corruption)  โดยชี้แจงข้อกล่าวหาต่างๆ เป็นรายะเอียด 4 ข้อ ดังนี้

"จากพฤติกรรมการบิดเบือนข้อเท็จจริงจากหลายฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายการเมืองจาก พรรคฝ่ายค้านที่กล่าวหากระทรวง ICT ว่า ใช้อำนาจในทางที่ไม่ชอบในการปิดกั้นเว็บไซต์ ที่แสดงความเห็นทางการเมืองที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล มีการกระทำที่ลุแก่อำนาจและไม่เป็นประชาธิปไตย

จากพฤติกรรมการบิดเบือนข้อเท็จจริง และกล่าวความเท็จดังกล่าว มีการแอบตีกิน แอบอ้างว่าผมให้สัมภาษณ์ว่า หากมีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลและ ฯพณฯนายกรัฐมนตรี ผมจะสั่งปิดเว็บไซต์ ทำให้พี่น้องประชาชนที่ติดตามข่าวสารเกิดความเข้าใจผิดและบางส่วนเกิดความ เกลียดชัง โดยเข้าใจว่า กระทรวง ICT ใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ชอบ
ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ผมในฐานะที่เป็นผู้กำกับดูแลกระทรวง ICT ขอเรียนชี้แจงพี่น้องประชาชนและสื่อมวลชนที่เคารพดังต่อไปนี้

1. กระทรวง ICT เป็นผู้รักษาการ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ปี 2550 ดังนั้น จึงไม่มีอำนาจใดๆ ในการสั่งปิดกั้นเว็บไซต์ อำนาจในการสั่งปิดเว็บไซต์นั้น อยู่ในดุลยพินิจและคำสั่งของศาลอาญาเท่านั้น โดยหลังจากศาลอาญามีคำพิพากษาให้ทำการปิดกั้นเว็บไซต์นั้น กระทรวง ICT จะเป็นผู้แจ้งคำสั่งศาลดังกล่าวให้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกราย เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำสั่งต่อไป ดังนั้น การกล่าวหาว่ากระทรวง ICT ใช้อำนาจในการปิดกั้นเว็บไซต์และเป็นการกระทำที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จึงไม่เป็นความจริง

2. การใช้ช่องทางเว็บไซต์ และ Social network ในการแสดงความเห็นของพี่น้องประชาชนในทุกๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เป็นสิทธิเสรีภาพที่พี่น้องประชาชนทุกคนสามารถทำได้ และไม่มีใครหรืออำนาจใดๆ มาก้าวล่วงได้ แต่อย่างไรก็ดี การใช้ช่องทางดังกล่าวกระทำผิดกฎหมายใดๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการคุกคาม กล่าวหา ให้ร้ายดูถูกดูแคลน หรือใช้ข้อมูลอันเป็นเท็จต่อบุคคลอื่น และทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย อาจเข้าข่ายการกระทำความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2550 หรือเข้าข่ายการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว หากมีผู้เสียหายเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือบุคคลที่มีอำนาจตามกฎหมาย เจ้าหน้าที่ก็จำเป็นต้องมีการดำเนินการ ให้เป็นไปตามกระบวนการตามกฎหมายต่อไป

ซึ่งจากกรณีนี้ เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจว่า การแสดงออกหรือความเห็นอย่างไรที่ไม่ควรกระทำ ผู้แสดงความเห็นเพียงคิดถึงสิทธิเสรีภาพของตัวเองหรือ ครอบครัว ที่ไม่ต้องการให้ผู้ใดล่วงละเมิด เฉพาะประเด็นนั้นๆ ท่าน ก็ไม่ควรไปล่วงละเมิดบุคคลอื่น ในเรื่องนั้นๆ เช่นเดียวกัน

3. กระทรวงไอซีทีไม่มีสิทธิในการเลือกปฏิบัติหรือกระทำการใดๆ แบบสองมาตรฐาน การกล่าวหาว่า กระทรวง ICT ที่ให้ความสำคัญเฉพาะกรณีของฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จึงเป็นเรื่องที่บิดเบือนและไม่เป็นความจริง
ตลอดเวลาที่ผ่านมากระทรวง ICT ได้ดำเนินการกับผู้กระทำความผิดและผู้ที่ได้รับความเสียหาย ทุกคน ทุกกรณีอย่างเท่าเทียมกัน ตามอำนาจหน้าที่ ที่ได้รับตามกฎหมาย เพราะการดำเนินการใดๆ ที่ถูกกล่าวหาว่าทำเกินอำนาจหน้าที่ หรือการดำเนินการใดๆ ที่ละเลยไม่ปฏิบัติ กระทรวง ICT ไม่สามารถดำเนินการได้ทั้ง 2 กรณี เพราะผู้เสียหายที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ก็สามารถดำเนินการตามกฎหมาย กับกระทรวง ICT ได้เช่นเดียวกัน

 ดังนั้น การกล่าวหาด้วยคำพูดว่ากระทรวง ICT ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่ นอกเหนือจากอำนาจที่ได้รับจึงไม่เป็นความจริง

4. การดำเนินการกับเว็บไซต์หมิ่นสถาบัน เป็นการดำเนินการร่วมกันของทุกภาคส่วน ซึ่งกระทรวง ICT เป็นองค์ประกอบหนึ่งในคณะกรรมการ ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ที่ทุกคนที่รับผิดชอบให้ความสำคัญสูงสุด ไม่ว่าจะ เป็นกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นต้น
 ผู้รับผิดชอบทุกคนเป็นข้าราชการประจำและข้าราชการการเมืองที่จงรักภักดีและ เป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนั้น การกล่าวหาว่า ข้าราชการทั้งการเมือง และประจำที่รับผิดชอบเหล่านี้ ปล่อยปละละเลย ไม่ดำเนินการกับเว็บหมิ่น จึงไม่เป็น ความจริง และคงไม่มีใครผู้ใดสามารถบงการข้าราชการทุกคน ไม่ให้ปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองได้อย่างแน่นอน

การชี้แจงทั้ง 4 ประเด็นถือว่า เป็นข้อเท็จจริงที่กระทรวง ICT ขอเรียนชี้แจง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อพี่น้องประชาชน สื่อมวลชน สำหรับใครก็ตามที่แสดงความเห็น เพื่อสร้างความเกลียดชังให้แก่กระทรวง ICT ก่อนหน้านี้ ด้วยความไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ กระทรวง ICT ก็ขอเรียนชี้แจงให้ทราบด้วยความเต็มใจในทุกๆ กรณี แต่ใครคนใดคนหนึ่งที่ให้สัมภาษณ์หรือแสดงความคิดเห็น เพื่อสร้างความเกลียดชังด้วยความตั้งใจ หรือมีพฤติกรรม ตีกินทางการเมือง ด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อสร้างความเข้าใจผิด กระทรวงฯ ขอประณามการกระทำดังกล่าวและขอเรียกร้องให้หยุดพฤติกรรมที่สร้างความแตกแยก และสร้างความเกลียดชังในสังคมเหล่านี้ และควรหันมาช่วยกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างสร้างสรรค์ต่อไป

.

น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร"

โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/pol/343392

__________________________________________



นายกฯ ชี้ ICTไล่ปิดเว็บหมิ่นฯ ยึดกติกา

นายกรัฐมนตรี ย้ำ สปีชมองโกเลียพูดเรื่องจริง ชี้ ICT ไล่ปิดเว็บหมิ่นฯ ยึดกติกา อ้อน กวป.ชุมนุมอย่างสงบ...

วันนี้ (7 พ.ค.56) เวลา 13.10 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการชุมนุมกดดันศาลรัฐธรรมนูญของกลุ่มคนเสื้อแดงกลุ่มสื่อวิทยุประชาชนเพื่อประชาธิปไตยว่า เรียนว่าเราเป็นห่วง ต้องขอความร่วมมือในการชุมนุมอย่างสงบ เพราะเราเองห่วงในเรื่องความมั่นคง และได้ฝากให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ไปดูแลและหารือในส่วนของการเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ในการดูแลให้ความปลอดภัยกับพี่น้องประชาชน และขอความร่วมมือว่าอย่าให้การจราจรต่างๆนั้นติดขัด การเรียกร้องต่างๆ ขอให้เป็นไปโดยสงบ

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เร่งออกมาดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ที่โพสต์ข้อความหมิ่นประมาทนายกฯ ในทางที่เสียทางเว็บไซต์ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบว่า ตนก็เพิ่งทราบข่าว เรียนว่าเรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลนั้นเป็นสิทธิเสรีภาพที่ควรทำได้ แต่ว่าการที่กล่าวหาใครคนใดคนหนึ่งที่ค่อนข้างจะเกินเลยความเป็นจริงนั้นเป็นหน้าที่ของกระทรวงไอซีทีที่จะดูแล และต้องเรียนว่าไม่ใช่ตนคนเดียว ต้องบอกว่าทุกคน ตามสิทธิเสรีภาพของบุคคลนั้น คงต้องยึดหลักตรงนี้ ขั้นตอนต่างๆ นั้นเจ้าหน้าที่ไม่สามารถที่จะดูแลเป็นพิเศษได้ขอให้ทุกอย่างเป็นไปตามกติกา

เมื่อถามว่า นายกฯ มีการประเมินหรือไม่หลังจากที่ไปกล่าวปาฐกถาที่มองโกเลีย เป็นผลบวกหรือลบแก่ตัวนายกฯ และประเทศ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบว่า ขอความกรุณาว่า การที่ไปชี้แจงนั้นตนพูดตามความเป็นจริง เราเองอยากให้เป็นอุทาหรณ์ เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกถ้าไปฟังดีๆ ไม่มีเจตนาใดๆ โดยเจตนาจริงๆ แล้วอยากให้ทุกอย่างเป็นอุทาหรณ์ว่า ไม่อยากให้เกิดขึ้นอีก เพราะว่าจากเหตุการณ์ที่ผ่านมานั้น ประเทศเราเสียหายไปเยอะ เราเองน่าจะมาร่วมกันในการที่จะช่วยกันแก้ไขปัญหาและให้เดินหน้าต่อไป

เมื่อถามอีกว่า นายกฯ พูดว่าให้เป็นอุทาหรณ์ แต่ในทางลบนายกฯ เข็ดหรือไม่กับการพูดออกมาแล้วเกิดผลตอบรับในทางลบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตอบว่า ยืนยันว่าทุกอย่างคือความเป็นจริง เรียนว่าความจริงก็คือความจริง แต่ถ้าเราเอาความจริงนั้นมาเป็นบทเรียนเพื่อที่จะไม่ให้เกิดขึ้นอีกตนคิดว่าน่าจะดีกว่าการที่เราหลีกเลี่ยงความเป็นจริง

โดย: ทีมข่าวการเมือง
http://m.thairath.co.th/content/pol/343328




ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.