Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

8 พฤษภาคม 2556 หมอลี่ กสทช.!! PROMOTION 3G 4G คลื่น2100 ที่ออกผ่านงานเปิดตัว กทค. ยังไม่ได้ตรวจลดอย่างน้อยร้อยละ 15 จริง++(อัดค่ายใหญ่ เพิ่มปริมาณเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง)


ประเด็นหลัก



ความคืบหน้าล่าสุด วันที่ 8 พ.ค. นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า จากนี้คงต้องจับตาดูในช่วงสิ้นเดือนนี้ ว่าผู้บริการทั้ง 3 ค่าย ที่ได้รับใบอนุญาต 3 จีใหม่ บนความถี่ 2.1 GHz จะตั้งราคาค่าบริการในอัตราที่ลดลงจากแพ็กเกจเดิม 15% ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในช่วงการเปิดประมูลคลื่นหรือไม่ ซึ่งหากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขจะต้องมีผู้ออกมารับผิดชอบ เพราะถือเป็นเงื่อนไขที่ทางผู้บริการจะต้องปฏิบัติตาม โดยหลังจากเปิดประมูลคลื่นความถี่ เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2555 และหลังจากนั้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ วันที่ 23 ต.ค.2555 ทางคณะกรรมการได้มีการประกาศเงื่อนไขการให้บริการอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเงื่อนไขการลดอัตราค่าบริการลงจากแพ็กเกจเดิม 15% อีกทั้งยังได้มีการคำนวณด้วยว่า อัตราค่าบริการที่ลดลงจะช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดเงินได้ประมาณ 8 แสนล้านบาท ถึง 1 ล้านล้านบาทต่อปี

               นพ.ประวิทย์ กล่าวต่อว่า เนื่องจากในช่วงออกใบอนุญาตคลื่นความถี่ ทางคณะกรรมการไม่ได้กำหนดให้ผู้ให้บริการ ต้องยื่นรายละเอียดแพ็กเกจและแผนการลดอัตราค่าบริการ มาให้ทางคณะกรรมการตรวจสอบก่อนที่จะทำการออกใบอนุญาตให้กับผู้ให้บริการ จุดนี้จึงต้องมาตรวจสอบดูว่าการกำหนดอัตราค่าบริการใหม่ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ เพราะผู้ให้บริการจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเงื่อนไขที่กำหนดไว้นั้น ระบุชัดเจนว่าผู้ให้บริการจะต้องกำหนดค่าบริการลดลงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 15 ซึ่งหมายความว่าค่าบริการแต่ละแพ็กเกจจะต้องลงลง ไม่ได้ระบุว่าเป็นอัตราค่าบริการเฉลี่ยที่ต้องลดลง ดังนั้นการกล่าวอ้างว่ามีการลดราคาในบางแพ็กเกจลง แต่บางแพ็กเกจกลับไม่ได้ลดราคา หรือมีการปรับราคาแพงขึ้นจึงไม่ถูกต้อง

               “การบอกว่าผู้บริโภคจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่มากขึ้น เช่น ความเร็วในการใช้งานอินเตอร์เน็ต ไม่ถือว่าอยู่ในเงื่อนไขของการลดราคา ตัวอย่างเช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวร้านหนึ่งบอกว่า จะลดราคาให้ลูกค้า 15% แต่พอลูกค้าไปกินแล้วตอนคิดราคากลับบอกว่าราคาก๋วยเตี๋ยวยังเท่าเดิม แต่ทางร้านได้เพิ่มปริมาณให้มากกว่าเดิม ตรงนี้เชื่อได้เลยว่าไม่มีลูกค้าคนไหนยอมแน่ และที่สำคัญพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศไทย ชัดเจนว่าส่วนลดคือ ส่วนลด ของแถมคือของถาม ดังนั้นทางคณะกรรมการเองก็จะต้องชัดเจนว่า การเพิ่มสิทธิประโยชน์เหล่านี้ทำได้หรือไม่ ถ้าคำตอบคือทำไม่ได้ก็ถือว่าผิดเงื่อนไขที่ตั้งไว้” นพ.ประวิทย์ กล่าว

               นพ.ประวิทย์ กล่าวต่ออีกว่า เพื่อเป็นการชี้แจงและทำความเข้าใจให้ตรงกัน ระหว่างคณะกรรมการกับผู้ให้บริการ ว่าการให้ของแถมหรือเพิ่มสิทธิประโยชน์ ถือเป็นการลดราคาตามประกาศเมื่อตอนทำการประมูลคลื่นความถี่หรือไม่ แต่สำหรับตนมองว่าการตั้งเงื่อนไขว่าผู้บริโภคจะเสียค่าบริการที่ต่ำลงหรือประหยัดมากขึ้น ชัดเจนอยู่แล้วว่าผู้ให้บริการจะต้องลดราคาลง ไม่ใช่การให้ของแถมแต่ราคาค่าบริการยังเท่าเดิมหรือแพงขึ้น

               ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่มีการออกมาพูดว่าผู้บริโภคสามารถเลือกใช้บริการที่คุ้มค่าได้ด้วยตนเองนั้น ในมุมมองด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมีความเห็นอย่างไร นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า ประเด็นนี้ต้องมีการทำความเข้าใจก่อนว่า การที่ผู้บริโภคจะสามารถเลือกบริการที่ดีที่สุดได้นั้น ตลาดผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือจะต้องมีการแข่งขันหลายราย แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าในบ้านเรามีผู้ให้บริการน้อยราย โดยในช่วงการประมูลคลื่นความถี่ ที่มีการออกแบบเอื้อให้กับผู้แข่งขันรายใหม่ก็ล้มเหลว จึงต้องยอมรับว่าการแข่งขันในบ้านเราเป็นแบบกึ่งผู้ขาด ดังนั้นการที่ผู้บริโภคจะเลือกหาแพ็กเกจที่เหมาะสมและคุ้มค่า จึงเป็นไปได้ยากท่ามกลางการแข่งขันน้อยราย
               “ในเมื่อรัฐออกมาประกาศแล้วว่าจะบังคับให้ค่าบริการลดลง แต่ถ้าไม่สามารถทำได้จริงรัฐก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เช่นประกาศออกไปว่าไข่ไก่และข้าวสารจะต้องลดราคา แต่พอไม่สามารถทำได้ก็ออกมาพูดว่า ผู้บริโภคก็เลือกซื้อเอาเองสิ ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง” นพ.ประวิทย์ กล่าว






______________________________________






จับตา!ราคาแพ็กเกจ3จีใหม่

จับตาราคาแพ็กเกจ 3จีใหม่ 'ต้องลงราคาลง 15%' ระบุหากผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตามต้องมีผู้รับผิดชอบ แนะ'กสทช.' ชัดเจน'เพิ่มสปีดเน็ต-ให้ของแถม'ไม่ถือว่าเป็นการลดราคา

               หลังจากผู้ให้บริการมือถือแต่ละค่ายในบ้านเรา เริ่มทยอยเปิดตัวบริการ 3 จีใหม่ บนความถี่ 2.1 GHz เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งถึงแม้จะถือเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ให้ผู้ใช้บริการ ได้สัมผัสกับความรวดเร็วในการดาวน์โหลดและอัพโหลดข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการใช้บริการเอ็นเตอร์เทนเม้นท์ต่างๆ บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์สื่อสาร แต่ก็ยังคงมีประเด็นที่ผู้ใช้บริการยังคงต้องจับตามอง โดยเฉพาะประเด็นอัตราค่าบริการตามแพ็กเกจ ว่าจะมีการกำหนดอัตราค่าบริการใหม่ ลดลงจากเดิม 15% ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในช่วงการเปิดประมูลคลื่นความถี่หรือไม่

               ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 7 พ.ค. ที่ผ่านมา คณะกรรมการกิจการกระจายเสีย กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนไปยังผู้ให้บริการ 3จีใหม่ ทั้ง 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส, บริษัท ดีแทค เน็ทเวอร์ค จำกัด ในเครือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค, และ บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในเครือกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่าจะต้องปรับลดราคาบริการ 3จี จากแพ็กเกจเดิมลง 15% โดยหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในช่วงการเปิดประมูลคลื่นความถี่ และตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2556 จะมีโทษสูงสุดถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต

               ความคืบหน้าล่าสุด วันที่ 8 พ.ค. นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยว่า จากนี้คงต้องจับตาดูในช่วงสิ้นเดือนนี้ ว่าผู้บริการทั้ง 3 ค่าย ที่ได้รับใบอนุญาต 3 จีใหม่ บนความถี่ 2.1 GHz จะตั้งราคาค่าบริการในอัตราที่ลดลงจากแพ็กเกจเดิม 15% ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในช่วงการเปิดประมูลคลื่นหรือไม่ ซึ่งหากไม่เป็นไปตามเงื่อนไขจะต้องมีผู้ออกมารับผิดชอบ เพราะถือเป็นเงื่อนไขที่ทางผู้บริการจะต้องปฏิบัติตาม โดยหลังจากเปิดประมูลคลื่นความถี่ เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2555 และหลังจากนั้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ วันที่ 23 ต.ค.2555 ทางคณะกรรมการได้มีการประกาศเงื่อนไขการให้บริการอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเงื่อนไขการลดอัตราค่าบริการลงจากแพ็กเกจเดิม 15% อีกทั้งยังได้มีการคำนวณด้วยว่า อัตราค่าบริการที่ลดลงจะช่วยให้ผู้บริโภคประหยัดเงินได้ประมาณ 8 แสนล้านบาท ถึง 1 ล้านล้านบาทต่อปี

               นพ.ประวิทย์ กล่าวต่อว่า เนื่องจากในช่วงออกใบอนุญาตคลื่นความถี่ ทางคณะกรรมการไม่ได้กำหนดให้ผู้ให้บริการ ต้องยื่นรายละเอียดแพ็กเกจและแผนการลดอัตราค่าบริการ มาให้ทางคณะกรรมการตรวจสอบก่อนที่จะทำการออกใบอนุญาตให้กับผู้ให้บริการ จุดนี้จึงต้องมาตรวจสอบดูว่าการกำหนดอัตราค่าบริการใหม่ เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้อย่างชัดเจนหรือไม่ เพราะผู้ให้บริการจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเงื่อนไขที่กำหนดไว้นั้น ระบุชัดเจนว่าผู้ให้บริการจะต้องกำหนดค่าบริการลดลงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 15 ซึ่งหมายความว่าค่าบริการแต่ละแพ็กเกจจะต้องลงลง ไม่ได้ระบุว่าเป็นอัตราค่าบริการเฉลี่ยที่ต้องลดลง ดังนั้นการกล่าวอ้างว่ามีการลดราคาในบางแพ็กเกจลง แต่บางแพ็กเกจกลับไม่ได้ลดราคา หรือมีการปรับราคาแพงขึ้นจึงไม่ถูกต้อง
               “การบอกว่าผู้บริโภคจะได้รับสิทธิประโยชน์ที่มากขึ้น เช่น ความเร็วในการใช้งานอินเตอร์เน็ต ไม่ถือว่าอยู่ในเงื่อนไขของการลดราคา ตัวอย่างเช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวร้านหนึ่งบอกว่า จะลดราคาให้ลูกค้า 15% แต่พอลูกค้าไปกินแล้วตอนคิดราคากลับบอกว่าราคาก๋วยเตี๋ยวยังเท่าเดิม แต่ทางร้านได้เพิ่มปริมาณให้มากกว่าเดิม ตรงนี้เชื่อได้เลยว่าไม่มีลูกค้าคนไหนยอมแน่ และที่สำคัญพฤติกรรมผู้บริโภคในประเทศไทย ชัดเจนว่าส่วนลดคือ ส่วนลด ของแถมคือของถาม ดังนั้นทางคณะกรรมการเองก็จะต้องชัดเจนว่า การเพิ่มสิทธิประโยชน์เหล่านี้ทำได้หรือไม่ ถ้าคำตอบคือทำไม่ได้ก็ถือว่าผิดเงื่อนไขที่ตั้งไว้” นพ.ประวิทย์ กล่าว
               นพ.ประวิทย์ กล่าวต่ออีกว่า เพื่อเป็นการชี้แจงและทำความเข้าใจให้ตรงกัน ระหว่างคณะกรรมการกับผู้ให้บริการ ว่าการให้ของแถมหรือเพิ่มสิทธิประโยชน์ ถือเป็นการลดราคาตามประกาศเมื่อตอนทำการประมูลคลื่นความถี่หรือไม่ แต่สำหรับตนมองว่าการตั้งเงื่อนไขว่าผู้บริโภคจะเสียค่าบริการที่ต่ำลงหรือประหยัดมากขึ้น ชัดเจนอยู่แล้วว่าผู้ให้บริการจะต้องลดราคาลง ไม่ใช่การให้ของแถมแต่ราคาค่าบริการยังเท่าเดิมหรือแพงขึ้น
               ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่มีการออกมาพูดว่าผู้บริโภคสามารถเลือกใช้บริการที่คุ้มค่าได้ด้วยตนเองนั้น ในมุมมองด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมีความเห็นอย่างไร นพ.ประวิทย์ กล่าวว่า ประเด็นนี้ต้องมีการทำความเข้าใจก่อนว่า การที่ผู้บริโภคจะสามารถเลือกบริการที่ดีที่สุดได้นั้น ตลาดผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือจะต้องมีการแข่งขันหลายราย แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าในบ้านเรามีผู้ให้บริการน้อยราย โดยในช่วงการประมูลคลื่นความถี่ ที่มีการออกแบบเอื้อให้กับผู้แข่งขันรายใหม่ก็ล้มเหลว จึงต้องยอมรับว่าการแข่งขันในบ้านเราเป็นแบบกึ่งผู้ขาด ดังนั้นการที่ผู้บริโภคจะเลือกหาแพ็กเกจที่เหมาะสมและคุ้มค่า จึงเป็นไปได้ยากท่ามกลางการแข่งขันน้อยราย
               “ในเมื่อรัฐออกมาประกาศแล้วว่าจะบังคับให้ค่าบริการลดลง แต่ถ้าไม่สามารถทำได้จริงรัฐก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เช่นประกาศออกไปว่าไข่ไก่และข้าวสารจะต้องลดราคา แต่พอไม่สามารถทำได้ก็ออกมาพูดว่า ผู้บริโภคก็เลือกซื้อเอาเองสิ ไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง” นพ.ประวิทย์ กล่าว

http://www.komchadluek.net/detail/20130508/157972/%EF%BF%BD%D1%BA%EF%BF%BD%EF%BF%BD!%EF%BF%BD
%D2%A4%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%E0%A1%A83%EF%BF%BD%EF%BF%
BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD.html#.UYpGCaJxSz8

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.