Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 มิถุนายน 2556(ตะลึง) เด็กไทยสารภาพอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีมือถือ!! เสวนา 1 วันในชีวิตเด็กไทย พบ++ เด็กไทยบ้าเล่นLINE Facebook +ลอกการบ้านพาการเรียนตก



ประเด็นหลัก


ที่โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ มหานาค สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดประชุมสัมมนา “ทิศทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต” โดย นายอมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาวิชาการสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวในการเสวนาว่า สสค.ได้ทำการสำรวจในโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กในหัวข้อ “1 วันในชีวิตเด็กไทย” เมื่อเดือนมกราคม 2556 ที่ผ่านมา จากกลุ่มตัวอย่าง 3,058 คน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด พบสิ่งที่น่าสนใจ ว่า พฤติกรรมเด็กไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และเปลี่ยนแปลงเร็วเกินกว่าที่ระบบการศึกษาไทยจะไล่ตามทัน โดยวงจรชีวิตของเด็กไทยใน 1 วัน จะเริ่มตื่นนอนตั้งแต่เวลา 06.18 น. และเข้านอนในเวลา 22.21 น. วันหยุดจะนอน 23.39 น. เฉลี่ยเด็กไทยมีเวลานอนเฉลี่ย 7-8 ชั่วโมง ถือว่าเด็กไทยมีเวลานอนไม่น้อยมาก

ที่น่าสนใจ คือพบว่า สิ่งแรกที่เด็กส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.1 ทำหลังตื่นนอน คือ การเช็คโทรศัพท์มือถือ เช่นเดียวกับสิ่งสุดท้ายที่เด็กร้อยละ 35 ทำก่อนนอน คือ ใช้โทรศัพท์มือถือเล่นเฟซบุ๊ค (Facebook) และ ไลน์ (Line) ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันเด็กไทยอยู่กับสื่อมากขึ้น โดยตัวเลขเด็กที่ใช้โทรศัพท์มือถือ พุ่งพรวด 2-3 เท่า ใน 1 ปี เพราะในโทรศัพท์มือถือมีทุกสิ่งที่เด็กต้องการ ทั้งอินเตอร์เน็ต เฟซบุ๊ค ไลน์ กล้องถ่ายรูป โดยเด็กร้อยละ 75.7 เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์คบ่อยจนถึงประจำ ซึ่งนักเรียนหญิงจะเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์คมากกว่านักเรียนชาย และยังพบเด็กร้อยละ 20.3 ใช้มือถือระหว่างคาบเรียนบ่อยถึงประจำ เด็กร้อยละ 42.5 รู้สึกทนไม่ได้ถ้าอยู่คนเดียวโดยไม่มีโทรศัพท์ และเด็กร้อยละ 28.7 โดยเฉพาะเด็กชาย ระบุว่าเคยถูกคุกคามทางเพศจากคนเพื่อนใหม่ที่รู้จักกันทางโซเชียลมีเดีย



______________________________________






เด็กไทย3จีเฟซบุ๊ค24ชม.

คลั่งเล่น LINEหมกมุ่นเช้า-ค่ำการเรียนตกต่ำ



เด็กไทยคลั่งมือถือ สสค. สำรวจใน 1 วัน หลังตื่นนอนและก่อนนอน ต้องเล่นแฟซบุ๊ค-ไลน์ ร้อยละ 40 สารภาพอยู่ไม่ได้ถ้าไม่มีมือถือ สังคมออนไลน์สร้างปัญหา เด็กถูกคุกคามทางเพศ ดึงเวลาในครอบครัวให้ลดลง และยังชอบลอกการบ้านในขณะที่ระบบการศึกษาไทยยังคลานเป็นเต่า

ที่โรงแรมปริ๊นซ์พาเลซ มหานาค สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดประชุมสัมมนา “ทิศทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต” โดย นายอมรวิชช์ นาครทรรพ ที่ปรึกษาวิชาการสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) กล่าวในการเสวนาว่า สสค.ได้ทำการสำรวจในโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กในหัวข้อ “1 วันในชีวิตเด็กไทย” เมื่อเดือนมกราคม 2556 ที่ผ่านมา จากกลุ่มตัวอย่าง 3,058 คน ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด พบสิ่งที่น่าสนใจ ว่า พฤติกรรมเด็กไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก และเปลี่ยนแปลงเร็วเกินกว่าที่ระบบการศึกษาไทยจะไล่ตามทัน โดยวงจรชีวิตของเด็กไทยใน 1 วัน จะเริ่มตื่นนอนตั้งแต่เวลา 06.18 น. และเข้านอนในเวลา 22.21 น. วันหยุดจะนอน 23.39 น. เฉลี่ยเด็กไทยมีเวลานอนเฉลี่ย 7-8 ชั่วโมง ถือว่าเด็กไทยมีเวลานอนไม่น้อยมาก

ที่น่าสนใจ คือพบว่า สิ่งแรกที่เด็กส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.1 ทำหลังตื่นนอน คือ การเช็คโทรศัพท์มือถือ เช่นเดียวกับสิ่งสุดท้ายที่เด็กร้อยละ 35 ทำก่อนนอน คือ ใช้โทรศัพท์มือถือเล่นเฟซบุ๊ค (Facebook) และ ไลน์ (Line) ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันเด็กไทยอยู่กับสื่อมากขึ้น โดยตัวเลขเด็กที่ใช้โทรศัพท์มือถือ พุ่งพรวด 2-3 เท่า ใน 1 ปี เพราะในโทรศัพท์มือถือมีทุกสิ่งที่เด็กต้องการ ทั้งอินเตอร์เน็ต เฟซบุ๊ค ไลน์ กล้องถ่ายรูป โดยเด็กร้อยละ 75.7 เล่นโซเชียลเน็ตเวิร์คบ่อยจนถึงประจำ ซึ่งนักเรียนหญิงจะเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์คมากกว่านักเรียนชาย และยังพบเด็กร้อยละ 20.3 ใช้มือถือระหว่างคาบเรียนบ่อยถึงประจำ เด็กร้อยละ 42.5 รู้สึกทนไม่ได้ถ้าอยู่คนเดียวโดยไม่มีโทรศัพท์ และเด็กร้อยละ 28.7 โดยเฉพาะเด็กชาย ระบุว่าเคยถูกคุกคามทางเพศจากคนเพื่อนใหม่ที่รู้จักกันทางโซเชียลมีเดีย

นายอมรวิชช์ กล่าวต่อว่า เมื่อเด็กติดโทรศัพท์มือถือมากขึ้น ก็ไปดึงเวลาที่เด็กอยู่กับครอบครัวให้น้อยลง ขณะที่เด็กไทยใช้เวลาอยู่กับโซเชียลมีเดียนานถึง 8 ชั่วโมง แต่มีเด็กเพียงร้อยละ 34.5 ที่ยังทานมื้อเย็นกับครอบครัวเป็นประจำ โดยเด็กมัธยมศึกษาตอนต้น มีโอกาสทานมื้อเย็นกับครอบครัวมากกว่าระดับอุดมศึกษา โดยมีเด็กระดับอุดมศึกษา เพียงร้อยละ 17.5 ที่ทานมื้อเย็นกับครอบครัว นอกจากนั้น ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจว่าเด็กจำนวนมากถึงร้อยละ 45.7 ลอกการบ้านเพื่อน ที่น่าสนใจ คือ เด็กที่ผลการเรียนดี ลอกการบ้านมากกว่าเด็กที่ผลการเรียนต่ำกว่า โดยเด็กที่เกรดเฉลี่ยมากกว่า 3.5 ลอกการบ้านมากถึงร้อยละ 52.9 แต่เด็กที่เกรดเฉลี่ยน้อยกว่า 2.5 ลอกการบ้านร้อยละ 41.7 ขณะที่เด็ก ม.ต้น ลอกการบ้าน ร้อยละ 38.9 แต่นักเรียน ม.ปลาย ลอกการบ้านถึงร้อยละ 51.7 ชี้ให้เห็นว่า เราจะผลิตคนซึ่งเรียนแบบไม่รู้เรื่องเยอะมาก และยังมีข้อมูลระบุด้วยว่า เด็กที่เกิดปีเดียวกัน 8 แสนคน เรียนจบระดับอุดมศึกษาเพียง 2-3 แสนคนเท่านั้น ที่เหลือมีวุฒิแค่ ม.6 ม.3 หรือต่ำกว่านั้น จะเห็นได้ว่า การสอนที่เน้นแต่วิชาการมันตอบโจทย์เด็กได้แค่ 3 ใน 10 คนเท่านั้น จึงถึงเวลาแล้วที่โจทย์การศึกษาต้องถูกยกระดับ และเปลี่ยนไปเป็นโจทย์เพื่อการมีชีวิตและการมีงานทำ ซึ่งในเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ทั้งภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น จะปล่อยให้กระทรวงศึกษาธิการทำเพียงลำพังไม่ได้

“มีเหตุผล 3 เรื่องหลักที่ทำให้ระบบการศึกษาไล่ไม่ทันเด็ก เริ่มจากภูมิหลังเด็กมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ครอบครัวไทยประมาณ 20 ล้านครอบครัวนั้น 1 ใน 4 เป็นครอบครัวไม่สมบูรณ์ ขณะที่ รูปแบบการใช้ชีวิตของเด็กไทยในขณะนี้เปลี่ยนไปมาก เด็กจึงต้องการครูเป็นพ่อแม่คนที่ 2 เด็กไทยอยู่ในภาวะที่ต้องการความรัก ความใส่ใจจากครูมากขึ้น แต่เมื่อดูจากความเป็นจริงจะพบว่า ระบบการศึกษาไทยทำให้ครูมีเวลาให้แก่เด็กน้อยลง เพราะครูต้องยุ่งอยู่กับภาระงานที่ไม่ใช่เรื่องการสอนค่อนข้างมาก เด็กจึงขาดที่พึ่ง และต้องอยู่ในภาวะเสี่ยงรุ่มเร้าหลายเรื่อง ขณะที่ระบบการศึกษาไทยก็มีปัญหา โดยเฉพาะในเรื่องการสอนทักษะชีวิตนั้น ถือว่าไม่ทันสถานการณ์” นายอมรวิชช์ กล่าว

 http://www.banmuang.co.th/2013/06/%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%9
7%E0%B8%A23%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%8B%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%
B9%8A%E0%B8%8424%E0%B8%8A%E0%B8%A1/

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.