Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

10 มิถุนายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสท เชิญชวน อินทัช AIS สามารถคอร์ปอเรชั่น จะใช้โครงข่ายและสถานีฐานกระจายสัญญาณการออกอากาศ



ประเด็นหลัก



พ.อ.นที กล่าวอีกว่า สำหรับความคืบหน้าเรื่องการออกใบอนุญาตให้บริการ (ไลเซนส์) โครงข่ายในระบบทีวีดิจิตอล (Mux) นั้น ขณะนี้ ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะให้ผู้ประกอบกิจการรายใดบ้าง และจะให้พร้อมกันทั้ง 6 รายหรือไม่ แต่ยืนยันว่าจะให้ไลเซ่นส์ได้แน่นอนภายในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ เพื่อให้ทันการประมูลทีวีดิจิตอลในช่วง ก.ย.2556



ประธาน กสท กล่าวด้วยว่า การให้ไลเซ่นส์โครงข่ายฯ สามารถดำเนินการได้ ถ้าการอนุญาตนั้นสนันสนุนการเปลี่ยนผ่านระบบจากอะนาล็อกสู่ดิจิตอล และการประกาศเชิญชวนโดยทั่วไป ซึ่งต้องพิจารณาตามหลักการและเหตุผล ขณะที่ ล่าสุดมีผู้ประกอบกิจการยื่นขอไลเซ่นส์แล้วจำนวน 4 ราย ประกอบด้วย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยช่อง 11 และไทยพีบีเอส แต่ยังไม่สามารถให้ได้ เนื่องจากเอกสารที่ยื่นขอยังไม่ครบ ส่วนบริษัทเอกชนที่สนใจ หาก กสท ประกาศเชิญชวน อาทิ บริษัท อินทัช จํากัด (มหาชน) ที่จะใช้โครงข่ายและสถานีฐานของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (หมหาชน) หรือเอไอเอส และ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน).






______________________________________






กสทช.โวให้ไลเซ่นส์โครงข่ายฯ ดิจิตอล มิ.ย.- ไร้วาระ TGT3


บอร์ด กสท ฟุ้งให้ไลเซ่นส์โครงข่ายฯ ทีวีดิจิตอลภายใน มิ.ย.นี้ ไร้วาระ TGT3 ระบุต้องเข้า สนง.กสทช. พิจารณาก่อนส่งเข้าบอร์ด กสท ตัดสิน...

เมื่อวันที่ 10 มิ.ย. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสท ว่า วันนี้ ที่ประชุมไม่มีการพิจารณาเรื่อง รายการไทยแลนด์ ก๊อตทาเลนต์ ซีซั่น 3 (TGT3) กรณีนายสิทธัตถะ เอมเมอรัล ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มิ.ย.2556 ทางไทยทีวีสีช่อง 3 แต่มีการเสนอวาระเข้ามา



รองประธาน กสท กล่าวต่อว่า ตามขั้นตอน กรณีดังกล่าวต้องเข้าสู่สำนักงาน กสทช.ก่อน โดย พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการ กสทช. ในฐานะประธานอนุกรรมการกำกับเนื้อหาพิจารณาก่อนส่งกลับบอร์ด กสท เพื่อพิจารณาตัดสิน ซึ่งหากนำเข้าบอร์ด กสท ในครั้งนี้ จะทำให้ระยะเวลาในการพิจารณายืดออกไปอีกประมาณ 1 สัปดาห์



สำหรับ กรณี TGT3 ล่าสุด เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ เข้ายื่นหนังสือ ต่อ กสทช. เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. ที่ผ่านมา พร้อมเรียกร้องให้ กสทช. พิจารณา 4 ข้อ ดังนี้ 1. ขอให้แสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพจิตของ "สิทธัตถะ เอมเมอรัล" เพื่อสร้างความกระจ่างกับสังคมอันจะนำไปสู่การพิจารณาเรื่องของความเหมาะสมในการนำเสนอตามจริยธรรมและจรรยาบรรณรวมถึงข้อกฎหมายต่างๆ  2. หากพบความพิการจริงตามความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้ดำเนินการต่อช่อง 3  เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ ตามกฎหมายสูงสุด พร้อมให้ผู้ผลิตรายการตลอดจนสถานีแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมโดยถอดรายการนี้ออกจากผังรายการ 3. ให้เชิญสายวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและกระจายเสียงมาพิจารณาและดำเนินการใช้กลไกการกำกับดูแลอย่างเต็มที่ ในกรณีพิสูจน์แล้วว่าผิดจริง และ 4. เรียกร้องให้ กสท ชงลงโทษ ทางปกครองสูงสุดต่อช่อง 3 ในฐานะผู้รับใบอนุญาตที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 37 พ.ร.บ.ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551  ห้ามมิให้ออกอากาศรายการที่มีเนื้อหา สาระ ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน



สำหรับกรณีที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน ระบุว่า กสท สอบตกเรื่องแผนการประชาสัมพันธ์ เรื่องการประมูลทีวีดิจิตอล ในส่วนของการทำให้ประชาชนรับรู้นั้น พ.อ.นที กล่าวว่า ขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านจากระบบอะนาล็อกสู่ดิจิตอลจะเป็นไปตามแผนที่ กสท กำหนดไว้อย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งขณะนี้ ประชาชนรับรู้แล้วว่าจะต้องเข้าสู่ระบบดิจิตอล ส่วนแผนการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเริ่มต้นใช้งานอย่างจริงจังหลังจากการประมูลเสร็จสิ้นลงตามลำดับ โดยกำหนดเฟสแรกไว้ประมาณต้นปี 2557



พ.อ.นที กล่าวอีกว่า สำหรับความคืบหน้าเรื่องการออกใบอนุญาตให้บริการ (ไลเซนส์) โครงข่ายในระบบทีวีดิจิตอล (Mux) นั้น ขณะนี้ ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะให้ผู้ประกอบกิจการรายใดบ้าง และจะให้พร้อมกันทั้ง 6 รายหรือไม่ แต่ยืนยันว่าจะให้ไลเซ่นส์ได้แน่นอนภายในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ เพื่อให้ทันการประมูลทีวีดิจิตอลในช่วง ก.ย.2556



ประธาน กสท กล่าวด้วยว่า การให้ไลเซ่นส์โครงข่ายฯ สามารถดำเนินการได้ ถ้าการอนุญาตนั้นสนันสนุนการเปลี่ยนผ่านระบบจากอะนาล็อกสู่ดิจิตอล และการประกาศเชิญชวนโดยทั่วไป ซึ่งต้องพิจารณาตามหลักการและเหตุผล ขณะที่ ล่าสุดมีผู้ประกอบกิจการยื่นขอไลเซ่นส์แล้วจำนวน 4 ราย ประกอบด้วย บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยช่อง 11 และไทยพีบีเอส แต่ยังไม่สามารถให้ได้ เนื่องจากเอกสารที่ยื่นขอยังไม่ครบ ส่วนบริษัทเอกชนที่สนใจ หาก กสท ประกาศเชิญชวน อาทิ บริษัท อินทัช จํากัด (มหาชน) ที่จะใช้โครงข่ายและสถานีฐานของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (หมหาชน) หรือเอไอเอส และ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน).







โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/350360

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.