Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 มิถุนายน 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) เร่งโครงข่ายด่วน++17 มิ.ย. นี้ // นทีคาด++ จัดประมูลวันละ 1 หมวดหมู่ เริ่มจากหมวดหมู่ความต้องการสูงก่อน



ประเด็นหลัก

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 56 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยกลุ่มงานส่งเสริมการแข่งขันและการกำกับดูแลตนเอง (จส.) จะจัดการประชุมกลุ่มย่อย (โฟกัสกรุ๊ป) ต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การประมูลความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ... เพื่อให้ได้รับข้อมูลในเชิงลึกจากหลากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุง (ร่าง) ประกาศฯ ต่อไป โดยมีผู้ประกอบที่สนใจเข้าร่วมจำนวนมาก เช่น บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อาร์เอส จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ว้อยซ์ทีวี ไทยพีบีเอส และไทยรัฐ เป็นต้น


พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการ กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า การประมูลทีวีดิจิตอลครั้งนี้ จัดประมูลวันละ 1 หมวดหมู่ โดยคาดว่าจะเริ่มจากการประมูลหมวดหมู่ที่มีความต้องการสูงก่อน ทั้งนี้ ดูจากหลักการสร้างโอกาสให้ทุกคนได้มีโอกาส เช่น ถ้าผิดหวังจากการประมูลครั้งแรก ก็สามารถเข้าประมูลครั้งที่ 2 ถ้าผิดหวังจากกลุ่มหนึ่ง ก็อาจมาอีกกลุ่มหนึ่งได้ ซึ่งท้ายสุดต้องดูว่าจะประมูลหมวดหมู่ไหนก่อน แต่ยังไม่ยุติ



ประธาน กสท. กล่าวต่อว่า รูปแบบการประมูลกำหนดเวลาไว้ที่ 60 นาที ถ้าครบกำหนด มีผู้ชนะเกินกว่าจำนวนช่องรายการ ก็จะขายเวลาต่ออีก 5 นาที และถ้าครบ 65 นาที หากเท่ากันอยู่ ก็จะขยายไปอีกครั้งละ 5 นาที จนกว่าจะได้ผู้ชนะจึงยุติการประมูล ส่วนรูปแบบการดีไซน์ประมูลครั้งนี้เป็นครั้งแรกของโลก ไทยประมูลมากว่า 2 แสนครั้ง แต่ กสทช. ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ชนะราคาอยู่ใกล้กัน หรือชนะเป็นกลุ่ม อยู่ในกรอบ ไม่สูงเกินไป และราคาไม่แตกต่างกันมาก




______________________________________






โครงข่ายฯไม่คืบ! ผู้ประกอบการยอมรับสะดุด-ซัด กสทช.ล่าช้า


กสทช.เปิดโฟกัสกรุ๊ปผู้ประกอบการ และรับฟังความคิดเห็นต่อ ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การประมูลทีวีดิจิตอล ด้านผู้ปะกอบการยอมรับติดเรื่องโครงข่ายฯ ไปต่อไม่ได้ ขณะที่ กสทช.เผยโครงข่ายฯ เข้าบอร์ด กสท. 17 มิ.ย. 56...

เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 56 สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) โดยกลุ่มงานส่งเสริมการแข่งขันและการกำกับดูแลตนเอง (จส.) จะจัดการประชุมกลุ่มย่อย (โฟกัสกรุ๊ป) ต่อร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การประมูลความถี่ เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ พ.ศ. ... เพื่อให้ได้รับข้อมูลในเชิงลึกจากหลากหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการปรับปรุง (ร่าง) ประกาศฯ ต่อไป โดยมีผู้ประกอบที่สนใจเข้าร่วมจำนวนมาก เช่น บริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) บริษัท เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อาร์เอส จีเอ็มเอ็มแกรมมี่ ว้อยซ์ทีวี ไทยพีบีเอส และไทยรัฐ เป็นต้น




พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการ กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า การประมูลทีวีดิจิตอลครั้งนี้ จัดประมูลวันละ 1 หมวดหมู่ โดยคาดว่าจะเริ่มจากการประมูลหมวดหมู่ที่มีความต้องการสูงก่อน ทั้งนี้ ดูจากหลักการสร้างโอกาสให้ทุกคนได้มีโอกาส เช่น ถ้าผิดหวังจากการประมูลครั้งแรก ก็สามารถเข้าประมูลครั้งที่ 2 ถ้าผิดหวังจากกลุ่มหนึ่ง ก็อาจมาอีกกลุ่มหนึ่งได้ ซึ่งท้ายสุดต้องดูว่าจะประมูลหมวดหมู่ไหนก่อน แต่ยังไม่ยุติ



ประธาน กสท. กล่าวต่อว่า รูปแบบการประมูลกำหนดเวลาไว้ที่ 60 นาที ถ้าครบกำหนด มีผู้ชนะเกินกว่าจำนวนช่องรายการ ก็จะขายเวลาต่ออีก 5 นาที และถ้าครบ 65 นาที หากเท่ากันอยู่ ก็จะขยายไปอีกครั้งละ 5 นาที จนกว่าจะได้ผู้ชนะจึงยุติการประมูล ส่วนรูปแบบการดีไซน์ประมูลครั้งนี้เป็นครั้งแรกของโลก ไทยประมูลมากว่า 2 แสนครั้ง แต่ กสทช. ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ชนะราคาอยู่ใกล้กัน หรือชนะเป็นกลุ่ม อยู่ในกรอบ ไม่สูงเกินไป และราคาไม่แตกต่างกันมาก




“เหตุการณ์เดดล็อก ถ้าขยายระยะเวลาแล้ว เมื่อขยายเวลาแล้ว แต่ไม่มีใครเคาะราคาเพิ่มจะยุติการประมูล และจับฉลาก แต่หากขยายเวลาแล้ว คนที่สูสีกันมาไม่สนใจ แต่คนที่ตามหลังสนใจก็จะดำเนินการประมูลต่อไปจนกว่าจะได้ผู้ชนะ ส่วนการออกแบบระบบต้องการผู้ชนะ 1-7 อยู่ในลำดับที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ เหมือนการวิ่ง 1 หมื่นเมตร หากหวดแรงก่อนจะหมดแรงก่อน เพราะฉะนั้น ถ้าถึงวินาทีสุดท้าย จะเร่งเคาะเท่าไรก็จะไม่ทันรายอื่น ต้องการให้เกาะกลุ่มกันตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงนาทีสุดท้าย” พ.อ.นที กล่าว



ประธาน กสท. กล่าวอีกว่า สิ่งที่ผู้ประกอบการจะเห็นในระหว่างการประมูล ได้แก่ ราคาของผู้ประมูล ผู้ประมูลเป็นผู้ชนะหรือไม่ และราคาต่ำสุดที่ชนะอยู่ที่เท่าไร เพราะการให้ข้อมูลที่มากเกินไป อาจไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้จัดประมูล อย่างไรก็ตาม ก่อนการประมูลจะเกิดขึ้น กสทช. จะมีการทดสอบการประมูลให้ทั้งผู้สื่อข่าว ผู้ประกอบการ เพื่อหาจุดบกพร่อง และล็อกสถานที่ประมูล 6-7 วัน เข้าทดลองทดสอบ และยืนยันว่าการประมูลจะเดินตามกรอบเดิมในช่วงเดือน ก.ย.2556 ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

ด้าน น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการ กสทช. และกรรมการ กสท. กล่าวว่า ขณะนี้ ยังมีผู้ประกอบการที่ไม่เผยราคาโครงข่ายฯ ที่แท้จริง ซึ่ง กสทช.อาจต้องหามาตรการกำกับเรื่องนี้ โดยต้องหาราคากลางเอง ในฐานะองค์กรกำกับดูแลหากผู้ประกอบการไม่กำหนดราคาขึ้นมา ซึ่งส่วนตัวจะนำเรื่องโครงข่ายฯ เข้าที่ประชุมบอร์ด กสท. ในวันที่ 17 มิ.ย.นี้





ส่วนนายฉัตรชัย ตะวันธรงค์ บรรณาธิการบริหาร บริษัท เทรนด์ วีจี 3 จำกัด ตัวแทนจากไทยรัฐ กล่าวว่า ขณะนี้ อยากทราบความชัดเจนเรื่องโครงข่ายฯ และต้องการทราบว่า การกำหนดจำนวนช่องรายการแต่ละหมวดหมู่ ทั้ง 24 ช่องรายการ แบ่งเป็นช่องเด็ก 3 ช่อง ช่องข่าว 7 ช่องรายการ ช่องทั่วไป (SD) 7 ช่องรายการ และช่องทั่วไป (HD) 7 ช่องรายการ ศึกษามาอย่างไร รวมทั้งเรื่องการแบ่งชำระค่าใบอนุญาตออกเป็นแต่ละงวด พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะให้ กสทช. ปรับระยะเวลาเรื่องการออกอากาศรายการหลังได้รับใบอนุญาตจากเดิมที่กำหนดไว้ 45 วัน



ขณะเดียวกัน นายมานพ โตกาารค้า ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด (ไอพีเอ็ม) กล่าวว่า ขณะนี้ อยู่ระหว่างตัดสินใจว่าจะเข้าประมูลช่องรายการประเภทใด ระหว่างเด็กและช่องทั่วไป ซึ่งปัจจัยในการตัดสินใจอยู่ที่ราคาตั้งต้นการประมูล ราคาที่จ่ายให้ผู้ให้บริการโครงข่าย ซึ่งต้องรอความชัดเจนจาก กสทช.

ทางด้านตัวแทนจากเวิร์คพอยท์ กล่าวว่า ในฝั่งธุรกิจ เรื่องโครงข่ายมีผลกระทบต่อเรื่องต้นทุน เพราะถ้าแพงมาก อาจจะทำให้ผู้ประกอบการหลายรายหนีไปทำช่องทางอื่น ซึ่งอาจจะมีการประมูล แต่เกิดการต่อรอง

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังระบุในเวทีโฟกัสกรุ๊ป ว่า ต้องการความชัดเจนเงื่อนไขและราคาโครงข่ายฯ ตลอดจนพื้นที่ให้บริการของผู้ประกอบการโครงข่ายที่ผู้ประกอบการช่องรายการต้องเช่า โดยเฉพาะค่าเช่าโครงข่ายฯ ซึ่งมีผลต่อต้นทุนประกอบธุรกิจ และการตัดสินใจเข้าประมูลครั้งนี้.











โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/350599

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.