Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

14 มิถุนายน 2556 ขัดแข้งขัดขา TOT CAT เหตุถูกค่ายมือถือในสัปทาน ตัดสินใจยังไม่ส่งเสา และอุปกรณ์รวมที่ดิน รออนุญาโตตุลาการ ติดความ



ประเด็นหลัก


ความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)แล้วก็ตาม แต่การตั้งบริษัทดังกล่าวของทั้ง 2 บริษัท อาจจะต้องล่าช้าออกไปอีก เนื่องจาก คู่สัญญาเอกชนของ กสท คือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ ดีแทค และ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ยังไม่ได้โอนเสาสัญญาณให้ กสท ตามสัญญาสัมปทาน และอยู่ระหว่างรอการโอน

ประกอบกับที่ผ่านมาทาง กสท เอง ก็ได้ยื่นเรื่องต่อหน่วยงานยุติธรรมเพื่อให้ตีความว่า ในส่วนของอุปกรณ์ต่างๆในส่วนของสถานีฐานที่พ่วงมากับเสาสัญญาณ อาทิ ที่ดินตั้งเสาสัญญาณ และอุปกรณ์ต่างๆที่ทำงานเชื่อมต่อใช้งานกับเสาสัญญาณ ว่า เมื่อสัญญสัมปทานสิ้นสุดในเดือนกันยายนปีนี้แล้ว จะต้องส่งคืนตามสัญญสัมปทานด้วยหรือไม่ โดยกระบวนการยังคงค้างอยู่ในชั้นอนุญาโตตุลาการในการตีความ

ทั้งนี้ กสท จะตั้งบริษัทในนาม บริษัทไฟเบอร์โค ส่วน ทีโอที จะตั้งบริษัทในนาม บริษัท ทาวเวอร์โค เพื่อให้ภาคเอกชนเช่าใช้อุปกรณ์โทรคมนาคม อาทิ สายไฟเบอร์ และ เสาสัญญาณ

มว.ไอซีที กล่าวว่า ส่วนกรณีของ ทีโอที ซึ่งเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส โดยแม้ที่ผ่านมา เอไอเอสได้โอนเสาสัญญาณให้แก่ทีโอที แล้ว จำนวนราว 13,000 สถานีฐาน แต่จากการที่ กสท ยังมีปัญหาเรื่องทรัพย์สินยังอยู่ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ จึงส่งให้แผนการให้บริการจัดตั้งบริษัทของทีโอทียังไม่มีความคืบหน้ามากนัก เพราะในแง่การตีความกฎหมายของอนุญาโตตุลาการของคู่สัญญา กสท นั้นอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน เพราะหากกรณีดังกล่าวถูกตัดสินว่าให้ภาคเอกชนส่งคืน เฉพาะเสาสัญญาณ ทางทีโอที ก็ไม่สามารถใช้งานในรูปแบบสถานีฐานทั้งหมดที่ได้รับโอนจากเอไอเอสได้เช่นกัน



______________________________________





3จีเฟส2ทีโอทีสะดุดเอกชนยังไม่คืนสถานีฐาน


รมว.ไอซีที ครวญเอกชนดีแทคและทรูมูฟยังไม่คืนสถานีฐาน ส่งผลให้การขยายเครือข่ายโครงการ 3 จี ของทีโอทีสะดุด
 น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของแผนการใช้โครงข่ายร่วมกันระหว่าง บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ว่า แผนการใช้โครงข่ายร่วมกันของทั้ง 2 รัฐวิสาหกิจรวม 3 หมื่นสถานีฐาน อาจไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากคู่สัญญาที่เป็นบริษัทเอกชนของ กสทฯ คือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค และ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ยังไม่ได้โอนสถานีฐานให้กสทฯ ตามสัญญาจ้าง โอน ให้บริการ

 อย่างไรก็ตาม การที่ กสทฯ ยังติดปัญหาในเรื่องทรัพย์สินที่ยังไม่ได้รับคืน อีกทั้งเรื่องดังกล่าวยังอยู่ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ส่งผลให้แผนการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ของทีโอทียังไม่ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าทีโอทีจะได้รับการโอนสถานีฐานกว่า 2 หมื่นสถานีจาก บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส แล้วก็ตาม

 น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า แนวทางการหารายได้เพื่อทดแทนรายได้จากสัมปทานที่กำลังจะสิ้นสุดของทั้ง 2 หน่วยงานนั้น ขณะนี้กระทรวงไอซีทีอยู่ระหว่างรอให้กสทฯ เสนอแผนการให้บริการเอชเอสพีเอมูลค่า 2.5 หมื่นล้านบาท คาดว่ากสทฯ จะเสนอให้กระทรวงไอซีทีได้ภายในเดือนก.ค.นี้  หลังจากนั้นจะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ขณะที่การหารายได้ของทีโอทีจะเน้นการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (บรอดแบนด์) และการเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายแอลทีอี (4 จี) ที่ทีโอทีจะลงทุนเฟส 2 มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท

 ทั้งนี้ หากกสทฯ และ ทีโอทีไม่เตรียมแผนรองรับหลังสัมปทานสิ้นสุดลงจะส่งผลให้ กสทฯ ขาดทุนทันทีในปี 2556 ราว  1,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม หากแผนการดำเนินการต่างๆ เป็นไปตามที่กำหนด ทั้ง ทีโอที และ กสทฯ จะสามารถผ่านวิกฤตไปได้แน่นอน

ด้านนายอุดม พัวสกุล ประธานกรรมการบริหาร (บอร์ด) ทีโอที กล่าวว่า  แผนทาวเวอร์โคที่ล่าช้าลงส่งผลกระทบต่อโครงการ 3 จี เฟส 2 จำนวน 1.5 หมื่นสถานี เนื่องจากเฟส 2 ทีโอทีจะเน้นเปิดบริการให้เอกชนเช่าใช้เป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ทีโอทีจะเร่งสรุปให้ได้ภายใน 3 เดือนนี้ และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้จะสามารถสรุปวันดำเนินการและงบประมาณที่ต้องแบ่งใช้จริง.

http://www.dailynews.co.th/technology/211952

________________________________

แผนบริษัทลูก “ทีโอที-กสท” เจอตอ


น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า แม้การจัดตั้งบริษัทลูกของทาง บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) จะผ่าน

ความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)แล้วก็ตาม แต่การตั้งบริษัทดังกล่าวของทั้ง 2 บริษัท อาจจะต้องล่าช้าออกไปอีก เนื่องจาก คู่สัญญาเอกชนของ กสท คือ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด(มหาชน) หรือ ดีแทค และ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด ยังไม่ได้โอนเสาสัญญาณให้ กสท ตามสัญญาสัมปทาน และอยู่ระหว่างรอการโอน

ประกอบกับที่ผ่านมาทาง กสท เอง ก็ได้ยื่นเรื่องต่อหน่วยงานยุติธรรมเพื่อให้ตีความว่า ในส่วนของอุปกรณ์ต่างๆในส่วนของสถานีฐานที่พ่วงมากับเสาสัญญาณ อาทิ ที่ดินตั้งเสาสัญญาณ และอุปกรณ์ต่างๆที่ทำงานเชื่อมต่อใช้งานกับเสาสัญญาณ ว่า เมื่อสัญญสัมปทานสิ้นสุดในเดือนกันยายนปีนี้แล้ว จะต้องส่งคืนตามสัญญสัมปทานด้วยหรือไม่ โดยกระบวนการยังคงค้างอยู่ในชั้นอนุญาโตตุลาการในการตีความ

ทั้งนี้ กสท จะตั้งบริษัทในนาม บริษัทไฟเบอร์โค ส่วน ทีโอที จะตั้งบริษัทในนาม บริษัท ทาวเวอร์โค เพื่อให้ภาคเอกชนเช่าใช้อุปกรณ์โทรคมนาคม อาทิ สายไฟเบอร์ และ เสาสัญญาณ

มว.ไอซีที กล่าวว่า ส่วนกรณีของ ทีโอที ซึ่งเป็นคู่สัญญาสัมปทานกับ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) หรือเอไอเอส โดยแม้ที่ผ่านมา เอไอเอสได้โอนเสาสัญญาณให้แก่ทีโอที แล้ว จำนวนราว 13,000 สถานีฐาน แต่จากการที่ กสท ยังมีปัญหาเรื่องทรัพย์สินยังอยู่ในกระบวนการอนุญาโตตุลาการ จึงส่งให้แผนการให้บริการจัดตั้งบริษัทของทีโอทียังไม่มีความคืบหน้ามากนัก เพราะในแง่การตีความกฎหมายของอนุญาโตตุลาการของคู่สัญญา กสท นั้นอยู่บนมาตรฐานเดียวกัน เพราะหากกรณีดังกล่าวถูกตัดสินว่าให้ภาคเอกชนส่งคืน เฉพาะเสาสัญญาณ ทางทีโอที ก็ไม่สามารถใช้งานในรูปแบบสถานีฐานทั้งหมดที่ได้รับโอนจากเอไอเอสได้เช่นกัน

http://www.naewna.com/business/55600

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.