Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 มิถุนายน 2556 กสทช มีมติอย่างเป็นทางการ ให้ CAT จ้าง TRUEMOVE และ GSM1800 1ปีหลังหมดสป. พร้อมอนุมัติร่างป้องกัน SIM ดับ



ประเด็นหลัก



ที่ประชุมยังมีมติ 7 ต่อ 2 โดยคณะกรรมการส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างประกาศ เพื่อให้ กสท ว่าจ้าง ทรูมูฟ และเอไอเอส ให้บริการระยะเวลา 1 ปีจนกว่าจะเปิดประมูลหาผู้มาให้บริการ เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน และยังต้องคงสิทธิ์
        ทั้งนี้เพื่อดำเนินการควบคู่ไปกับมาตรการอื่น ในการประชาสัมพันธ์ผู้ใช้บริการเร่งรัดการโอนใช้หมายเลข เพื่อไปใช้บริการกับผู้ให้บริการรายอื่น หรือใช้ช่องทางการโอนย้ายสำหรับการคงสิทธิ์เบอร์เดิม
        นายฐากร กล่าวต่อไปว่า หลังจากนี้ กสทช.จะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับรายได้การให้บริการจะถูกส่งไปยังหน่วยงานใดระหว่าง กสทช. กับรัฐบาล โดย กสท เพราะมีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท เมื่อได้ข้อสรุปจะนำกลับมาเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช.อีกครั้งประมาณกลางเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อให้ทันก่อนสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง เนื่องจาก กสทช.จะต้องเร่งดำเนินการไม่อย่างนั้น จะถูกฟ้องข้อหายกเว้นปฏิบัติหน้าที่ทำให้ซิมดับ














______________________________________






กสทช.เห็นชอบร่างประกาศป้องกันปัญหาซิมลูกค้าดับ



       นายฐากร ตันทสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุม กสทช. เห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือ สัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่.... ซึ่งเป็นร่างประกาศป้องกันไม่ให้มีปัญหาซิมดับกระทบต่อประชาชนผู้ใช้บริการมือถือระบบเซลลูลา 1800 ประมาณ 18 ล้านราย เนื่องจากปัจจุบัน บมจ.กสท โทรคมนาคมให้สัมปทานกับบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (เอไอเอส) กำหนดสิ้นสุดหมดสัญญาสัมปทาน วันที่ 15 กันยายน 2556
        นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติ 7 ต่อ 2 โดยคณะกรรมการส่วนใหญ่เห็นด้วยกับร่างประกาศ เพื่อให้ กสท ว่าจ้าง ทรูมูฟ และเอไอเอส ให้บริการระยะเวลา 1 ปีจนกว่าจะเปิดประมูลหาผู้มาให้บริการ เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน และยังต้องคงสิทธิ์
        ทั้งนี้เพื่อดำเนินการควบคู่ไปกับมาตรการอื่น ในการประชาสัมพันธ์ผู้ใช้บริการเร่งรัดการโอนใช้หมายเลข เพื่อไปใช้บริการกับผู้ให้บริการรายอื่น หรือใช้ช่องทางการโอนย้ายสำหรับการคงสิทธิ์เบอร์เดิม
        นายฐากร กล่าวต่อไปว่า หลังจากนี้ กสทช.จะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับรายได้การให้บริการจะถูกส่งไปยังหน่วยงานใดระหว่าง กสทช. กับรัฐบาล โดย กสท เพราะมีมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท เมื่อได้ข้อสรุปจะนำกลับมาเสนอที่ประชุมคณะกรรมการ กสทช.อีกครั้งประมาณกลางเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อให้ทันก่อนสัญญาสัมปทานจะสิ้นสุดลง เนื่องจาก กสทช.จะต้องเร่งดำเนินการไม่อย่างนั้น จะถูกฟ้องข้อหายกเว้นปฏิบัติหน้าที่ทำให้ซิมดับ
        นอกจากนี้ กสทช.ยังต้องรอฟังมติคณะรัฐมนตรี เนื่องจากที่ผ่านมากระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ยืนยันมาโดยตลอดว่า เป็นการขยายอายุสัมปทานให้กับผู้ประกอบการรายเดิม เนื่องจากขั้นตอนการประมูลยังไม่มีความพร้อม ดังนั้นหากมติคณะรัฐมนตรีเป็นอย่างไรจะมีการประชุมบอร์ด กสทช.นัดพิเศษ เพื่อหารือเรื่องดังกล่าว


http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000074361&Keyword=%a1%ca%b7


__________________________________________


กสทช.ผ่านร่างเยียวยา 1800 MHz ไม่สนใจเสียงท้วงติง


       ตามคาด อาศัยระบอบเผด็จการเสียงข้างมากลากไปให้เอกชน กสทช.ผ่านร่างประกาศมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ร่างเยียวยา 1800 MHz) ตามสไตล์ 7 ต่อ 2 เผย 2 เสียงที่ค้านอยู่ด้านคุ้มครองผู้บริโภค “นพ.ประวิทย์” ติงควรมีการตีความด้านกฎหมายอย่างเคร่งครัดก่อนว่า กสทช.มีอำนาจขยายเวลาสัญญาสัมปทานหรือไม่ ส่วน “สุภิญญา” โวยถ้ามีเหตุผลในการคุ้มครองผู้ใช้บริการจริง ยังไม่เห็นร่างประกาศพูดถึงเรื่องการชดเชยให้ผู้บริโภค อาทิ การลดราคาค่าบริการเลย
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช.วันที่ 19 มิ.ย. มีมติ 7 ต่อ 2 เสียง เห็นชอบร่างประกาศ กสทช.เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. .... ตามที่คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ซึ่งบริษัท กสท โทรคมนาคม ให้สัมปทานแก่บริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอล โฟน ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดอายุสัมปทานลงในวันที่ 15 กันยายน 2556
     
       ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องหรือมีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะตามมาตรา 24 แห่ง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2555 เนื่องจากสัญญาให้ดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูลาร์ DIGITAL PCN 1800 ระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม กับบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน บริษัทในเครือเอไอเอส โดยทรูมูฟมีผู้ใช้บริการอยู่ในระบบราว 17 ล้านเลขหมาย และดีพีซีราว 8 หมื่นล้านเลขหมายที่อาจได้รับผลกระทบจากการสิ้นสุดสัญญาการให้บริการ ดังนั้น กสทช.จะต้องกำหนดมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเพื่อบังคับใช้กับผู้ให้สัมปทานและผู้รับสัมปทานที่จะสิ้นสุดลง
     
       โดยหลังจากนี้สำนักงาน กสทช.จะนำร่างดังกล่าวไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) ภายในสัปดาห์หน้าต่อไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 30 วันก่อนนำเข้าบอร์ด กทค.และบอร์ด กสทช.ภายในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณาก่อนนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลบังคับใช้ก่อนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเดือน ก.ย.
     
       ส่วนเนื้อหาสาระสำคัญของร่างประกาศดังกล่าวกำหนดให้เมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานลงจะต้องมีผู้ให้บริการมีหน้าที่ให้บริการต่อไปเป็นการชั่วคราวเพื่อการเยียวยาลูกค้า และเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการประมูลคลื่นความถี่ซึ่งต้องไม่เกิน 1 ปีนับตั้งแต่วันสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน
     
       “ร่างประกาศดังกล่าวยังไม่ได้ระบุว่าใครจะเป็นผู้ให้บริการ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลลูกค้าที่อยู่บนคลื่นความถี่ 1800 MHz ต่อไปหลังสิ้นสุดสัมปทาน เนื่องจาก กสทช.ต้องการนำร่างไปประชาพิจารณ์ก่อนเพื่อนำความคิดเห็นต่างๆ มาพิจารณาในที่ประชุมอีกรอบก่อนระบุลงในประกาศว่าใครมีสิทธิในการให้บริการต่อไป”
     
       ขณะเดียวกัน ในประเด็นเรื่องของการจ่ายส่วนแบ่งรายได้ภายหลังหมดสัมปทานก็เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในที่ประชุมเนื่องจากยังหาข้อสรุปไม่ได้ ที่สำคัญเนื้อหาดังกล่าวยังไม่มีการเขียนอยู่ในร่างประกาศแต่อย่างใดเลย เพราะบอร์ด กสทช.ต้องการให้ประชาพิจารณ์ก่อน เพื่อหาข้อสรุปนำมาเขียนในร่างประกาศดังกล่าว
     
       “ประกาศนี้ไม่ใช่เป็นการต่อสัญญาสัมปทานแต่อย่างใด เนื่องจาก กสท ทรู และดีพีซี จะต้องไปเจรจากันเองว่าใครจะเป็นคนดูแลลูกค้า แต่ กสทช.มีอำนาจทางกฎหมายในการดำเนินการออกร่างประกาศเยียวยาได้ เพราะหากไม่มีมาตรการเยียวยาขึ้นมา และปล่อยให้ซิมดับ สุดท้าย กสทช.เองที่จะผิดกฎหมาย”
     
       ในการประชุมบอร์ด กสทช.ครั้งนี้ นายสุทธิพล ทวีชัยการ และนายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ ติดภารกิจต่างประเทศไม่ได้เข้าร่วมประชุมด้วย ทำให้มี 7 เสียงที่สนับสนุนร่างประกาศ ส่วนอีก 2 เสียงที่ไม่เห็นด้วยคือ นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และ น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช.ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ โดย นพ.ประวิทย์ให้ความเห็นต่อบอร์ด กสทช.ว่าควรจะนำร่างประกาศส่งไปให้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านกฎหมายตีความก่อนว่า กสทช.มีอำนาจในการขยายเวลาสัญญาสัมปทานภายหลังสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่
     
       ส่วน น.ส.สุภิญญาระบุว่ายังมีข้อสังเกตที่ไม่เห็นด้วยกับร่างประกาศใน 3 ประเด็น คือ 1. ประกาศฯ ดังกล่าวถือว่าเป็นการต่อสัญญาสัมปทานหรือไม่ ซึ่งยังไม่ชัดเจนในมิติกฎหมาย 2. กสทช.มีเวลาถึง 2 ปีในการเตรียมการประมูลคลื่น 1800 MHz นับจากวันที่รับตำแหน่ง ทำไมไม่เสนอเรื่องมาก่อนหน้านี้ และ 3. ถ้ามีเหตุผลในการคุ้มครองผู้ใช้บริการจริงหลังหมดสัญญาสัมปทาน ยังไม่เห็นประกาศฯ นี้ที่พูดเรื่องการชดเชยให้ผู้บริโภค อาทิ การลดราคาค่าบริการ หรือการใช้ฟรีอื่นๆ
     
       “ส่วนตัวมองว่าเหตุผลยังไม่ดีพอในการให้ยืดเวลาออกไปอีก 1 ปีเพื่อจัดการประมูลคลื่น 1800 MHz แทนที่ กสทช.จะมีการเตรียมการประมูลตั้งแต่ 1-2 ปีที่แล้ว ถึงแม้จะเป็นความล่าช้าในการเตรียมการประมูลจริง ก็ควรจะมีเงื่อนไขที่หนักแน่นมากกว่านี้”
     
       นายฐากรกล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช.ยังมีมติเห็นชอบผลการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและเห็นชอบต่อ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง กำหนดให้เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 พ.ศ. ... โดยหลังจากนี้จะนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้ต่อไป เช่นเดียวกับเห็นชอบในหลักการของ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง การอนุญาตให้ใช้เครื่องวิทยุคมนาคมสื่อสารระยะสั้น (Short Range Devices) ย่านความถี่วิทยุ 57-66 GHz ในลักษณะ Wireless Local Area Network (WLAN) หรือ Wireless Personal Area Network (WPAN) พ.ศ. ... และ (ร่าง)ประกาศ กสทช.ว่าด้วยมาตรฐานทางเทคนิคของเครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์ เรื่อง เครื่องวิทยุคมนาคมสื่อสารระยะสั้น (Short Range Devices) ย่านความถี่วิทยุ 57-66 GHz ในลักษณะ Wireless Local Area Network (WLAN) หรือ Wireless Personal Area Network (WPAN) พ.ศ. ... ก่อนนำไปเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะต่อไป
     
       นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติให้การสนับสนุนงบประมาณในการเป็นเจ้าภาพจัดงาน ITU TELECOM WORLD 2013 ในวงเงิน 30 ล้านบาท เพื่อเป็นการร่วมแสดงศักยภาพทางด้านการสื่อสารและโทรคมนาคมของประเทศไทย
     

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000074268&Keyword=%a1%ca%b7

_________________________________________________________________


กสทช.เล็งปูทาง “ดีพีซี-ทรูมูฟ”

เปิดให้บริการมือถือต่อ

หลังสัมปทานหมดกย.นี้

มีรายงานข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) แจ้งว่า ในการประชุม คณะกรรมการ(บอร์ด)กสทช. ในวันที่  19 มิถุนายนนี้ จะมีการหารือวาระ “ร่างประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาณการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ.... ” ตามที่ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม(กทค.) เสนอมา

          ทั้งนี้จะเป็นการรองรับ กรณีที่ คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ที่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (กสท) ให้สัมปทานกับ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด กำลังจะสิ้นสุดอายุสัมปทานลงในวันที่ 15 กันยายน 2556 โดยเนื้อหาหลักของร่างฯฉบับนี้ เป็นการให้อำนาจ กสทช. กำหนดให้มีผู้ให้บริการขึ้นมาทำหน้าที่ให้บริการต่อไปโดยใช้คลื่นความถี่ที่หมดอายุตามสัญญาสัมปทาน โดยไม่ต้องประมูลคลื่นความถี่ตาม ม. 45 ของ พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ ฯ พ.ศ. 2553 วัตถุประสงค์ก็คือจะเป็นการรองรับลูกค้าจำนวนหนึ่งของ ทรูมูฟ และดีพีซี ที่ยังไม่ย้ายค่ายไปให้บริการกับผู้ให้บริการรายใหม่ หรือย้ายไม่ทันก่อนสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลง

             แหล่งข่าวจาก กสทช.กล่าวว่า ร่างดังกล่าว นายประวิทย์  ลี่สถาพรวงศา หนึ่งในกรรมการ กสทช. และกรรมการ กทค. ได้มีความเห็นแย้งต่อมติ กทค. ดังกล่าว เพราะเห็นว่า กสทช. สามารถกำหนดมาตรการรองรับด้วยวิธีการอื่นที่ยังสามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้ โดยไม่ต้องออกร่างประกาศฉบับนี้ และ กสทช.เองไม่มีอำนาจออกร่างประกาศฯที่มีเนื้อหาในลักษณะดังกล่าว เพราะไม่มีฐานทางกฎหมายรองรับ รวมทั้งยังเป็นการอนุญาตให้ผู้ให้บริการทั้ง2ราย สามารถใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการโทรคมนาคมได้โดยไม่ต้องประมูลคลื่นความถี่ ซึ่งขัดกับกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553

                  “แผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ไม่ได้กำหนดให้ กสทช. สามารถพิจารณาขยายระยะเวลาการใช้งานคลื่นความถี่ได้ ดังนั้น เมื่อระยะเวลาการใช้งานคลื่นความถี่ของ  กสท สิ้นสุดลง กสทช. จึงไม่อาจพิจารณามอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบให้บริการเป็นการชั่วคราวโดยไม่ได้ดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ได้”

              แหล่งข่าวกล่าวว่า หากที่ประชุม กสทช. มีมติเห็นชอบตามร่างประกาศฉบับดังกล่าวจะคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีที่สัญญาสัมปทานของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส จะสิ้นสุดในปี 2558 และบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค ที่จะสิ้นสุดในปี 2561 ด้วย


http://www.naewna.com/business/56293

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.