Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 พฤษภาคม 2556 สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสาร (เพิ่มเติม) ประจำวัน 31/05/2556


สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสาร (เพิ่มเติม) ประจำวัน 31/05/2556

( ข้อจำกัดด้านข้อความ ข่าวที่เหลือ UP ผ่าน ช่องทางอื่นแทนครับ )

1....           แหล่งข่าว(ค่ายมือถือฟ้องแรง)BlackBerryไทยตัดสินใจทิ้งBBรุ่นเก่าอดใช้คลื่น2.1GHz(ถ้าเล่นเน็ตต้องตั้งค่าระบบใหม่ทุกครั้ง)
2....           CTH เล่นแรง+อินเทอร์เน็ตที่จะให้บริการขั้นต่ำจะอยู่ที่ 50 เมกะบิตต่อวินาที ค่าบริการขั้นต่ำที่กำหนดไว้คือ599 บาทต่อเดือน
3....           TRUEMOVE พยศ CAT (ประกาศก้าวสุดใจ) หลังหมดสัปทาน คนที่จะดูแลลูกค้า 16 ล้านเบอร์ TRUE อ้างลูกค้ามีสิทธิ์เลือก

_________________

(เพิ่มเติม)
1....    (เกาะติดประมูลDigital TV) สุภิญญาห่วงเนื้อหารายการหรือสื่อโฆษณาที่ไม่เหมาะสมให้แก่เยาวชนรับชม // IPM ชี้หลายรายเริ่มท้อกับการประมูลช่องรายการเด็ก ยังเห็นตรงกันว่าช่องรายการเด็กหารายได้ได้น้อย
2....    ผู้เชียวชาญหลายคนชี้ ไม่มีวันSIMดับ (หลังTRUEMOVEและGSM1800) หมดสัปทาน++ (ดร.จีรศิลป์ ชี้ลูกค้าค่ายไปใช้ผู้ให้บริการรายใหม่ ก็ต้องมั่นใจว่า เครื่องที่เรามีรองรับคลื่นความถี่ที่ให้บริการ )
3....   ลือ HTC One แผนการซื้อใจลูกค้าออกซอฟท์แวร์ pure Nexus ให้ลูกค้าใช้ได้โดยตรง++ รุ่นต่อไป HTC T6 แบตเตอรี่ขนาด 3300 มิลลิแอมป์และ OS Android Key Lime Pie
4....    กสทช.จี้ (ต้องคืนเงินลูกค้า) ถ้าย้ายค่ายในเครือข่ายเดียวกัน ต้องคืนเงิน และค่ายมือถือต้องแจ้งลูกค้าว่า หากโอนย้ายไปใช้งาน 3G จะมีปัญหาในการนำไปใช้งานในต่างประเทศ(เพราะทำสัญญาโรมมิ่งยังไม่ครอบคลุม)


31 พฤษภาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) สุภิญญาห่วงเนื้อหารายการหรือสื่อโฆษณาที่ไม่เหมาะสมให้แก่เยาวชนรับชม // IPM ชี้หลายรายเริ่มท้อกับการประมูลช่องรายการเด็ก ยังเห็นตรงกันว่าช่องรายการเด็กหารายได้ได้น้อย


ประเด็นหลัก



    นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ กสท. เปิดเผยภายในงานประชุมเพื่อระดมความคิดเห็น “โทรทัศน์ช่องเด็กและเยาวชนในยุคดิจิตอลที่พึงประสงค์” ว่า สำหรับร่างประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข การประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบทีวีดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ หรือการประมูลทีวีดิจิตอลช่องธุรกิจทั้ง 24 ช่อง ซึ่งในกลุ่มของช่องเด็กจำนวน 3 ช่อง ที่จะมีการจัดประมูลในครั้งนี้ เชื่อได้ว่าจะมีการแข่งขันกันสูงมาก เนื่องจากกระแสข่าวที่ผ่านมาบ่งบอกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่ต่างให้ความสนใจทั้งหมด
    ทั้งนี้สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ภายหลังจากมีการเปิดให้บริการทีวีดิจิตอลช่องเด็กแล้ว ผู้ประกอบการอาจนำเสนอเนื้อหารายการหรือสื่อโฆษณาที่ไม่เหมาะสมให้แก่เยาวชนรับชม ประกอบกับแนวทางการสอดส่องดูแลของ กสทช.ในเวลานี้จะอาศัยกระบวนการร้องเรียนเป็นหลัก จึงอยากขอให้ภาคประชาสังคมช่วยกันทำหน้าที่สอดส่องดูแลกันอย่างเข้มงวด



อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ ภายหลังจากมีการเปิดให้บริการทีวีดิจิตอลช่องเด็กแล้ว ผู้ประกอบการอาจนำเสนอเนื้อหารายการหรือสื่อโฆษณาที่ไม่เหมาะสมให้แก่เยาชนรับชม ประกอบกับแนวทางการสอดส่องดูแลของ กสทช. ในเวลานี้จะอาศัยกระบวนการร้องเรียนเป็นหลัก จึงอยากขอให้ภาคประชาสังคมช่วยกันทำหน้าที่สอดส่องดูแลกันอย่างเข้มงวด



นายมานพ โตการค้า ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอพีเอ็มทีวี จำกัด (ไอพีเอ็ม) กล่าวว่า หลังจากหารือร่วมผู้ประกอบการรายการเด็ก พบว่า มีหลายรายเริ่มท้อกับการประมูลช่องรายการเด็ก ด้วยกลไก และปัญหาที่ได้ศึกษามา ทั้งมูลค่าของการประมูล และประสบการณ์ของผู้ประกอบการ อีกทั้งจากการหารือกับผู้ประกอบการร่วม 30 ราย ยังเห็นตรงกันว่าช่องรายการเด็กหารายได้ได้น้อย และมีโอกาสในการทำช่องธุรกิจให้ประสบความสำเร็จค่อนข้างยาก จึงมีความกังวลว่าจะเข้าร่วมประมูลหรือไม่



“ส่วนตัวมองว่า การประมูลทีวีดิจิตอลไม่ควรเอาช่องรายการเด็กมาประมูล แต่มีความคิดเห็นว่าควรนำไปจัดอยู่ในประเภทเดียวกับประเภทช่องรายการสาธารณะ เพราะหารายได้ได้น้อย และถ้ามีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูง จะทำให้วัตถุประสงค์ของช่องรายการเด็กเปลี่ยนไป” ประธานกรรมการบริหาร ไอพีเอ็มทีวี กล่าว



นายมานพ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ ไอพีเอ็มอยู่ระหว่างตัดสินใจว่าจะเข้าประมูลช่องรายการประเภทใดระหว่างเด็ก และช่องทั่วไป ซึ่งปัจจัยในการตัดสินใจอยู่ที่ราคาตั้งต้นการประมูล ราคาที่จ่ายให้ผู้ให้บริการโครงข่าย ต้นทุนที่ใช้ในการผลิตหรือลิขสิทธิ์รายการต่างๆ  ที่นำมาเผยแพร่ และส่วนแบ่งรายได้ โดยเบื้องต้นเตรียมงบลงทุนการประมูลไว้ที่ 500 ล้านบาท ส่วนช่องรายการเด็กของไอพีเอ็มที่ให้บริการอยู่มีจำนวน 6 ช่องรายการ ก็ไม่สามารถหารายได้ได้ด้วยตนเองเลย ซึ่งต้องอาศัยรายได้เฉลี่ยจากช่องรายการอื่นเพื่อความอยู่รอด ประกอบการการวัดเรตติ้งของไอพีเอ็มที่ผ่านมา พบว่ารายการการ์ตูนญี่ปุ่นที่มีเนื้อหาแสดงพฤติกรรมความรุนแรง มีผู้รับชมมากที่สุด.










http://m.thairath.co.th/content/tech/348322
http://www.thaipost.net/news/010613/74359

______________________________________



31 พฤษภาคม 2556 ลือ HTC One แผนการซื้อใจลูกค้าออกซอฟท์แวร์ pure Nexus ให้ลูกค้าใช้ได้โดยตรง++ รุ่นต่อไป HTC T6 แบตเตอรี่ขนาด 3300 มิลลิแอมป์และ OS Android Key Lime Pie


ประเด็นหลัก



เรียกว่าเป็นแผนการแบบมาเหนือเมฆอยู่สักหน่อย หลังจากประกาศเปิดตัว HTC One Google Edition ไปเรียบร้อยช่วงดึกๆ เมื่อคืนตามเวลาบ้านเรา ก็ดูเหมือนว่าทาง HTC มีแผนการซื้อใจลูกค้ากลุ่มแรกที่ซื้อ HTC One ไปแล้วเหมือนกัน โดยมีรายงานออกมาว่าบริษัทกำลังสำรวจความเป็นไปได้ ที่จะนำโปรเจค AOSP ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์โดยตรงจาก Google ปล่อยให้กับผู้ที่ซื้อเครื่อง One ที่มีความประสงค์อยากจะสัมผัสประสบการณ์ใช้งานในแบบ pure Nexus ด้วยเช่นกัน

ดูเหมือนว่าการเปิดตัวของ HTC One และ Galaxy S4 นั้นจะเป็นแค่มวยคู่รองคั่นเวลา ก่อนที่คู่เอกรุ่นใหญ่จะขึ้นสังเวียนรอบปลายปีนี้เสียแล้ว หลังจากที่มีข่าวของ Galaxy Note 3 ออกมาไม่กี่วันก่อน คาดว่าจะยึดหน่วยประมวลผล Snapdragon 800 เป็นหลักพร้อมสเปคที่ต้องบอกว่าจัดหนัก (ข่าวก่อนหน้า) ก็ดูเหมือนว่าทาง HTC T6 ซึ่งคาดกันว่าจะเป็น Phablet ตัวแรกของค่ายจะไม่ยอมน้อยหน้าความอลังการแต่อย่างใด

โดยข้อมูลรายละเอียดอัพเดทของ HTC T6 นั้นมีดังนี้ ที่น่าสนใจคือ แบตเตอรี่ขนาด 3300 มิลลิแอมป์และ OS Android Key Lime Pie ที่ระบุไว้นั้นคงจะสร้างความฮือฮาได้ไม่น้อยเหมือนกัน



http://www.mxphone.net/310513-htc-may-considering-aosp-option-for-early-one-adopters/
http://www.mxphone.net/310513-more-info-on-htc-first-phablet-t6/
______________________________________




31 พฤษภาคม 2556 กสทช.จี้ (ต้องคืนเงินลูกค้า) ถ้าย้ายค่ายในเครือข่ายเดียวกัน ต้องคืนเงิน และค่ายมือถือต้องแจ้งลูกค้าว่า หากโอนย้ายไปใช้งาน 3G จะมีปัญหาในการนำไปใช้งานในต่างประเทศ(เพราะทำสัญญาโรมมิ่งยังไม่ครอบคลุม)


ประเด็นหลัก


ด้านปัญหาเงินเหลือในระบบเติมเงิน (พรีเพด) นั้น นายฐากรกล่าวว่า ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรื่อง มาตรฐานสัญญาของการให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ. 2549 ข้อ 34 ระบุว่า การคืนเงินให้ลูกค้าที่ย้ายค่ายเป็นเงินสดหรือเช็คให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน แต่ถ้าเป็นการย้ายภายในเครือเดียวกันต้องโอนเงินในระบบไปให้ลูกค้า ก่อนที่ลูกค้าจะโอนย้ายระบบ ผู้ให้บริการต้องแจ้งให้ทราบว่า หากโอนย้ายไปใช้งาน 3G จะมีปัญหาในการนำไปใช้งานในต่างประเทศ เนื่องจากทั้ง 3 รายยังทำสัญญาโรมมิ่งกับโอเปอเรเตอร์ในต่างประเทศไม่ครอบคลุม คาดว่าจะทำสัญญาโรมมิ่งกับผู้ให้บริการใน 50 ประเทศได้ในไตรมาส 3 ปีนี้


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1369919368

______________________________________

31 พฤษภาคม 2556 ผู้เชียวชาญหลายคนชี้ ไม่มีวันSIMดับ (หลังTRUEMOVEและGSM1800) หมดสัปทาน++ (ดร.จีรศิลป์ ชี้ลูกค้าค่ายไปใช้ผู้ให้บริการรายใหม่ ก็ต้องมั่นใจว่า เครื่องที่เรามีรองรับคลื่นความถี่ที่ให้บริการ )


ประเด็นหลัก


นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เคยอธิบายเรื่องนี้ว่า เรื่องซิมดับไม่ใช่เรื่องเลวร้ายที่จะเกิดขึ้นไม่ได้ แต่ยอมรับว่าจะมีผลกระทบจริง สิ่งที่สำคัญจึงอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้บริโภคไม่เดือดร้อน ขณะที่ตัวผู้บริโภคเองก็ต้องทราบและเท่าทันต่อสถานการณ์ที่ว่า เมื่อถึงกลางเดือน ก.ย. บริการของบริษัททรูมูฟและบริษัทดิจิตอลโฟนจะไม่มีอีกต่อไป ซึ่งคนที่ใช้บริการของทั้งสองรายมีโจทย์ว่าจะต้องหาบริการทดแทน และถ้าหากต้องการรักษาเลขหมายที่ใช้อยู่ก็ควรต้องดำเนินการโอนย้ายค่าย หรือใช้บริการคงสิทธิเลขหมาย (Mobile Number Portability) กับค่ายใหม่



ดร.จีรศิลป์ จยาวรรณ ประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ธุรกิจโทรคมนาคม ภาควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในฐานะนักวิชาการด้านโทรคมนาคม อธิบายถึงเรืองซิมดับว่า หลังจากที่ได้อ่านข่าวที่ทางกสทช.ออกมาเตือนผู้บริโภคที่ใช้งานเครือข่ายทรูมูฟ เรื่องซิมดับก็รู้สึกแปลกใจ เพราะในทางเทคนิคซิมการ์ดไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องสัญญาสัมปทาน ซิมการ์ด (Sim Card) เป็นเพียงการ์ดหน่วยความจำเล็กๆ ที่บรรจุข้อมูลบางอย่าง เพื่อที่ใช้ยืนยันตัวคลื่นสัญญาณการบริการระหว่าง เสาสัญญาณและตัวโมบายล์ดีไวซ์ เรื่องซิมดับไม่น่าเกี่ยวข้องกับตัวซิมการ์ด หรือ ทำให้ซิมการ์ดเสียได้

นักวิชาการด้านโทรคมนาคม กล่าวต่อว่า ในความเข้าใจส่วนตัว "ซิมดับ" อาจหมายถึง เรื่องของความถี่ในการติดต่อระหว่างเครื่องมือถือ และตัวฐานเสาสัญญาณ ที่ไม่สามารถติดต่อกันได้ เรื่องจากไม่สามารถใช้ความถี่สัญญาณนั้นๆ เมื่อคลื่นตัวนั้นใช้ไม่ได้ ก็เลยทำให้ใช้ติดต่อสื่อสารไม่ได้ หรือ การให้บริการไม่อาจทำได้ เพราะคลื่นความถี่นั้นๆ หายไป เรื่องนี้จึงน่าจะเป็นที่เครื่องมือถือของผู้บริโภคสามารถรับความถี่แบบใด ตรงกับที่ผู้ให้บริการได้ให้บริการหรือไม่ และให้บริการ 3G หรือ 4G บนความถี่ใดมากกว่า



ยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการ ก.ให้บริการ 3G ที่ความถี่ 850 MHz ผู้บริโภคนำเครื่องเก่ามาใส่ซิมใหม่ เป็น ซัมซุง รุ่น กาแลคซี่ เอส (ตัวแรก) ก็จะได้ความเร็วในการเชื่อมต่อดาต้าแค่ Edge เพราะตัวเครื่องไม่รองรับ 3G บนความถี่ 850 MHz แต่ถ้าใส่ซิมของ ผู้ให้บริการ ข.ที่เป็นความถี่ 900 MHz หรือ ผู้บริการ ค.ที่เป็นความถี่ 2100MHz ใช้งานได้ไม่มีปัญหา

ดร.จีรศิลป์ กล่าวอีกว่า เรื่องซิมดับ หรือ การหมดสัญญาสัมปทาน ความจริงเชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีมาตรการรองรับการเปลี่ยนผ่านของลูกค้า แต่เชื่อว่าในส่วนนโยบายอาจจะมีปัญหาบ้างระหว่าง กสทช.และโอเปอเรเตอร์ ส่วนลูกค้าก็ต้องเตรียมพร้อมในส่วนของมือถือที่ใช้ ว่ารองรับกับความถี่ใหม่ของผู้ให้บริการเดิม หรือ หากย้ายค่ายไปใช้ผู้ให้บริการรายใหม่ ก็ต้องมั่นใจว่า เครื่องที่เรามีรองรับคลื่นความถี่ที่ให้บริการ 3G หรือ 4G ได้





















http://m.thairath.co.th/content/tech/348081

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.