Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 กรกฎาคม 2556 (โดนด่าเรื่องผลเอื้อเอกชน) กสทช.ปรับมุก(เก็บเงินหลังหมดสัมปทาน1ปี)!! TRUEMOVE และ GSM1800 ต้องส่งคลังจัดเต็มหักเพียงค่าเช่าโครงข่ายCATและค่าบริหารจัดการ


ประเด็นหลัก



“หลังจากร่างประกาศนี้ได้เผยแพร่ออกไป มีนักวิชาการหลายท่านท้วงติงเข้ามา ทางสำนักงานจึงได้ปรับแนวคิดโดยจะนำรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว หักต้นทุนค่าเช่าโครงข่ายที่ต้องจ่ายให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม และต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของผู้ให้บริการ อย่าง ทรูมูฟ และดีพีซี มาหักออก ส่วนที่เหลือจะนำส่งเป็นรายได้เข้ากระทรวงการคลังทั้งหมด เพื่อยืนยันให้ชัดเจนว่าเป็นมาตรการเยียวยาผู้บริโภค ไม่ใช่การต่ออายุสัมปทาน และจะไม่มีการออกใบอนุญาตประเภทใดๆ ให้กับผู้ดำเนินการในช่วงเวลาดังกล่าว จึงจะไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต หรือต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนา ของ กสทช. แต่อย่างใด”


โดยจะขอให้มีการตั้งคณะทำงานพิจารณารายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างมาตรการเยียวยามาเป็นผู้พิจารณา คณะทำงานชุดนี้จะประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพิจารณารายได้และรายจ่ายดังกล่าวเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม







______________________________________





กสทช.กลัวโดนฟ้อง เตรียมเสนอให้นำรายได้ “ทรูมูฟ-ดีพีซี” หลังสัมปทานหมดเป็นเงินแผ่นดิน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (25 ก.ค. ) สำนักงาน กสทช. จะนำ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. .... เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ ณ สโมสรทหารบก ถนนวิภาวดี กรุงเทพมหานคร โดยทางสำนักงาน กสทช. จะนำข้อเสนอใหม่เกี่ยวกับการจัดการรายได้ที่จะเกิดขึ้นในช่วงเยียวยาผู้บริโภค1 ปี เข้าไปเสนอในการรับฟังความเห็นสาธารณะด้วย

โดยจะขอให้มีการตั้งคณะทำงานพิจารณารายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างมาตรการเยียวยามาเป็นผู้พิจารณา คณะทำงานชุดนี้จะประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันพิจารณารายได้และรายจ่ายดังกล่าวเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรม

“หลังจากร่างประกาศนี้ได้เผยแพร่ออกไป มีนักวิชาการหลายท่านท้วงติงเข้ามา ทางสำนักงานจึงได้ปรับแนวคิดโดยจะนำรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว หักต้นทุนค่าเช่าโครงข่ายที่ต้องจ่ายให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม และต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของผู้ให้บริการ อย่าง ทรูมูฟ และดีพีซี มาหักออก ส่วนที่เหลือจะนำส่งเป็นรายได้เข้ากระทรวงการคลังทั้งหมด เพื่อยืนยันให้ชัดเจนว่าเป็นมาตรการเยียวยาผู้บริโภค ไม่ใช่การต่ออายุสัมปทาน และจะไม่มีการออกใบอนุญาตประเภทใดๆ ให้กับผู้ดำเนินการในช่วงเวลาดังกล่าว จึงจะไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต หรือต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนา ของ กสทช. แต่อย่างใด”


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374657617


_______________________________________________________


กสทช.กลัวโดนฟ้องเร่งแก้ร่างเยียวยา 1800 MHz


       กสทช.หวั่นโดนฟ้องหากนำรายได้ช่วงเยียวยา1800MHz 1ปี เข้าสำนักงาน เร่งแก้เป็นส่งเข้าคลังทั้งหมดหลังหักค่าเช่าโครงข่ายและค่าบริหารของผู้ให้บริการแล้ว พร้อมส่งจดหมายเตือน กสท กรณีสิทธิการถือครองคลื่นหลังหมดสัมปทาน พร้อมเร่งสั่งทรูมูฟ-ดีพีซีทำความเข้าใจกับลูกค้าโดยด่วนผ่าน SMS
   
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าร่างประกาศ มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาการให้ บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...หรือ ร่างเยียวยา 1800MHz ได้มีการทักท้วงจากฝ่ายกฎหมายของสำนักงาน กสทช.ว่า หากกำหนดให้นำรายได้ภายหลังจากสัญญาสัมปทานสิ้นสุดลงมาเป็นของกสทช.อาจจะ เกิดการฟ้องร้องได้ และเพื่อเป็นการยืนยันว่าการออกมาตรการเยียวยาลูกค้าที่ยังค้างอยู่ในระบบ อีก 1 ปีไม่ใช่เป็นการขยายหรือต่ออายุสัมปทานให้แก่เอกชนทั้ง 2 รายอย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจจึงมีการปรับสูตรการคิดรายได้ที่เกิดจากมาตรการเยียวยาโดยจะไม่อ้างอิงกับรายได้จากสัญญาสัมปทานที่บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ดีพีซี)นำส่งให้ กสท ในอัตราปีละ 28-30% ของรายได้รวม แต่จะเป็นการคิดสูตรใหม่หมด คือรายได้ที่เกิดขึ้นเมื่อหักค่าเช่าโครงข่ายให้กสท และค่าบริหารจัดการให้เอกชนแล้ว จะส่งเป็นรายได้เข้ากระทรวงการคลังแทน
   
       ก่อนหน้านี้ร่างเยียวยา 1800MHz จะมีการกำหนดให้รายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงเยียวยาตลอด1ปีหลังสัมปทานสิ้นสุด โดยให้เอกชนทั้ง 2 รายคือ ทรูมูฟ และดีพีซี ซึ่งเป็นคู่สัญญากับบริษัท กสท โทรคมนาคม ในฐานะเจ้าของสัญญาสัมปทานจ่ายเป็นค่าธรรมเนียมค่าใบอนุญาต2% ค่ากองทุนพัฒนาโทรคมนาคมโดยทั่วถึง (USO) 3.75% และค่าคลื่นความถี่มายังสำนักงานกสทช.แทนการจ่ายอัตรา 30% ตามสัญญาสัมปทานเดิมให้กับ กสท
   
       'เชื่อว่าในวันที่ 25ก.ค.ที่จะมีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์)ร่างเยียวยาจะมีการนำเสนอเรื่องการจัดเก็บรายได้ที่เกิดขึ้น ภายหลังจากสิ้นสุดสัญญาสัมปทานหรือในช่วงเยียวลูกค้าในระยะเวลา 1 ปีคือไม่เกินวันที่ 15 ก.ย. 2557 ว่ารายได้ทั้งหมดจะส่งเข้าเป็นเงินแผ่นดิน'
   
       นอกจากนี้สำนักงาน กสทช.จะมีการตั้งคณะทำงานพิจารณารายได้ และรายจ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างมาตรการเยียวยามาเป็นผู้พิจารณา ซึ่งจะประกอบด้วย ผู้แทนกระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด โดยรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นจะนำส่งกระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน และจะหักเพียงต้นทุนค่าเช่าโครงข่าย และต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของผู้ให้บริการเท่านั้น ดังนั้นการทำตลาดหรือรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วง 1 ปีหลังจากสัมปทานสิ้นสุดต้องเป็นการทำตลาดแบบไม่เน้นเอากำไรเป็นหลัก
   
       ****ส่งจดหมายเตือนกสท
   
       นายฐากร กล่าวว่ากสทช. ได้มีหนังสือแจ้งไปยังบริษัท กสท โทรคมนาคม เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุว่า เมื่อสัญญาให้ดำเนินการให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าร์ ดิจิตอล พีซีเอ็น 1800 สิ้นสุดลงในวันที่ 15 ก.ย.2556 สิทธิในการใช้คลื่นความถี่เพื่อการประกอบกิจการโทรคมนาคมตามสัญญาดังกล่าว ย่อมที่จะสิ้นสุดลงด้วยเช่นกัน โดยสิทธิในการใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าวย่อมตกคืนแก่สาธารณะซึ่ง กสทช. โดย กทค. เป็นผู้มีอำนาจในการบริหารจัดการสิทธิในการใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 กำหนด
   
       ขณะที่สิทธิของผู้ใช้บริการตามมาตรการเยียวยาของ กสทช. ซึ่งจะเปิดรับฟังความคิดเห็นก่อนประกาศใช้ตามขั้นตอนกฎหมายต่อไปประกอบด้วย 1.ให้รัฐวิสาหกิจ และเอกชนผู้รับสัญญาร่วมกันรับผิดชอบให้บริการแก่ผู้ใช้บริการต่อไปอีกช่วงเวลาหนึ่ง อย่างได้คุณภาพตามมาตรฐานเดิม 2.ช่วงเวลาคุ้มครองนี้ต้องมีระยะเวลาจำกัดไม่เกิน 1 ปี โดยเมื่อการจัดสรรคลื่นความถี่ให้ผู้รับอนุญาตเสร็จลุล่วงแล้ว จะต้องสามารถส่งมอบคลื่นที่พร้อมใช้ ที่ไม่มีผู้ใช้บริการเดิมหลงเหลืออยู่ ให้ผู้รับอนุญาตรับไปดำเนินการได้ทันที และ 3. ในช่วงเวลาคุ้มครองนี้จะต้องเร่งประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการที่หลงเหลืออยู่ในระบบ ย้ายไปสู่บริการใหม่โดยเปิดกว้างให้มากที่สุดตามแผนงานที่กำหนดได้อย่างเห็นจริง และขณะเดียวกันจะต้องไม่มีการรับผู้ใช้บริการรายใหม่เข้ามาในระบบอีก
   
       นายฐากร กล่าวว่า ในส่วนของการคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนระบบ 1800 MHz นั้นในตอนนี้กสทช.ได้ส่งหนังสือไปยังทรูมูฟ และดีพีซี เพื่อให้ดำเนินการส่งข้อความสั้น (SMS) และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออื่น ถึงผู้ใช้บริการเพื่อประชาสัมพันธ์แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับระยะเวลาการสิ้นสุดการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และต้องให้ลูกค้าทราบว่าเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเยียวยาคือวันที่ 15 ก.ย. 2557 หากลูกค้ายังอยู่ในระบบเดิมจะไม่สามารถใช้งานได้
   
       สำหรับข้อความ SMS 2 ข้อความที่จะให้บริษัททั้งสอง ส่งถึงผู้ใช้บริการที่ยังคงใช้บริการอยู่ระบุว่า 'กสทช. ขอแจ้งว่าเลขหมายท่านอยู่ในสัมปทานคลื่น 1800 MHz ที่จะสิ้นสุดลง 15 กันยายน นี้ ท่านจะยังคงใช้บริการได้ภายในไม่เกิน 1 ปี หากประสงค์จะโอนย้ายเลขหมายไปยังเครือข่ายอื่น กรุณาติดต่อผู้ให้บริการรายใหม่ สอบถามโทร 1200 (ฟรี)' และ'กสทช. คุ้มครองสิทธิเลขหมายนี้ สามารถใช้ได้ต่อเนื่องถึงไม่เกิน 15 ก.ย.57 กรุณาโอนย้ายเลขหมายท่านไปยังผู้ให้บริการรายอื่น สอบถามโทร. 1200 ฟรี'
   


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000090995

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.