Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 กรกฎาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) คาดแต่ละบ้านจะได้รับคูปองส่วนลด 690 บาท โดยเทียบจาก มูลค่ารวม 15,190 ล้านบาทเอามาหารเฉลี่ยครัวเรือนในประเทศไทย 22 ล้านครัวเรือน

ประเด็นหลัก


- การให้คูปองส่วนลดซื้อกล่อง

กสทช.เห็นว่า ควรสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิทัล เพื่อให้มีฐานคนดูมากขึ้น และมองว่าประชาชนควรได้ประโยชน์จากการประมูลคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรสาธารณะ เมื่อมีการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่สำหรับช่องบริการธุรกิจที่จะเปิดประมูล 24 ช่อง ว่ามีมูลค่ารวม 15,190 ล้านบาท จึงเอามาหารเฉลี่ยครัวเรือนในประเทศไทย 22 ล้านครัวเรือน เพื่อเป็นมูลค่าคูปองส่วนลดที่จะให้แต่ละครัวเรือน

ฉะนั้นแต่ละบ้านจะได้รับคูปองส่วนลด 690 บาท ประชาชนคงต้องออกเงินสมทบส่วนหนึ่งเพื่อนำไปซื้อ Set-Top-Box หรือเครื่องรับโทรทัศน์ที่รับทีวีดิจิทัลได้

- จะได้คูปองเมื่อใด

จะแจกเมื่อ กสทช.ได้รับเงินจากการประมูลช่องบริการธุรกิจแล้ว ผู้ชนะประมูลจะทยอยจ่ายเป็นงวด ๆ การแจกคูปองให้ประชาชนก็จะมีการทยอยแจก ตามพื้นที่ที่โครงข่ายทีวีดิจิทัลไปถึง ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ จะประกาศในภายหลัง

- จะเลือกซื้อทีวีหรือ Set-Top-Box อย่างไร

เครื่องรับทีวี และ Set-Top-Box ที่ใช้ต้องระบุว่า รองรับระบบ DVB-T2 ที่มีวางขายในปัจจุบันเป็นเครื่องที่ยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากสำนักงาน กสทช. ขณะที่การแพร่ภาพทีวีดิจิทัลในขณะนี้ยังอยู่ในช่วงทดลอง จึงดูได้แค่บางพื้นที่ และยังมีแค่ช่องฟรีทีวี 6 ช่อง กว่าจะเริ่มมีการออกอากาศจริง ๆ ก็ในราวเดือน ต.ค.นี้ ในส่วนของช่องทีวีสาธารณะบางช่อง หากประชาชนต้องการใช้เครื่องที่ได้รับการตรวจสอบมาตรฐานจาก กสทช. ให้รอเดือน ส.ค.จะเริ่มมีเครื่องที่มีสติ๊กเกอร์รูปครุฑมีลายน้ำ ที่แสดงว่า ผ่านการรับรองของ กสทช.มาวางจำหน่าย

- ฟรีทีวีแอนะล็อกเดิมจะดูได้ถึงเมื่อไร

จะยังมีการออกอากาศระบบแอนะล็อกเดิมไปจนกว่าจะถึงวันที่ กสทช. ประกาศปิดระบบ ซึ่งจะมีการประกาศเมื่อโครงข่ายระบบดิจิทัลทีวีวางเต็มรูปแบบแล้ว คาดว่าในปี 2560 จะเริ่มต้นกระบวนการยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อก แต่กว่าจะถึงวันที่ปิดระบบคงอีก 7-8 ปีข้างหน้า

- มีกล่องทีวีดาวเทียมก็ดูได้

ทีวีดิจิทัลเป็นฟรีทีวี ตามประกาศ Must Carry ของ กสทช. ทีวีดาวเทียมต้องนำช่องบริการสาธารณะ 12 ช่องมาออกอากาศ ถือเป็นรายการข่าวสารสาระเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ในส่วนของช่องบริการธุรกิจ 24 ช่อง แล้วแต่ความสมัครของผู้ให้บริการทีวีดาวเทียมแต่ละรายว่า




















______________________________________





ไขข้อข้องใจ "ทีวีดิจิทัล" เมื่อ กสทช.สั่งเปิดสวิตช์


นับถอยหลังเข้ามาทุกขณะกับการเปิดประมูลช่องทีวีดิจิทัล 24 ช่อง หลังร่างหลักเกณฑ์การประมูลผ่านบอร์ด กสทช.ไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และจ่อคิวประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เป็นอันว่า การเปิดประมูลจะเริ่มขึ้นได้ในไตรมาส 4 ปีนี้ ตามความตั้งใจของ "กสทช."

การเดินหน้าเปลี่ยนระบบการแพร่ภาพโทรทัศน์ภาคพื้นดินจากแอนะล็อกสู่ระบบ "ดิจิทัล" ที่ว่า ในมุมของประชาชนคนดูโทรทัศน์เต็มไปด้วยคำถามคาใจมากมาย

ไม่น่าเชื่อมีผลต่อการตัดสินใจซื้อโทรทัศน์สักเครื่องในขณะนี้ไปแล้วเรียบร้อย

คงไม่มีใครไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ "ทีวีดิจิทัล" ได้ดีไปกว่า "พ.อ.นที ศุกลรัตน์" โต้โผผู้รับผิดชอบโดยตรงในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ (กทค.)

- ทำไมต้องเปลี่ยนเป็นทีวีดิจิทัล

เป็นเทรนด์ของเทคโนโลยีโลก หลายประเทศเปลี่ยนไปเป็นดิจิทัลแล้ว ต่อไปอุปกรณ์ระบบแอนะล็อกจะมีราคาแพง หากเรายังไม่เปลี่ยนสุดท้ายจะกลายเป็นที่ทิ้งขยะระบบแอนะล็อกจากประเทศอื่น

ที่สำคัญทีวีดิจิทัลดีกว่าระบบเดิม ภาพคมชัดมากขึ้น ต่อให้ความละเอียดมาตรฐาน (SD) ก็ยังดีกว่าแอนะล็อก เนื้อหารายการต่าง ๆ จะหลากหลาย และเพิ่มทางเลือกให้คนดูมากขึ้น เพราะจำนวนช่องมากขึ้นถึง 48 ช่อง และเป็นฟรีทีวีทั้งหมด

ขณะที่คนในธุรกิจบรอดแคสต์จะมีโอกาสกว้างขึ้น ต้นทุนของผู้ประกอบการจะลดลงในระยะยาว เพราะนำไปทำเป็นโมบายทีวีได้ง่าย

- ต้องซื้อทีวีใหม่

ทีวีเครื่องเดิม ต่อให้เป็นแบบจอตู้ จอแก้วก็ดูทีวีดิจิทัลได้ แค่เชื่อมต่อกับกล่องแปลงสัญญาณ (Set-Top-Box) ที่รองรับระบบดิจิทัลแบบ DVB-T2 ถ้าเป็นทีวีรุ่นเก่ามาก หน้าจอจะไม่แสดงผลแบบความละเอียดสูง หรือ HD ซึ่งระบบดิจิทัลที่จะเปลี่ยนมี 7 ช่อง เป็น HD การจะเปลี่ยนทีวีใหม่เป็นไปตามความสมัครใจของเจ้าของหรือวงจรปกติของเครื่องใช้ไฟฟ้า

- การให้คูปองส่วนลดซื้อกล่อง

กสทช.เห็นว่า ควรสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบทีวีดิจิทัล เพื่อให้มีฐานคนดูมากขึ้น และมองว่าประชาชนควรได้ประโยชน์จากการประมูลคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรสาธารณะ เมื่อมีการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่สำหรับช่องบริการธุรกิจที่จะเปิดประมูล 24 ช่อง ว่ามีมูลค่ารวม 15,190 ล้านบาท จึงเอามาหารเฉลี่ยครัวเรือนในประเทศไทย 22 ล้านครัวเรือน เพื่อเป็นมูลค่าคูปองส่วนลดที่จะให้แต่ละครัวเรือน

ฉะนั้นแต่ละบ้านจะได้รับคูปองส่วนลด 690 บาท ประชาชนคงต้องออกเงินสมทบส่วนหนึ่งเพื่อนำไปซื้อ Set-Top-Box หรือเครื่องรับโทรทัศน์ที่รับทีวีดิจิทัลได้

- จะได้คูปองเมื่อใด

จะแจกเมื่อ กสทช.ได้รับเงินจากการประมูลช่องบริการธุรกิจแล้ว ผู้ชนะประมูลจะทยอยจ่ายเป็นงวด ๆ การแจกคูปองให้ประชาชนก็จะมีการทยอยแจก ตามพื้นที่ที่โครงข่ายทีวีดิจิทัลไปถึง ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ จะประกาศในภายหลัง

- จะเลือกซื้อทีวีหรือ Set-Top-Box อย่างไร

เครื่องรับทีวี และ Set-Top-Box ที่ใช้ต้องระบุว่า รองรับระบบ DVB-T2 ที่มีวางขายในปัจจุบันเป็นเครื่องที่ยังไม่ได้ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากสำนักงาน กสทช. ขณะที่การแพร่ภาพทีวีดิจิทัลในขณะนี้ยังอยู่ในช่วงทดลอง จึงดูได้แค่บางพื้นที่ และยังมีแค่ช่องฟรีทีวี 6 ช่อง กว่าจะเริ่มมีการออกอากาศจริง ๆ ก็ในราวเดือน ต.ค.นี้ ในส่วนของช่องทีวีสาธารณะบางช่อง หากประชาชนต้องการใช้เครื่องที่ได้รับการตรวจสอบมาตรฐานจาก กสทช. ให้รอเดือน ส.ค.จะเริ่มมีเครื่องที่มีสติ๊กเกอร์รูปครุฑมีลายน้ำ ที่แสดงว่า ผ่านการรับรองของ กสทช.มาวางจำหน่าย

- ฟรีทีวีแอนะล็อกเดิมจะดูได้ถึงเมื่อไร

จะยังมีการออกอากาศระบบแอนะล็อกเดิมไปจนกว่าจะถึงวันที่ กสทช. ประกาศปิดระบบ ซึ่งจะมีการประกาศเมื่อโครงข่ายระบบดิจิทัลทีวีวางเต็มรูปแบบแล้ว คาดว่าในปี 2560 จะเริ่มต้นกระบวนการยุติการออกอากาศระบบแอนะล็อก แต่กว่าจะถึงวันที่ปิดระบบคงอีก 7-8 ปีข้างหน้า

- มีกล่องทีวีดาวเทียมก็ดูได้

ทีวีดิจิทัลเป็นฟรีทีวี ตามประกาศ Must Carry ของ กสทช. ทีวีดาวเทียมต้องนำช่องบริการสาธารณะ 12 ช่องมาออกอากาศ ถือเป็นรายการข่าวสารสาระเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่ในส่วนของช่องบริการธุรกิจ 24 ช่อง แล้วแต่ความสมัครของผู้ให้บริการทีวีดาวเทียมแต่ละรายว่า

- ทำไม กสทช. ไม่โปรโมตทีวีดิจิทัลมาก ๆ

กระบวนการทำให้เกิดทีวีดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นการให้ใบอนุญาตหรือการประมูลช่องรายการ กับกระบวนการเชิญชวนให้ประชาชนมาดูทีวีดิจิทัล เป็นคนละเรื่องกัน ตราบใดที่โครงข่ายทีวีดิจิทัลยังไม่ไปถึงประชาชนยังไม่สามารถดูได้ ก็ไม่ควรไปโหมประชาสัมพันธ์ เพราะจะยิ่งทำให้สับสน ควรประชาสัมพันธ์เมื่อมีการออกอากาศแล้ว ประชาชนดูได้ แผนการประชาสัมพันธ์ของ กสทช.จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในขั้นตอนหลังจากนี้ และเน้นเฉพาะพื้นที่ที่โครงข่ายการไปถึงแล้ว ไม่ใช่โหมแคมเปญระดับชาติ

ผู้ได้รับใบอนุญาตจะเข้ามามีบทบาทประชาสัมพันธ์และชักชวนให้ประชาชนมาดูทีวีดิจิทัลด้วย โดยมีรูปแบบคล้ายกับ DPA (The Association for Promotion of Digital Broadcasting : DPA) หรือองค์กรส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของภาครัฐ สถานีโทรทัศน์ ผู้ผลิตอุปกรณ์ เพื่อส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเปลี่ยนมาดูทีวีดิจิทัลจนปิดการแพร่ภาพระบบแอนะล็อกได้เมื่อถึงเวลาเหมาะสม


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374666440

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.