Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 กรกฎาคม 2556 เลขา กสทช.เศรษฐพงษ์!! จี้ให้(ยกเลิกการประมูลตามแนวโน้มโลก) ปรับแก้รายละเอียดในมาตรา 45 ให้ยกเลิกประเด็นที่ว่าคลื่นความถี่ต้องจัดสรรด้วยการประมูล.

ประเด็นหลัก


อย่างไรก็ตาม ในอีก 5 ปี แนวโน้มทั่วโลก การจัดสรรคลื่นความถี่โดยการประมูลจะถูกยกเลิกไป แต่อาจจะใช้วิธีการให้คลื่นความถี่เป็นของรัฐและให้เอกชนมาเช่าใช้ เนื่องจากมองว่า การประมูลแม้จะสร้างรายได้ให้แก่รัฐบาล แต่เป้าหมายการจัดสรรคลื่น คือ การให้คลื่นความถี่ครอบคลุมประชาชนในประเทศให้มากที่สุด จึงเตรียมหารือในการปรับแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.)  โดยปรับแก้รายละเอียดในมาตรา 45 ให้ยกเลิกประเด็นที่ว่าคลื่นความถี่ต้องจัดสรรด้วยการประมูล.

______________________________________



อีก 5 ปีแนวโน้มเลิกวิธีประมูลคลื่นความถี่



กสทช. คาดคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ถ้าเปิดประมูลต้องแพงกว่าคลื่น 3 จี 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ระบุมือถือระบบ 2 จี ยังไม่หายจากประเทศไทยแน่นอน

ดร.เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการประจำ พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า การประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ต้องประเมินโดยพิจารณาว่า คลื่นความถี่ดังกล่าวเคยมีการใช้งานมาก่อนหรือไม่ ดังนั้น คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะหมดสัญญาสัมปทานในวันที่ 15 ก.ย. 56  หากนำมาจัดสรรประมูลคลื่นเทคโนโลยี 4 จี ราคามูลค่าคลื่นต้องแพงกว่าเทคโนโลยี 3 จี ย่าน 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ที่ประมูลไปเมื่อวันที่ 16 ต.ค. 55 ที่ผ่านมา            

ในอนาคตคลื่นความถี่ที่ใช้งานระบบ 2 จี ในประเทศไทยจะยังไม่หายไป เนื่องจากเป็นมาตรฐานการใช้งานสากล อีกทั้งประเทศโลกที่ 3 ที่ยังใช้งานระบบ 2 จี เมื่อเดินทางมาประเทศไทยก็ต้องใช้งานมือถือระบบ 2 จี เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ในอีก 5 ปี แนวโน้มทั่วโลก การจัดสรรคลื่นความถี่โดยการประมูลจะถูกยกเลิกไป แต่อาจจะใช้วิธีการให้คลื่นความถี่เป็นของรัฐและให้เอกชนมาเช่าใช้ เนื่องจากมองว่า การประมูลแม้จะสร้างรายได้ให้แก่รัฐบาล แต่เป้าหมายการจัดสรรคลื่น คือ การให้คลื่นความถี่ครอบคลุมประชาชนในประเทศให้มากที่สุด จึงเตรียมหารือในการปรับแก้ไข พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.)  โดยปรับแก้รายละเอียดในมาตรา 45 ให้ยกเลิกประเด็นที่ว่าคลื่นความถี่ต้องจัดสรรด้วยการประมูล.

http://www.dailynews.co.th/technology/221481

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.