Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 กรกฎาคม 2556 เทเลนอร์ ลดราคาค่าโทรในพม่า50%ดึงลูกค้า!! ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการขยายโครงข่าย 2G900 และ 3G2100 1 ปีแรกจะทำให้เน็ตเวิร์คครอบคลุม 60% ของประชากร


ประเด็นหลัก



"นายเพ็ตเตอร์ เฟอร์เบิร์ก" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) เทเลนอร์พม่า ให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรกหลังได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เขากล่าวว่า กระบวนการขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเงื่อนไขโดยละเอียด พร้อมรอให้รัฐบาลพม่าอนุมัติใบอนุญาตหรือไลเซ่นอย่างเป็นทางการ คาดว่าหลังจากนั้นจะสามารถเปิดให้บริการโทรคมในพม่าได้ภายใน 8-9 เดือน หรือราวกลางปี 2557

"เราตั้งเป้าว่าภายใน 1 ปีแรกจะทำให้เน็ตเวิร์คครอบคลุม 60% ของจำนวนประชากร และภายใน 5 ปี ครอบคลุมทั้ง 100%"

เขายอมรับว่า คงไม่ง่ายนักกับการเริ่มต้นจากศูนย์ ต้องมีงานที่หนักหน่วงและปัญหาตามมาอีกไม่น้อย แต่มีความมั่นใจว่าจะทำได้ดีเพราะลักษณะประเทศคล้ายคลึงกับไทย ด้านบริษัทแม่เทเลนอร์มีประสบการณ์ในภูมิภาคเอเชียมากว่า 16 ปี เข้าใจโครงสร้างตลาดเป็นอย่างดี ทั้งทราบว่าควรทำอย่างไรกับธุรกิจ



อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาด้านไฟฟ้าเบื้องต้นจะนำระบบพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ ด้านพัฒนาบริการจะทำควบคู่กันไปทั้ง 2 คลื่นความถี่ที่ได้มาโดย 2100 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับ 3จี และ 900 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับ2จี

"จุดยืนของเราไม่ว่าจะเข้าไปทำธุรกิจในประเทศใดก็ตาม ไม่ขอไปเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง โฟกัสเฉพาะธุรกิจ ให้ความสำคัญกับความเป็นท้องถิ่น และความรับผิดชอบต่อสังคม"

ปัจจุบันการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือในพม่ามีสัดส่วนอยู่น้อยกว่า 10% ขณะที่โทรศัพท์ส่วนใหญ่ยังเป็นระบบ 2จี ซึ่งต้องใช้เวลาไม่น้อยสำหรับการเปลี่ยนแปลง เพราะขนาดตลาดไทยลูกค้าดีแทคมี 27% ที่ใช้โทรศัพท์ 3จี อีก 73% ใช้ 2จีได้อย่างเดียว แต่ทั้งนี้ในด้านของโอกาส เชื่อว่า มีอยู่สูงมากเพราะประเทศกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาในทุกๆ ด้าน

เล็งดั๊มพ์ค่าโทรลง50%ดึงลูกค้า

นายเฟอร์เบิร์ก กล่าวต่อว่า กลยุทธ์การทำราคาเบื้องต้น ค่าซิมกำหนดไว้ 1,500 จ๊าด หรือราว 49 บาท ถูกกว่าเดิมที่ราคา 100 ดอลลาร์อย่างมาก ส่วนค่าบริการวอยซ์ประมาณ 25 จ๊าด หรือ 70 สตางค์ต่อนาที เทียบกับปัจจุบันถูกกว่าถึง 50% ภายใน 5 ปีตั้งเป้าว่าจะมีจุดจำหน่ายซิมกว่า 7 หมื่นแห่งทั่วประเทศ

พร้อมประเมินว่า การแข่งขันจะทวีความเข้มข้นมากขึ้นตามการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเครือข่ายอยู่ก่อนแล้ว 2 ราย ต่อจากนี้น่าจะมีรายหลักๆ อยู่ประมาณ 3 ราย

“เรายินดีกับการแข่งขัน ทั้งมองว่าเป็นโอกาสอันดีที่นำมาซึ่งการพัฒนาตลาดให้ครอบคลุม มีคุณภาพที่ดี ปีแรกคาดว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เกิน 90% จะเป็นระบบพรีเพด ด้วยจุดแข็งด้านโครงข่าย บริการ การจัดจำหน่าย แบรนด์ และราคาที่สมเหตุสมผล มั่นใจว่าฐานลูกค้าจะเติบโตได้รวดเร็ว”


























______________________________________





"เทเลนอร์พม่า"ดีเดย์บริการปี57 ตั้งเป้า5ปีโครงข่ายคลุม 100%

โดย : วริยา คำชนะ


"เฟอร์เบิร์ก" นำทัพเทเลนอร์บุกสื่อสารพม่า คาดเปิดบริการโทรคมครบวงจรกลางปี'57 หลังได้ไลเซ่นวางยุทธศาสตร์ดันโครงข่ายครอบคลุมพม่า100%ใน5ปี


แม้ว่ารัฐบาลพม่าจะประกาศให้ "เทเลนอร์" ยักษ์สื่อสารจากประเทศนอร์เวย์ บริษัทแม่ของ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค เป็นหนึ่งในผู้ชนะประมูลใบอนุญาตบริการโครงข่ายโทรคมนาคมภายในประเทศแล้ว ทว่าเป็นเพียงใบเบิกทางขั้นต้น ที่ยังรอการพิสูจน์ผลงาน ท่ามกลางความท้าทายและข้อจำกัดอีกนานัปการ

คาดเปิดบริการได้กลางปี 2557

"นายเพ็ตเตอร์ เฟอร์เบิร์ก" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) เทเลนอร์พม่า ให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรกหลังได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ เขากล่าวว่า กระบวนการขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาเงื่อนไขโดยละเอียด พร้อมรอให้รัฐบาลพม่าอนุมัติใบอนุญาตหรือไลเซ่นอย่างเป็นทางการ คาดว่าหลังจากนั้นจะสามารถเปิดให้บริการโทรคมในพม่าได้ภายใน 8-9 เดือน หรือราวกลางปี 2557

"เราตั้งเป้าว่าภายใน 1 ปีแรกจะทำให้เน็ตเวิร์คครอบคลุม 60% ของจำนวนประชากร และภายใน 5 ปี ครอบคลุมทั้ง 100%"

เขายอมรับว่า คงไม่ง่ายนักกับการเริ่มต้นจากศูนย์ ต้องมีงานที่หนักหน่วงและปัญหาตามมาอีกไม่น้อย แต่มีความมั่นใจว่าจะทำได้ดีเพราะลักษณะประเทศคล้ายคลึงกับไทย ด้านบริษัทแม่เทเลนอร์มีประสบการณ์ในภูมิภาคเอเชียมากว่า 16 ปี เข้าใจโครงสร้างตลาดเป็นอย่างดี ทั้งทราบว่าควรทำอย่างไรกับธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม แผนงานระยะเริ่มต้นจะโฟกัสกับการจัดตั้งสำนักงาน เฟ้นหาบุคลากรและสร้างทีมงานให้แข็งแกร่ง ปัจจุบันมีมือดีระดับผู้บริหารอยู่แล้ว 6 คน ส่วนคนที่จะเข้ามาเสริมในอนาคตมองทั้งภายในเทเลนอร์ และภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมและที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบุคลากรท้องถิ่น

พร้อมฝ่าทุกข้อจำกัดในพม่า

ซีอีโอเทเลนอร์พม่า กล่าวว่า กลยุทธ์การสร้างฐานธุรกิจ เตรียมหาคู่ค้าผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านทั้งภายในท้องถิ่นและทั่วโลกเพื่อเอาท์ซอร์สงานให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่น ผู้ให้บริการติดตั้งโครงข่ายโทรคมนาคม, ระบบไอที, คิดค่าบริการ, บริการลูกค้า, และการจัดจำหน่าย ผลงานที่จะได้เห็นเป็นรูปธรรมอันดับแรกๆ คือ ความพร้อมโครงข่าย และโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที

"เราจะดึงทรัพยากรที่มีอยู่ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มากกว่านั้นมองหาพาร์ทเนอร์ที่ถูกต้อง เพื่อช่วยกันสร้างโอกาสและทำให้ธุรกิจเติบโตไปด้วยกัน งานหลักของผม คือ เฟ้นหาบุคลากร ทำความเข้าใจตลาด สถานการณ์การแข่งขัน และพฤติกรรมของลูกค้าแบบเชิงลึก จากนั้นทำแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการมากที่สุด"

เขากล่าวถึงประเด็นความท้าทายที่สำคัญว่า มีอยู่หลายประการ เช่น การเข้าถึงโทรศัพท์มือถือที่น้อยมาก โครงสร้างพื้นฐาน เช่น การขนส่ง หรือไฟฟ้าไม่พร้อม ขณะเดียวกันลักษณะประชากรอยู่อย่างกระจายตัวอย่างมาก จึงต้องพิจารณารอบคอบเมื่อเข้าไปบุกตลาด ไม่เหมือนไทยที่มักกระจุกตัวในหัวเมืองใหญ่ หากทำในกรุงเทพฯ ได้ดีก็ครอบครอบคลุมไปกว่า 20%

อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาด้านไฟฟ้าเบื้องต้นจะนำระบบพลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ ด้านพัฒนาบริการจะทำควบคู่กันไปทั้ง 2 คลื่นความถี่ที่ได้มาโดย 2100 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับ 3จี และ 900 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับ2จี

"จุดยืนของเราไม่ว่าจะเข้าไปทำธุรกิจในประเทศใดก็ตาม ไม่ขอไปเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง โฟกัสเฉพาะธุรกิจ ให้ความสำคัญกับความเป็นท้องถิ่น และความรับผิดชอบต่อสังคม"

ปัจจุบันการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือในพม่ามีสัดส่วนอยู่น้อยกว่า 10% ขณะที่โทรศัพท์ส่วนใหญ่ยังเป็นระบบ 2จี ซึ่งต้องใช้เวลาไม่น้อยสำหรับการเปลี่ยนแปลง เพราะขนาดตลาดไทยลูกค้าดีแทคมี 27% ที่ใช้โทรศัพท์ 3จี อีก 73% ใช้ 2จีได้อย่างเดียว แต่ทั้งนี้ในด้านของโอกาส เชื่อว่า มีอยู่สูงมากเพราะประเทศกำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาในทุกๆ ด้าน

เล็งดั๊มพ์ค่าโทรลง50%ดึงลูกค้า

นายเฟอร์เบิร์ก กล่าวต่อว่า กลยุทธ์การทำราคาเบื้องต้น ค่าซิมกำหนดไว้ 1,500 จ๊าด หรือราว 49 บาท ถูกกว่าเดิมที่ราคา 100 ดอลลาร์อย่างมาก ส่วนค่าบริการวอยซ์ประมาณ 25 จ๊าด หรือ 70 สตางค์ต่อนาที เทียบกับปัจจุบันถูกกว่าถึง 50% ภายใน 5 ปีตั้งเป้าว่าจะมีจุดจำหน่ายซิมกว่า 7 หมื่นแห่งทั่วประเทศ

พร้อมประเมินว่า การแข่งขันจะทวีความเข้มข้นมากขึ้นตามการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเครือข่ายอยู่ก่อนแล้ว 2 ราย ต่อจากนี้น่าจะมีรายหลักๆ อยู่ประมาณ 3 ราย

“เรายินดีกับการแข่งขัน ทั้งมองว่าเป็นโอกาสอันดีที่นำมาซึ่งการพัฒนาตลาดให้ครอบคลุม มีคุณภาพที่ดี ปีแรกคาดว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เกิน 90% จะเป็นระบบพรีเพด ด้วยจุดแข็งด้านโครงข่าย บริการ การจัดจำหน่าย แบรนด์ และราคาที่สมเหตุสมผล มั่นใจว่าฐานลูกค้าจะเติบโตได้รวดเร็ว”

หวัง1ใน3ผู้นำตลาดสื่อสารพม่า

นอกจากนี้ ในส่วนของการพัฒนาแบรนด์ จะใช้ประสบการณ์ที่เคยเป็นผู้ริเริ่มหลายโครงการให้กับดีแทคและประเทศอื่นๆ มาปรับใช้ ทั้งมองโอกาสพัฒนาโมเดลธุรกิจใหม่ๆ เช่น บริการทางการเงิน ในระยะยาว ตั้งเป้าเป็น 1 ใน 3 ครองส่วนแบ่งตลาดสื่อสารในพม่า

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายซิคเว่ เบรคเก้ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เทเลนอร์ เอเชีย กล่าวว่า พม่ายังเป็นประเทศที่มีปัจจัยท้าทายมาก เพราะเป็นประเทศสุดท้ายในโลกที่ประชากรยังไม่มีโทรศัพท์มือถือใช้งานแพร่หลาย ประกอบกับรัฐบาลพม่ายังตั้งเป้าหมายที่ต้องการมีระบบสื่อสารที่ครบเทียบเท่ากับไทยคือ มีทั้ง 2จี และ 3จีและอาจมองถึง 4จี ให้ได้ภายใน 2-3 ปีหลังประมูล ขณะที่ทั้งหมดนี้ไทยใช้เวลาพัฒนามากว่า 15 ปี

พม่า เป็นประเทศปิดมานาน 40-50 ปี ความท้าทายสำคัญ คือ การไม่มีโครงข่ายพื้นฐานอะไรเลย ซิมการ์ดที่ขายตอนนี้ราคาแพงมาก หรือ ราว 5,000 บาท นอกจากนี้มีแค่ 26% ของประชากรเท่านั้นที่มีไฟฟ้าใช้ ขณะที่ รัฐบาลพม่าคาดหวังให้ผู้ชนะประมูลไลเซ่นสื่อสารในพม่าต้องดำเนินธุรกิจและพัฒนาระบบสื่อสารที่ครบวงจรเลย เป้าที่วางไว้คือ 60% ของคนพม่า ต้องมีโทรศัพท์มือถือใช้ภายใน 3 ปี



http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130726/519525/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B
8%A5%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2
%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%
B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B557-
%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%89%E0%B8%B25%E0
%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%
B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A1-100.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.