Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 กรกฎาคม 2556 กสทช. จัดอบรมหลักสูตรผู้ประกาศทีวี-วิทยุ 3 ระดับ ระดับต้น 4,000 บาท ระดับกลาง 5,000 บาท ระดับสูง 6,000 บาท และบันทึกความเข้าใจ 25 องค์กรการศึกษาเป็นสถานที่ให้ความรู้


ประเด็นหลัก

นางรัตนากร ทองสำราญ ผู้อำนายการกลุ่มงานพัฒนาบุคลากร ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. กล่าวว่า ตามประกาศ กสทช. เรื่อง การอบรมและทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2556 การอบรมหลักสูตรผู้ประกาศมี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง มี 5 หมวดวิชา ได้แก่ 1. หมวดวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งระดับกลางและระดับสูงต้องเรียนเพิ่มในส่วนของประชาคมสังคมอาเซียนด้วย 2. หมวดวิชากฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3. หมวดวิชาการพัฒนาทักษะด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 4. หมวดวิชาจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ และ 5. หมวดมาตรฐานการใช้ภาษา

สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าอบรมต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์ ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรม ส่วนผู้เข้าอบรมระดับกลางต้องผ่านการอบรมระดับต้น หรือสำเร็จการศึกษาในวิชาสื่อสารมวลชน (วิทยุ-โทรทัศน์) ตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป และต้องมีเวลาอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาอบรมแต่ละหลักสูตร มีค่าใช้จ่ายการอบรมระดับต้น 4,000 บาท ระดับกลาง 5,000 บาท ระดับสูง 6,000 บาท โดยการอบรมแต่ละครั้งจะมีผู้เข้าร่วมไม่เกิน 100 คน ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามตารางการจัดอบรมได้ที่ www.nbtc.go.tg หรือ โทร.0-2271-0151 ต่อ 462-3





______________________________________





กสทช.จัดอบรมหลักสูตรผู้ประกาศทีวี-วิทยุ



กสทช.จรดปากกา ลงนาม 25 หน่วยงาน จัดอบรมและทดสอบหลักสูตรผู้ประกาศทีวี – วิทยุ ชี้บัตรผู้ประกาศ ช่วยการันตี มาตรฐานวิชาชีพสื่อ ลุยอบรมเดือนส.ค. นี้
วันนี้(26 ก.ค. ) ที่โรงแรมเซ็นจูรี่  คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม(กสทช.) นำโดย พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์  รองประธานกสทช.และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ,นายปราโมช รัฐวินิจ ประธานคณะอนุกรรมการบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.  ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงในการจัดอบรม หลักสูตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กับ 25 หน่วยงาน ประกอบด้วยสถาบันการศึกษา องค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และสมาคม  อาทิ  มหาวิทยาลัยศรีปทุม ,สมาคมวิชาชีพสื่อวิทยุ-โทรทัศน์ภาคประชาชน ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ,สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า )และ  มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นต้น เพื่อเป็นสถานที่ในการฝึกอบรมให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อสารมวลชน


พ.อ.ดร.นที ศุกลรัตน์  รองประธานกสทช.และประธาน กสท. เปิดเผยว่า โครงการอบรมหลักสูตรนี้เป็นการปรับแนวคิดมาจากกรมประชาสัมพันธ์ และนำมาต่อยอดเพิ่ม เนื่องจากปัจจุบันมีสื่อทางเลือกได้แก่ ช่องรายการเคเบิลทีวี และทีวีดาวเทียม จำนวน 752 ช่องรายการ และวิทยุชุมชนที่มีจำนวนกว่า 7,000 สถานีทั่วประเทศ   นอกจากนี้ยังเป็นไปตามประกาศ กสทช. เรื่อง การอบรมและทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2556   ซึ่งจะช่วยส่งเสริม พัฒนาศักยภาพของบุคลากรวิชาชีพสื่อทีวี วิทยุ อาทิ พิธีกร ผู้ดำเนินรายการ ผู้ประกาศข่าว  ให้มีความรับผิดชอบต่อการเผยแพร่ข่าวสารให้แก่ประชาชน


ด้านนายปราโมช รัฐวินิจ ประธานคณะอนุกรรมการบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ กล่าวว่า  บุคลากรวิชาชีพสื่อเป็นหัวใจสำคัญในการเผยแพร่ข่าวสารให้แก่ประชาชน ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงมากที่สุดคือ การทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนที่ต้องมีองค์ความรู้ ความรับผิดชอบเรื่องการใช้ภาษา ซึ่งมองว่าบัตรผู้ประกาศถือเป็นเครื่องถือวัดความเป็นมาตรฐานในวิชาชีพสื่ออีกด้วย


อย่างไรก็ตามสำหรับการอบรมและทดสอบดังกล่าวนี้ คาดว่าจะเริ่มอบรมระดับต้นได้ประมาณเดือนส.ค. 56 ระดับกลางประมาณเดือนก.ย. 56 และระดับสูงประมาณเดือน ต.ค. 56 เบื้องต้นจะสามารถให้ใบอนุญาตผู้ประกาศได้ในปี 2557 โดยผู้ที่สนใจเข้าอบรมสามารถเรียนได้ตามหลักสูตรที่ กสทช.กำหนด 3 หลักสูตร ได้แก่ ระดับต้น ระดับกลาง  และระดับสูง และแบ่งหลักสูตรไว้ 5 หมวดได้แก่ ความรู้ทั่วไปด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทักษะการจัดรายการ จริยธรรมวิชาชีพสื่อ มาตรฐานการใช้ภาษาไทย  หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.nbtc.go.th


http://www.dailynews.co.th/technology/221849

_______________________________________


กสทช.จัดอบรมใบผู้ประกาศ แย้มอาจส่งผลขออนุญาตสถานี


กสทช. เอ็มโอยู 25 หน่วยงาน อบรมและทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศ ยันไม่บังคับให้มีแต่เป็นเรื่องการันตีคุณภาพ ขณะที่ช่วงเริ่มต้น 3-5 ปี ยังไม่มีผลต่อเงื่อนไขการขอใบอนุญาตสถานี...

เมื่อวันที่ 26 ก.ค. พ.อ.นที ศุกลรัตน์ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า กสทช. เตรียมความพร้อมการจัดอบรมหลักสูตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์โดยลงนามบันทึกข้อตกลงกับพันธมิตร 25 หน่วยงาน ประกอบด้วยองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา เช่น กรมประชาสัมพันธ์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กิจการวิทยุกระจายเสียงทหารเรือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น โดยจะเริ่มจัดอบรมตั้งแต่เดือน ส.ค.2556 เป็นต้นไป


รอง ปธ. กสทช. กล่าวต่อว่า การอบรมครั้งนี้มีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาให้มีบุคลากรที่มีคุณภาพ และส่งเสริมให้มีคุณภาพมากขึ้น โดยเบื้องต้นไม่ได้บังคับว่าทุกสถานีต้องมีใบผู้ประกาศ แต่หมายถึงการได้มาซึ่งความภาคภูมิใจ และมาตรฐานของการรับผิดชอบ รวมทั้งการนำเสนอข่าวสาร อีกทั้งเป็นเครื่องการันตี และรับรองคุณภาพของผู้ประกาศที่จะนำความรู้ไปสู่สาธารณชน อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลาเริ่มต้น 3-5 ปีนี้ จะยังไม่มีผลต่อการขอใบอนุญาตของสถานี

“ในเบื้องต้นระยะเวลา 3-5 ปี ใบผู้ประกาศจะยังไม่มีผลต่อการขอใบอนุญาตของสถานี แต่ในอนาคตอาจมีผลต่อการขอใบอนุญาตของสถานี ซึ่งอาจจะอยู่ในเงื่อนไขก็ได้ แต่ต้องดูว่ามีผู้ที่ผ่านการอบรมจำนวนกี่คนเพื่อให้เพียงพอก่อน” พ.อ.นที กล่าว


นางรัตนากร ทองสำราญ ผู้อำนายการกลุ่มงานพัฒนาบุคลากร ด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช. กล่าวว่า ตามประกาศ กสทช. เรื่อง การอบรมและทดสอบเพื่อรับบัตรผู้ประกาศในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2556 การอบรมหลักสูตรผู้ประกาศมี 3 ระดับ ได้แก่ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง มี 5 หมวดวิชา ได้แก่ 1. หมวดวิชาความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ซึ่งระดับกลางและระดับสูงต้องเรียนเพิ่มในส่วนของประชาคมสังคมอาเซียนด้วย 2. หมวดวิชากฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3. หมวดวิชาการพัฒนาทักษะด้านกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ 4. หมวดวิชาจริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ และ 5. หมวดมาตรฐานการใช้ภาษา

สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าอบรมต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี บริบูรณ์ ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรม ส่วนผู้เข้าอบรมระดับกลางต้องผ่านการอบรมระดับต้น หรือสำเร็จการศึกษาในวิชาสื่อสารมวลชน (วิทยุ-โทรทัศน์) ตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป และต้องมีเวลาอบรมไม่น้อยกว่า 80% ของเวลาอบรมแต่ละหลักสูตร มีค่าใช้จ่ายการอบรมระดับต้น 4,000 บาท ระดับกลาง 5,000 บาท ระดับสูง 6,000 บาท โดยการอบรมแต่ละครั้งจะมีผู้เข้าร่วมไม่เกิน 100 คน ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามตารางการจัดอบรมได้ที่ www.nbtc.go.tg หรือ โทร.0-2271-0151 ต่อ 462-3

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/359569

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.