Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

29 กรกฎาคม 2556 หัวหน้าโครงการวิจัยคุณสมบัติ และปัจจัยความพร้อมของชุมชนฯ ชี้ เรื่องเงินเป็นเรื่องที่สำคัญสุด ควรให้การสนับสนุนเพื่อให้เกิดอิสระในการดำเนินงานของชุมชน


ประเด็นหลัก




ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ หัวหน้าโครงการวิจัย ให้สัมภาษณ์ “เดลินิวส์ออนไลน์” ว่า จากโครงการวิจัย พบว่า วิทยุชุมชนที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันมีความพร้อมที่จะได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการวิทยุชุมชน แต่ยังมีอุปสรรคในการดำเนินงานอยู่ 3 ข้อ คือ 1.เงินที่ต้องใช้ในการบริหารจัดการสถานีซึ่งได้จากการระดมทุนในชุมชน ยังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายหลักๆ เช่น ค่าไฟฟ้า และค่าอินเทอร์เน็ต 2.ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านอุปกรณ์และเทคนิคในการดูแล และซ่อมแซม เมื่อเกิดความเสียหาย เนื่องจากคนในชุมชนไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ จนนำไปสู่การงดออกอากาศ และ 3.บุคลากรในส่วนของอาสาสมัครยังขาดความรู้ในเรื่องของการจัดรายการ

ดร.จิรพร กล่าวว่า จากผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่สถานีวิทยุชุมชนต้องการให้ กสทช. เข้าไปช่วยเหลือมีอยู่ 3 เรื่องหลักๆ ได้แก่ 1.ต้องการให้ กสทช.สนับสนุนด้านเงินทุนแก่สถานีวิทยุชุมชนตามกฎหมายมากที่สุด โดยสนับสนุนในสัดส่วนระหว่างกสทช. และชุมชน ร้อยละ 50:50 ของรายจ่ายทั้งหมด เพื่อความเป็นอิสระในการดำเนินงานของชุมชน และการพึ่งพาตนเองของวิทยุชุมชน 2.ต้องการให้ กสทช. จัดอบรมด้านเทคนิคให้แก่บุคลากรในชุมชนเพื่อให้แก้ไขปัญหาทางเทคนิคและซ่อมแซมอุปกรณ์ได้ และ 3.จัดให้มีการฝึกอบรมเสริมศักยภาพให้แก่บุคลากรทั้งในด้านการจัดรายการ และด้านการบริหารจัดการสถานี

“วิทยุชุมชนไม่ได้พูดว่าขาดทุน แต่วิทยุชุมชนพูดเรื่องที่ว่าเงินไม่พอจ่าย โดยงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งได้ว่าสถานีวิทยุใดคือวิทยุชุมชนที่แท้จริง ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะครั้งนี้ถือเป็นเวทีสุดท้ายก่อนที่จะสรุปผลงานวิจัยเพื่อส่งให้กับ กสทช. นำผลสรุปการวิจัยที่ได้ไปใช้ประโยชน์” ดร.จิรพร กล่าว



วิทยุชุมชนพร้อม! – โยนกสท. เร่งแก้คลื่นแทรก

รศ.ดร.อุบลรัตน์ กล่าวว่า จากกลุ่มตัวอย่าง 20 สถานีวิทยุชุมชน ของโครงการวิจัยการตรวจสอบคุณสมบัติ และปัจจัยความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนของประเทศไทย พอที่จะนำไปเสนอและสรุปกับ กสทช. ได้ว่า วิทยุชุมชนมีความพร้อมที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ อย่างน้อยๆ ก็ร้อยละ 70-80 ที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ส่วนอุปสรรคที่ยังเป็นปัญหาของผู้ประกอบกิจการวิทยุชุมชน คือ การเกิดคลื่นแทรกปัญหาทางเทคนิค ที่ กสท. ต้องเข้ามาแก้ไขเพราะเป็นปัญหาใหญ่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในหนังสือ (ร่าง) สรุปผลการวิจัย “โครงการวิจัย การตรวจสอบคุณสมบัติ และปัจจัยความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนของประเทศไทย”  ในส่วนของความพร้อมด้านเทคนิค พบว่า ปัญหาคลื่นแทรก คลื่นทับซ้อนซึ่งมาจากสถานีวิทยุแห่งอื่น ถือเป็นปัญหาใหญ่และพบบ่อยมากที่สุดของวิทยุชุมชน มีถึงร้อยละ 50 หรือครึ่งหนึ่งของปัญหาด้านเทคนิคทั้งหมด ดังนั้น สถานีวิทยุชุมชนจึงเสนอให้ กสทช. ช่วยจัดระเบียบคลื่นความถี่ตามกฎหมายอย่างจริงจัง




______________________________________





เปิดผลงานวิจัย (วิทยุ) ชุมชน พร้อมรับใบอนุญาต!


เปิด (ร่าง) สรุปผลการศึกษา “โครงการวิจัยการตรวจสอบคุณสมบัติ และปัจจัยความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนของประเทศไทย”
วันที่ 27 ก.ค.56 ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ร่วมกับ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นเวทีสาธารณะ “โครงการวิจัย การตรวจสอบคุณสมบัติ และปัจจัยความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนของประเทศไทย” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก กสท.

สำหรับการศึกษา “โครงการวิจัย การตรวจสอบคุณสมบัติ และปัจจัยความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนของประเทศไทย” ได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวม 4 ภาค ผ่าน 2 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1.กลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานีวิทยุในด้านการบริหารจัดการสถานีวิทยุจำนวน 20 สถานีใน 4 ภาค และ2.กลุ่มผู้ฟังวิทยุชุมชน จำนวน 200 คน ใน 4 ภาค

การเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก และวิธีการสังเกตการสัมภาษณ์บุคลากรของวิทยุชุมชน ตลอดจนผู้รับฟังรายการ  หลังจากได้ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณแล้ว ทีมวิจัยแต่ละภาคได้ประมวลสรุปผลการศึกษาและนำเสนอข้อมูลในเวทีประชุมกลุ่มย่อย เพื่อตรวจสอบยืนยันข้อมูลและรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติม รวมใช้ระยะเวลาดำเนินโครงการทั้งหมด 6 เดือน (ระหว่างเดือนมี.ค.-ก.ย.56)

ผลจากการศึกษาการตรวจสอบคุณสมบัติ ปัจจัยความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนของประเทศไทย ด้วยวิธีการทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ตาม (ร่าง) สรุปผลการวิจัย มีดังนี้  สถานีวิทยุชุมชนมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักการของวิทยุชุมชน คือ ชุมชนเป็นเจ้าของ ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และดำเนินงานในรูปแบบอาสาสมัคร เพื่อประโยชน์ของชุมชน

ส่วนโครงสร้างการบริหารจัดการของสถานี ประกอบด้วยหัวหน้าสถานี คณะกรรมการสถานี และอาสาสมัครฝ่ายต่างๆ ทุกสถานีมีรายได้ซึ่งมาจากการสนับสนุนของชุมชนเป็นหลัก ออกอากาศโดยไม่มีโฆษณาเพราะไม่แสวงหาผลกำไรในเชิงธุรกิจ เพื่อรักษาความเป็นอิสระ และเป็นปากเสียงของชุมชน โดยมุ่งตอบสนองความต้องการและรักษาผลประโยชน์ของชุมชน  ซึ่งสะท้อนผ่านสัดส่วนของรายการที่ชุมชนผลิตเอง หรือรับรายการจากที่อื่นหากเป็นประโยชน์และเกี่ยวข้องกับชุมชน  มุ่งเน้นนำเสนอข้อมูลข่าวสารของชุมชนเป็นหลัก รวมทั้งการมีบทบาทสนับสนุนช่วยเหลือกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน

ขณะที่ปัจจัยความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชน ซึ่งวิเคราะห์จาก 1.ความพร้อมด้านบุคลากร พบว่า สถานีวิทยุชุมชนมีบุคลากรมาช่วยงานด้วยใจ ในลักษณะอาสาสมัคร ไม่มีค่าตอบแทน ยกเว้นบางแห่งมีเจ้าหน้าที่ประจำของสถานีที่ได้รับค่าตอบแทน แต่ก็ใช้เป็นรูปสวัสดิการมากกว่าเป็นเงินเดือน 2.ความพร้อมด้านการเงิน พบว่า สิ่งที่ชุมชนให้การสนับสนุนวิทยุชุมชนมากที่สุด คือ ด้านการเงิน โดยเงินที่สนับสนุนได้มาจากสมาชิกในชุมชนเป็นหลัก รองลงมาคือหน่วยงานหรือองค์กรที่ก่อตั้งสถานีวิทยุชุมชน 3.ความพร้อมด้านเนื้อหา พบว่า ผังรายการของสถานีในช่วงแรกจะมาจากการประชุมพิจารณาหรือกำหนดโดยคณะกรรมการสถานี หลังออกอากาศไปได้ระยะหนึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนผังรายการตามข้อเสนอแนะจากผู้ฟัง โดยรูปแบบเนื้อหาจะอยู่ในสัดส่วน 60:40 คือ ชุมชนเป็นผู้ผลิตเนื้อหาเองร้อยละ 60 ส่วนอีกร้อยละ 40 เป็นรายการที่ถ่ายทอดสัญญาณหรือรับมาจากที่อื่น

4.ความพร้อมด้านเทคนิค พบว่า บุคลากรของวิทยุชุมชนมีการเรียนรู้ด้านเทคนิคกันเอง โดยเป็นความรู้และทักษะเบื้องต้น เช่น การควบคุมเสียง และดูแลควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องส่ง โดยขาดทักษะด้านเทคนิคที่ซับซ้อน เช่น การซ่อมแซมเครื่องส่งเมื่อเสีย และ 5.ความพร้อมด้านการบริหารจัดการ พบว่า วิทยุชุมชนมีระบบการบริหารจัดการผ่านการประชุมของคณะกรรมการสถานี ซึ่งเรื่องที่ประชุมส่วนใหญ่คือ เรื่องการบริหารจัดการ รองลงมาคือ เรื่องการจัดรายการวิทยุ และสุดท้ายเรื่องการจัดการด้านเทคนิค

ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ หัวหน้าโครงการวิจัย ให้สัมภาษณ์ “เดลินิวส์ออนไลน์” ว่า จากโครงการวิจัย พบว่า วิทยุชุมชนที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันมีความพร้อมที่จะได้รับใบอนุญาตในการประกอบกิจการวิทยุชุมชน แต่ยังมีอุปสรรคในการดำเนินงานอยู่ 3 ข้อ คือ 1.เงินที่ต้องใช้ในการบริหารจัดการสถานีซึ่งได้จากการระดมทุนในชุมชน ยังไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายหลักๆ เช่น ค่าไฟฟ้า และค่าอินเทอร์เน็ต 2.ขาดบุคลากรที่มีความรู้ด้านอุปกรณ์และเทคนิคในการดูแล และซ่อมแซม เมื่อเกิดความเสียหาย เนื่องจากคนในชุมชนไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ จนนำไปสู่การงดออกอากาศ และ 3.บุคลากรในส่วนของอาสาสมัครยังขาดความรู้ในเรื่องของการจัดรายการ

ดร.จิรพร กล่าวว่า จากผลการวิจัยพบว่า สิ่งที่สถานีวิทยุชุมชนต้องการให้ กสทช. เข้าไปช่วยเหลือมีอยู่ 3 เรื่องหลักๆ ได้แก่ 1.ต้องการให้ กสทช.สนับสนุนด้านเงินทุนแก่สถานีวิทยุชุมชนตามกฎหมายมากที่สุด โดยสนับสนุนในสัดส่วนระหว่างกสทช. และชุมชน ร้อยละ 50:50 ของรายจ่ายทั้งหมด เพื่อความเป็นอิสระในการดำเนินงานของชุมชน และการพึ่งพาตนเองของวิทยุชุมชน 2.ต้องการให้ กสทช. จัดอบรมด้านเทคนิคให้แก่บุคลากรในชุมชนเพื่อให้แก้ไขปัญหาทางเทคนิคและซ่อมแซมอุปกรณ์ได้ และ 3.จัดให้มีการฝึกอบรมเสริมศักยภาพให้แก่บุคลากรทั้งในด้านการจัดรายการ และด้านการบริหารจัดการสถานี

“วิทยุชุมชนไม่ได้พูดว่าขาดทุน แต่วิทยุชุมชนพูดเรื่องที่ว่าเงินไม่พอจ่าย โดยงานวิจัยนี้สามารถใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งได้ว่าสถานีวิทยุใดคือวิทยุชุมชนที่แท้จริง ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะครั้งนี้ถือเป็นเวทีสุดท้ายก่อนที่จะสรุปผลงานวิจัยเพื่อส่งให้กับ กสทช. นำผลสรุปการวิจัยที่ได้ไปใช้ประโยชน์” ดร.จิรพร กล่าว



(อ่านเพิ่ม! ความเห็นของนักวิชาการ) : ความเห็นนักวิชาการ กับการสนับสนุน (วิทยุ) ชุมชน





ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กสทช.จัดอบรมหลักสูตรผู้ประกาศทีวี-วิทยุ

กสท.มอบใบอนุญาตทดลองวิทยุครั้งที่ 2

ถึงเวลาพา "วิทยุชุมชน" เข้าสู่กฎระเบียบ


http://www.dailynews.co.th/technology/222383


_______________________________________________



ความเห็นนักวิชาการ กับการสนับสนุน (วิทยุ) ชุมชน



นานาความคิดเห็นของนักวิชาการในการเสวนา “การสนับสนุนความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนในประเทศไทย”
เมื่อวันที่ 27 ก.ค.56 ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์  ในการประชุมรับฟังความคิดเห็นเวทีสาธารณะ “โครงการวิจัย การตรวจสอบคุณสมบัติ และปัจจัยความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนของประเทศไทย” ได้มีการเสวนา ในหัวข้อ “การสนับสนุนความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนในประเทศไทย” โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา ได้แก่ รศ.ดร.พนา ทองมีอาคม กรรมการบริหารกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ, รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน และนายสาโรจน์ แววมณี นักวิชาการอิสระ

วิทยุชุมชนพร้อม! – โยนกสท. เร่งแก้คลื่นแทรก

รศ.ดร.อุบลรัตน์ กล่าวว่า จากกลุ่มตัวอย่าง 20 สถานีวิทยุชุมชน ของโครงการวิจัยการตรวจสอบคุณสมบัติ และปัจจัยความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนของประเทศไทย พอที่จะนำไปเสนอและสรุปกับ กสทช. ได้ว่า วิทยุชุมชนมีความพร้อมที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ อย่างน้อยๆ ก็ร้อยละ 70-80 ที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ ส่วนอุปสรรคที่ยังเป็นปัญหาของผู้ประกอบกิจการวิทยุชุมชน คือ การเกิดคลื่นแทรกปัญหาทางเทคนิค ที่ กสท. ต้องเข้ามาแก้ไขเพราะเป็นปัญหาใหญ่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในหนังสือ (ร่าง) สรุปผลการวิจัย “โครงการวิจัย การตรวจสอบคุณสมบัติ และปัจจัยความพร้อมของชุมชนในการดำเนินการสถานีวิทยุชุมชนของประเทศไทย”  ในส่วนของความพร้อมด้านเทคนิค พบว่า ปัญหาคลื่นแทรก คลื่นทับซ้อนซึ่งมาจากสถานีวิทยุแห่งอื่น ถือเป็นปัญหาใหญ่และพบบ่อยมากที่สุดของวิทยุชุมชน มีถึงร้อยละ 50 หรือครึ่งหนึ่งของปัญหาด้านเทคนิคทั้งหมด ดังนั้น สถานีวิทยุชุมชนจึงเสนอให้ กสทช. ช่วยจัดระเบียบคลื่นความถี่ตามกฎหมายอย่างจริงจัง

การเข้าถึงกองทุนกสทช.ยังมีปัญหา

นายสาโรจน์ กล่าวว่า ระเบียบและเงื่อนไขการใช้จ่ายเงิน และขอเงินในกองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ยังมีปัญหา เนื่องจากในเงื่อนไขของการขอรับทุนสนับสนุน ระบุว่า ผู้ที่จะขอเงินจากกองทุนต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ ประเภทบริการชุมชน แต่ขณะนี้กสทช. ยังไม่ได้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการสถานีวิทยุชุมชน ปัจจุบันมีเพียงใบอนุญาตทดลองประกอบกิจการกระจายเสียง จึงอาจทำให้ผู้ประกอบกิจการวิทยุชุมชนไม่สามารถเข้าถึงกองทุนเพื่อขอเงินสนับสนุน ตามความต้องการของผลการวิจัยที่พบได้เช่นเดียวกับที่สถานีวิทยุชุมชนต้องเป็นนิติบุคคล จึงจะเป็นไปตามเงื่อนไขการยื่นขอทุนสนับสนุนจาก กสทช. ได้

ชี้ กสทช.รับรอง กองทุนจ่ายได้

รศ.ดร.พนา กล่าวว่า ในส่วนของการยื่นขอทุนสนับสนุนของวิทยุชุมชน ซึ่งตามเงื่อนไขระบุว่า ต้องเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียง หรือกิจการโทรทัศน์ ประเภทบริการชุมชน และเป็นนิติบุคคล ทางออกของทั้งสองกรณีนี้ หาก กสทช. เซ็นรับรองมาให้กับผู้ประกอบการวิทยุชุมชน กองทุนวิจัยและพัฒนา กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ ก็สามารถให้ทุนสนับสนุนได้ เพราะเป็นการทำงานเชื่อมกันระหว่าง กสทช. กับ กองทุน.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดผลงานวิจัย (วิทยุ) ชุมชน พร้อมรับใบอนุญาต


http://www.dailynews.co.th/technology/222386

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.