Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

3 กรกฎาคม 2556 (แก้ CAT TRUEผ่านไป365วันแล้ว) CAT ส่งแผน 29,000 ล้านบาท ทำ 3G 850 ให้กับ ICT แล้ว!! ถ้าได้งบแก้ไขสัญญาต่อไป ( TRUE ขอเพิ่มความร่วมมือเพิ่ม )



ประเด็นหลัก


นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท เปิดเผยว่า สำหรับงบประมาณและแผนงานที่จะเสนอบอร์ด กสท หากผ่านมติที่ประชุมบอร์ดแล้ว จะเตรียมเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ต่อไปโดยงบที่จะอนุมัติรวมเป็นเงิน 29,000 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณ สำหรับการวางสายไฟเบอร์ออฟติกระยะยาวสำหรับใช้ในโครงข่ายของ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 15,000 ล้านบาท และค่าเช่าโครงข่ายจากบีเอฟเคทีเป็นค่าเช่ารายปี ปีละ 14,000 ล้านบาท และหากผ่านสศช.แล้ว ก็จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

“ที่ผ่านมาเราต้องรอความชัดเจนในประเด็นการตีความด้านกฎหมายจากหลายฝ่าย เกี่ยวกับการทำสัญญาว่าเข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) หรือไม่ แต่เมื่อมีความชัดเจนแล้วทุกอย่างก็เดินหน้าได้ ตรงนี้ก็ถือเป็นการปลดล็อกในกระบวนการที่ทำให้ กสท ติดขัดมานาน”

อย่างไรก็ตาม หากการขออนุมัติงบผ่านการหารือของบอร์ดแล้ว ก็จะเตรียมขยายโครงข่าย 3G HSPA ทันที เพื่อขยายข่ายสายให้รองรับการใช้งานและเป็นไปตามแผนการทำตลาดของ 3G กสท ในแบรนด์ “มาย” ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานราว 100,000 ราย ส่วนทรูมูฟ เอช ของทรูฯนั้นก็จะมาขอเช่าใช้คาปาซิตี้ในโครงข่ายนี้


ขณะที่ นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการ และประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มทรูฯ กล่าวว่า บริษัทมีความมั่นใจมาตลอดว่า สัญญาดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากได้ผ่านการตรวจสอบทั้งสำนักงานอัยการสูงสุด และ กสทช. ยังมีความชัดเจนจากการตีความของกฤษฎีกาก็ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้บริษัทเดินหน้าให้บริการบนสัญญาฉบับดังกล่าว และในขั้นต่อไป บริษัทเตรียมที่จะเจรจากับ กสท เพิ่มเติมเกี่ยวกับความร่วมมือในด้านอื่นอย่างต่อเนื่อง








______________________________________





กสทเท 2.6 หมื่นล้านลุย 3 จีคลื่น 850 MHz

‘บีเอฟเคที’บริหารโครงข่าย

มั่นใจปั้นแบรนด์‘มาย’เกิดแน่

รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันที่ 3 ก.ค.นี้ ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน)จะมีการพิจารณาอนุมัติงบประมาณสำหรับการขยายโครงข่าย 3G ภายใต้เทคโนโลยีเอชเอสพีเอ (HSPA) ของ กสท ที่ทำสัญญาให้บริการร่วมกับบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในย่านความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ซึ่งจะให้บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) เป็นผู้รับผิดชอบขยายโครงข่ายตามความต้องการเพิ่มจำนวนโครงข่าย สถานีฐาน และความต้องการความจุโครงข่าย (คาปาซิตี้)

นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท เปิดเผยว่า สำหรับงบประมาณและแผนงานที่จะเสนอบอร์ด กสท หากผ่านมติที่ประชุมบอร์ดแล้ว จะเตรียมเสนอต่อกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ต่อไปโดยงบที่จะอนุมัติรวมเป็นเงิน 29,000 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณ สำหรับการวางสายไฟเบอร์ออฟติกระยะยาวสำหรับใช้ในโครงข่ายของ บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 15,000 ล้านบาท และค่าเช่าโครงข่ายจากบีเอฟเคทีเป็นค่าเช่ารายปี ปีละ 14,000 ล้านบาท และหากผ่านสศช.แล้ว ก็จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

“ที่ผ่านมาเราต้องรอความชัดเจนในประเด็นการตีความด้านกฎหมายจากหลายฝ่าย เกี่ยวกับการทำสัญญาว่าเข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมดำเนินงานในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) หรือไม่ แต่เมื่อมีความชัดเจนแล้วทุกอย่างก็เดินหน้าได้ ตรงนี้ก็ถือเป็นการปลดล็อกในกระบวนการที่ทำให้ กสท ติดขัดมานาน”

อย่างไรก็ตาม หากการขออนุมัติงบผ่านการหารือของบอร์ดแล้ว ก็จะเตรียมขยายโครงข่าย 3G HSPA ทันที เพื่อขยายข่ายสายให้รองรับการใช้งานและเป็นไปตามแผนการทำตลาดของ 3G กสท ในแบรนด์ “มาย” ซึ่งปัจจุบันมีผู้ใช้งานราว 100,000 ราย ส่วนทรูมูฟ เอช ของทรูฯนั้นก็จะมาขอเช่าใช้คาปาซิตี้ในโครงข่ายนี้

ทั้งนี้ ผลการดำเนินการของ กสท ในด้านธุรกิจโมบายจะฟื้นตัวขึ้นทันทีหากได้รับอนุมัติในการขยายโครงข่าย โดยประเมินว่าในสิ้นปีนี้ ผลประกอบการรวมของบริษัทจะมีกำไร 900 ล้านบาท เป็นอย่างน้อย ซึ่งจะเป็นกำไรจากการดำเนินธุรกิจของตัวเองไม่เกี่ยวกับรายได้จากสัญญาสัมปทาน จากเดิมที่ปีก่อนหน้ามีผลขาดทุนราว 3,400 ล้านบาท

ก่อนหน้านี้ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ทำหนังสือด่วนที่สุด เลขที่นร.0901/1040-1042 แจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สำนักงานปลัดกระทรวงไอซีทีว่า กรณีการทำสัญญาธุรกิจโทรศัพท์มือถือ 3G รูปแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยีเอชเอสพีเอบนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ ระหว่าง กสท กับกลุ่มทรูฯ จำนวนทั้งสิ้น 6 สัญญา ไม่เข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุน

ขณะที่ นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการ และประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มทรูฯ กล่าวว่า บริษัทมีความมั่นใจมาตลอดว่า สัญญาดังกล่าวถูกต้องตามกฎหมาย เนื่องจากได้ผ่านการตรวจสอบทั้งสำนักงานอัยการสูงสุด และ กสทช. ยังมีความชัดเจนจากการตีความของกฤษฎีกาก็ยิ่งเป็นแรงผลักดันให้บริษัทเดินหน้าให้บริการบนสัญญาฉบับดังกล่าว และในขั้นต่อไป บริษัทเตรียมที่จะเจรจากับ กสท เพิ่มเติมเกี่ยวกับความร่วมมือในด้านอื่นอย่างต่อเนื่อง


 http://www.naewna.com/business/58251







แนวหน้า ฉบับ 3 กรกฎาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.