Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

4 กรกฎาคม 2556 แรงงาน IT ชาวไทยกลุ้มใจ++ 100 คน พูดภาษาอังกฤษได้เพียง 20 คนเท่านั้น++ (ผวาการเปิด AEC) การเคลื่อนย้ายแรงงานก็จะตามมาด้วย



ประเด็นหลัก


แรงงานไอทีไทยขาดทักษะ "ภาษา"

ดังนั้นเมื่อในอนาคตธุรกิจเติบโต แรงงานที่มีศักยภาพก็เป็นที่ต้องการมากขึ้นเช่นเดียวกัน แต่เมื่อธุรกิจกำลังไปได้ดี การเปิดเออีซีก็คือเปิดตลาดเสรีเช่นเดียวกัน ดังนั้น ข้อมูลจากหลายฝ่ายๆ ของหน่วยงานในด้านดังกล่าว พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า บุคลากรไทยมีศักยภาพ มีทักษะในด้านการทำงานที่ดี แต่ขาดเรื่องภาษา

ทั้งนี้ วัดได้จากปริมาณแรงงานที่ก้าวเข้าสู่ตลาดดังกล่าวคือ 100 คน มีความสามารถในด้านภาษาที่ดีอยู่ที่ประมาณ 1-5 คน และสามารถที่จะสื่อสารได้อยู่ที่ประมาณ 10-20 คน ที่เหลือกว่า 65 คนสามารถสื่อสารด้านภาษาอังกฤษได้น้อยมาก

โดยส่วนใหญ่กลุ่มแรงงานเหล่านี้จะมีทักษะภาษาที่เฉพาะกลุ่มเท่านั้น และทำให้การเติบโตในสายงานดังกล่าวค่อนข้างทรงตัว โดยเฉพะในระดับบริหารงานที่จะเติบโตจากระดับปฏิบัติการต้องการความรู้ ทักษะ และความสามารถในด้านการสื่อสารที่ค่อนข้างดี

นายแมททิวส์ ระบุว่า แรงงานกลุ่มเทคโนโลยี โทรคมนาคม ไอที ปัจจุบัน สามารถแบ่งสัดส่วนในประเทศไทยได้ที่ 60% จะเป็นในระดับปฏิบัติการ ระดับบริหารงานอยู่ที่ 30-35% และกลุ่มประเภทซีอีโอ หรือผู้บริหารระดับสูงจะอยู่ที่ 5-7% ตัวเลขนี้ ปัจจุบันจะเห็นว่าระดับปฏิบัติการและบริหารงานจะใช้คนท้องถิ่นเป็นหลัก ส่วนในระดับซีอีโอ จะเป็นคนต่างชาติ หรือคนที่ใช้ภาษาได้ดี จะเห็นได้ว่าในอนาคตหากมีการเปิดเออีซีขึ้น การเคลื่อนย้ายแรงงานก็จะตามมาด้วย แต่ละองค์กรต้องการแรงงานที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี เพื่อประสิทธิภาพงานที่ดีตามไปด้วย







______________________________________




แรงงานไอทีไทยยุค 'เออีซี' ส่อเค้าวิกฤติ


นับถอยหลังเปิดเออีซีอีก 2 ปี เตรียมความพร้อมตลาดแรงงานไอทีไทย


เทคโนโลยีด้านการสื่อสารไอที ค่อยๆ คืบคลานเข้ามามีบทบาทในทุกด้านรอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของเครื่องใช้ การทำงาน การศึกษา ธุรกิจ ล้วนแต่มีส่วนประกอบของเทคโนโลยีแทบทั้งสิ้น การเติบโตในธุรกิจดังกล่าว เติบโตขึ้นในแต่ละปีราว 20% ที่เห็นได้ชัด คือ กรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ ส่งผลให้แรงงานกลุ่มไอทีเป็นที่ต้องการตามลำดับ และหลายฝ่ายก็มองว่าธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีจะเป็นอีกสาขาที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ในอนาคต

โดยเฉพาะเมื่อวันนี้กระแสประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีกำลังจ่อคอประเทศไทยอยู่ในอีก 2 ปีข้างหน้า แต่วันนี้ไทยเตรียมรับมือกับการเปิดตลาดเสรีไปแล้วแค่ไหน ปัจจุบันกลุ่มธุรกิจในด้านดังกล่าวมีทั้งที่เป็นของเชื้อสายไทย เชื้อสายต่างชาติ หรือลูกผสมที่มีการร่วมทุนกันเปิดธุรกิจในไทย

ปัจจุบันประเทศใกล้บ้านไทย เดินหน้าเตรียมความพร้อมไปแล้วระดับหนึ่ง โดยเฉพาะรากฐานที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบ การทำงาน คือ บุคลากรที่มีศักยภาพ ตรงตามความต้องการที่หน่วยงาน หรือองค์กรนั้นๆ ต้องการ

นายไซมอน แมททิวส์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย แถบตะวันออกกลาง และเวียดนาม ของ แมนพาวเวอร์ กรุ๊ป ที่ดูแลตลาดแรงงานในภาคพื้นดังกล่าว เปิดเผยถึงผลสรุปการศึกษาของบริษัทว่า เทรนด์วันนี้ รวมถึงเทรนด์ในอนาคตของธุรกิจด้านเทคโนโลยี-ไอที ช่วงระยะเวลา 2-3 ปี ไทยอาจจะค่อยๆ เติบโต แต่ไม่ถึงกับก้าวกระโดด อาจเป็นเพราะระบบด้านต่างๆ ยังไม่มีความเสถียรมากนัก แต่ใน 3 ปี ข้างหน้า เชื่อว่าภาคธุรกิจ และหน่วยงานต่างๆ จะนำเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอน

แรงงานไอทีไทยขาดทักษะ "ภาษา"

ดังนั้นเมื่อในอนาคตธุรกิจเติบโต แรงงานที่มีศักยภาพก็เป็นที่ต้องการมากขึ้นเช่นเดียวกัน แต่เมื่อธุรกิจกำลังไปได้ดี การเปิดเออีซีก็คือเปิดตลาดเสรีเช่นเดียวกัน ดังนั้น ข้อมูลจากหลายฝ่ายๆ ของหน่วยงานในด้านดังกล่าว พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า บุคลากรไทยมีศักยภาพ มีทักษะในด้านการทำงานที่ดี แต่ขาดเรื่องภาษา

ทั้งนี้ วัดได้จากปริมาณแรงงานที่ก้าวเข้าสู่ตลาดดังกล่าวคือ 100 คน มีความสามารถในด้านภาษาที่ดีอยู่ที่ประมาณ 1-5 คน และสามารถที่จะสื่อสารได้อยู่ที่ประมาณ 10-20 คน ที่เหลือกว่า 65 คนสามารถสื่อสารด้านภาษาอังกฤษได้น้อยมาก

โดยส่วนใหญ่กลุ่มแรงงานเหล่านี้จะมีทักษะภาษาที่เฉพาะกลุ่มเท่านั้น และทำให้การเติบโตในสายงานดังกล่าวค่อนข้างทรงตัว โดยเฉพะในระดับบริหารงานที่จะเติบโตจากระดับปฏิบัติการต้องการความรู้ ทักษะ และความสามารถในด้านการสื่อสารที่ค่อนข้างดี

นายแมททิวส์ ระบุว่า แรงงานกลุ่มเทคโนโลยี โทรคมนาคม ไอที ปัจจุบัน สามารถแบ่งสัดส่วนในประเทศไทยได้ที่ 60% จะเป็นในระดับปฏิบัติการ ระดับบริหารงานอยู่ที่ 30-35% และกลุ่มประเภทซีอีโอ หรือผู้บริหารระดับสูงจะอยู่ที่ 5-7% ตัวเลขนี้ ปัจจุบันจะเห็นว่าระดับปฏิบัติการและบริหารงานจะใช้คนท้องถิ่นเป็นหลัก ส่วนในระดับซีอีโอ จะเป็นคนต่างชาติ หรือคนที่ใช้ภาษาได้ดี จะเห็นได้ว่าในอนาคตหากมีการเปิดเออีซีขึ้น การเคลื่อนย้ายแรงงานก็จะตามมาด้วย แต่ละองค์กรต้องการแรงงานที่สื่อสารภาษาอังกฤษได้ดี เพื่อประสิทธิภาพงานที่ดีตามไปด้วย

ถึงยุคต่างชาติทำงานร่วมคนไทย

คนกลุ่มที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจนในอนาคต คือ กลุ่มบริหารงาน ที่จะมีการดึงคนของแต่ละประเทศเข้ามามีบทบาทการทำงานในประเทศไทยมากขึ้น แต่การเติบโตของธุรกิจประเภทนี้จะมีเทรนด์ใหม่เติบโตขึ้นเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจที่เกิดกับแอพพลิเคชั่น สมาร์ทโฟน อุปกรณ์ต่างๆ ที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์คนเมือง

ส่วนของค่าตอบแทนบุคลากรเหล่านี้ มักมีเรื่องค่าจ้างที่ค่อนข้างสูงอยู่แล้ว โดยบางหน่วยงานเริ่มต้นที่ 15,000 บาท หรือสูงกว่า แต่การทำงานของคนเหล่านี้ต้องสามารถตอบสนองความต้องการของนายจ้างได้ดีด้วยเช่นกัน บุคลากรในสายงานดังกล่าวถือเป็นแรงงานที่ตลาดต้องการเป็นอย่างมาก และตลาดยังขาดแคลนแรงงานในสายงานนี้อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งวันนี้กลุ่มเอชอาร์ของหน่วยงานต่างๆ มีการหาบุคลากรในสายงานนี้จากแมนพาวเวอร์กรุ๊ปอยู่เป็นจำนวนมาก

"หากตลาดเปลี่ยน แรงงานเป็นที่ต้องการมากขึ้น แต่แรงงานไทยไม่ตอบโจทย์หน่วยงาน หรือองค์กรเหล่านี้ เพียงเพราะ "ภาษา" ที่เรายังด้อยอยู่ คงเป็นเรื่องน่าเสียดาย การเตรียมความพร้อม ความรู้ รวมถึงข้อมูลต่างๆ ให้พร้อมเข้าสู่ตลาดแรงงานอนาคต ต้องเตรียมตัวความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ความรู้ความสามารถเรื่องของภาษา ทักษะการทำงาน ความรู้ในสายงานต่างๆ ต้องชัดเจนว่า จะต้องขึ้นอยู่กับใคร ภาครัฐ ภาคเอกชน ตัวบุคคลเอง หรือต้องบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างจริงจัง เพื่อรับกับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่กำลังจะเกิดขึ้น" นายแมททิวส์ กล่าว

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130705/515492/%E0%B9%81%E0%B8%A
3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8
%97%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%
B8%84-%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%B5-
%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2
%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%95%E0%B8%B4.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.