Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 กรกฎาคม 2556 เลขา(กทค.) จี้ DTAC คืนคลื่น 800 ให้ กสทช.ดีกว่าหลืออีกแค่ 5 ปี ลงทุนไปก็ไม่คุ้ม (เหตุลึกๆ เอามาจัดให้กับระบบ(GSM-R)สื่อสารระบบราง เหมือนเพื่อนบ้าน)


ประเด็นหลัก


ร.ท.เจษฎากล่าวต่อว่าคงต้องรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางการนำคลื่นออกมาประมูล มี 2 แนวทางได้ประโยชน์สูงสุด คือนำมาประมูลพร้อม 900 MHz ตามสัมปทานเอไอเอส เพื่อให้รู้ล่วงหน้าก่อนสัมปทานสิ้นสุดปี 2558 ว่าใครจะได้สิทธิ์ดูแลคลื่นต่อ ซึ่งไม่กระทบสิทธิ์การใช้งานของเอไอเอส ทั้งได้ใช้คลื่น 900 MHz รองรับ 2G เพื่อให้นำคลื่นย่าน 1800 MHz

ไปให้บริการ 4G ได้เต็มที่ แต่ปัญหาคือไม่แน่ใจว่าเจ้าของสัมปทานจะยินยอมหรือไม่หากไม่ยอมก็ยากที่จะเข้าไปดำเนินการเพราะสัมปทานได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ

อีกแนวทางคือ หาทางเจรจาโยกช่วงความถี่ 1800 MHz ตามสัมปทานดีแทค ที่คั่นกลางระหว่างคลื่นของทรูมูฟและดีพีซีที่จะนำออกประมูลมาอยู่รวมกันเป็นช่วงยาว 25 MHz นำไปใช้ให้บริการ 4G ได้

"แบนด์วิดท์แค่ 10 MHz ทำ 4G ได้ก็จริง แต่ถ้าจะให้มีคุณภาพเหนือ 3G ต้องกว้างตั้งแต่ 15 MHz หากเจรจาให้ดีแทคคืนคลื่น 1800 MHz มาประมูลพร้อมกันกับที่หมดสัมปทานเป็น 50 MHz ยิ่งดี เพราะสัมปทานดีแทคเหลืออีกแค่ 5 ปี จะลงทุนเพิ่มก็ไม่คุ้มแล้ว แต่ถ้าสุดท้ายเจรจา"





______________________________________





"กทค."ชงเคลียร์คลื่น800MHz รองรับ"ไฮสปีดเทรน-ภัยพิบัติ"


"กทค." ไอเดียกระฉูด เตรียมเคลียร์คลื่น 800 MHz รองรับ "รถไฟความเร็วสูง-ภัยพิบัติ" อ้างตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่การเตรียมประมูลคลื่น 1800 MHz ยังไปไม่ถึงไหน ยอมรับถ้าเจรจา "ดีแทค-เอไอเอส" ดึงคลื่นมาประมูลล่วงหน้าได้เพิ่มมูลค่าได้อีกเพียบ

ร.ท.เจษฎา ศิวรักษ์ เลขานุการประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เปิดเผยว่า กทค.กำลังเตรียมหารือเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นเพื่อรองรับโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูงที่รัฐบาลกำลังผลักดัน แต่ยังไม่ได้มีหน่วยงานใดคำนึงถึงการสื่อสารระบบราง ซึ่งจำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่สำหรับระบบควบคุมและรักษาความปลอดภัย (GSM-R) ที่ผ่านมา จากการไปประชุมในต่างประเทศมีหลายโอเปอเรเตอร์หยิบประเด็นนี้มาหารือ การทำระบบรถไฟความเร็วสูงระหว่างประเทศจำเป็นต้องวางระบบ GSM-R โดยใช้ความถี่ย่านเดียวกัน เพื่อให้ทำงานต่อเนื่องส่วนใหญ่ใช้ย่าน 800 MHz ความกว้าง 10 MHz แต่การสื่อสารระบบรางของไทยใช้หลายระบบปนกัน

ในสิงคโปร์และมาเลเซียกำหนดในตารางแผนคลื่นความถี่แห่งชาติว่าจะใช้คลื่นย่านนี้สำหรับ GSM-R รองรับการคมนาคมระบบราง เพื่อเตรียมพร้อมเปิดเสรีอาเซียน เช่นเดียวกันการจัดสรรคลื่นสำหรับการสื่อสารในภาวะภัยพิบัติ ที่ได้บทเรียนจากสึนามิทำให้เห็นปัญหาในการใช้อุปกรณ์สื่อสารเพื่อกู้ภัยที่แต่ละประเทศใช้คนละย่านความถี่เป็นอุปสรรคในการระดมความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่กู้ภัยนานาประเทศ และมีแนวโน้มว่าในเอเชีย-แปซิฟิก เริ่มตกลงให้คลื่น 806-816 MHzสำหรับการสื่อสารในภาวะวิกฤต แต่ในไทยใช้คลื่นนี้สำหรับทรังก์โมบาย (วอล์กกี้ทอล์กกี้) เชิงพาณิชย์

สำหรับความคืบหน้าในการเตรียมการประมูลคลื่น 1800 MHz หลังสัญญาสัมปทานทรูมูฟและดิจิตอลโฟน สิ้นสุดในวันที่ 15 ก.ย.นี้ จะทำให้คลื่นความถี่ 12.5 MHz ที่แต่ละบริษัทครอบครองอยู่ต้องนำมาจัดสรรใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยพยายามให้มีการประมูลได้ภายในสิ้นปีหน้า แต่การประเมินคลื่นความถี่ย่านดังกล่าว แม้ในต่างประเทศก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

"การตั้งราคาคลื่นย่าน 1800 MHz มีความสัมพันธ์กับเทคโนโลยีที่จะนำไปใช้ เพราะเป็นคลื่นที่มีการลงทุน 2G ไปมากแล้ว หากในการประมูลเคลียร์ลูกค้า 2G ออกจากระบบ เพื่อให้ผู้ชนะนำคลื่นย่านนี้ไปได้ให้บริการ 4G LTE ได้ทั้งหมด มูลค่าคลื่นจะสูงมาก แต่ถ้าเปิดประมูลโดยมีเงื่อนไขให้ต้องดูแลลูกค้า 2G ที่ค้างในระบบด้วย ราคาคงไม่สูงเท่าตอนประมูลคลื่น 2.1 GHz"

ร.ท.เจษฎากล่าวต่อว่าคงต้องรอดูความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางการนำคลื่นออกมาประมูล มี 2 แนวทางได้ประโยชน์สูงสุด คือนำมาประมูลพร้อม 900 MHz ตามสัมปทานเอไอเอส เพื่อให้รู้ล่วงหน้าก่อนสัมปทานสิ้นสุดปี 2558 ว่าใครจะได้สิทธิ์ดูแลคลื่นต่อ ซึ่งไม่กระทบสิทธิ์การใช้งานของเอไอเอส ทั้งได้ใช้คลื่น 900 MHz รองรับ 2G เพื่อให้นำคลื่นย่าน 1800 MHz

ไปให้บริการ 4G ได้เต็มที่ แต่ปัญหาคือไม่แน่ใจว่าเจ้าของสัมปทานจะยินยอมหรือไม่หากไม่ยอมก็ยากที่จะเข้าไปดำเนินการเพราะสัมปทานได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ

อีกแนวทางคือ หาทางเจรจาโยกช่วงความถี่ 1800 MHz ตามสัมปทานดีแทค ที่คั่นกลางระหว่างคลื่นของทรูมูฟและดีพีซีที่จะนำออกประมูลมาอยู่รวมกันเป็นช่วงยาว 25 MHz นำไปใช้ให้บริการ 4G ได้

"แบนด์วิดท์แค่ 10 MHz ทำ 4G ได้ก็จริง แต่ถ้าจะให้มีคุณภาพเหนือ 3G ต้องกว้างตั้งแต่ 15 MHz หากเจรจาให้ดีแทคคืนคลื่น 1800 MHz มาประมูลพร้อมกันกับที่หมดสัมปทานเป็น 50 MHz ยิ่งดี เพราะสัมปทานดีแทคเหลืออีกแค่ 5 ปี จะลงทุนเพิ่มก็ไม่คุ้มแล้ว แต่ถ้าสุดท้ายเจรจา"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1375152044

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.