Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 สิงหาคม 2556 (เกาะติดประมูล4G) กสทช.ออกมาตราการประมูลคลื่น 1800 7ขั้น!! พร้อมเตรียมมาตรการเยียวยารองรับผู้จะได้รับผลกระทบซึ่งต้องเรียบร้อยก่อนประมูล


ประเด็นหลัก


ส่วนขั้นตอนการจัดประมูลคลื่น 1800 ขั้นที่ 1 จัดทำแผนแม่บท ขั้นที่ 2 ปรับปรุงกฎกติกาที่เป็นอุปสรรคต่อการประมูล รวมทั้งสร้างความชัดเจนข้อกฎหมาย เรื่องผลของการสิ้นสุดสัมปทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์

ขั้นที่ 3 เตรียมจัดสรรโดยใช้คลื่น 3จี ซึ่งเป็นฐานไปสู่บริการ 4 จี อันเป็นการเตรียมรากฐานการประมูลคลื่น 1800 ขั้นที่ 4 ประมูลคลื่นในกรอบเวลาที่กำหนดเดือนก.ย. 2557

ขั้นที่ 5 ประเมินผลการประมูล เพื่อนำไปปรับปรุงการประมูลขั้นที่ 6 เร่งการสร้างเครือข่าย การติดตั้งโครงข่ายและทำให้บริการเกิดประโยชน์สูงสุด มีความเสถียรเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนคลื่น และทำให้รากฐานการจัดสรรคลื่น 1800 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นที่ 7 เตรียมมาตรการเยียวยารองรับผู้จะได้รับผลกระทบซึ่งต้องเรียบร้อยก่อนประมูล

______________________________________




‘เศรษฐพงค์’ ยันประมูล 4จี ตามขั้นตอน


กทค.ยืนยันชัดกรอบการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เป็นไปตามขั้นตอน วาง แผนประมูลควบคู่กับการประมูล 3จี  ไว้นานแล้ว ระบุหาก 3จี ไม่เกิด การประมูล 4จี         ก็จะต้องไม่เกิดเช่นกัน เพราะหากการให้บริการ 3จี ไม่แข็งแรง การให้บริการ 4จี ก็ล้มเหลวตามไปด้วย

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) กล่าวว่า หลักการดำเนินงานกับคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่บอร์ด กทค. ได้วางกรอบระยะเวลาการประมูลในช่วงเดือน ก.ย. 2557 หลังจากคลื่นความถี่จะหมดสัญญาในเดือน ก.ย. 2556 นี้ ขั้นตอนแรก กทค.จะต้องจัดทำแผนแม่บท   ให้แล้วเสร็จ ก่อนจะปรับปรุงกฎกติกาที่เป็นอุปสรรคต่อการประมูลรวมทั้งสร้างความชัดเจนในประเด็นข้อกฎหมายเรื่องผลของการสิ้นสุดสัมปทานกรณีคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์

อย่างไรก็ตาม หลังจากได้มีการจัดสรรคลื่น 3จี ซึ่งเป็นฐานไปสู่บริการ 4จี ถือเป็นการเตรียมรากฐานการประมูลคลื่น 1800 เมกะ เฮิรตซ์ กทค.จะต้องประเมินผลการประมูล 3จี พร้อมเร่งให้มีการติดตั้งโครงข่ายและทำให้บริการ 3จี มีความเสถียรแก้ปัญหาการขาด แคลนคลื่น ทำให้การจัดสรรคลื่น 1800 เมกะ เฮิรตซ์ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยแผนบริหารคลื่นความถี่ต้องวางมาตรการเยียวยา เพื่อรองรับผู้ที่จะได้รับผลกระทบซึ่งต้องเตรียมให้เรียบร้อยก่อนประมูลใบอนุญาต เนื่องจากมีผู้ใช้งานค้างในระบบโดยการประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์

“กทค.ต้องมองให้รอบคอบทั้งระบบ หลังประมูล 3จี ต้องให้ระบบ 3จี เดินได้ก่อนจะประมูล 4จี ถ้าฐานยังไม่เข้มแข็งหรืออ่อนแอ การประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ เพื่อนำไปสู่การให้บริการ 4จี ย่อมล้มเหลวตามไปด้วย” พ.อ.เศรษฐพงค์ กล่าว.


http://www.dailynews.co.th/technology/224014


______________________________________




กสทช.หนุนไอซีทีชงแก้พ.ร.บ.3มาตรา


กสทช.หนุนไอซีทีชงแก้ พ.ร.บ. 3 มาตรา พร้อมเดินหน้าประมูลคลื่น 1800 กำหนดเดิม ก.ย. 2557 หลังคณะกลั่นกรองไม่เห็นชอบใช้คลื่น 1800 ต่อ


พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค.) และประธานคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมรองรับสัญญาสัมปทานย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์สิ้นสุดลง กล่าวว่า กรณีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะเสนอรัฐสภาพิจารณาแก้กฎหมายอย่างน้อย 3 มาตรา ในพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) นั้น

เขาเห็นว่า การร่างกฎหมายเป็นหน้าที่ของนิติบัญญัติ กสทช. ทำตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติ สร้าง พ.ร.บ. มาให้ปฏิบัติ และกสทช.ก็มีสิทธิอำนาจเต็มที่ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

"ยอมรับว่ายังมีบางมาตราในกฎหมายที่ต้องแก้ไข เพราะยังคลุมเครือ แต่เรื่องการคืนคลื่นมาจัดสรรใหม่ ย่าน 1800 นั้น ชัดเจนมากในอำนาจและสิทธิที่ กสทช. ได้รับ และตอนที่เจรจากันก็ไม่เห็นว่าไอซีทีจะแย้งอะไร"

ที่ผ่านมา กสทช. รับทราบแนวทางปฏิบัติของไอซีทีมาตลอด ตั้งแต่ยื่นเรื่องขอใช้สิทธิการถือครองคลื่นความถี่ต่อภายหลังหมดสัญญาสัมปทาน เช่น คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ต่อคณะกรรมการกลั่นกรอง เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองรับทราบแผน แต่ไม่เห็นชอบตามที่ไอซีทีขอใช้คลื่นถึงปี 2568 เพราะตามหลัก มติ ครม. ต้องไม่ขัดกับกฎหมาย และมอบหมายกระทรวงไอซีทีไปเจรจากับ กสทช.

"ดังนั้น กสทช. จะได้สิทธินำคลื่นมาเปิดประมูล 4จี เดือนก.ย. 2557 ต่อไป โดยได้ชี้แจง และได้ข้อยุติความเห็นจาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์), กสทช. ซึ่งส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ขยายระยะเวลาสัมปทานไม่ได้"

ส่วนขั้นตอนการจัดประมูลคลื่น 1800 ขั้นที่ 1 จัดทำแผนแม่บท ขั้นที่ 2 ปรับปรุงกฎกติกาที่เป็นอุปสรรคต่อการประมูล รวมทั้งสร้างความชัดเจนข้อกฎหมาย เรื่องผลของการสิ้นสุดสัมปทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์

ขั้นที่ 3 เตรียมจัดสรรโดยใช้คลื่น 3จี ซึ่งเป็นฐานไปสู่บริการ 4 จี อันเป็นการเตรียมรากฐานการประมูลคลื่น 1800 ขั้นที่ 4 ประมูลคลื่นในกรอบเวลาที่กำหนดเดือนก.ย. 2557

ขั้นที่ 5 ประเมินผลการประมูล เพื่อนำไปปรับปรุงการประมูลขั้นที่ 6 เร่งการสร้างเครือข่าย การติดตั้งโครงข่ายและทำให้บริการเกิดประโยชน์สูงสุด มีความเสถียรเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนคลื่น และทำให้รากฐานการจัดสรรคลื่น 1800 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นที่ 7 เตรียมมาตรการเยียวยารองรับผู้จะได้รับผลกระทบซึ่งต้องเรียบร้อยก่อนประมูล

ทั้งนี้ กสทช.มีหลักฐานชัดว่า กทค. เตรียมการประมูลคลื่น 1800 อย่างต่อเนื่อง แต่ละขั้นตอนล้วนสัมพันธ์กันและจำเป็นต้องดำเนินการตามลำดับ หรือคู่ขนานกัน มิฉะนั้นจะกระทบต่อประสิทธิภาพในการจัดสรรคลื่น 1800 และคลื่นอื่นๆ ซึ่งต้องมองให้รอบคอบทั้งระบบ


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130806/521641/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8
A.%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B
8%97%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9E.%E0%B8%A3.%E
0%B8%9A.3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.