Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 สิงหาคม 2556 กสทช.ไม่ขัดหาก ICT จะแก้ไข พ.ร.บ.กสทช. 3 มาตรา ( แต่ในกฏหมายมันระบุชัด คลื่น 1800 กสทช. มีอำนาจในการตัดสินใจจริงๆ โดยเฉพาะมาตราที่ 48)


ประเด็นหลัก

พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค.) และประธานคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมรองรับสัญญาสัมปทานย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์สิ้นสุดลง กล่าวว่า กรณีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะเสนอรัฐสภาพิจารณาแก้กฎหมายอย่างน้อย 3 มาตรา ในพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) นั้น




ข่าวที่เกี่ยวข้อง

05 สิงหาคม 2556 อนุดิษฐ์ ลุยด่วนที่สุด!! แก้พ.ร.บ.กสทช. ชี้ลุแก่อำนาจเอื้อประโยชน์เอกชน ตีความกฏหมายเข้าข้างตัวเอง!! ( ข้อหาลึกๆเช่น มาตราการเยียวยา1ปี,ไม่ฟังCATให้บริหารคลื่น1800ในส่วนที่DTACไม่ใช้งาน)


ประเด็นหลัก


  เนื่องจากข้อกฏหมายในบางมาตราของ พ.ร.บ.กสทช. ก่อให้เกิดการตีความในเชิงของกฎหมายที่ต่างกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะตีความเข้าข้างตัวเอง ฉะนั้นจึงมีความเห็นว่าควรจะแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และไม่ต้องตีความอีก
    
       “ล่าสุดที่ตีความต่างกันกรณีการบริหารจัดการคลื่นหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่ทำไว้ร่วมกับบริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี ซึ่งในประเด็นดังกล่าวทาง กระทรวงไอซีที และกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีความเห็นในการตีความกฎหมายที่ต่างกัน”
    
       ทั้งนี้ ตลอดเวลา 3 ปีที่ผ่านมาที่มีการนำเอา พ.ร.บ.กสทช.มาใช้ มีทั้งปัญหา และอุปสรรค รวมไปถึงมีการฟ้องร้องมาโดยตลอด ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อวงการโทรคมนาคมแต่อย่างใด โดยทางออกที่ดีควรระดมสมองเพื่อแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวให้สมบูรณ์ และถูกต้อง เพื่อไม่ต้องนำไปตีความ หรือมีเรื่องต้องฟ้องศาล ถึงแม้จะต้องใช้เวลาแก้ไขกฎหมายไม่ต่ำกว่า 1-2 ปีก็ต้องทำ ส่วนใครจะเป็นเจ้าภาพในการแก้ไขนั้น คงต้องหารือกันอีกครั้งต่อไป
    
       ส่วนรายละเอียดที่มีหลายฝ่ายให้ความเห็นว่าควรจะแก้ไขได้แก่ มาตรา 27 เรื่องอำนาจหน้าที่ของ กสทช. เนื่องจากการใช้อำนาจของ กสทช.ขัดแย้งกับ พ.ร.บ.ประกอบกิจการประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 และมาตรา 28 การรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และประชาชนทั่วไป เพื่อนำความเห็นที่ได้มาประกอบการพิจารณาก่อนออกประกาศ แต่ในทางปฏิบัติมีการเสนอความเห็น แต่ กสทช.ไม่ได้นำมาประกอบการพิจารณาแต่อย่างใด
    
       นอกจากนี้ ในมาตรา 29 การกำหนดอัตราค่าเชื่อมใช้หรือค่าเชื่อมต่อโครงข่ายหรือค่าธรรมเนียม กสทช.ไม่ได้นำต้นทุนที่แท้จริงมาคำนวณ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม และเป็นภาระของผู้ประกอบการ มาตรา 45 ผู้ประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคม ต้องได้รับใบอนุญาต และต้องประมูลคลื่นความถี่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศ กสทช. แต่ผู้มีข้อโต้แย้งกรณีที่มีการใช้คลื่นความถี่อยู่แล้วก็จะมีสิทธิใช้คลื่นไปจนกว่าจะสี้นสุดใบอนุญาต ไม่ใช่สิ้นสุดสัญญาสัมปทาน และบทเฉพาะกาล มาตรา 84 ซึ่งถือว่ามีความไม่ชัดเจน ทำให้มีการตีความกันหลายความเห็นมาก ซึ่งถือว่าไม่เป็นผลดีต่อวงการโทรคมนาคม
    
       รวมไปถึงกรณีอ้างอิงมาตรา 46 มิให้ใช้บังคับกับรัฐวิสาหกิจที่นำคลื่นที่ได้รับจัดสรรแล้วไปให้ผู้อื่นประกอบกิจการโดยการอนุญาต สัมปทาน หรือตามสัญญา ไปใช้คลื่นความถี่แล้วสามารถประกอบกิจการได้ตามระยะเวลาที่เหลืออยู่ ซึ่งก็จะเกิดคำถามว่า แล้วสัญญานั้นต้องโอนทรัพย์สินคืนให้รัฐแล้วจะนำทรัพย์สินนั้นมาใช้กับคลื่นความถี่ใด และหากต้องขายทรัพย์สินก็ต้องใช้เวลาในการดำเนินการ และหากขยายระยะเวลาการเยียวยาเหมือนกับที่ กสทช.พยายามจะออกประกาศมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการออกไปอีก 1 ปีนั้น ก็ถูกมองว่าเป็นการขยายอายุสัญญา ซึ่งก็ไม่มีข้อยุติ และมีแนวโน้มที่จะมีการยื่นฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ชี้ขาด ฉะนั้นทางออกที่ดีควรจะดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.กสทช.โดยด่วน


น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า สำหรับคลื่นความถี่จำนวน 25 เมกะเฮิรตซ์ ที่ บริษัท โทเทิ่ล แอ็สเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค ถืออยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ไม่ได้ใช้งานนั้น กสทช.เคยระบุว่า จะนำคลื่นดังกล่าวมาประมูล ส่วนตัวมองว่า การนำคลื่นมาประมูลจะส่งผลกระทบต่อแผนและแนวทางการดำเนินงานของ กสท เพราะแผนการบริหารคลื่นความถี่ของกสท ในช่วงดังกล่าวยังมีผลถึงปี 2561.





ขณะที่แหล่งข่าวจาก กระทรวงไอซีที กล่าวว่า  แนวคิดการแก้ไขพ.ร.บ.กสทช.นั้น สืบเนื่องจากตลาดระยะเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาของวงการโทรคมนาคม ไม่มีข้อยุติ และถกเถียงกันหลายประเด็น ซึ่งแต่ละฝ่ายต่างยึดกฎหมายเป็นหลัก รวมถึงยังส่อขัดกับรัฐธรรมนูญปี 2550 อีกด้วย ฉะนั้นจึงต้องสังคยานาพ.ร.บ.กสทช.ใหม่ โดยไม่ต้องตีความคนละทิศละทางกันอีก


http://somagawn.blogspot.com/2013/08/05-2556-1cat1800dtac.html


______________________________________




กสทช.หนุนไอซีทีชงแก้พ.ร.บ.3มาตรา


กสทช.หนุนไอซีทีชงแก้ พ.ร.บ. 3 มาตรา พร้อมเดินหน้าประมูลคลื่น 1800 กำหนดเดิม ก.ย. 2557 หลังคณะกลั่นกรองไม่เห็นชอบใช้คลื่น 1800 ต่อ


พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการโทรคมนาคม (กทค.) และประธานคณะอนุกรรมการเตรียมความพร้อมรองรับสัญญาสัมปทานย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์สิ้นสุดลง กล่าวว่า กรณีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะเสนอรัฐสภาพิจารณาแก้กฎหมายอย่างน้อย 3 มาตรา ในพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่กำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) นั้น

เขาเห็นว่า การร่างกฎหมายเป็นหน้าที่ของนิติบัญญัติ กสทช. ทำตามที่ฝ่ายนิติบัญญัติ สร้าง พ.ร.บ. มาให้ปฏิบัติ และกสทช.ก็มีสิทธิอำนาจเต็มที่ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

"ยอมรับว่ายังมีบางมาตราในกฎหมายที่ต้องแก้ไข เพราะยังคลุมเครือ แต่เรื่องการคืนคลื่นมาจัดสรรใหม่ ย่าน 1800 นั้น ชัดเจนมากในอำนาจและสิทธิที่ กสทช. ได้รับ และตอนที่เจรจากันก็ไม่เห็นว่าไอซีทีจะแย้งอะไร"

ที่ผ่านมา กสทช. รับทราบแนวทางปฏิบัติของไอซีทีมาตลอด ตั้งแต่ยื่นเรื่องขอใช้สิทธิการถือครองคลื่นความถี่ต่อภายหลังหมดสัญญาสัมปทาน เช่น คลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ต่อคณะกรรมการกลั่นกรอง เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองรับทราบแผน แต่ไม่เห็นชอบตามที่ไอซีทีขอใช้คลื่นถึงปี 2568 เพราะตามหลัก มติ ครม. ต้องไม่ขัดกับกฎหมาย และมอบหมายกระทรวงไอซีทีไปเจรจากับ กสทช.

"ดังนั้น กสทช. จะได้สิทธินำคลื่นมาเปิดประมูล 4จี เดือนก.ย. 2557 ต่อไป โดยได้ชี้แจง และได้ข้อยุติความเห็นจาก 4 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานอัยการสูงสุด, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์), กสทช. ซึ่งส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า ขยายระยะเวลาสัมปทานไม่ได้"

ส่วนขั้นตอนการจัดประมูลคลื่น 1800 ขั้นที่ 1 จัดทำแผนแม่บท ขั้นที่ 2 ปรับปรุงกฎกติกาที่เป็นอุปสรรคต่อการประมูล รวมทั้งสร้างความชัดเจนข้อกฎหมาย เรื่องผลของการสิ้นสุดสัมปทานคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์

ขั้นที่ 3 เตรียมจัดสรรโดยใช้คลื่น 3จี ซึ่งเป็นฐานไปสู่บริการ 4 จี อันเป็นการเตรียมรากฐานการประมูลคลื่น 1800 ขั้นที่ 4 ประมูลคลื่นในกรอบเวลาที่กำหนดเดือนก.ย. 2557

ขั้นที่ 5 ประเมินผลการประมูล เพื่อนำไปปรับปรุงการประมูลขั้นที่ 6 เร่งการสร้างเครือข่าย การติดตั้งโครงข่ายและทำให้บริการเกิดประโยชน์สูงสุด มีความเสถียรเพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนคลื่น และทำให้รากฐานการจัดสรรคลื่น 1800 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขั้นที่ 7 เตรียมมาตรการเยียวยารองรับผู้จะได้รับผลกระทบซึ่งต้องเรียบร้อยก่อนประมูล

ทั้งนี้ กสทช.มีหลักฐานชัดว่า กทค. เตรียมการประมูลคลื่น 1800 อย่างต่อเนื่อง แต่ละขั้นตอนล้วนสัมพันธ์กันและจำเป็นต้องดำเนินการตามลำดับ หรือคู่ขนานกัน มิฉะนั้นจะกระทบต่อประสิทธิภาพในการจัดสรรคลื่น 1800 และคลื่นอื่นๆ ซึ่งต้องมองให้รอบคอบทั้งระบบ


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130806/521641/%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8
A.%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B
8%97%E0%B8%B5%E0%B8%8A%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%9E.%E0%B8%A3.%E
0%B8%9A.3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2.html








ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.