Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 สิงหาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) พสุ ศรีหิรัญ ชี้ หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนผ่าน คือการมีผู้เล่นรายใหม่ ดังนั้น ราคาประมูลจึงไม่สำคัญ ขอเพียงมีผู้ประกอบการรายใหม่เพิ่มขึ้น


ประเด็นหลัก


เพิ่มทางเลือกใหม่

ฝั่ง "พสุ ศรีหิรัญ" รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ และจัดการทรัพยากรกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช.กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนผ่าน คือการมีผู้เล่นรายใหม่ ดังนั้น ราคาประมูลจึงไม่สำคัญ ขอเพียงมีผู้ประกอบการรายใหม่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันผู้ได้รับใบอนุญาตยังต้องไม่ได้จ่ายแค่เงินประมูล แต่ยังมีค่าเช่าโครงข่ายด้วย

ขณะที่ "กฤษณัน งามผาติพงศ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีทีเอช กล่าวว่าทีวีดิจิทัลทำให้คนดูมีทางเลือก แต่ต้องดูระยะยาวด้วย

"ใครจะผลิตรายการ และรายการที่ผลิตจะดีจริงหรือไม่ หากมีช่องมากถึงขนาดนี้ ผู้ผลิตที่มีอยู่คงเนื้อหอม แต่จะผลิตทันได้อย่างไร คงต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก"

โอกาสทองผู้ผลิตคอนเทนต์

"อกนิษฐ์ มาโนษยวงศ์" ตัวแทนบริษัท สาระดี จำกัด ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในเครือกันตนากล่าวว่า การผลิตคอนเทนต์แนวสารคดีที่มีประโยชน์ต่อผู้ชมยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง ทำให้ต้องพึงรายได้จากค่าโฆษณาหรือขายทัวร์เสริมไปกับการจัดรายการเพื่อหาเงินผลิตคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และถ้าเรตติ้งน้อย โอกาสโดนถอนรายการก็มาก ซึ่งระบบเรตติ้งทำให้รายการทีวีมีเพียงเกมโชว์ แข่งขันร้องเพลง หรือละครแนวเดิม

"ทีวีดิจิทัลมีข้อดีตรงที่มีช่องเพิ่มขึ้น คอนเทนต์คุณภาพก็ยังอยู่ได้ แม้ไม่ตามกระแสก็ดึงโฆษณาได้ เช่น ซีรีส์ฮอร์โมน ค่าโฆษณานาทีละ 1,000-2,000 บาท ก็ยังอยู่ได้"

อีกหนึ่งผู้ผลิต "ปิยบุตร หล่อไกรเลิส" ผู้ผลิตสารคดีเรื่องเล่าจากเทศกาลทางช่องไทยพีบีเอส กล่าวว่า ช่องเพิ่มจากทีวีดิจิทัลเท่ากับเพิ่มโอกาส คาดว่าตลาดสำหรับผู้ผลิตคอนเทนต์จะใหญ่ขึ้นแน่นอน รายใหม่ยังมีที่ยืนมากพอ

"โดยส่วนตัวมองว่า มีอีก 3 สิ่งที่ควรจะปลดล็อก ถ้าต้องการผู้ผลิตคอนเทนต์หน้าใหม่ ๆ คือ งบประมาณ กำลังคนและระยะเวลา ในบ้านเรายังมองผู้ผลิตคอนเทนต์เป็นเพียงโรงงานที่ต้องผลิตให้เร็ว ถูกและปริมาณมาก คุณภาพไม่สนใจ ต่างจากเมืองนอก"

"พิภพ พานิชภักดิ์" ผู้ผลิตรายการอิสระ จากสารคดีแม่โขง กล่าวว่า แม้การเปลี่ยนเป็นทีวีดิจิทัลจะดีต่อผู้ผลิตคอนเทนต์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเนื้อหาจะหลากหลายและเป็นประโยชน์ เพราะผู้ชนะประมูลยังเป็นผู้กำหนดทิศทาง และทุนใหญ่มักมาพร้อมเงื่อนไขต่าง ๆ กสทช. จึงควรหาทางประสานให้ผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องอาศัยทุนที่มีเงื่อนไข







กระทุ้ง กสทช.Ž เร่งเคลียร์

"อดิศักดิ์" กล่าวว่า สิ่งที่ กสทช.ต้องเตรียมเพื่อการเปลี่ยนผ่านมีหลายเรื่อง ได้แก่ เรื่อง Set-Top-Box ยังไม่มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับชมอย่างทั่วถึง ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าต้องซื้อทีวีใหม่หรือไม่ จะทำอย่างไรจึงจะรับชมได้ ส่งผลให้ยอดขายทีวีในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาตก เพราะเกิดการชะลอซื้อ อีกทั้งอยากให้มีมาตรฐานเรื่องการวัดเรตติ้งใหม่ เนื่องจากรายใหม่ ๆ มีปัญหามาก ไม่สามารถไปเสนอราคากับเอเยนซี่โฆษณาได้ว่ามีคนดูเท่าไร

นอกจากนี้ ยังต้องการขอความชัดเจนเกี่ยวกับการออกอากาศคู่ขนานว่า สรุปแล้วฟรีทีวีทุกช่องจะได้ออกอากาศคู่ขนานหรือไม่ กำหนดเวลาคืนคลื่นกี่ปี เวลานี้มีแค่ช่อง 5 ช่อง 11 และไทย พีบีเอส ที่มีกำหนดเวลา ส่วนช่อง 3 ช่อง 7 และช่อง 9 ยังไม่ชัดเจน

"เรื่องโครงข่ายเหมือน กสท.คุยกับผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายแค่ 2 ฝั่ง แต่ผู้ใช้โครงข่ายยังไม่มีโอกาสได้คุย ทั้งเรื่องค่าเช่าและพื้นที่แพร่สัญญาณว่าจะครอบคลุมจุดใดบ้าง เพราะเชื่อว่าไม่มีทางที่ภายใน 4-5 ปีจะครอบคลุมกว่า 95% สุดท้ายคือการทดลองออกอากาศอยากให้มีการทดลองในวงกว้างกว่านี้ เพราะเท่าที่ได้ยินที่ช่อง 5 ทดลองที่ตึกใบหยกคนอยู่ใกล้ ๆ ตึกใบหยกดูไม่ได้ แต่อยู่ไกล ๆ เช่น จ.สระบุรีดูได้ เป็นต้น"

























______________________________________




เมื่อ กสทช. เปิดสวิตช์ "ดิจิทัลทีวี" โอกาส-วิกฤตและความท้าทาย


อุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทยกำลังเปลี่ยนผ่านจากยุคแอนะล็อกภายใต้ระบบสัมปทานไปสู่ยุค "ทีวีดิจิทัล" ที่จะต้องมีการประมูลใบอนุญาตในอีกไม่กี่เดือนนี้ จะเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรบ้างต่อจากนี้

ราคาประมูลถูกหรือแพง

"สมชาย แสวงการ" สมาชิกวุฒิสภากล่าวว่า กสทช. ตั้งราคาเริ่มต้นประมูลทีวีดิจิทัลประเภทธุรกิจ ถูกเกินไป (ช่องวาไรตี้ความละเอียดมาตรฐาน (SD) เริ่มต้นที่ช่องละ 380 ล้านบาท ช่องข่าวสาระเริ่มต้น 220 ล้านบาท/ช่อง ช่องรายการเด็กและเยาวชน เริ่มต้นที่ 140 ล้านบาท/ช่อง เป็นต้น) แม้จะมีการอ้างข้อมูลวิจัยของคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่เฉลี่ยแล้วผู้ชนะการประมูลจ่ายค่าเช่าเพียง 100 ล้านบาท/ปี แต่รายได้ไหลเข้าไม่ต่ำกว่าปีละ 6-7 พันล้านบาท และไม่คิดว่าการประมูลนี้จะเกิดการแข่งขันที่แท้จริง เห็นได้จากการประมูล 3G ที่จบด้วยราคาสูงกว่าตั้งต้นเล็กน้อยเท่านั้น

ฟาก "อดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒกิจ" กรรมการผู้อำนวยการ บมจ. เนชั่น บรอดแคสติ้ง

คอร์ปอเรชั่น มองว่า ราคาเริ่มต้นประมูลแพงเกินไป หากเทียบกับประเทศที่มีการเปลี่ยนผ่าน เช่น ฝรั่งเศส ช่วง 1-3 ปีแรกขาดทุนเกือบหมด ยกเว้นรายเก่า ส่วนปีที่ 3-4 กำไรบ้าง แต่มีเพียง 1-2 ราย ส่วนปีที่ 5 เป็นปีที่ชี้วัดว่าใครจะอยู่ใครจะไป คาดว่าในไทยอีก 3 ปีคงเหลือเพียง 10 รายเท่านั้น

"ข้อดีของทีวีดิจิทัล คือ กำจัดช่วงเวลาไพรมไทม์ เพราะเมื่อช่องเพิ่มขึ้น แต่ละช่องจะนำเสนอเนื้อหาแตกต่างกัน ช่วงเวลาไพรมไทม์จึงไม่ตรงกัน เป็นผลดีกับแวดวงโฆษณาไทยช่วยสร้างเม็ดเงินโฆษณามากขึ้น"

เพิ่มทางเลือกใหม่

ฝั่ง "พสุ ศรีหิรัญ" รักษาการผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการ และจัดการทรัพยากรกระจายเสียงและโทรทัศน์ สำนักงาน กสทช.กล่าวว่า หัวใจสำคัญของการเปลี่ยนผ่าน คือการมีผู้เล่นรายใหม่ ดังนั้น ราคาประมูลจึงไม่สำคัญ ขอเพียงมีผู้ประกอบการรายใหม่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันผู้ได้รับใบอนุญาตยังต้องไม่ได้จ่ายแค่เงินประมูล แต่ยังมีค่าเช่าโครงข่ายด้วย

ขณะที่ "กฤษณัน งามผาติพงศ์" ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีทีเอช กล่าวว่าทีวีดิจิทัลทำให้คนดูมีทางเลือก แต่ต้องดูระยะยาวด้วย

"ใครจะผลิตรายการ และรายการที่ผลิตจะดีจริงหรือไม่ หากมีช่องมากถึงขนาดนี้ ผู้ผลิตที่มีอยู่คงเนื้อหอม แต่จะผลิตทันได้อย่างไร คงต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก"

โอกาสทองผู้ผลิตคอนเทนต์

"อกนิษฐ์ มาโนษยวงศ์" ตัวแทนบริษัท สาระดี จำกัด ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ในเครือกันตนากล่าวว่า การผลิตคอนเทนต์แนวสารคดีที่มีประโยชน์ต่อผู้ชมยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง ทำให้ต้องพึงรายได้จากค่าโฆษณาหรือขายทัวร์เสริมไปกับการจัดรายการเพื่อหาเงินผลิตคอนเทนต์ที่มีคุณภาพ และถ้าเรตติ้งน้อย โอกาสโดนถอนรายการก็มาก ซึ่งระบบเรตติ้งทำให้รายการทีวีมีเพียงเกมโชว์ แข่งขันร้องเพลง หรือละครแนวเดิม

"ทีวีดิจิทัลมีข้อดีตรงที่มีช่องเพิ่มขึ้น คอนเทนต์คุณภาพก็ยังอยู่ได้ แม้ไม่ตามกระแสก็ดึงโฆษณาได้ เช่น ซีรีส์ฮอร์โมน ค่าโฆษณานาทีละ 1,000-2,000 บาท ก็ยังอยู่ได้"

อีกหนึ่งผู้ผลิต "ปิยบุตร หล่อไกรเลิส" ผู้ผลิตสารคดีเรื่องเล่าจากเทศกาลทางช่องไทยพีบีเอส กล่าวว่า ช่องเพิ่มจากทีวีดิจิทัลเท่ากับเพิ่มโอกาส คาดว่าตลาดสำหรับผู้ผลิตคอนเทนต์จะใหญ่ขึ้นแน่นอน รายใหม่ยังมีที่ยืนมากพอ

"โดยส่วนตัวมองว่า มีอีก 3 สิ่งที่ควรจะปลดล็อก ถ้าต้องการผู้ผลิตคอนเทนต์หน้าใหม่ ๆ คือ งบประมาณ กำลังคนและระยะเวลา ในบ้านเรายังมองผู้ผลิตคอนเทนต์เป็นเพียงโรงงานที่ต้องผลิตให้เร็ว ถูกและปริมาณมาก คุณภาพไม่สนใจ ต่างจากเมืองนอก"

"พิภพ พานิชภักดิ์" ผู้ผลิตรายการอิสระ จากสารคดีแม่โขง กล่าวว่า แม้การเปลี่ยนเป็นทีวีดิจิทัลจะดีต่อผู้ผลิตคอนเทนต์ แต่ไม่ได้หมายความว่าเนื้อหาจะหลากหลายและเป็นประโยชน์ เพราะผู้ชนะประมูลยังเป็นผู้กำหนดทิศทาง และทุนใหญ่มักมาพร้อมเงื่อนไขต่าง ๆ กสทช. จึงควรหาทางประสานให้ผู้ผลิตไม่จำเป็นต้องอาศัยทุนที่มีเงื่อนไข

ธุรกิจเกี่ยวเนื่องบูม

"ยุพาพักตร์ ตะวันนา" ผู้จัดการทั่วไป ประจำภาคพื้นเอเชีย-แปซิฟิก บริษัท วิซอาร์ที ประเทศไทย จำกัด ผู้ให้บริการดิจิทัลมีเดียโซลูชั่น กล่าวว่า ประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิกอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านเช่นกัน จึงเป็นโอกาสทองของผู้เกี่ยวข้อง อาทิ ขายซอฟต์แวร์เกี่ยวกับการทำกราฟิก 3 มิติ และให้คำแนะนำเรื่องการทำกราฟิกประกอบรายการกับสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ในปัจจุบัน

"ประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์" ประธาน บมจ. แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย ผู้ให้บริการวางระบบโครงข่ายกล่าวว่า กำลังผลิต Set-Top-Box ภายใต้แบรนด์แพลนเน็ต ใช้โรงงานในไทยเป็นฐานผลิต ต่างจากบางรายที่ผลิตในจีน โดยขณะนี้รอเพียงการออกใบอนุญาตจาก กสทช. คาดว่าจะวางจำหน่ายได้กลางเดือน ส.ค.นี้ ราคา 1,500 บาท หากมีทีวีดิจิทัลในแง่ผู้ชมคงสลับกันดู ไม่ว่าจะเป็นดาวเทียม, เคเบิล และทีวีดิจิทัล เพราะช่องเคเบิลและดาวเทียมอาจมีช่องหลากหลาย แต่คุณภาพและการคุมโฆษณามีไม่เท่าฟรีทีวี"

กระทุ้ง กสทช.Ž เร่งเคลียร์

"อดิศักดิ์" กล่าวว่า สิ่งที่ กสทช.ต้องเตรียมเพื่อการเปลี่ยนผ่านมีหลายเรื่อง ได้แก่ เรื่อง Set-Top-Box ยังไม่มีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับชมอย่างทั่วถึง ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจว่าต้องซื้อทีวีใหม่หรือไม่ จะทำอย่างไรจึงจะรับชมได้ ส่งผลให้ยอดขายทีวีในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาตก เพราะเกิดการชะลอซื้อ อีกทั้งอยากให้มีมาตรฐานเรื่องการวัดเรตติ้งใหม่ เนื่องจากรายใหม่ ๆ มีปัญหามาก ไม่สามารถไปเสนอราคากับเอเยนซี่โฆษณาได้ว่ามีคนดูเท่าไร

นอกจากนี้ ยังต้องการขอความชัดเจนเกี่ยวกับการออกอากาศคู่ขนานว่า สรุปแล้วฟรีทีวีทุกช่องจะได้ออกอากาศคู่ขนานหรือไม่ กำหนดเวลาคืนคลื่นกี่ปี เวลานี้มีแค่ช่อง 5 ช่อง 11 และไทย พีบีเอส ที่มีกำหนดเวลา ส่วนช่อง 3 ช่อง 7 และช่อง 9 ยังไม่ชัดเจน

"เรื่องโครงข่ายเหมือน กสท.คุยกับผู้ได้รับใบอนุญาตให้บริการโครงข่ายแค่ 2 ฝั่ง แต่ผู้ใช้โครงข่ายยังไม่มีโอกาสได้คุย ทั้งเรื่องค่าเช่าและพื้นที่แพร่สัญญาณว่าจะครอบคลุมจุดใดบ้าง เพราะเชื่อว่าไม่มีทางที่ภายใน 4-5 ปีจะครอบคลุมกว่า 95% สุดท้ายคือการทดลองออกอากาศอยากให้มีการทดลองในวงกว้างกว่านี้ เพราะเท่าที่ได้ยินที่ช่อง 5 ทดลองที่ตึกใบหยกคนอยู่ใกล้ ๆ ตึกใบหยกดูไม่ได้ แต่อยู่ไกล ๆ เช่น จ.สระบุรีดูได้ เป็นต้น"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1375706813

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.