Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

05 มกราคม 2557 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.สุภิญญา แนะผู้รับใบอนุญาติDigital TV24ช่อง แก้ปัญหาการยังไม่มี(ร่างประกาศฯ ตามม.37ในเวลานี้ การกำกับเนื้อหา) ให้รวมตัวตั้งคนกลางดูแลเนื้อหาก่อน


ประเด็นหลัก


นอกจากนี้ มีวาระพิจารณาร่างประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ.... ภายหลังการขยายระยะเวลาการรับฟังความเห็นสาธารณะเพิ่มเติม  เนื่องจากมีจดหมายสำคัญจากคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.)ที่คัดค้านในเรื่องนี้ด้วยจึงเห็นว่า กสทช.ควรพิจารณาความเห็นจากคปก.อย่างจริงจังถ้าเป็นไปได้ควรเลื่อนการพิจารณาเรื่องนี้ออกไปเพื่อสร้างความชัดเจนทางกฎหมายและทางออกว่าถ้าไม่มีร่างประกาศฯ ตามม.37ในเวลานี้ การกำกับเนื้อหาทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร

“อยากใช้โอกาสนี้เรียกร้องถึงว่าที่ผู้รับใบอนุญาต24 ช่องควรรวมตัวกัน จัดตั้งเป็นสมาคม สมาพันธ์ สภาต่างๆที่จะส่งเสริมการกำกับดูแลกันเองตามกรอบจรรณยาบรรณทั้งในระดับผู้ประกอบการและกองบรรณาธิการช่องข่าว และยังเป็นการต่อรองกับกสทช.ในการกำกับเนื้อหาที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพภายใต้เกณฑ์จริยธรรมจรรณยาบรรณที่กำหนดรวมถึงการสนับสนุนการรวมตัวกันทางวิชาชีพเพื่อสร้างมิติใหม่ในการกำกับดูแลและสร้างศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค เน้นการกำกับดูแลร่วมโดยให้สื่อกำกับตัวเองมากกว่ารัฐจะใช้กฎหมายเข้าไปเซ็นเซอร์ที่ทำให้เกิดความคึกคักในกำกับดูแลของวิชาชีพและน่าจะเป็นการตรวจสอบถ่วงดุลกัน"น.ส.สุภิญญากล่าว

______________________________________

?'สุภิญญา'แนะจับตาบอร์ดรับรองผลทีวีดิจิทัลจันทร์นี้?



กสท."สุภิญญา " ชวนจับตาวาระบอร์ด พิจารณารับรองผลการประมูลทีวีดิจิทัล 24 ช่อง จ่อสอบถามสำนักงานกสทช.แผนขยายโครงข่าย เพื่อให้ผู้บริโภคมีช่องทางรับชมทีวีดิจิทัล


วันนี้(3ม.ค.) น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)และคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.)เปิดเผยว่าที่ประชุมกสท.จันทร์ที่6 ม.ค.57 จะพิจารณารับรองผลการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล24ช่องที่ประมูลไปเมื่อวันที่  26 - 27 ธ.ค. 57ซึ่งหากหากไม่มีเรื่องร้องเรียนใดการรับรองผลน่าจะผ่านไปได้ด้วยดี

อย่างไรก็ตามจะสอบถามสำนักงานกสทช.ถึงความชัดเจนแผนการขยายโครงข่าย ในการแพร่สัญญาณทีวีดิจิทัลครอบคลุมครัวเรือนทั้งประเทศทั้ง 4 รายของผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอล ได้แก่บมจ. อสมท. กองทัพบก กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การแพร่ภาพและกระจายเสียงแห่งประเทศไทย(ไทยพีบีเอส)  เนื่องจากสิ่งสำคัญที่สังคมอยากรู้ต่อจากนี้คือ ช่องทางที่ผู้บริโภคจะสามารถรับชมทีวีดิจิทัลได้ซึ่งเป็นรายละเอียดต่อไปที่กสท.จะต้องเร่งพิจารณาการสนับสนุนคูปองแลกกล่องหรือเซตทอป บ็อกซ์ รวมถึงจะสัมพันธ์ในการเข้าถึงพื้นที่และการแจกคูปองส่วนลด

นอกจากนี้ มีวาระพิจารณาร่างประกาศ กสทช.เรื่องหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ.... ภายหลังการขยายระยะเวลาการรับฟังความเห็นสาธารณะเพิ่มเติม  เนื่องจากมีจดหมายสำคัญจากคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย(คปก.)ที่คัดค้านในเรื่องนี้ด้วยจึงเห็นว่า กสทช.ควรพิจารณาความเห็นจากคปก.อย่างจริงจังถ้าเป็นไปได้ควรเลื่อนการพิจารณาเรื่องนี้ออกไปเพื่อสร้างความชัดเจนทางกฎหมายและทางออกว่าถ้าไม่มีร่างประกาศฯ ตามม.37ในเวลานี้ การกำกับเนื้อหาทางกฎหมายจะเป็นอย่างไร

“อยากใช้โอกาสนี้เรียกร้องถึงว่าที่ผู้รับใบอนุญาต24 ช่องควรรวมตัวกัน จัดตั้งเป็นสมาคม สมาพันธ์ สภาต่างๆที่จะส่งเสริมการกำกับดูแลกันเองตามกรอบจรรณยาบรรณทั้งในระดับผู้ประกอบการและกองบรรณาธิการช่องข่าว และยังเป็นการต่อรองกับกสทช.ในการกำกับเนื้อหาที่ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพภายใต้เกณฑ์จริยธรรมจรรณยาบรรณที่กำหนดรวมถึงการสนับสนุนการรวมตัวกันทางวิชาชีพเพื่อสร้างมิติใหม่ในการกำกับดูแลและสร้างศูนย์รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค เน้นการกำกับดูแลร่วมโดยให้สื่อกำกับตัวเองมากกว่ารัฐจะใช้กฎหมายเข้าไปเซ็นเซอร์ที่ทำให้เกิดความคึกคักในกำกับดูแลของวิชาชีพและน่าจะเป็นการตรวจสอบถ่วงดุลกัน"น.ส.สุภิญญากล่าว

http://www.dailynews.co.th/Content/IT/206101/_%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B2_%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.