Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

27 มกราคม 2557 (เกาะติดประมูล4G) กทค.คาดว่าจะสามารถประกาศสูตรการประมูลได้ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ให้ใบอนุญาตแก่เอกชนเป็นเวลา 15 ปี พร้อมกำหนดเป้าหมายการเปิดประมูล 4 G ไว้เช่นเดิม


ประเด็นหลัก

“กทค.คาดว่าจะสามารถประกาศสูตรการประมูลได้ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ พร้อมกำหนดเป้าหมายการเปิดประมูล 4 G ไว้เช่นเดิม โดยคาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายในเดือน ก.ย.2557 ส่วนมูลค่าคลื่นความถี่ที่มีอยู่ทั่วโลก มีราคาที่คงที่มากว่า 2- 3 ปีแล้ว ไม่มีการปรับเปลี่ยนราคาจากเดิม กทค.ยังคงเชื่อว่าราคาเริ่มต้นการประมูลสำหรับคลื่น 1800 MHz ไม่น่าจะมีราคาที่สูงเกินกว่าราคาตลาดทั่วโลก” รายงานข่าวระบุ


ขณะเดียวกันไอทียู ยังได้เสนอการกำหนดสิ้นสุดอายุใบอนุญาต โดยมีข้อเสนอดังนี้ 1.Staggered expiry dates จัดสรรคลื่นความถี่โดยมีอายุใบอนุญาต 15  ปีเท่ากัน 2.synchronized expiry dates จัดสรรคลื่นความถี่ให้มีอายุใบอนุญาตสิ้นสุดลงในคราวเดียวกัน เช่น ในปี 2576 หรือ 15 ปี ถ้านับจากปี 2561
______________________________________

กสทช.จ่อให้ไลเซ่นส์4G15ปี เล็งนำคลื่น“ทรู-เอไอเอส”ประมูลพร้อมกัน


สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ“ไอทียู” แนะ กทค.ประมูล 1800 – 900 MHz พร้อมกันในปีนี้ เชื่อช่วยกระตุ้นการแข่งขันเสริมการลงทุนระยะยาว และควรให้ใบอนุญาตแก่เอกชนเป็นเวลา 15 ปี

แหล่งข่าวจากจาก สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า คณะทำงานศึกษาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz)ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการของ สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(International Telecommunication Union–ITU) ในการดำเนินการศึกษาหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน1800 MHz และคลื่นความถี่ในย่านที่สัญญาสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะสิ้นสุดลง และสรุปผลการศึกษาดังกล่าว เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการ 1800 MHz ในสัปดาห์นี้  และหลังจากนั้นจึงจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)ที่มีพันเอกเศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกสทช. ต่อไป

ทั้งนี้ จากผลการศึกษาของ ITU ได้เสนอให้ประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz และ คลื่นความถี่ 1800 MHz ทั้งหมดในปี 2557 ครั้งเดียว  หรือ  Multi-band auction และแนะนำให้ประมูลคลื่นความถี่ย่านต่ำกว่า 1กิกะเฮิรตซ์ (GHz) มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  โดยข้อดีสำหรับการประมูลในแบบดังกล่าว ผู้เข้าร่วมประมูล สามารถแสดงความต้องการสองคลื่นความถี่ได้พร้อมๆ กัน เช่น หากคลื่นความถี่ 900 MHz ราคาสูงเกินไป ผู้ประมูล อาจจะประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz มากขึ้นแทนซึ่งเป็นการส่งเสริมการทดแทนของช่วงคลื่นความถี่ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงทำให้เกิดความแน่นอนในการกำกับดูแล และความโปร่งใสเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ และเป็นการกระตุ้นการแข่งขันโดยเสริมการลงทุนระยะยาว  อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาการประมูลแบบใหม่ให้มีความเหมาะสม และมีคลื่นความถี่ใหม่สำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น คลื่น 700 MHz

ขณะเดียวกันไอทียู ยังได้เสนอการกำหนดสิ้นสุดอายุใบอนุญาต โดยมีข้อเสนอดังนี้ 1.Staggered expiry dates จัดสรรคลื่นความถี่โดยมีอายุใบอนุญาต 15  ปีเท่ากัน 2.synchronized expiry dates จัดสรรคลื่นความถี่ให้มีอายุใบอนุญาตสิ้นสุดลงในคราวเดียวกัน เช่น ในปี 2576 หรือ 15 ปี ถ้านับจากปี 2561

มีรายงานข่าวแจ้งว่า  ความถี่ย่าน 1800 MHz ที่ให้บริการโดย บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด (ในเครือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส หรือ เอไอเอส) ที่สิ้นสุดสัมปทานแล้วเมื่อปี 2556 ขณะที่คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่ให้บริการโดยเอไอเอส จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2558 คาดว่าการประมูล 4G ในเดือนกันยายน 2557

“กทค.คาดว่าจะสามารถประกาศสูตรการประมูลได้ในเดือนกุมภาพันธ์นี้ พร้อมกำหนดเป้าหมายการเปิดประมูล 4 G ไว้เช่นเดิม โดยคาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายในเดือน ก.ย.2557 ส่วนมูลค่าคลื่นความถี่ที่มีอยู่ทั่วโลก มีราคาที่คงที่มากว่า 2- 3 ปีแล้ว ไม่มีการปรับเปลี่ยนราคาจากเดิม กทค.ยังคงเชื่อว่าราคาเริ่มต้นการประมูลสำหรับคลื่น 1800 MHz ไม่น่าจะมีราคาที่สูงเกินกว่าราคาตลาดทั่วโลก” รายงานข่าวระบุ

http://www.naewna.com/business/87611


_____________________________________________



“ไอทียู” ชง กทค.ประมูลคลื่น 1800-900 MHz พร้อมกัน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 27 มกราคม 2557 10:59 น.   



“ไอทียู” ชง กทค.ประมูลคลื่น 1800-900 MHz พร้อมกัน
       “ไอทียู” สรุปผลศึกษา แนะ กทค.ประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz ในปี 2557 ชี้ข้อดีช่วยส่งเสริมการแข่งขัน และช่วยให้เกิดการลงทุนในระยะยาว
     
       แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า คณะทำงานศึกษาเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ในการดำเนินการศึกษาหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และคลื่นความถี่ในย่านที่สัญญาสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่จะสิ้นสุดลง และสรุปผลการศึกษาดังกล่าว เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะอนุกรรมการ 1800 MHz ในสัปดาห์นี้ และหลังจากนั้นจึงจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ต่อไป
     
       โดยผลการศึกษาของไอทียูได้เสนอให้ประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz และคลื่นความถี่ 1800 MHz ทั้งหมดในปี 2557 ครั้งเดียว หรือ Multi-band auction และแนะนำให้ประมูลคลื่นความถี่ย่านต่ำกว่า 1 GHz มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจากข้อดีสำหรับการประมูลในแบบดังกล่าว ผู้เข้าร่วมประมูลสามารถแสดงความต้องการสองคลื่นความถี่ได้พร้อมๆ กัน เช่น หากคลื่นความถี่ 900 MHz ราคาสูงเกินไป ผู้ประมูลอาจจะประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz มากขึ้นแทนซึ่งเป็นการส่งเสริมการทดแทนของช่วงคลื่นความถี่ ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงทำให้เกิดความแน่นอนในการกำกับดูแลและความโปร่งใสเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ และเป็นการกระตุ้นการแข่งขันโดยเสริมการลงทุนระยะยาว อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาการประมูลแบบใหม่ให้มีความเหมาะสม และมีคลื่นความถี่ใหม่สำหรับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่น คลื่น 700 MHz
     
       นอกจากนี้ ไอทียูยังได้เสนอการกำหนดสิ้นสุดอายุใบอนุญาต โดยมีข้อเสนอดังนี้ 1. Staggered expiry dates จัดสรรคลื่นความถี่โดยมีอายุใบอนุญาต 15 ปีเท่ากัน 2. synchronized expiry dates จัดสรรคลื่นความถี่ให้มีอายุใบอนุญาตสิ้นสุดลงในคราวเดียวกัน เช่น ในปี 2576 หรือ 15 ปี จากปี 2561 หมายถึงคลื่นความถี่ที่สิ้นสุดสัมปทานในปี 2556 ไม่ได้มีระยะเวลาการอนุญาต 15 ปี
     
       อย่างไรก็ดี ปัจจุบันความถี่ย่าน 1800 MHz ที่ให้บริการโดย บริษัท ทรูมูฟ จำกัด และบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด ในเครือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ซึ่งสิ้นสุดอายุสัญญาสัมปทานลงไปตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายน ปี 2556 ขณะที่คลื่นความถี่ย่าน 900 MHz ที่ให้บริการโดยเอไอเอสจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในปี 2558


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000010034

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.