Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มีนาคม 2557 (เกาะติดประมูล4G) ( ค่ายใหญ่มองเกมครั้งนี้เพื่อเปิด 2G เท่านั้น) TRUE แผนสูงประมูล 1800 เพื่อเปิดใช้ 2G รับช่วงลูกค้า 10 ล้านเลขหมาย // AIS หวัง 900 ทำ 3G และ 1800 ทำ 2G ต่อรับช่วงลูกค้า 10 ล้านเลขหมาย // DTAC ยังไม่วางแผนประมูล


ประเด็นหลัก


โดยหากเอไอเอสสามารถประมูลได้ 900 MHz คงต้องมาดูว่าจะแบ่งทำ 2G หรือ3G ส่วนหากได้ 1800 MHz ขึ้นมาจะนำไปทำ 2G ต่อเนื่องทันทีเนื่องจากจะทำให้เอไอเอสมีรายได้ในทันทีเช่นเดียวกัน เพราะอุปกรณ์ต่างๆในตอนนี้ก็มีอยู่แล้วสามารถเช่ามาทำได้ และหากเปิดให้บริการไปสักระยะหนึ่งอาจจะเปลี่ยนมาเป็น 4G ตามความเหมาะสมต่อไป ซึ่งหากนำมาทำ 4G เลยเอไอเอสอาจจะเสียเวลาในการดำเนินการต่างๆกว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ทั่วประเทศ ดังนั้นใครจะไม่อยากมีรายได้ในทันที
       



       ทั้งนี้เอไอเอสถือได้ว่ามีความพร้อมมานานแล้ว เนื่องจากเป็นรายแรกที่ได้ทดสอบสัญญาณ 4G ร่วมกับทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ส่วนเรื่องงบประมาณยังไม่ได้ตั้งไว้ตายตัว ซึ่งอาจจะใช้งบลงทุน 3G ครึ่งหนึ่งจาก 70,000 ล้านบาท มาลงทุน 4G ก็ได้ แต่ในตอนนี้กสทช.ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก และยังไม่ทราบเงื่อนไขใดๆเลย

DTAC

  'คงเร็วไปหากจะให้ดีแทคตอบว่าจะเข้าร่วมประมูลทั้งคลื่น 1800 MHz กับ900 MHz เลยหรือไม่ เนื่องจากเราต้องการเห็นรายละเอียดเงื่อนไขในหนังสือเชิญชวน(IM)ก่อนแต่สิ่งหนึ่งที่สามารถตอบได้ในตอนนี้คือเราต้องการความถี่ในปริมาณเพิ่มขึ้นในระบบ ใบอนุญาตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการโดยเฉพาะบริการดาต้า'
       
       ส่วนการเตรียมความพร้อมด้านเงินทุน และด้านอื่นๆในการประมูล 4G นั้นในขณะนี้ดีแทคอยู่ระหว่างการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ในสถานการณ์ต่างๆ เตรียมไว้แล้วในเบื้องต้น
       
       นอกจากนี้ในกรณีหากดีแทคชนะการประมูลก็ยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะนำคลื่นความถี่ที่ ได้มาไปใช้กับเทคโนโลยีอะไร คงต้องรอดูคลื่นความถี่ที่ได้ และปริมาณแบนด์วิธที่ได้รับการจัดสรรก่อน ซึ่งรูปแบบการประมูลก็เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเช่นกัน เพราะมีผลต่อความแน่นอนในปริมาณคลื่นความถี่ที่จะได้รับจัดสรรทั้งหมด

TRUE
       
       ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรูคอร์ปเรชั่น ยืนยันว่ากลุ่มทรูพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลความถี่ 1800 MHz อย่างแน่นอน โดยยังรอเงื่อนไขที่ชัดเจนจากกสทช.ก่อน เพราะปัจจัยสำคัญของโอเปอเรเตอร์คือการมีจำนวนความถี่มากเพียงพอให้บริการลูกค้า ในขณะเดียวกันกลุ่มทรูก็มีแคมเปญโปรโมชันต่างๆเพื่อย้ายลูกค้าจากทรูมูฟที่ยังเหลืออยู่ราว 10 ล้านเลขหมายให้มาใช้บริการทรูมูฟเอช เนื่องจากหากประมูลความถี่ 1800 MHz ไม่ได้ลูกค้าที่เหลืออยู่จะถูกโอนเป็นของผู้ที่ประมูลความถี่ได้
       
    












______________________________________







ตรวจแถวโอเปอเรเตอร์ ก่อนประมูลความถี่ 1800/900(Cyber Weekend)



       หลังจากบอร์ดกทค.เมื่อวันที่ 4 มี.ค.มีมติเห็นชอบกรอบแผนการประมูล4G แบ่งออกเป็นคลื่นความถี่ 1800 MHz จะออกร่างประกาศหลักเกณฑ์การประมูลภายในกลางเดือน เม.ย.2557 และนำร่างไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะช่วงกลางถึงปลายเดือนเม.ย.จากนั้นนำเข้าที่ประชุมบอร์ดกสทช.เพื่อให้ความเห็นชอบก่อนนำร่างไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
       
       ทั้งนี้กสทช.จะสามารถออกประกาศเชิญชวนและเผยแพร่สรุปข้อสนเทศ (IM)ได้ต้นเดือนก.ค.2557 และจะกำหนดระยะเวลาให้ผู้ยื่นประมูลมารับเอกสารปลายเดือนมิ.ย. จากนั้นจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติในการเข้าประมูลได้กลางเดือนส.ค. และจะเปิดประมูลได้ปลายเดือนส.ค.ก่อนมอบใบอนุญาตคลื่นความถี่ 1800 MHz ได้ต้นเดือนก.ย.2557 ตามลำดับ
       
       ส่วนแผนการประมูลคลื่น 900 MHz จะได้ร่างประกาศหลักเกณฑ์การประมูลต้นเดือนพ.ค. และนำร่างไปประชาพิจารณ์ในช่วงเดือน พ.ค.- มิ.ย.จากนั้นนำร่างดังกล่าวกลับเข้าที่ประชุมบอร์ดกสทช.เพื่อพิจารณาเห็นชอบ อีกครั้งในเดือนก.ค. แล้วนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาปลายเดือนก.ค.2557 โดยกสทช.จะสามารถออกประกาศ IM คลื่น 900 MHz ได้ต้นเดือนต.ค.นี้ และจะกำหนดระยะเวลาให้ผู้ยื่นประมูลมารับเอกสารปลายเดือนต.ค. จากนั้นจะประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติในการเข้าประมูลได้กลางเดือนพ.ย.และจะเปิดประมูลได้ปลายเดือนพ.ย.2557 ต่อไป ส่วนใบอนุญาตคลื่นความถี่ 900 MHzนั้นกสทช.จะยังไม่มอบให้กับผู้ชนะการประมูลในทันที เนื่องจากสัญญาสัมปทานคลื่น 900 MHz จะหมดลงในเดือนก.ย.2558 ดังนั้นต้องรอให้หมดอายุสัมปทานก่อน แต่กสทช.จะออกเป็นใบอนุญาตการนำเข้าอุปกรณ์ก่อนในเบื้องต้น
       
       'ในประเด็นที่กสทช.ยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าในแต่ละคลื่นความถี่ที่นำมาประมูล ภายในปีนี้จะมีกี่ใบอนุญาตนั้นแม้ในตอนแรกบอร์ดกทค.ได้กำหนดคลื่นความถี่ 1800 MHz ซึ่งจะมีการประมูล 2 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 12.6 MHz ส่วนคลื่นความถี่ 900 MHz จะมีการประมูล 1 ใบอนุุญาต จำนวน 17.5 MHz แล้วก็ตาม เนื่องจากต้องนำข้อกำหนดทั้งหมดไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะก่อนเพราะอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนใบอนุญาต และจำนวนคลื่นความถี่ อาทิ อาจจะนำเอาการ์ดแบนด์ของคลื่น 900 MHz มารวมกันเป็น 20 MHz ก็เป็นได้'นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช.กล่าว
       
       การดำเนินการประมูลความถี่ 1800 MHzเนื่องจากปัจจุบันคลื่นความถี่ดังกล่าวหมดอายุสัญญาสัมปทานลงไปแล้วตั้งแต่ เดือนก.ย.2556 ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ได้สัมปทานมาบริษัทละ 12.5 MHz จากบริษัท กสท โทรคมนาคม แต่ในตอนนี้ถือว่าอยู่ในช่วงประกาศ กสทช.เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 (ประกาศเยียวยา 1800 MHz)ซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลาคุ้มครองในวันที่ 15 ก.ย. 2557 นี้ ดังนั้นกทค.จึงต้องรีบดำเนินการจัดการประมูลก่อนสิ้นสุดประกาศเยียวยา ซึ่งถือได้ว่าเป็นการส่งสัญญาณให้กับผู้ประกอบการเอกชนทุกรายเตรียมความพร้อมหากจะเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าว ขณะที่คลื่นความถี่ 900 MHz ซึ่งเป็นการประมูลล่วงหน้า 1 ปีเนื่องจากคลื่นความถี่ดังกล่าวเป็นการให้บริการของเอไอเอสที่จะหมดอายุสัมปทานลงในวันที่ 30 ก.ย.2558 จากบริษัท ทีโอที
       
       *** เอไอเอสพร้อมประมูล 2 ความถี่รอเพียงเงื่อนไข กสทช.
       
       วิเชียร เมฆตระการ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร เอไอเอส กล่าวว่า หลังจากที่ได้รับทราบว่ากสทช.จะเปิดประมูล4G ใน 2 คลื่นคือ 1800 MHz ในเดือนส.ค.2557 จำนวน 2 ใบอนุญาต และ900 MHz ในเดือนพ.ย.นี้จำนวน 1 ใบอนุญาตนั้น เอไอเอสมองว่าเป็นสิ่งที่ดีในการนำความถี่ใหม่ออกมาประมูล เพราะความถี่เก่าที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันแบนด์วิธเริ่มไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าแล้ว ซึ่งเอไอเอสพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลทั้ง 2 คลื่นความถี่
       
       'คงต้องกลับมาดูกันก่อนว่าเราจะได้จำนวน และปริมาณความถี่เท่าไรในการประมูลครั้งนี้ เนื่องจากหากได้ความถี่มาน้อยอาจจะต้องเลือกว่าจะนำมาให้บริการอะไรระหว่าง 2G 3G และ4G แต่หากได้มาเยอะก็อาจจะแบ่งแบนด์วิธในการให้บริการก็เป็นไปได้ ซึ่งสิ่งสำคัญในตอนนี้คือเงื่อนไขต่างๆที่กสทช.จะต้องประกาศออกมาอย่าง ชัดเจนก่อนการประมูล'
       
       โดยหากเอไอเอสสามารถประมูลได้ 900 MHz คงต้องมาดูว่าจะแบ่งทำ 2G หรือ3G ส่วนหากได้ 1800 MHz ขึ้นมาจะนำไปทำ 2G ต่อเนื่องทันทีเนื่องจากจะทำให้เอไอเอสมีรายได้ในทันทีเช่นเดียวกัน เพราะอุปกรณ์ต่างๆในตอนนี้ก็มีอยู่แล้วสามารถเช่ามาทำได้ และหากเปิดให้บริการไปสักระยะหนึ่งอาจจะเปลี่ยนมาเป็น 4G ตามความเหมาะสมต่อไป ซึ่งหากนำมาทำ 4G เลยเอไอเอสอาจจะเสียเวลาในการดำเนินการต่างๆกว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ทั่วประเทศ ดังนั้นใครจะไม่อยากมีรายได้ในทันที
       
       ทั้งนี้เอไอเอสถือได้ว่ามีความพร้อมมานานแล้ว เนื่องจากเป็นรายแรกที่ได้ทดสอบสัญญาณ 4G ร่วมกับทีโอที และบริษัท กสท โทรคมนาคม ส่วนเรื่องงบประมาณยังไม่ได้ตั้งไว้ตายตัว ซึ่งอาจจะใช้งบลงทุน 3G ครึ่งหนึ่งจาก 70,000 ล้านบาท มาลงทุน 4G ก็ได้ แต่ในตอนนี้กสทช.ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก และยังไม่ทราบเงื่อนไขใดๆเลย

ตรวจแถวโอเปอเรเตอร์  ก่อนประมูลความถี่ 1800/900(Cyber Weekend)
จอน เอ็ดดี อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค

       ***ดีแทคเห็นต่างควรประมูลทุกคลื่นในครั้งเดียว
       
       จอน เอ็ดดี อับดุลลาห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดีแทค กล่าวว่า ภายหลังจากกสทช.ประกาศแผนการประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 2 คลื่นในปีนี้ โดยดีแทคมีความพร้อมมากที่จะร่วมเข้าประมูลคลื่นความถี่ทั้ง 1800 MHz และคลื่นความถี่ 900 MHz ที่จะมีขึ้นในปีนี้แน่นอน โดยเบื้องต้นได้จัดตั้งทีมขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการประมูลทั้ง 2 คลื่นดังกล่าวแล้ว
       
       ขณะที่ นฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโสสายงานรัฐกิจสัมพันธ์ ดีแทค ระบุว่า การที่กสทช.มีมติที่จะประมูลคลื่นความถี่ทีละช่วงคลื่นความถี่นั้นคงเป็นการคิดที่รอบคอบแล้วของกสทช. แต่ในมุมมองของดีแทคในฐานะผู้ประกอบการนั้นต้องการลงทุนในระยะยาวดังนั้นการนำคลื่นภายใต้ระบบสัมปทานทั้งหมดมาประมูลพร้อมกัน จะเป็นการเข้าสู่ระบบการแข่งขันเสรีอย่างแท้จริงมากกว่า ถึงแม้ว่าคลื่นบางส่วนยังไม่สามารถใช้ได้ในทันทีต้องรอให้หมดอายุสัมปทานก่อนก็ตาม แต่ก็มีความชัดเจนว่ารูปร่างหน้าตาของอุตสาหกรรมในอนาคตอันใกล้จะเป็นอย่างไร
       
       แต่การแยกการประมูลเป็น 3 ครั้ง โดยเริ่มจากคลื่น 1800 MHz ของทรูมูฟ และดีพีซีในเดือน ส.ค. 2557 ตามด้วยการประมูลคลื่น 900 MHz ในเดือน พ.ย. 2557 และคลื่น 1800 MHz ในปี 2558-2559 โดยไม่มีกำหนดเวลาที่ชัดเจนนั้นสร้างความไม่ชัดเจน และมีผลต่อการวางแผนระยะยาวของผู้ประกอบการอย่างแน่นอน และส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของประเทศที่กำลังก้าวเข้าสู่การแข่งขัน ในระดับภูมิภาคภายใต้ระบบเศรษฐกิจเสรีของ AEC ที่เชื่อว่าประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆคงเร่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับ ผู้ประกอบการของตนไม่ให้เสียเปรียบชาติอื่นๆ
       
       'คงเร็วไปหากจะให้ดีแทคตอบว่าจะเข้าร่วมประมูลทั้งคลื่น 1800 MHz กับ900 MHz เลยหรือไม่ เนื่องจากเราต้องการเห็นรายละเอียดเงื่อนไขในหนังสือเชิญชวน(IM)ก่อนแต่สิ่งหนึ่งที่สามารถตอบได้ในตอนนี้คือเราต้องการความถี่ในปริมาณเพิ่มขึ้นในระบบ ใบอนุญาตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการโดยเฉพาะบริการดาต้า'
       
       ส่วนการเตรียมความพร้อมด้านเงินทุน และด้านอื่นๆในการประมูล 4G นั้นในขณะนี้ดีแทคอยู่ระหว่างการประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ในสถานการณ์ต่างๆ เตรียมไว้แล้วในเบื้องต้น
       
       นอกจากนี้ในกรณีหากดีแทคชนะการประมูลก็ยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะนำคลื่นความถี่ที่ ได้มาไปใช้กับเทคโนโลยีอะไร คงต้องรอดูคลื่นความถี่ที่ได้ และปริมาณแบนด์วิธที่ได้รับการจัดสรรก่อน ซึ่งรูปแบบการประมูลก็เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเช่นกัน เพราะมีผลต่อความแน่นอนในปริมาณคลื่นความถี่ที่จะได้รับจัดสรรทั้งหมด

ตรวจแถวโอเปอเรเตอร์  ก่อนประมูลความถี่ 1800/900(Cyber Weekend)
ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรูคอร์ปเรชั่น

       *** 'ศุภชัย' พร้อมประมูล 1800 MHz
       
       ศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท ทรูคอร์ปเรชั่น ยืนยันว่ากลุ่มทรูพร้อมที่จะเข้าร่วมประมูลความถี่ 1800 MHz อย่างแน่นอน โดยยังรอเงื่อนไขที่ชัดเจนจากกสทช.ก่อน เพราะปัจจัยสำคัญของโอเปอเรเตอร์คือการมีจำนวนความถี่มากเพียงพอให้บริการลูกค้า ในขณะเดียวกันกลุ่มทรูก็มีแคมเปญโปรโมชันต่างๆเพื่อย้ายลูกค้าจากทรูมูฟที่ยังเหลืออยู่ราว 10 ล้านเลขหมายให้มาใช้บริการทรูมูฟเอช เนื่องจากหากประมูลความถี่ 1800 MHz ไม่ได้ลูกค้าที่เหลืออยู่จะถูกโอนเป็นของผู้ที่ประมูลความถี่ได้
       
       อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าเฝ้ามองก่อนการประมูล 4G ทั้ง2 คลื่นดังกล่าว นอกเหนือจากการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการที่จะเข้าร่วมประมูล หรือใครมีโอกาสจะเป็นผู้ชนะการประมูลครั้งนี้ นั่นคือเงื่อนไขต่างๆที่กสทช.จะต้องออกประกาศอย่างชัดเจน โดยเฉพาะข้อกำหนดอัตราเพดานการถือครองคลื่นความถี่ (Spectrum Cap) เนื่องจากหากท้ายที่สุด กสทช.ไม่มีการออกข้อกำหนดการถือครองคลื่นก่อนการประมูล เชื่อได้เลยว่าผู้ประกอบการรายเล็กๆในตลาดสุดท้ายคงไม่ได้ไปแม้แต่คลื่นเดียว หรือใบอนุญาตเดียวแน่นอนในการประมูลที่จะเกิดขึ้น
       
       อีกทั้งหากมีการกำหนดเพดานการถือครองความถี่ยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ หน้าใหม่ที่สนใจเข้ามาแย่งชิงคลื่นความถี่ในครั้งนี้ด้วย


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000025901

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.