Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มีนาคม 2557 ซิคเว่.Telenor ระบุ ความวุ่ยวายในไทยเป็นเพียงช่วงสั่นๆ DTAC ลงทุนยาว // งบลงทุนในพม่า 1,000 ล้านดอลลาร์ ( 30000 ล้านบาท ) ครึ่งหนึ่งเป็นใบอนุญาติและสถานีฐาน โดย 1800,2100 ทำ 3G คุ้มทุนได้ใน 4 ปี


ประเด็นหลัก

นายซิคเว่ เบรคเก้ เจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด บริษัท เทเลนอร์ เอเชีย และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์กรุ๊ป กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองในประเทศไทยถือว่าเป็นเหตุการณ์ในระยะสั้น แต่ในขณะที่ดีแทค ทำธุรกิจในระยะยาว จึงมองว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่สงบสุขกว่าประเทศอื่นๆ ที่เทเลนอร์เข้าไปลงทุน


นายซิคเว่กล่าวว่า แผนการลงทุนในพม่า เทเลนอร์ ได้ไลเซ่นส์ เป็นระยะเวลา 15 ปี โดยได้จ่ายเงินจำนวน 500 ล้านดอลลาร์ เป็นค่าไลเซ่นส์ จำนวน 500 ล้านดอลลาร์ โดยงบประมาณที่ใช้ในการลงทุนครั้งนี้อยู่ที่ 1,000 ล้านดอลลาร์ โดยเทเลนอร์จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของรัฐบาลในการลงทุน โดยเมื่อครบเวลา 4 ปี บริษัทจึงจะนำเงินที่ได้จากธุรกิจออกจากประเทศได้ จึงเป็นเหตุผลที่เทเลนอร์จะสร้างจุดคุ้มทุนได้ใน 4 ปี

ทั้งนี้บริษัทจะบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายระบบ 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ในด้านบริการเสียงและข้อมูล คาดว่าภายใน 8 เดือน และคาดว่าจะสามารถติดตั้งโครงข่ายเพื่อให้บริการครอบคลุมจำนวนประชากรของพม่า ราว 90%





______________________________________






‘เทเลนอร์’ชนะประมูลมือถือพม่า ควัก1พันล้านดอลล์วางโครงข่าย เสร็จใน8เดือน/มั่นใจ4ปีคุ้มทุน




“ซิคเว่ เบรคเก้” ผู้บริหาร “เทเลนอร์” บริษัทโทรคมนาคมชั้นนำของโลก ยังมั่นใจความวุ่นวายในไทยแค่ช่วงสั้นๆ ชี้สงบกว่าปากีสถาน-อินเดีย พร้อมเปิดแผนลงทุนมือถือ 3G ในพม่าครอบคลุมประชากร 90%

นายซิคเว่ เบรคเก้ เจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด บริษัท เทเลนอร์ เอเชีย และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เทเลนอร์กรุ๊ป กล่าวว่า สถานการณ์การเมืองในประเทศไทยถือว่าเป็นเหตุการณ์ในระยะสั้น แต่ในขณะที่ดีแทค ทำธุรกิจในระยะยาว จึงมองว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่สงบสุขกว่าประเทศอื่นๆ ที่เทเลนอร์เข้าไปลงทุน

“เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศปากีสถาน อินเดีย ถือว่าไทยยังไม่รุนแรงเท่า โดยเทเลนอร์ยังมองว่าในประเทศไทย และประเทศมาเลเชีย โอกาสการเติบโตของผู้ใช้บริการด้านอินเตอร์เนตสูงกว่า ในขณะที่พม่ายังมีความต้องการของเรื่องการใช้เครื่องลูกข่าย เพื่อให้บริการด้านเสียง (วอยซ์)”

ปัจจุบันเทเลนอร์ กรุ๊ป โอเปอเรเตอร์รายใหญ่ระดับโลกสัญญาชาตินอร์เวย์ให้บริการโครงข่ายโทรศัพท์มือถือในยุโรป อเมริกา และเอเชียรวม 12 ประเทศ และปี 2557 ล่าสุดจะเพิ่มเป็น 13 ประเทศ หลังจากบริษัทชนะประมูลใบอนุญาต(ไลเซ่นส์) ในพม่า โดยในไทยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในบริษัทดีแทค

นายซิคเว่กล่าวว่า แผนการลงทุนในพม่า เทเลนอร์ ได้ไลเซ่นส์ เป็นระยะเวลา 15 ปี โดยได้จ่ายเงินจำนวน 500 ล้านดอลลาร์ เป็นค่าไลเซ่นส์ จำนวน 500 ล้านดอลลาร์ โดยงบประมาณที่ใช้ในการลงทุนครั้งนี้อยู่ที่ 1,000 ล้านดอลลาร์ โดยเทเลนอร์จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของรัฐบาลในการลงทุน โดยเมื่อครบเวลา 4 ปี บริษัทจึงจะนำเงินที่ได้จากธุรกิจออกจากประเทศได้ จึงเป็นเหตุผลที่เทเลนอร์จะสร้างจุดคุ้มทุนได้ใน 4 ปี

ทั้งนี้บริษัทจะบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่ายระบบ 3G บนคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) และ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ (GHz) ในด้านบริการเสียงและข้อมูล คาดว่าภายใน 8 เดือน และคาดว่าจะสามารถติดตั้งโครงข่ายเพื่อให้บริการครอบคลุมจำนวนประชากรของพม่า ราว 90%

อย่างไรก็ตามสภาพการแข่งขันของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพม่า พบว่ามีเพียง 2 ราย ได้แก่ 1.เทเลนอร์จากนอร์เว และโอเรดู จากกาตาร์ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญจากระบอบการปกครองโดยทหารมาเป็นการปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนภายใต้นโยบายการปฏิรูปของประธานาธิบดีเต็ง เส่ง

สำหรับภาพรวมของตลาดในพม่าถือว่ามีศักยภาพสูงในการเข้าไปลงทุน เนื่องจากจำนวนประชากรในประเทศที่มีอยู่ราว 60 ล้านคน และมีประชากรไม่ถึง 10% ที่สามารถเข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เทเลนอร์มองว่าการเปิดประชาคมอาเซียน (เออีซี) ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งพม่ายังเปิดกว้างให้แก่บริษัท ที่สนใจเข้ามาเป็นพันธมิตร กับผู้ให้บริการโทรคมนาคมของพม่า อย่าง YATANARPON TELEPORT หรือ YTP และเมียมมาร์โพสต์แอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น หรือ MPT ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมของพม่า โดยขณะนี้มีบริษัท ที่สนใจเข้าไปเป็นพันธมิตร อาทิ กลุ่มทรูฯ, SK Telecom

นายซิคเว่กล่าวว่า ล่าสุด ดีแทค และเทเลนอร์กรุ๊ป เปิดตัว บริษัท ดีแทค แอคเซเลเรท ด้วยงบประมาณ 100 ล้านบาทต่อปี เพื่อสนับสนุนผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ทำธุรกิจได้อย่างจริงจัง รวมทั้งผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยี โดยจะมีการคัดเลือก ทั้งนี้ได้กำหนดหลักเกณฑ์ผู้ร่วมโครงการไว้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มแรกที่มีไอเดียแล้วแต่ยังไม่มีผลงาน และยังไม่มีโมเดลธุรกิจ แต่มีเวลาเข้ามาร่วมอบรมตลอดโครงการ และกลุ่มที่สอง กลุ่มที่มีผลงานและเริ่มมีโมเดลทางธุรกิจที่ชัดเจน แต่ต้องการปรับปรุง พัฒนาและผลักดันให้ผลิตภัณฑ์เติบโต

http://www.naewna.com/business/93968

_________________________________________


เทเลนอร์' เชื่อโทรคมฯ พม่าไปได้สวย มั่นใจไทยธุรกิจยังโต


ผู้บริหารเทเลนอร์ บริษัทแม่ดีแทค เผยทุ่มงบ 1,000 พันดอลลาร์ลงทุนโทรคมฯ พม่า ชี้การเติบโตด้านอินเทอร์เน็ตในไทยและมาเลเซียยังสูง...

นายซิคเว่ เบรคเก้ เจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด เทเลนอร์ เอเชีย เปิดเผยว่า แผนการลงทุนในพม่าหลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ (ไลเซ่นส์) เป็นระยะเวลา 15 ปี บริษัทได้จ่ายเงินจำนวน 500 ล้านดอลลาร์เป็นค่าไลเซ่นส์ และมีงบประมาณที่ใช้ในการลงทุนราว 1,000 ล้านดอลลาร์ โดยบริษัทจะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของพม่าในการลงทุนทำธุรกิจในพม่าเป็นเวลา 4 ปี จึงจะนำเงินที่ได้จากธุรกิจออกจากประเทศได้ จึงเป็นเหตุผลที่เทเลนอร์จะสร้างจุดคุ้มทุนได้ใน 4 ปี ในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนโครงข่าย 3จี บนคลื่นความถี่ 1800เมกะเฮิรตซ์ และ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ในด้านบริการเสียงและข้อมูลภายใน 8 เดือน และคาดว่าจะสามารถติดตั้งโครงข่ายเพื่อให้บริการครอบคลุมจำนวนประชากรของพม่าราว 90%

เจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด เทเลนอร์ เอเชีย กล่าวอีกว่า ปัจจุบันการแข่งขันของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพม่า มีเพียง 2 ราย ได้แก่ เทเลนอร์ จากนอร์เวย์ และโอเรดู จากกาตาร์ ซึ่งการให้บริการโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ในพม่าครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญจากระบอบการปกครองโดยทหารมาเป็นการปกครองโดยรัฐบาลพลเรือน อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของตลาดพม่าถือว่ามีศักยภาพสูงในการเข้าไปลงทุน เนื่องจากจำนวนประชากรราว 60 ล้านคนนั้น มีประชากรไม่ถึง 10% ที่สามารถเข้าถึงบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

นายซิคเว่ กล่าวด้วยว่า การเปิดเสรีการค้า (เออีซี) ประเทศในภูมิภาคเอเชียนั้น พม่ายังเปิดกว้างให้บริษัทที่สนใจเข้ามาเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการโทรคมนาคม อย่าง YATANARPON TELEPORT หรือ YTP และ เมียมมาร์โพสต์แอนด์เทเลคอมมิวนิเคชั่น หรือ MPT ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมของพม่า โดยขณะนี้มีบริษัทที่สนใจเข้าเป็นพันธมิตร อาทิ กลุ่มทรู , SK Telecom เป็นต้น

ส่วนสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย เจ้าหน้าที่บริหารสูงสุด เทเลนอร์ เอเชีย กล่าวว่า ถือว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ระยะสั้น ประเทศไทยยังถือเป็นประเทศที่สงบสุขกว่าประเทศอื่นๆ ที่เทเลนอร์เข้าไปลงทุน เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศปากีสถาน อินเดีย อย่างไรก็ตาม บริษัทเชื่อมั่นว่าไทยและมาเลเซียยังคงมีโอกาสการเติบโตของผู้ใช้บริการด้านอินเทอร์เน็ตสูงกว่า ในขณะที่พม่ายังมีความต้องการของเรื่องการใช้เครื่องลูกข่าย เพื่อให้บริการด้านเสียงเป็นหลัก.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์


http://m.thairath.co.th/content/tech/408385

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.