Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

07 มีนาคม 2557 GMMz.ฟ้าใหม่ ระบุ ย้ำว่าความร่วมมือระหว่างสอง GMM Z กับ CTH ไม่ได้ กินแบ่ง-กินรวบ เพื่อสกัด TRUE // ชี้การเปิดตัวกล่องเอชดีรุ่นใหม่ รองรับทีวีดิจิตอลได้ครบทั้ง 48 ช่อง


ประเด็นหลัก


ฟ้าใหม่ย้ำว่าความร่วมมือระหว่างสอง GMM Z กับ CTH เป็นเรื่องของการสร้างและขยายตลาดผู้ชม แต่ก็คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกมองว่าเป็นการ ‘กินแบ่ง-กินรวบ’ เพื่อสกัดยักษ์ใหญ่ในธุรกิจเพย์ทีวีไทยอีกราย คือ ทรูวิชั่นส์

ในงานแถลงเปิดแพ็กเกจใหม่ GMM Z ยังมีอีกวาระสำคัญคือ การเปิดตัวกล่องเอชดีรุ่นใหม่ ได้แก่ GMM Z HD LITE ซึ่งไม่เพียงรองรับแพ็กเกจดังกล่าว ยังรองรับทีวีดิจิตอลได้ครบทั้ง 48 ช่อง ด้วยจุดขายราคาเพียง 1,590 บาท

“จริงๆ ธุรกิจดิจิตอลทีวีกับเพย์ทีวี มันเสริมทัพซึ่งกันและกันอยู่ เพราะพื้นฐานของมันคือแพลตฟอร์ม (platform) ก็คือตัวกล่องแปลงสัญญาณ เมื่อดิจิตอลทีวีมา เพื่อความคมชัดของภาพ คนก็จะหาซื้อกล่องเอชดีมาติดตั้งกันเยอะ ซึ่งถ้าคนเลือกซื้อกล่อง GMM Z เยอะมันก็ทำให้เขามีโอกาสเข้าถึงเพย์ทีวีของเรา ธุรกิจเพย์ทีวีของเราก็ขยายตัวขึ้นด้วย”

คำอธิบายของฟ้าใหม่ช่วยตอบข้อสงสัยที่ว่า เหตุใดขณะที่สังคมกำลังตื่นเต้นกับกระแสทีวีดิจิตอล แกรมมี่จึงเลือกออกข่าวขายกล่อง GMM Z แทนการพูดถึงความพร้อมสำหรับธุรกิจดิจิตอลทีวี





______________________________________







เส้นทางสานฝัน ‘อากู๋’ กับย่างก้าวของแกรมมี่

Submitted by Supattha Sukchoo on Mon, 03/03/2014 - 12:44


“ชีวิตของเราที่ผ่านมาแขวนไว้กับความพึงพอใจและไม่พึงพอใจ ในการต่อสัญญากับเจ้าของสื่อแบบปีต่อปีมาตลอด” ความในใจของ ‘ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม’ สะท้อนความฝันในการเป็นเจ้าของช่องฟรีทีวีที่มีมานานของเขา

ไม่เพียงเพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกถอดหรือถูกคืนเวลาของเจ้าของสถานีฟรีทีวีเดิม ความฝันของ ‘อากู๋’ ยังจะนำไปสู่การสร้างรายได้มหาศาลจากการมีช่องทางของตัวเอง ซึ่งความฝันนี้เพิ่งสำเร็จลงเมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยแกรมมี่ทุ่มเงินกว่า 5 พันล้านบาท จนคว้าช่องทีวีดิจิตอล 2 ช่อง ได้แก่ ช่อง 25 (ช่อง SD) และช่อง 31 (ช่อง HD)

หลังประกาศผลการประมูลทีวีดิจิตอลทั้ง 24 ช่อง ตลอดเกือบ 2 เดือน ผู้ชนะการประมูลหลายรายออกมาบอกถึงความพร้อมและการเตรียมตัวออกอากาศช่องดิจิตอลฟรีทีวีของตน ซึ่งถูกกำหนดให้เริ่มออกอากาศในเดือนเมษายนนี้

แต่แกรมมี่กลับเลือกที่จะแถลงข่าวการผนึกกำลังระหว่าง GMM Z กับบริษัท ซีทีเอช จำกัด (มหาชน) (CTH) ซึ่งเป็นสองใน 3 ยักษ์ใหญ่แห่งธุรกิจเพย์ทีวีไทย ในการออกแพ็กเกจใหม่เอาใจผู้ชมที่มีกำลังซื้อ โดยเฉพาะกลุ่ม ‘คอบอล’

แพ็กเกจ CTHZ Premier League+ HD เป็นการนำ ‘คอนเทนต์พลังดึงดูดสูง (killer content)’ อย่างศึกลูกหนังที่ครองใจคนไทยมากที่สุดอย่าง ‘พรีเมียร์ลีก’ ซึ่ง CTH เป็นผู้ได้รับสิทธิ์ถ่ายทอดในไทย มาผนวกกับแมตช์การแข่งขันฟุตบอลระดับโลกที่อยู่ในมือ GMM Z กว่า 1,000 แมตช์ ตลอดปี อาทิ ศึกบุนเดสลีกา เยอรมนี, ศึกแคปิตอล วัน คัพ (ลีกคัพ), ลีกเอิง ฝรั่งเศส, บราซิเลียนลีก, เจลีก ญี่ปุ่น, ฟุตบอลยูโร 2016 รอบคัดเลือก ฯลฯ

ฟ้าใหม่ ดำรงชัยธรรม ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มงานแพลตฟอร์ม GMM Z เชื่อว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะผลักดันให้ GMM Z ก้าวไปสู่จุดยืนของความเป็น ‘King of  Football’ ในวงการเพย์ทีวีไทย

นอกจากนี้ แพ็กเกจดังกล่าวยังมีรายการกีฬาดังอื่นๆ เช่น เทนนิส มวยปล้ำ มอเตอร์สปอร์ตส ฯลฯ รวมถึงช่องบันเทิงระดับสากล (international killer content) อย่าง FOX และคอนเทนต์บันเทิงเด็ดๆ ที่แกรมมี่ผลิตเอง (local killer content) ซึ่งแพ็กเกจนี้มีบริการในกล่องเอชดีของ GMM Z ทุกรุ่น โดยราคาแพ็กเกจอยู่ที่ 999 บาทต่อเดือน

“การจับมือกับ CTH ถือเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของธุรกิจเพย์ทีวีไทย เพราะเป็นการตอบโจทย์รสนิยมแบบคนไทยได้ครบถ้วนที่สุดในราคาไม่แพง เพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อกล่องแปลสัญญาณได้ง่าย และเพื่อให้กล่อง GMM Z ขยายตัวสู่กลุ่มพรีเมียมแมส (premium mass) ซึ่งถือเป็นตลาดที่ใหญ่มากสำหรับธุรกิจเพย์ทีวี อย่างรวดเร็ว”

ฟ้าใหม่ย้ำว่าความร่วมมือระหว่างสอง GMM Z กับ CTH เป็นเรื่องของการสร้างและขยายตลาดผู้ชม แต่ก็คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะถูกมองว่าเป็นการ ‘กินแบ่ง-กินรวบ’ เพื่อสกัดยักษ์ใหญ่ในธุรกิจเพย์ทีวีไทยอีกราย คือ ทรูวิชั่นส์

ในงานแถลงเปิดแพ็กเกจใหม่ GMM Z ยังมีอีกวาระสำคัญคือ การเปิดตัวกล่องเอชดีรุ่นใหม่ ได้แก่ GMM Z HD LITE ซึ่งไม่เพียงรองรับแพ็กเกจดังกล่าว ยังรองรับทีวีดิจิตอลได้ครบทั้ง 48 ช่อง ด้วยจุดขายราคาเพียง 1,590 บาท

“จริงๆ ธุรกิจดิจิตอลทีวีกับเพย์ทีวี มันเสริมทัพซึ่งกันและกันอยู่ เพราะพื้นฐานของมันคือแพลตฟอร์ม (platform) ก็คือตัวกล่องแปลงสัญญาณ เมื่อดิจิตอลทีวีมา เพื่อความคมชัดของภาพ คนก็จะหาซื้อกล่องเอชดีมาติดตั้งกันเยอะ ซึ่งถ้าคนเลือกซื้อกล่อง GMM Z เยอะมันก็ทำให้เขามีโอกาสเข้าถึงเพย์ทีวีของเรา ธุรกิจเพย์ทีวีของเราก็ขยายตัวขึ้นด้วย”

คำอธิบายของฟ้าใหม่ช่วยตอบข้อสงสัยที่ว่า เหตุใดขณะที่สังคมกำลังตื่นเต้นกับกระแสทีวีดิจิตอล แกรมมี่จึงเลือกออกข่าวขายกล่อง GMM Z แทนการพูดถึงความพร้อมสำหรับธุรกิจดิจิตอลทีวี

การเร่งขายกล่อง GMM Z ยังอาจมองเป็นก้าวที่ลุ่มลึกของแกรมมี่ได้ด้วย เพราะในความตื่นตัวเรื่องการรับชมทีวีดิจิตอล มีครัวเรือนไม่น้อยที่ต้องซื้ออุปกรณ์ช่วยแปลงสัญญาณภาพเป็นระบบทีวีดิจิตอล หรือ ‘set top box’

เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนก้าวเข้าสู่ยุคดิจิตอลทีวีโดยพร้อมเพรียง กสทช. จึงออกโครงการแบ่งเบาภาระประชาชน ด้วยการแจกคูปองแทนเงินสดให้กับ 22 ล้านครัวเรือนไทย เพื่อนำไปเป็นส่วนลดในการซื้อ ‘set top box’ หรือกล่องแปลงสัญญาณ ซึ่งคาดว่าจะแจกได้ช่วงปลายเดือนมีนาคมนี้

“จากการเร่งสปีดของ กสทช. เราคาดหวังว่าเราน่าจะขายกล่องได้เยอะ จากปีนี้ที่เราตั้งเป้าไว้ว่าน่าจะขายได้ราว 1-1.5 ล้านกล่อง เราคิดว่าน่าจะขายได้ถึง 5-6 ล้านกล่อง นอกจากยอดขายกล่องที่เชื่อว่าจะเป็นไฮไลต์รายได้ในปีนี้ มันยังเป็นการสร้างฐานให้กับธุรกิจเพย์ทีวีของเราด้วย”

ฟ้าใหม่มองว่า ในที่สุดแล้ว การรับชมโทรทัศน์ของคนไทยจะเหลือเพียง 2 ตลาด คือ ดิจิตอลฟรีทีวี กับเพย์ทีวี ขณะที่ช่องดาวเทียมอาจจะหายไปด้วยเพราะถูกแย่งเม็ดเงินโฆษณาจากดิจิตอลฟรีทีวี โดยในส่วนของแกรมมี่มองว่าทั้งธุรกิจเพย์ทีวีและดิจิตอลทีวีจะเป็น ‘ดาวรุ่ง’ และ ‘อนาคต’ ของแกรมมี่

“รากฐานของเราคือผู้ผลิตคอนเทนต์ ฉะนั้นเราพยายามสรรหาช่องทางการออกของคอนเทนต์ให้มาก เพราะสิ่งที่ทำให้คอนเทนต์มีมูลค่าคือ การออกสู่สายตาผู้ชม (Exposure) เมื่อคอนเทนต์ออกหลายหน้าจอ (window) คนดูยิ่งเสพก็ยิ่งติด คอนเทนต์ก็ยิ่งมีมูลค่า เมื่อคอนเทนต์มีมูลค่า เราก็เก็บเงินแต่ละช่องได้มากขึ้น (Exploitation) ทั้งเม็ดเงินโฆษณา ค่าแอร์ไทม์ การขายสมาชิก ฯลฯ”

ในบรรดาผู้ชนะประมูลช่องดิจิตอลทั้งหมด ฟ้าใหม่เชื่อว่าแกรมมี่มีช่องทางในการออกของคอนเทนต์หลากหลายที่สุดรายหนึ่ง เพราะมีทั้งดิจิตอลทีวี เพย์ทีวี วิทยุ โมบาย ดีวีดี อีเวนต์ ฯลฯ ซึ่งการมีหลายช่องทางยิ่งเสริมให้ธุรกิจผลิตคอนเทนต์ของแกรมมี่เติบโต

“กลุ่มธุรกิจของแกรมมี่จะมีโครงสร้างใหม่คือ การเป็นผู้ผลิตคอนเทนต์ (content provider) และมัลติมีเดียแพลตฟอร์ม (multimedia platform)” อากู๋เคยพูดไว้เมื่อราว 2 ปีก่อน ในช่วงที่แกรมมี่เพิ่งเริ่มต้นสร้างแพลตฟอร์มของตัวเองด้วยการขายกล่องทีวีดาวเทียม

ขณะที่ฟ้าใหม่มองว่า ในอีกราว 5 ปีข้างหน้า ภาพรวมของธุรกิจแกรมมี่จะมีสัดส่วน 50: 50 ระหว่าง ‘ธุรกิจเดิม’ คือธุรกิจเพลงและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง กับ ‘ธุรกิจใหม่’ ซึ่งมีหัวหอกคือ ธุรกิจบรอดแคส อันได้แก่ เพย์ทีวีและดิจิตอลทีวี โดยเชื่อว่าตลอดปีนี้ ทั้งสองธุรกิจจะมีความเคลื่อนไหวอย่างมากไม่แพ้กัน

สำหรับธุรกิจเพลง ผู้บริหารหนุ่มเชื่อว่าธุรกิจนี้จะไม่มีวันหายไปจากแกรมมี่ แต่จะยิ่งไปได้ดีด้วยหลากหลายธุรกิจเกี่ยวเนื่อง อาทิ คอนเสิร์ต อีเวนต์ ดาวน์โหลด บริการคลังเพลงส่วนตัว และการขายลิขสิทธิ์ให้กับผู้ผลิตคอนเทนต์รายอื่น ฯลฯ นอกจากนี้ ‘เพลง’ ยังเป็นคอนเทนต์ตั้งต้นสำหรับธุรกิจบรอดแคสของแกรมมี่

ฟ้าใหม่ระบุว่า ‘ธุรกิจบรอดแคส’ ในช่วงที่ผ่านมา ทั้งดิจิตอลทีวีและเพย์ทีวียังอยู่ในช่วงการลงทุน โดยแกรมมี่หมดเงินไปแล้วหลายพันล้านบาทกับสองธุรกิจนี้ และยังต้องใช้เวลาอีกราว 5 ปี กว่าที่จะออกเห็นผลเป็นกอบเป็นกำ

ขณะที่ธุรกิจเพย์ทีวีในปีนี้จะได้เห็นการลงทุนซื้อคอนเทนต์เด็ด (killer content) เข้ามาเรื่อยๆ เพื่อเสริมความเป็น “สุดยอด” ในคอนเทนต์ด้านต่างๆ โดยเดือนเมษายนนี้ GMM Z จะเปิดตัวช่องบันเทิงที่เป็นการนำคอนเทนต์บันเทิงระดับโลกเข้ามาเพิ่มอีก 4 ช่อง

“เรามองว่าในอีก 10 ปีข้างหน้า ธุรกิจเพย์ทีวีไทยจะเติบโตเป็น 50% ของการดูทีวีทั้งประเทศ ซึ่งเราหวังจะมีส่วนแบ่งตลาดอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะทำให้เราเป็น ‘ผู้นำ’ ธุรกิจนี้ แต่ในช่วง 5 ปีนี้ เราต้องเอาตัวเองให้รอดก่อน”

ขณะที่ธุรกิจดิจิตอลทีวี ฟ้าใหม่ยอมรับว่า ณ ขณะที่พูดคุยกับ ‘ผู้จัดการ 360?’ เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ทีมผู้บริหารแกรมมี่ยังไม่ ‘ตกผลึก’ ว่าจะมีหน้าตาของช่องเป็นรูปแบบไหนและมีรายการอะไรเป็น ‘ไม้เด็ด’

โดยภาพรวม ช่องดิจิตอลของแกรมมี่ส่วนใหญ่น่าจะเป็นคอนเทนต์ของแกรมมี่เอง รวมถึงคอนเทนต์จากเพย์ทีวี ร่วมกับคอนเทนต์จากผู้ผลิตอื่น ซึ่งฟ้าใหม่ย้ำว่า แกรมมี่เปิดกว้างให้ทั้งหน้าเก่าและหน้าใหม่ ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหากำลังการผลิตคอนเทนต์ไม่พอ ขณะที่การนำ Format Content จากต่างประเทศเข้ามาก็เป็นแนวทางที่แกรมมี่สนใจ

“เร็วๆ นี้ แกรมมี่คงเริ่มออกโฆษณาหรือแถลงข่าวเกี่ยวกับทีวีดิจิตอลของเรา แต่หลังจากได้เห็นหน้าตาของช่องคู่แข่ง และได้เห็นว่าตลาดดิจิตอลทีวีมีการรับชม (eye ball) จริง ตอนนั้นเชื่อว่าเราคงต้องงัดอาวุธออกมาให้หมด”

นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า ใน 2-3 ปีจากนี้ ตลาดดิจิตอลทีวีน่าจะเหลือผู้เล่นที่อยู่รอดจากการแข่งขันแย่งชิงเม็ดเงินโฆษณาอย่างมากไม่เกิน 8 ราย สำหรับฟ้าใหม่ เขาเชื่อว่าด้วยศักดิ์ศรีของผู้ผลิตคอนเทนต์ยักษ์ใหญ่ของเมืองไทย ช่องทีวีดิจิตอลของแกรมมี่ไม่น่าจะหลุด “ท็อป 5” ของตลาด

ในด้านธุรกิจผลิตคอนเทนต์ นอกจากการระดมสรรพกำลังเพื่อผลิตคอนเทนต์ป้อนช่องของตัวเอง แกรมมี่ยังมีแผนที่จะพัฒนาและยกระดับธุรกิจไปสู่การผลิตคอนเทนต์สำหรับธุรกิจเพย์ทีวีในต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดเอเชีย

ดูเหมือนวันนี้ ภาพของ ‘โครงสร้างใหม่’ จะเริ่มเห็นเป็นรูปร่างที่ชัดเจนแล้ว แต่จะเป็นฐานรายได้ที่มั่งคั่งและเป็นอนาคตที่รุ่งโรจน์เหมือนดังที่ไพบูลย์ฝันไว้หรือไม่ ภายใน 3-5 ปีนี้ เชื่อว่าคงได้รู้กัน
- See more at: http://www.gotomanager.com/content/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E2%80%98%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%8B%E2%80%99-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%88#sthash.XicYgAae.dpuf

http://www.gotomanager.com/content/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9D%E0%B8%B1%E0%B8%99-%E2%80%98%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%8B%E2%80%99-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B9%88

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.