Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

28 พฤษภาคม 2557 กสทช.เศรษฐพงค์ ระบุ การโจมตีว่า กสทช.ทำผิดพลาด ผิด พ.ร.บ.ฮั้ว โดยโจมตีว่าทำให้ประเทศชาติเสียหายเป็นหมื่นๆ ล้านยังขัดต่อความเป็นจริง มีการลงทุนในโครงข่าย 3Gอย่างมหาศาล มีเงินสะพัดในการลงทุน


ประเด็นหลัก

พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าวว่า ในการจัดทำหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และย่านความถี่ 900 MHz นั้น กสทช.ได้รับความร่วมมือจาก ITU ซึ่งได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้าร่วมทำงานกับคณะผู้เชี่ยวชาญของสำนักงาน กสทช. โดยมีการนำข้อมูลต่างๆ จากในประเทศและระหว่างประเทศมาใช้ประกอบการพิจารณาอย่างละเอียดครบถ้วนและนำมาคำนวณตามหลักการคำนวณของแนวปฏิบัติสากลจนนำไปสู่ข้อสรุปของราคาตั้งต้น ซึ่งหลังจากที่ ITU ได้รวบรวมข้อมูลและตรวจสอบสภาพตลาดในปัจจุบันแล้วเห็นว่าในการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz จะมีบริษัทที่เข้าร่วมประมูลจำนวนไม่มาก
   
       อย่างไรก็ตาม ITU ก็ยังเสนอราคาตั้งต้นของของการประมูล คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และย่านความถี่ 900 MHz อยู่ที่ 70% ของมูลค่าคลื่นความถี่อยู่ดี แสดงให้เห็นว่า ข้อเสนอดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการกำหนดราคาตั้งต้นของคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ที่ กสทช.กำหนดเช่นเดียวกัน
   
       ดังนั้น ตามข้อเสนอของ ITU ยิ่งทำให้เห็นว่าการกำหนดราคาตั้งต้นของ กทค.เกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz มีความเหมาะสม สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล และมิใช่เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายแต่อย่างใด

       “การโจมตีว่า กสทช.ทำผิดพลาด ผิด พ.ร.บ.ฮั้ว โดยโจมตีว่าทำให้ประเทศชาติเสียหายเป็นหมื่นๆ ล้านยังขัดต่อความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและแนวปฏิบัติที่เป็นแนวทางสากล จึงอยากให้ดูให้ชัดๆ ว่าหลังประมูลคลื่นความถี่ 3G สำเร็จ ประเทศไทยและคนไทยได้ประโยชน์มากขึ้นอย่างไรบ้าง แม้จะมีบางกลุ่มพยายามโจมตีว่าประมูลคลื่นความถี่ 3G ไม่มีผลดี ก็ขอให้ลองพิจารณาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในขณะนี้ว่าเป็นจริงอย่างที่มีผู้โจมตีหรือไม่ ซึ่งจะเห็นว่าหลังจากที่มีการประมูลคลื่นความถี่ 3G สำเร็จ คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการลงทุนในโครงข่าย 3Gอย่างมหาศาล มีเงินสะพัดในการลงทุน มีการแข่งขันของค่ายมือถือต่างๆ อย่างมากมาย มีบริการใหม่ๆ เกิดขึ้น มีการโฆษณา เกิดการลงทุน การจ้างงาน การให้บริการ การลดราคาค่าบริการ ฯลฯ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดว่าประเทศไทยได้ประโยชน์มหาศาล ไม่ใช่เกิดความเสียหายอย่างที่มีผู้พยายามบิดเบือนโจมตี”






______________________________________


กทค.ย้ำอนุ ป.ป.ช.ยังไม่มีมติ ชี้มูลส่อฮั้ว “ประมูล 3G ความถี่ 2.1 GHz”



พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.)

       กทค.สยบข่าวลือกรณี “อนุกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลจัดประมูล 3G ส่อฮั้วราคา” ย้ำชัดคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ยังไม่มีมติใดๆ ทั้งสิ้น ชี้ที่ผ่านมา กทค.ไม่ได้รับความเป็นธรรมในชั้นกรรมาธิการวุฒิสภา วอน ป.ป.ช.ให้ความเป็นธรรมอย่างตรงไปตรงมา
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธาน กสทช. และในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า ตามที่มีข่าวปรากฏในสื่อบางฉบับระบุว่าคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ชี้มูลการประมูล 3G ส่อฮั้วนั้น เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อน ไม่ถูกต้อง และไม่เป็นความจริง ทำให้ กทค.ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนได้รับความเสียหาย
     
       ประธาน กทค.ย้ำว่าขอชี้แจงข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ 1. กรณีระบุว่าผลชี้มูลความผิดดังกล่าวตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557 โดย กทค.ทราบผลนี้แล้ว แต่ไม่เปิดเผยต่อที่ประชุมบอร์ด กทค.นั้น เป็นข้อมูลที่บิดเบือน เนื่องจากที่ประชุม กทค. รวมทั้งกรรมการ กทค.ผู้ถูกกล่าวหายังไม่เคยได้รับทราบแต่อย่างใด เนื่องจากคณะอนุกรรมการฯ ยังมิได้มีการแจ้งให้ กทค. ทราบผลในเรื่องดังกล่าว จึงมิใช่เป็นกรณีที่กรรมการ กทค.ผู้ถูกกล่าวหาทราบเรื่องแล้วปกปิดไม่รายงานเรื่องต่อที่ประชุม กทค.
     
       อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริงที่ผ่านมา กทค.ก็ได้ชี้แจงเหตุผลทั้งในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ตลอดจนวัตถุประสงค์ของการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3G ดังกล่าวอย่างชัดเจนแล้วว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติและประชาชนอย่างแท้จริง
     
       2. กรณีระบุว่าบอร์ด กทค.ยังพยายามเร่งเปิดประมูลโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 4G และเร่งประชาพิจารณ์ในต้นเดือนมิถุนายน 2557 ทั้งๆ ที่มีการชี้มูลความผิดแล้วนั้นก็ไม่เป็นความจริง เพราะนอกจากจะปรากฏว่าคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ยังไม่มีมติชี้มูลความผิดแก่ กทค. แล้ว การที่ กทค.กำหนดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz หรือระบบ 4G และมีกำหนดประชาพิจารณ์ในต้นเดือนมิถุนายน 2557 นั้น ก็เป็นไปตามนโยบายและกระบวนการดำเนินการที่ กทค.ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2556 และได้ประกาศให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบนโยบายดังกล่าวล่วงหน้าและดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ได้เร่งรีบจนผิดปกติ โดยได้ใช้ระยะเวลาและมีการพิจารณาไตร่ตรอง ตลอดจนผ่านกระบวนการศึกษาและกำหนดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวอย่างละเอียดและรอบคอบด้วยคณะผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรระหว่างประเทศและจากคณะทำงานชุดต่างๆ ที่ กสทช.แต่งตั้ง
     
       รวมถึงเจ้าหน้าที่ของสำนักงาน กสทช. จนกระทั่งได้มีการยกร่างหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการนำร่างหลักเกณฑ์ไปจัดรับฟังความคิดเห็นตามกระบวนการของกฎหมาย
     
       “การที่มีการนำเสนอข่าวที่ไม่ถูกต้องและบิดเบือนในเรื่องนี้ จึงทำให้เชื่อว่าผู้ให้ข่าวประสงค์จะทำลายความน่าเชื่อถือของ กทค.ในกระบวนการจัดประมูลคลื่นความถี่ 4G ซึ่งหาก กทค.ไม่อาจจัดประมูลคลื่นความถี่ดังกล่าวได้อันเนื่องจากการกระทำดังกล่าว ย่อมจะส่งผลกระทบประเทศชาติอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้'
     
       *** ชี้ กทค.ไม่ได้รับความเป็นธรรม
     
       ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ กสทช.ด้านกฎหมาย กล่าวว่า ที่ผ่านมา กทค.ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากคณะกรรมาธิการ วุฒิสภา โดยมีการเร่งสรุปเรื่องอย่างผิดปกติแล้วยื่นเรื่องต่อ ป.ป.ช. ก่อนจะให้ กทค.ไปชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯ ชุดนี้ในภายหลัง
     
       โดยเห็นได้ชัดเจนจากการยื่นข้อร้องเรียน กทค. และการพิจารณาเรื่องร้องเรียน จนนำไปสู่การสรุปเรื่องและยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการด้วยความเร่งรีบและไม่ให้ความเป็นธรรมต่อ กทค. โดยเร่งสรุปว่า กทค.กระทำผิดและได้ยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วก่อนที่จะเชิญ กทค.มาชี้แจง โดยคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ได้สรุปผลและยื่นข้อร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ไปเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2555 แต่ได้มีหนังสือเชิญ กทค.ไปชี้แจงเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2555
     
       ดังนั้นผลการพิจารณาเรื่องร้องเรียนที่ส่งไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช.ดังกล่าว จึงมีเพียงแต่ข้อเท็จจริงที่มาจากข้อมูลของฝ่ายผู้ที่ร้องเรียนอันเป็นข้อมูลที่หยิบยกมาบางส่วนไม่ครบถ้วนด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ทั้งที่ในประเด็นข้อร้องเรียนมีความเกี่ยวข้องในมิติต่างๆ ทั้งในด้านเทคนิค ด้านเศรษฐศาสตร์และกฎหมายหลายฉบับ ซึ่ง กสทช.ได้จัดทำหลักเกณฑ์โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษาและผ่านการพิจารณาไตร่ตรองโดยผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียดรอบคอบไม่น้อยกว่า 7 ถึง 8 เดือน
     
       แต่คณะกรรมาธิการฯ กลับใช้เวลาเพียงแค่ 2 วันทำการ ในการรับเรื่อง สรุปผล และส่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทำให้ กทค.ไม่ได้รับความเป็นธรรมตามกระบวนการของกฎหมาย ซึ่ง กทค.ได้ให้ข้อมูลในเรื่องนี้ต่อคณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ไปด้วย การเร่งสรุปผลดังกล่าวจึงอาจทำให้ถูกมองว่าคณะกรรมาธิการฯ กระทำการที่ฝ่าฝืนข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกวุฒิสภาและกรรมาธิการ พ.ศ. 2553 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อ 17 และ ข้อ 19 และไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ. คำสั่งเรียกของคณะกรรมาธิการของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา พ.ศ. 2554 หรือไม่
     
       นอกจากนี้ กทค.ยังได้โต้แย้งประเด็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจในการพิจารณาของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าไม่อยู่ภายใต้บังคับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความรับผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 (พ.ร.บ.ฮั้ว) เพราะการประมูลคลื่นความถี่แตกต่างจากการประมูลสิ่งของทั่วไป
     
       เนื่องจากมูลเหตุแห่งการยื่นข้อร้องเรียนต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในครั้งนี้มิใช่เป็นกรณีที่ กสทช. โดย กทค.จัดการประมูลคลื่นความถี่ 3G โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นการดำเนินการโดยทุจริตแต่อย่างใด แต่เกิดจากการที่ผู้ร้องมีความเข้าใจข้อกฎหมายที่ไม่ถูกต้องและเข้าใจข้อเท็จจริงที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ โดยเข้าใจว่าเหมือนเช่นการประมูลสิ่งของทั่วไปซึ่งไม่ถูกต้อง โดยการออกหลักเกณฑ์และใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายในทางปกครองเกี่ยวกับการออกกฎและเป็นขั้นตอนหนึ่งที่จะนำไปสู่การออกคำสั่งทางปกครองและไม่ใช่สัญญาที่เกิดจากการตกลงระหว่างคู่สัญญาและไม่นำไปสู่การทำสัญญาระหว่างกัน ซึ่งต่างจากการประมูลสิ่งของทั่วไปที่อาจกระทำได้หลายวิธี เช่น การจัดซื้อ หรือจัดจ้างหรือวิธีอื่นใดและจะนำไปสู่การทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ
     
       ทั้งนี้ การประมูลคลื่นความถี่คือวิธีการจัดสรรคลื่นอย่างหนึ่ง ผู้ชนะคือผู้ได้สิทธิในการใช้คลื่นตลอดช่วงเวลาตามใบอนุญาต ในระหว่างเวลานั้น กสทช.ต้องตามไปกำกับดูแลให้ผู้เอาคลื่นความถี่ไปใช้ปฏิบัติตามเงื่อนไขและกติกา และดูว่ามีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมหรือไม่ ต่างจากประมูลสิ่งของที่ผู้ชนะได้กรรมสิทธิ์ไปเลย ผู้จัดประมูลโอนกรรมสิทธิ์ในของชิ้นนั้นไปแล้ว และไม่มีอำนาจในการกำกับดูแลผู้ชนะการประมูลแต่อย่างใด
     
       อีกทั้งหากพิจารณาคำว่า 'การเสนอราคา' นั้น มีความมุ่งหมายให้เกิดการจัดหาสินค้าหรือบริการที่จะต้องมีการใช้งบประมาณของรัฐ แม้ตาม พ.ร.บ.ฮั้วจะกำหนดให้การเสนอราคารวมถึงการให้สัมปทาน หรือการได้รับสิทธิใดๆ ก็ตาม แต่การออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่มีความแตกต่างจากระบบการให้สัมปทานโดยสิ้นเชิง เพราะมีกฎหมายกำหนดในเรื่องดังกล่าวไว้เป็นการเฉพาะและ กสทช.ไม่ต้องเข้าทำสัญญากับผู้ชนะการประมูล แม้จะมีการออกเงื่อนไขท้ายใบอนุญาต แต่เงื่อนไขดังกล่าวก็มีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครองซึ่งออกโดย กสทช.แต่ฝ่ายเดียว ฉะนั้น มูลเหตุแห่งการยื่นข้อร้องเรียนดังกล่าวจึงเกิดจากการที่ผู้ร้องมีความเข้าใจในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงคลาดเคลื่อน มิได้เป็นเรื่องที่ กทค.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตแต่อย่างใด
     
       *** ยันไม่ได้ล็อกให้รายเดิม
     
       3. กรณีมีการระบุว่า การประมูล 3G ของ กสทช. ซึ่งมีผู้ให้บริการรายใหญ่เพียง 3 รายเข้าร่วมการแข่งขันอาจเป็นสิ่งที่ตั้งข้อสังเกตได้ว่า ผู้บริการทั้ง 3 รายจะได้รับใบอนุญาตตั้งแต่ยังไม่ประมูลนั้นก็ขัดกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น เพราะข้อเท็จจริงที่ถูกต้องนั้น กสทช.ได้ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ชนะการประมูลในวันที่ 7 ธันวาคม 2555 ส่วนขณะที่มีการยกร่างหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประมูล 3G นั้นจะมีผู้เข้าร่วมประมูลและผ่านคุณสมบัติเข้าแข่งขันจนชนะการประมูลจะมีกี่รายในอนาคต กสทช.ไม่อาจจะทราบได้ล่วงหน้า และไม่อาจกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อผู้เข้าร่วมประมูลคนใดคนหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ เพราะมิฉะนั้นจะเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย
     
       4. กรณีระบุว่า ผู้วิจัยได้ยกตัวอย่างไว้ว่าหากมีบริษัทเข้าร่วมประมูลเพียงแค่ 3 ราย กสทช.ต้องตั้งราคาไม่ต่ำกว่า 82% ของมูลค่าคลื่นความถี่ 1 สล็อต แต่ กสทช.กลับตั้งราคาเริ่มต้นไว้เพียง 70% นั้นก็ถือเป็นการบิดเบือน เพราะรายงานวิจัยการประมูลมูลค่าคลื่นความถี่โดยหยิบยกเนื้อหามาเพียงบางส่วน และเป็นการนำเสนอที่ทำให้เข้าใจผิดว่า คณะผู้วิจัยฯได้เสนอให้ กสทช.กำหนดราคาตั้งต้นไม่ต่ำกว่า 0.82 หรือ 82% ของมูลค่าคลื่นความถี่ 1 สล็อต แต่ กสทช.ไม่เอาด้วย ซึ่งข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคือตามรายงานฯ ของคณะผู้วิจัยฯ ที่ระบุราคาตั้งต้น 82% นั้นเป็นเพียงผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองจากสมการทางคณิตศาสตร์ แต่ยังมิใช่ข้อเสนอสุดท้ายแต่อย่างใด
     
       โดยคณะผู้วิจัยฯ เสนอความเห็นสุดท้ายว่า
     
       “ในกรณีของประเทศไทย หากภาครัฐให้ความสำคัญต่อรายรับจากการประมูลพอสมควรเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของผู้บริโภคและผู้ใช้บริการซึ่งมีจำนวนไม่มาก สัดส่วนของราคาเริ่มต้นต่อมูลค่าคลื่นความถี่ไม่ควรต่ำกว่า 0.67 หรือ 67% ซึ่งคือค่าเฉลี่ยของราคาเริ่มต้นต่อมูลค่าคลื่นความถี่จากกรณีการประมูลของประเทศต่างๆ”
     
       โดยเมื่อ กทค.ได้พิจารณาข้อเสนอฯ ดังกล่าวแล้วเห็นว่า การกำหนดราคาตั้งต้นควรคำนึงถึงเงินเฟ้อด้วย จึงเพิ่มเป็น 70% อันเป็นการแสดงว่า กทค.กำหนดราคาตั้งต้นการประมูลสูงกว่าข้อเสนอขั้นต่ำของคณะผู้วิจัยฯ และราคาตั้งต้นฯ ที่ กทค.กำหนดยังสูงกว่าราคาตั้งต้นการประมูลคลื่นความถี่ย่านนี้ ซึ่ง กทช.เคยกำหนดอีกด้วย แต่มีการบิดเบือนรายงานการศึกษาของคณะผู้วิจัยที่คำนวณมูลค่าคลื่นความถี่และมูลค่าขั้นต่ำของการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ โดยให้ข้อมูลบางส่วนเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่า กทค.มีการหมกเม็ดและมีพฤติการณ์ไม่ชอบมาพากล ซึ่งไม่เป็นความจริง
     
       นอกจากนี้ ในขณะที่ กสทช.เริ่มมีกระบวนการกำหนดหลักเกณฑ์ในการประมูล กสทช.มิได้กำหนดไว้ล่วงหน้าว่าจะต้องมีผู้เข้าร่วมประมูลเพียงแค่ 3 ราย แต่ได้มีการวิเคราะห์บนพื้นฐานของผู้ประกอบการกิจการโทรคมนาคมแบบที่ 3 ซึ่ง กสทช.มีฐานข้อมูลรายชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมอยู่ในตลาด ณ ขณะนั้นเป็นจำนวนถึง 20 ราย และเมื่อได้ออกประกาศดังกล่าวไปแล้วก็ได้มีผู้ขอเอกสารแบบคำขอเพื่อจะเข้าร่วมประมูลมากถึง 17 ราย แต่เมื่อครบกำหนดวันยื่นคำขอ ปรากฏว่ามีผู้ยื่นคำขอเพียง 4 ราย และผ่านคุณสมบัติจำนวน 3 ราย
     
       แต่ในท้ายที่สุดแล้วจะมีผู้ผ่านคุณสมบัติและมีสิทธิเข้าร่วมการประมูลกี่รายนั้น กสทช.ก็ไม่อาจทราบล่วงหน้าในขณะออกแบบการประมูลได้ ต่อมาเมื่อมาถึงขั้นตอนการประมูล และ กสทช.ทราบภายหลังว่ามีผู้ผ่านคุณสมบัติ 3 ราย กสทช.ก็จำเป็นต้องดำเนินการจัดประมูลตามกระบวนการตามหลักเกณฑ์ที่ กสทช.ได้กำหนดไว้แล้วต่อไป โดยไม่อาจไปแก้ไขหรือเริ่มกระบวนการกำหนดราคาตั้งต้นใหม่อีกได้ เพราะไม่ปรากฏเงื่อนไขที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์แต่อย่างใด
     
       มิฉะนั้นแล้วจะเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผิดขั้นตอนและวิธีการที่เป็นสาระสำคัญตามหลักเกณฑ์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ในทางตรงกันข้าม หาก กสทช.โดย กทค.ดำเนินการตามที่ผู้ร้องเรียนเรียกร้องย่อมทำให้ กทค.กระทำผิดต่อกฎหมาย เอื้อประโยชน์ให้กำหนดผู้ประกอบการรายใหญ่และกีดกันรายเล็ก เนื่องจากเป็นการกำหนดและออกแบบกฎการประมูลที่เอื้อต่อผู้เข้าร่วมประมูลเพียงแค่ 3 ราย
     
       ทั้งนี้ หาก กทค.กำหนดราคาตั้งต้นตามความเห็นดังกล่าว โดยคาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูลเพียง 3 ราย นอกจากไม่มีหลักการทางวิชาการรองรับและไม่สอดคล้องกับรายงานฯ ของผู้วิจัยแล้ว ก็จะเป็นการกระทำที่สมรู้กับผู้เข้าร่วมประมูลรายใหญ่ที่มีทุนทรัพย์สูง เพื่อกีดกันรายเล็ก และจะเป็นการขัดต่อกฎหมายและเข้าข่ายการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ฮั้ว ทั้งยังอาจจะทำให้ไม่สามารถจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz จำนวน 45 MHz ได้หมดทำให้คลื่นความถี่ดังกล่าวถูกทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ต่อไป ปัญหาของการขาดแคลนคลื่นความถี่ ปัญหาคุณภาพของการให้บริการโทรคมนาคมที่กระทบต่อสาธารณะก็จะไม่ได้รับการแก้ไข โอกาสที่รัฐบาลจะมีรายได้จากการประมูลและจากการลงทุนต่างๆ รวมทั้งโอกาสในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศก็จะสูญเสียไป
     
       นอกจากนี้ การกำหนดราคาตั้งต้นที่สูงเกินไปยังขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ต้องการให้การจัดสรรคลื่นความถี่เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน ไม่ได้มุ่งในการให้ กสทช.เป็นหน่วยงานหาเงินให้รัฐบาล แต่ละเลยผลกระทบที่จะเกิดแก่ประชาชน มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในหลายประเทศประมูลคลื่นความถี่ได้เงินประมูลสูง
     
       แต่สุดท้ายผลการประมูลล้มเหลวเพราะผู้ชนะการประมูลได้คลื่นความถี่ไปใช้ แต่ไม่มีเงินลงทุนที่จะนำคลื่นนั้นไปเปิดบริการ จึงไม่สามารถเปิดบริการตามเงื่อนไขที่กำหนด ทำให้สุดท้ายต้องเอาคลื่นความถี่มาคืนคนรับกรรมที่แท้จริงคือประชาชนผู้บริโภค
     
       นอกจากนี้ ข้อเสนอของ ITU ต่อกรณีการกำหนดราคาตั้งต้นของการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และย่านความถี่ 900 MHz สอดคล้องกับการกำหนดราคาตั้งต้นของคลื่นความถี่ 3Gที่ 70% ของมูลค่าคลื่น
     
       พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าวว่า ในการจัดทำหลักเกณฑ์การประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และย่านความถี่ 900 MHz นั้น กสทช.ได้รับความร่วมมือจาก ITU ซึ่งได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เข้าร่วมทำงานกับคณะผู้เชี่ยวชาญของสำนักงาน กสทช. โดยมีการนำข้อมูลต่างๆ จากในประเทศและระหว่างประเทศมาใช้ประกอบการพิจารณาอย่างละเอียดครบถ้วนและนำมาคำนวณตามหลักการคำนวณของแนวปฏิบัติสากลจนนำไปสู่ข้อสรุปของราคาตั้งต้น ซึ่งหลังจากที่ ITU ได้รวบรวมข้อมูลและตรวจสอบสภาพตลาดในปัจจุบันแล้วเห็นว่าในการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz จะมีบริษัทที่เข้าร่วมประมูลจำนวนไม่มาก
     
       อย่างไรก็ตาม ITU ก็ยังเสนอราคาตั้งต้นของของการประมูล คลื่นความถี่ย่าน 1800 MHz และย่านความถี่ 900 MHz อยู่ที่ 70% ของมูลค่าคลื่นความถี่อยู่ดี แสดงให้เห็นว่า ข้อเสนอดังกล่าวมีความสอดคล้องกับการกำหนดราคาตั้งต้นของคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz ที่ กสทช.กำหนดเช่นเดียวกัน
     
       ดังนั้น ตามข้อเสนอของ ITU ยิ่งทำให้เห็นว่าการกำหนดราคาตั้งต้นของ กทค.เกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz มีความเหมาะสม สอดคล้องกับแนวปฏิบัติสากล และมิใช่เป็นการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายแต่อย่างใด
     
       เมื่อ กสทช.พิจารณาความเห็นตามข้อเสนอของคณะผู้วิจัยฯ ที่เสนอว่าควรกำหนดราคาตั้งต้นไม่น้อยกว่า 67% ของมูลค่าคลื่น โดยผ่านการกลั่นกรองและเห็นชอบมาตามลำดับจากคณะอนุกรรมการฯ คลื่นความถี่ย่าน 2.1 GHz และ กทค. แล้วจึงเห็นตรงกันว่า ราคาตั้งต้นควรปรับเป็น 70% ของมูลค่าคลื่นความถี่ย่านนี้ แต่มีนักวิชาการบางคน รวมทั้งกลุ่มเคลื่อนไหวบางกลุ่มมีความเห็นแตกต่างโดยหยิบยกเนื้อหาของรายงานฯ เพียงบางส่วนมาอ้างอิง แต่ในขณะเดียวกันในอีกมุมมองหนึ่งก็ได้มีนักวิชาการ นักกฎหมายและผู้เกี่ยวข้องส่วนใหญ่อีกฝ่ายหนึ่งได้สนับสนุนความเห็นของ กสทช. นั่นยิ่งแสดงให้เห็นว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นเรื่องความแตกต่างในความเห็นเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่สิ่งผิดและมิใช่เรื่องที่การดำเนินงานของ กสทช. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากแต่เป็นเรื่องที่บุคคลบางกลุ่มมีความเห็นที่ไม่ตรงกับดุลพินิจของ กสทช.เท่านั้น
     
       ส่วนผลการประมูลคลื่นความถี่ที่ได้ราคาประมูลเท่ากับราคาตั้งต้นหรือสูงกว่าเล็กน้อยมิใช่สิ่งผิดปกติ และไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย แต่สอดคล้องกับกฎหมายและแนวปฏิบัติทั่วโลก โดย พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าวว่า การที่มีผู้ชนะการประมูลได้คลื่นความถี่ไปขณะที่ราคาที่ได้ไปรวมแล้วสูงกว่าราคาตั้งต้นไม่มาก ไม่ใช่สิ่งที่ผิดปกติ ไม่ใช่สิ่งที่ผิดกฎหมาย ไม่ขัดต่อกติกาการประมูลคลื่นความถี่ที่ประกาศเป็นกฎหมาย และไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ฮั้ว เนื่องจากไม่มีแนวปฏิบัติสากล หรือกฎหมายของประเทศใดในโลกกำหนดให้กรณีผลจากการประมูลที่ได้เงินจากการประมูลสูงกว่าราคาตั้งต้นไม่มากเป็นความผิดปกติหรือเป็นความผิดทางอาญาที่จะเอาตัว กสทช. และผู้ประกอบการมาเข้าคุกรับผิดอย่างร้ายแรง
     
       “การโจมตีว่า กสทช.ทำผิดพลาด ผิด พ.ร.บ.ฮั้ว โดยโจมตีว่าทำให้ประเทศชาติเสียหายเป็นหมื่นๆ ล้านยังขัดต่อความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทยและแนวปฏิบัติที่เป็นแนวทางสากล จึงอยากให้ดูให้ชัดๆ ว่าหลังประมูลคลื่นความถี่ 3G สำเร็จ ประเทศไทยและคนไทยได้ประโยชน์มากขึ้นอย่างไรบ้าง แม้จะมีบางกลุ่มพยายามโจมตีว่าประมูลคลื่นความถี่ 3G ไม่มีผลดี ก็ขอให้ลองพิจารณาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในขณะนี้ว่าเป็นจริงอย่างที่มีผู้โจมตีหรือไม่ ซึ่งจะเห็นว่าหลังจากที่มีการประมูลคลื่นความถี่ 3G สำเร็จ คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่ามีการลงทุนในโครงข่าย 3Gอย่างมหาศาล มีเงินสะพัดในการลงทุน มีการแข่งขันของค่ายมือถือต่างๆ อย่างมากมาย มีบริการใหม่ๆ เกิดขึ้น มีการโฆษณา เกิดการลงทุน การจ้างงาน การให้บริการ การลดราคาค่าบริการ ฯลฯ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดว่าประเทศไทยได้ประโยชน์มหาศาล ไม่ใช่เกิดความเสียหายอย่างที่มีผู้พยายามบิดเบือนโจมตี”
     
       นอกจากนี้ ผลการจัดประมูลคลื่นความถี่ 3G ของ กสทช.เป็นที่ยอมรับและสร้างมาตรฐานในการประมูลคลื่นความถี่ในระดับสากล และเกิดผลในทางตรงกันข้ามกับที่มีการกล่าวหาว่าประเทศได้รับความเสียหาย เพราะผลการประมูลคลื่นความถี่ 3G ของ กสทช.ได้รับการยอมรับจาก ITU ว่าประสบความสำเร็จ และมีความสอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากล ตลอดจนบรรลุวัตถุประสงค์ของการจัดการทรัพยากรคลื่นความถี่วิทยุของ กสทช. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นเรื่องราคาที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ ซึ่งมีข้อมูลว่าเมื่อเทียบกับราคาที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ 3G ตามมาตรฐานระหว่างประเทศพบว่า เป็นราคาที่เหมาะสมหรือค่อนข้างจะเป็นราคาที่สูงกว่าในหลายๆ ประเทศ
     
       นอกจากนี้ ยังได้สร้างมาตรฐานการประมูลคลื่นความถี่ในระดับสากล โดย ITU ได้นำกรณีความสำเร็จในการจัดประมูลของไทยไปยกตัวอย่างให้ชาวโลกได้รับรู้อย่างชื่นชม รวมทั้งเป็นที่ยอมรับในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งหน่วยงานและองค์กรต่างๆ เห็นตรงกันว่าผลจากการที่ กสทช.จัดประมูลคลื่นความถี่ 2.1 GHz ทำให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยมหาศาล ช่วยผลักดันตลาดการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด อีกทั้งมีอานิสงค์ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาช่องทางบริการธุรกิจใหม่ๆ บนเครือข่ายสื่อสารไร้สาย 3Gในหลายรูปแบบ รวมถึงเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นในธุรกิจการสร้างโครงข่าย
     
       “จากเหตุผลทั้งหมด ขอย้ำว่า กสทช. โดย กทค.ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ไม่ได้กระทำความผิดใดๆ กทค.เพียงคิดต่างและใช้ดุลพินิจในกรอบของกฎหมายตามความชำนาญพิเศษ ที่เห็นว่าจะทำให้สามารถจัดสรรคลื่น 3G ได้สำเร็จ เกิดประสิทธิภาพ และประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด โดย กทค.ได้พิจารณาเสียงเรียกร้องส่วนน้อยที่ต้องการให้กำหนดราคาประมูลสูงๆ อย่างรอบคอบแล้วเห็นว่ามีความเสี่ยง ไม่มีหลักวิชาการที่น่าเชื่อถือรองรับ รวมทั้งยังมาจากกลุ่มเดียวที่เคยให้ข้อแนะนำแก่ กทช. แต่ก็ปรากฎว่าการจัดประมูล 3G ครั้งนั้นล่มไป กทค. จึงเลือกตามแนวทางที่ดำเนินไปจนทำให้การจัดประมูล 3Gของ กทค. ประสบผลสำเร็จ ที่ผ่านมา กทค. เป็น ฝ่ายถูกกระทำและไม่ได้รับความเป็นธรรมมาโดยตลอด จึงขอเรียกร้องความยุติธรรมและความเป็นธรรมจากทุกฝ่ายด้วย”



http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000059482

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.