Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 มิถุนายน 2557 เลขา กสทช.ฐากร ระบุ เป็นเป้าเพราะอิสระและมีเงิน ( กสทช. ต่างจาก ป.ป.ช. สตง. เป็นองค์กรอิสระ แต่ต้องตั้งงบฯตาม พ.ร.บ.งบประมาณเหมือนกัน เพราะไม่ต้องทำ )


ประเด็นหลัก

- เสนอให้ คสช.แก้กฎหมายอะไรบ้าง

ที่ ส่งให้ คสช.ไปแล้วก่อนที่ สตง.จะเสนออีก คือ อย่างแรก ให้แก้ว่าเงินรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ทั้งบรอดแคสต์และโทรคมนาคมให้ ส่งเป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมด จากเดิมที่ให้ส่งเฉพาะฝั่งโทรคมนาคม

อย่าง ที่ 2 คือ ให้เพิ่มวัตถุประสงค์การใช้เงินกองทุน กทปส. เปิดให้รัฐบาลยืมไปใช้ก่อนได้ ถ้ากองทุนยังไม่ได้ใช้เงินใน 1-2 ปีนี้ โดยให้กระทรวงการคลังตั้งงบประมาณรายจ่ายมาคืน

อย่างที่ 3 ให้การทำงบประมาณของ กสทช. หลังจากบอร์ด กสทช.ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้บรรจุเข้าไว้ในส่วนหนึ่งของงบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน เพื่อให้เข้ากระบวนการพิจารณาเสมือนหนึ่ง

ส่วนราชการอื่น ๆ เลขาธิการ กสทช.ต้องไปชี้แจงกับรัฐสภาให้มีการตัดงบฯ ได้ ไม่ใช่ผ่านบอร์ดแล้วจบ เหมือนเมื่อก่อน แต่เงินรายได้ที่เอกชนจ่ายยังเข้ามาที่สำนักงาน กสทช.เหมือนเดิม ถ้ารัฐสภาเห็นว่าควรใช้เท่าใด ที่เหลือส่งคืนเข้าคลังไป

แบบ นี้จะทำให้การใช้จ่ายเงินของ กสทช.มีการตรวจสอบ โปร่งใสขึ้น เลขาธิการไม่ต้องเหนื่อยกับการโดนหน่วยงานอื่น ตรวจสอบภายหลัง ถ้ามีการแก้กฎหมายใน 3 เรื่องนี้ สำนักงาน กสทช.จะเบาขึ้น มีเหนื่อยแค่ต้องไปชี้แจงตอนรัฐสภาตัดงบฯเท่านั้น

- ความเป็นองค์กรอิสระทางการเงินและการเมืองจะหายไป

ป.ป.ช. สตง. เป็นองค์กรอิสระ แต่ต้องตั้งงบฯตาม พ.ร.บ.งบประมาณเหมือนกัน ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ที่เป็นอำนาจนิติบัญญัติ ไม่ใช่ผ่านการตรวจสอบของรัฐบาล องค์กรอิสระอื่น ๆ ก็ผ่านการตรวจสอบนี้ มีแต่ กสทช.ที่เดียวที่ไม่เป็นแบบนั้น เพราะกฎหมายดีไซน์ไว้แบบนั้น

- เป็นเป้าเพราะอิสระและมีเงิน

ถูกต้อง

- ดึงเงินไปไม่กระทบ กทปส.

ไม่ กระทบ เพราะได้เสนอเงื่อนไขแนบไปแล้วว่า ถ้ารับเงินค่าประมูลไปก็ต้องรับแผนการแจกคูปองทีวีดิจิทัลไปด้วย เพราะประกาศกับสาธารณะไปแล้ว ส่วนเงินค่าธรรมเนียมอื่น ค่า USO ทั้งหมดยังเข้ากองทุนเหมือนเดิม ไม่ได้กระทบกับแผนงานของกองทุนตามกฎหมาย







______________________________________


คำต่อคำ ฐากร ตัณฑสิทธิ์ ฝ่าวิกฤต ′ยุบ กสทช.-ยึดเงินกองทุน′


ในยามนี้ต้องรับบทหนัก สำหรับ "ฐากร ตัณฑสิทธิ์" เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นับตั้งแต่กรณีคืนความสุขให้ประชาชนคนไทย ด้วยการถ่ายทอดสด "ฟุตบอลโลก" ด้วยการยอมจ่ายเงินกว่า 400 ล้านบาท ความเดิมยังไม่ทันจาง ล่าสุด คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่งระงับ 4 โครงการสำคัญ ได้แก่ การจัดประมูลคลื่น 1800 MHz และคลื่น 900 MHz การแจกคูปองส่วนลดทีวีดิจิทัล รวมถึงการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมทั่วถึง (USO) ยังไม่นับเสียงลือเรื่องการยุบองค์กรที่ดังสนั่นซอยสายลมยามนี้

ทำไมและเพราะเหตุใด "ประชาชาติธุรกิจ" มีโอกาสพูดคุยกับเลขาธิการ "กสทช." ดังนี้

- เรื่องยุบ "กสทช." มาได้ยังไง

ข่าวก็มาจากหลายปัจจัย อย่างแรกการใช้จ่ายเงินของ กสทช. เรื่องที่ 2 คือเงินมาอยู่ที่กองทุน กสทช. มาก จึงมีข้อสงสัยเรื่องธรรมาภิบาลในการใช้เงิน เพราะเงินประมูลทีวีดิจิทัลก็มากอยู่ แล้วคนเข้าใจว่าเงินกองทุน กทปส. คือ กสทช. แต่ทั้งหมดเป็นเพราะมีกฎหมายกำหนดไว้ว่า เงินประมูลด้านบรอดแคสต์ให้เข้ากองทุน กฎหมายเราไม่ได้ร่างเอง มีคนร่างไว้ก่อนมี กสทช. ด้วยซ้ำ

ส่วนที่ 3 คือการทำงานของ กสทช. ต้องเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน มีรัฐวิสาหกิจต้องได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นทีโอที, กสท โทรคมนาคม หรือ อสมท

ในการประชุมกับทีโอทีวันก่อน ผมได้แจ้งให้เขาทราบว่า ข้อเสนอของทีโอที เราเห็นด้วยหมด แต่ไม่สามารถทำให้ได้เพราะกฎหมายห้ามไว้ อย่างการนำส่งเงินรายได้สัมปทานเข้า กสทช. เพื่อให้ส่งเข้าคลัง ข้อกฎหมายเหล่านี้ทำให้ กสทช.เป็นหนังหน้าไฟ จะยินดีมากหากจะยกมาตรานี้ออกไป แต่เป็นหน้าที่ที่รัฐวิสาหกิจต้องไปดีลกับ คสช.เอง

มาตรา 45-46 พ.ร.บ.กสทช. ก็เหมือนกัน ที่ระบุว่าต้องจัดสรรคลื่นด้วยวิธีการประมูล ทำให้ กสทช.จัดสรรคลื่นให้รัฐวิสาหกิจโดยไม่ประมูลไม่ได้

ยังมีเรื่องที่ กทค. ฟ้อง ดร.เดือนเด่น กับคุณณัฏฐา ไทยพีบีเอส ผมพูดตลอดว่าไม่เห็นด้วย การวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องธรรมดา ผมจะเอาเรื่องเข้าบอร์ด กทค. ให้ถอนฟ้อง ปัญหาพวกนี้เรื้อรังมานานก่อให้เกิดความไม่เข้าใจ อะไรที่เราทำผิด เล็ก ๆ น้อย ๆ คนจะไม่ให้อภัยเรา เพราะเรายังให้อภัยคนอื่นไม่ได้

สำคัญคือตัวเราเองที่ต้องปรับปรุงแก้ไข แม้จะคิดว่าทำดีที่สุดแล้ว แต่ก็ต้องมีเรื่องที่ต้องปรับปรุง

- รัฐวิสาหกิจอยากให้แก้เรื่องการดึงคลื่นกลับ

คลื่นไหนไม่ได้ใช้ก็ต้องเรียกคืน อย่างคลื่นย่าน 2.3 GHz ใช้ได้แค่โทร.ทางไกลสาธารณะ ถ้าทีโอทีอยากไปใช้อย่างอื่นต้องส่งคืนเพื่อนำไปประมูลใหม่

- คลื่นที่หมดสัมปทานไปแล้ว

ตามกฎหมายเดิมอย่างไรก็ต้องคืนมาจัดสรรใหม่ แต่ถ้าแก้ พ.ร.บ.กสทช. ก็เปิดช่องให้ทำได้ ต้องมาว่ากันอีกที รัฐวิสาหกิจเองก็ต้องแข่งขันกับเอกชนให้ได้ด้วย

- ทหารก็โดนเรียกคืนคลื่นด้วย

ทางกองทัพไม่เคยพูดถึงประเด็นพวกนี้ กองทัพยังเดินหน้าให้ กสทช.ทำงานเรื่องนี้

- แล้วจะเหลืออะไรให้ กสทช.ทำ

มีอีกเยอะ การกำกับดูแลกิจการ การออกใบอนุญาต การคุ้มครองผู้บริโภค อย่างน้อยต้องมีการประมูลคลื่น 2.3 ถึง 2.6 GHz เพราะหมดสัมปทานแล้ว ก็ต้องมีการประมูล ยังมีการทำแผนวิทยุ ส่วนคลื่น 900 MHz คลื่น 1800 MHz ต้องรอ คสช.ว่าจะตัดสินใจอย่างไรต่อไป

ฉะนั้นตอนนี้ใครอยากให้ กสทช.ทำอะไร เชิญไปคุยกับ คสช. ให้แก้ไขกฎหมาย เพราะ พ.ร.บ. เดิมล็อกให้เราต้องทำ

- เสนอให้ คสช.แก้กฎหมายอะไรบ้าง

ที่ส่งให้ คสช.ไปแล้วก่อนที่ สตง.จะเสนออีก คือ อย่างแรก ให้แก้ว่าเงินรายได้จากการประมูลคลื่นความถี่ทั้งบรอดแคสต์และโทรคมนาคมให้ส่งเป็นรายได้แผ่นดินทั้งหมด จากเดิมที่ให้ส่งเฉพาะฝั่งโทรคมนาคม

อย่างที่ 2 คือ ให้เพิ่มวัตถุประสงค์การใช้เงินกองทุน กทปส. เปิดให้รัฐบาลยืมไปใช้ก่อนได้ ถ้ากองทุนยังไม่ได้ใช้เงินใน 1-2 ปีนี้ โดยให้กระทรวงการคลังตั้งงบประมาณรายจ่ายมาคืน

อย่างที่ 3 ให้การทำงบประมาณของ กสทช. หลังจากบอร์ด กสทช.ให้ความเห็นชอบแล้ว ให้บรรจุเข้าไว้ในส่วนหนึ่งของงบประมาณรายจ่ายแผ่นดิน เพื่อให้เข้ากระบวนการพิจารณาเสมือนหนึ่ง

ส่วนราชการอื่น ๆ เลขาธิการ กสทช.ต้องไปชี้แจงกับรัฐสภาให้มีการตัดงบฯ ได้ ไม่ใช่ผ่านบอร์ดแล้วจบ เหมือนเมื่อก่อน แต่เงินรายได้ที่เอกชนจ่ายยังเข้ามาที่สำนักงาน กสทช.เหมือนเดิม ถ้ารัฐสภาเห็นว่าควรใช้เท่าใด ที่เหลือส่งคืนเข้าคลังไป

แบบนี้จะทำให้การใช้จ่ายเงินของ กสทช.มีการตรวจสอบ โปร่งใสขึ้น เลขาธิการไม่ต้องเหนื่อยกับการโดนหน่วยงานอื่น ตรวจสอบภายหลัง ถ้ามีการแก้กฎหมายใน 3 เรื่องนี้ สำนักงาน กสทช.จะเบาขึ้น มีเหนื่อยแค่ต้องไปชี้แจงตอนรัฐสภาตัดงบฯเท่านั้น

- ความเป็นองค์กรอิสระทางการเงินและการเมืองจะหายไป

ป.ป.ช. สตง. เป็นองค์กรอิสระ แต่ต้องตั้งงบฯตาม พ.ร.บ.งบประมาณเหมือนกัน ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา ที่เป็นอำนาจนิติบัญญัติ ไม่ใช่ผ่านการตรวจสอบของรัฐบาล องค์กรอิสระอื่น ๆ ก็ผ่านการตรวจสอบนี้ มีแต่ กสทช.ที่เดียวที่ไม่เป็นแบบนั้น เพราะกฎหมายดีไซน์ไว้แบบนั้น

- เป็นเป้าเพราะอิสระและมีเงิน

ถูกต้อง

- ดึงเงินไปไม่กระทบ กทปส.

ไม่กระทบ เพราะได้เสนอเงื่อนไขแนบไปแล้วว่า ถ้ารับเงินค่าประมูลไปก็ต้องรับแผนการแจกคูปองทีวีดิจิทัลไปด้วย เพราะประกาศกับสาธารณะไปแล้ว ส่วนเงินค่าธรรมเนียมอื่น ค่า USO ทั้งหมดยังเข้ากองทุนเหมือนเดิม ไม่ได้กระทบกับแผนงานของกองทุนตามกฎหมาย

- โดนวิจารณ์ทำงานไม่เต็มที่ตามบทบาท

เราพยายามเต็มที่ ถ้าเทียบยุค กสทช. กับ กทช. เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคทำได้ดีกว่าที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ การตรวจสอบราคาให้สะท้อนต้นทุน แต่จะมาบอกว่า กสทช.ไม่กำกับดูแลวิทยุชุมชน ทีวีดาวเทียม ไม่ใช่ ต้องยอมรับว่าถ้าไม่มีรัฐประหารครั้งนี้ ไม่มีทางที่จะจัดระเบียบพวกนี้ได้ เพราะสะสมมาก่อนที่จะมี กสทช.

เวลากสทช.จะดำเนินการอะไรก็มีเรื่องการใช้มวลชนเข้ามาเกี่ยวข้อง ปัญหานี้ไม่ใช่แค่เรา รัฐบาลก็โดน ที่ผ่านมาเราตรวจสอบพบ ส่งหนังสือไปให้หยุดก็ไม่หยุด จนสู้กันอยู่ในศาลหลายคดี

เวลานี้จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะจัดระเบียบต้องตรวจสอบมาตรฐานทางเทคนิคและเนื้อหา ส่วนต่อไปจะยังมีวิทยุชุมชนหรือไม่ อยู่ที่ คสช.จะพิจารณาแก้กฎหมาย

- กรณีจ่าย 427 ล้านบาท ให้อาร์เอส

เราดูความชอบด้วยกฎหมาย ความเหมาะสม กสทช.ไม่ได้ให้เงิน 427 ล้านบาทกับอาร์เอส แต่เป็นการอุดหนุนค่าลิขสิทธิ์ให้ช่องสาธารณะอย่างช่อง 5 และช่อง 11 นำรายการมาออกอากาศ

ช่อง 5 ได้สิทธิ์ออกอากาศ 38 แมตช์ ช่อง 11 กำลังขออนุญาตฟีฟ่า ซึ่งอาร์เอส รับปากว่าจะให้ทันรอบ 16 ทีมสุดท้าย แต่ถ้าช่อง 11 ไม่ได้ออกอากาศ เงินที่จ่ายก็ต้องลดลงไป

อาร์เอสจะได้เงินส่วนนี้ในรูปแบบของค่าลิขสิทธิ์ที่ได้รับจากผู้ถือใบอนุญาต กับเงินค่าเยียวยาที่ประชาชนนำกล่องเวิลด์คัพมาคืนแล้ว ทางบริษัทต้องจ่ายเงินคืนให้เท่านั้น ไม่มีการจ่ายค่าเสียโอกาสทางธุรกิจอื่น ๆ ทั้งหมดนี้คณะทำงานกำลังดู แต่กรอบวงเงินจะไม่เกิน 427 ล้านบาท

- กสทช.ยังจำเป็นต้องมี

แน่นอน งานในกำกับดูแลมีเยอะมาก ไม่มีประเทศไหนที่ไม่มีหน่วยงานกำกับดูแล 2 กิจการนี้

ปัจจุบันต้องแบ่งระหว่างผู้ประกอบกิจการกับผู้กำกับดูแล กสทช.จึงยังจำเป็นต้องมีทั้งเพื่อกำกับดูแลด้านคุณภาพ การคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อก่อนโอเปอเรเตอร์เรียกเก็บเท่าไรต้องจ่ายหมด กสทช.เปิดช่องทางให้ร้องเรียนได้ ทำให้รู้สิทธิของตนเอง แม้จะว่าทำงานช้า แต่ถ้าเทียบกับหน่วยงานอื่นเร็วกว่าแน่นอน เราพยายามตัดขั้นตอนให้ตอบสนองประชาชนได้เร็วที่สุด

- ทำป้าย กสทช. = กูสู้และทำเพื่อประชาชนทุกคน

2-3 ปีที่ผ่านมาทำงานกันหนักมาก ทุกคนเครียดกันหมด โดยเฉพาะเลขาธิการที่รับงานแม่บ้าน หนักมาก ตอนนี้ทำอะไรก็โดนวิจารณ์ เลยแปะไว้ให้กำลังใจตนเอง



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1403654951

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.