Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 มิถุนายน 2557 ThaiPBS. ระบุ พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ปัจจุบันมีการสำรวจพบว่า รับชมหน้าจอทีวีใหญ่เหลือเพียงวันละ 20 นาทีเท่านั้น ส่วนใหญ่จะหันไปดูผ่านจอของสมาร์ทดีไวซ์มากขึ้น เฉลี่ยราว 8 ชั่วโมงต่อวัน


ประเด็นหลัก


ด้านผู้อำนวยการสำนัก รายการไทยพีบีเอสกล่าวเสริมว่า ช่อง HD กลายเป็นเรื่องธรรมดาพื้นฐานที่ผู้ชมต้องการ ซึ่งประมาณ เม.ย.ปีหน้า ไทยพีบีเอสจะเริ่มออกอากาศช่อง HD สำหรับเด็กและเยาวชนอีก 1 ช่องสมาร์ทดีไวซ์คู่แข่งทีวีดิจิทัล

ขณะเดียวกัน พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ปัจจุบันมีการสำรวจพบว่า ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทำให้พฤติกรรมการดูทีวีของผู้บริโภคผ่านหน้าจอทีวีใหญ่เหลือเพียงวันละ 20 นาทีเท่านั้น ส่วนใหญ่จะหันไปดูผ่านจอของสมาร์ทดีไวซ์มากขึ้น เฉลี่ยราว 8 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่ผู้ชมทีวีผ่านจอใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

และทำให้คู่แข่งสำคัญของฟรีทีวีคือ บรรดาสมาร์ทดีไวซ์ ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัว ทั้งการทำคอนเทนต์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และการพัฒนาคอนเทนต์ให้รองรับการดูผ่านสมาร์ทดีไวซ์ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีจอเล็กเสริมจอใหญ่ สร้างกิจกรรมทางการตลาดผ่านสมาร์ทดีไวซ์ เพื่อเชื่อมโยงกับการรับชมทีวีจอใหญ่


______________________________________

ก้าวใหม่ธุรกิจยุค "ทีวีดิจิทัล" สารพัดโจทย์ใหญ่ที่ต้องตีให้แตก



เริ่มออนแอร์พักใหญ่แล้ว สำหรับทีวีดิจิทัล 27 ช่อง (24 ช่องธุรกิจ + 3 ช่องสาธารณะ) สร้างประสบการณ์ใหม่ด้านความคมชัดของการออกอากาศและจำนวนช่องที่หลากหลาย เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและกระตุ้นให้ประชาชนสนใจทีวีดิจิทัลมากขึ้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดเสวนาและนิทรรศการวิชาการ "สู่ยุคโทรทัศน์ดิจิทัล" โดยได้ผู้เชี่ยวชาญในวงการมาร่วมกันชี้ประเด็นที่น่าสนใจของอุตสาหกรรม ดังนี้

ฐานคนดูคือความอยู่รอด

สุวิทย์ สาสนพิจิตร์ ผู้อำนวยการสำนักรายการ องค์กรกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ไทยพีบีเอส) กล่าวว่า การเข้ามาของทีวีดิจิทัลทั้ง 24 ช่อง ด้วยมูลค่าการประมูลที่ค่อนข้างสูงนั้น ทำให้การสร้างคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค กลายเป็นโจทย์หลักที่ผู้ประกอบการต้องตีให้แตก เนื่องจากฐานคนดูเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงอยู่ของทีวีดิจิทัล

"ทีวีดิจิทัลจะทำให้คอนเทนต์ดีขึ้นจากการแข่งขัน ที่ต้องพัฒนาคอนเทนต์ให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคและตรงต่อกลุ่มเป้าหมายในวัยต่างๆ ได้ตรงจุด หากไม่ทำรายการที่ดีมีคุณภาพ ผู้บริโภคก็จะเลือกไปดูช่องอื่นแทน ในยุคที่ผู้บริโภคมีทางเลือกมากยิ่งขึ้น"

จิตสุภา วัชรพล รองประธานกรรมการบริหารบริษัท ทริปเปิ้ล วี บรอดคาสท์ ผู้บริหารไทยรัฐทีวี กล่าวว่า การผลิตรายการของทางไทยรัฐนั้นจะมีสัดส่วนคือ 50 ต่อ 50 คือข่าวสารสาระประโยชน์และวาไรตี้บันเทิงอย่างละเท่ากัน นโยบายของทางไทยรัฐทีวีในตอนนี้คือมุ่งหน้าสู่การเชื่อมต่อ ผู้บริโภคจะไม่เปลี่ยนช่องไปไหน เป็นโจทย์หลักที่ทางไทยรัฐทีวีจะต้องตีให้แตก และสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองกลุ่มเป้าหมายให้ได้ ในฐานะที่เป็นหน้าใหม่ จึงต้องวิจัยความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้มากขึ้น อย่างในกลุ่มผู้ดูทีวีในช่วงกลางวัน ที่มีจำนวนผู้ชมมาก และยังไม่มีใครเข้ามาเจาะตลาดอย่างจริงจัง ถือเป็นตลาด "บลูโอเชี่ยน" ที่น่าสนใจ และในปีหน้าจะเริ่มผลิตคอนเทนต์ประเภทละครมาออกอากาศ

HD ความต้องการใหม่ของผู้ชม

ธานินทร์ ถาวรศาสนวงศ์ ผู้จัดการฝ่ายแผนงานและข้อมูลวิศวกรรม บมจ.อสมท กล่าวว่า ด้วยจำนวนช่อง HD ของทีวีดิจิทัล ที่มีอยู่ 9 ช่อง (7 ช่องธุรกิจ 2 ช่องสาธารณะ) และเทคโนโลยีการรับชมที่พัฒนาขึ้นมาก ทำให้การผลิตคอนเทนต์แบบคมชัดสูง (HD) กลายเป็นเรื่องสำคัญในยุคนี้ ผู้ประกอบการต้องพัฒนารูปแบบเพื่อความอยู่รอด โดยคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายในแต่ละวัยและแต่ละช่วงเวลา ซึ่งช่วงเวลาที่คนดูทีวีมากที่สุด (ไพรมไทม์) อาจไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะหลังข่าวค่ำอีกต่อไป

ด้านผู้อำนวยการสำนัก รายการไทยพีบีเอสกล่าวเสริมว่า ช่อง HD กลายเป็นเรื่องธรรมดาพื้นฐานที่ผู้ชมต้องการ ซึ่งประมาณ เม.ย.ปีหน้า ไทยพีบีเอสจะเริ่มออกอากาศช่อง HD สำหรับเด็กและเยาวชนอีก 1 ช่องสมาร์ทดีไวซ์คู่แข่งทีวีดิจิทัล

ขณะเดียวกัน พฤติกรรมของผู้บริโภคที่ปัจจุบันมีการสำรวจพบว่า ด้วยเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ทำให้พฤติกรรมการดูทีวีของผู้บริโภคผ่านหน้าจอทีวีใหญ่เหลือเพียงวันละ 20 นาทีเท่านั้น ส่วนใหญ่จะหันไปดูผ่านจอของสมาร์ทดีไวซ์มากขึ้น เฉลี่ยราว 8 ชั่วโมงต่อวัน ขณะที่ผู้ชมทีวีผ่านจอใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป

และทำให้คู่แข่งสำคัญของฟรีทีวีคือ บรรดาสมาร์ทดีไวซ์ ผู้ประกอบการจึงต้องปรับตัว ทั้งการทำคอนเทนต์ให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และการพัฒนาคอนเทนต์ให้รองรับการดูผ่านสมาร์ทดีไวซ์ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีจอเล็กเสริมจอใหญ่ สร้างกิจกรรมทางการตลาดผ่านสมาร์ทดีไวซ์ เพื่อเชื่อมโยงกับการรับชมทีวีจอใหญ่

คอนเทนต์ดีแต้มต่อไลเซนส์ใหม่

ด้านผู้กำกับดูแลอุตสาหกรรม พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า การจัดประมูลช่องทีวีดิจิทัล ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายจากจำนวนช่องที่มากขึ้น ซึ่ง กสท.มองว่า คุณภาพข้อมูลข่าวสารที่สังคมจะได้รับเป็นสิ่งที่สำคัญกว่ารายได้

ดังนั้น อีก 15 ปีข้างหน้า หลังสิ้นสุดใบอนุญาตประกอบกิจการของช่องทีวีดิจิทัลประเภทธุรกิจ กสท.มีแนวคิดจะใช้การประเมินคุณภาพรายการ เพื่อพิจารณาต่ออายุใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการ โดย 80% ของช่องรายการที่ได้สิทธิต่ออายุใบอนุญาต จะใช้เกณฑ์การประเมินคุณภาพรายการ อีก 20% ที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพ จะนำคลื่นกลับมาจัดสรรใหม่ด้วยการประมูล เพื่อเปิดโอกาสให้มีผู้ประกอบการหน้าใหม่เข้ามา




http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1404125692

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.