Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 มิถุนายน 2557 เลขา กสทช.ฐากร ระบุ กำหนดวงเงินค่าใช้บริการไม่เกิน 1,000 บาท และได้ข้อสรุป GOOGLE กรณีคุกกี้รัน ให้ยืนยันพาสเวิร์ดทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าและบริการผ่าน Google Play Store


ประเด็นหลัก


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ในการหารือได้ข้อสรุปว่า ทางกูเกิล จะให้ทีมวิศวกรเซ็ตระบบเพื่อให้ต้องมีการยืนยันพาสเวิร์ดทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าและบริการผ่าน Google Play Store พร้อมส่งอีเมล์ยืนยันการทำรายการซื้อตอบกลับเป็นภาษาไทยส่งให้ผู้ใช้งานด้วย พร้อมสั่งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายที่ให้บริการรวมค่าใช้จ่ายจากการซื้อแอปพลิเคชั่นหรือสินค้าและบริการอื่นไว้ในใบแจ้งหนี้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (DCB : Direct Carrier Billing) ต้องกำหนดวงเงินค่าใช้บริการไม่เกิน 1,000 บาท พร้อมส่ง SMS แจ้งไปยังเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทันทีที่มีการซื้อหรือใช้บริการแล้ว โดยหากผู้ใช้บริการเป็นผู้เยาว์ต้องส่ง SMS ไปยังเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ปกครองให้รับทราบด้วย เพื่อให้มีส่วนดูแลเรื่องนี้


______________________________________

กสทช.ได้ข้อสรุปจำกัดค่าบริการเสริมสมาร์ทโฟนแล้ว


       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ในการหารือเพื่อป้องกันค่าใช้จ่ายจากบริการเสริมในโทรศัพท์สมาร์ทโฟนจำนวนมาก เช่น กรณีเกมคุกกี้รัน ร่วมกับผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือกูเกิลประเทศไทย ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า กูเกิลประเทศไทยจะพัฒนาระบบทางเทคนิค ให้มีการยืนยันพาสเวิร์ดทุกครั้งที่มีการซื้อขายสินค้าผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ พร้อมให้มีอีเมลยืนยันการทำรายการการซื้อตอบกลับจากกูเกิลเป็นภาษาไทยทุกครั้ง ให้มีการกำหนดวงเงินค่าใช้จ่ายในการซื้อผ่านระบบเรียกเก็บค่าบริการเสริมผ่านโทรศัพท์มือถือให้ไม่เกิน 1,000 บาท ให้เป็นราคามาตรฐาน หรือกำหนดให้เป็น 0 บาท ได้ตามที่ต้องการ และให้มีเอสเอ็มเอสจากผู้ให้บริการแต่ละเครือข่ายแจ้งไปยังเลขหมายโทรศัพท์ที่มีการซื้อขายหรือใช้บริการทุกครั้งด้วย


http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9570000074558&Keyword=%A1%CA%B7


___________________________




กูเกิลยอมเซ็ตระบบ Play Store ต้องใส่รหัสทุกครั้งที่ซื้อบริการแก้ปัญหาบิลช็อกคุกกี้รัน


รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (2 ก.ค. 2557) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เชิญ ตัวแทนบริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการ Google Play Store ตัวแทนบริษัท เนเวอร์ ไลน์ จำกัด ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น LINE บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ AIS3G บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายใต้แบรนด์ Truemove H เพื่อหาแนวทางที่จะป้องกันบิลช็อกกรณีคุกกี้รัน

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ในการหารือได้ข้อสรุปว่า ทางกูเกิล จะให้ทีมวิศวกรเซ็ตระบบเพื่อให้ต้องมีการยืนยันพาสเวิร์ดทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าและบริการผ่าน Google Play Store พร้อมส่งอีเมล์ยืนยันการทำรายการซื้อตอบกลับเป็นภาษาไทยส่งให้ผู้ใช้งานด้วย พร้อมสั่งให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายที่ให้บริการรวมค่าใช้จ่ายจากการซื้อแอปพลิเคชั่นหรือสินค้าและบริการอื่นไว้ในใบแจ้งหนี้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (DCB : Direct Carrier Billing) ต้องกำหนดวงเงินค่าใช้บริการไม่เกิน 1,000 บาท พร้อมส่ง SMS แจ้งไปยังเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทันทีที่มีการซื้อหรือใช้บริการแล้ว โดยหากผู้ใช้บริการเป็นผู้เยาว์ต้องส่ง SMS ไปยังเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้ปกครองให้รับทราบด้วย เพื่อให้มีส่วนดูแลเรื่องนี้

"วงเงินค่าบริการเบื้องต้น 1,000 บาท แต่ผู้ใช้งานสามารถติดต่อกับค่ายมือถือเพื่อให้เพิ่มวงเงินได้ ขณะที่ปัญหาบิลช็อกในกรณีนี้ ทุกฝ่ายโดยเฉพาะผู้ปกครองต้องร่วมเข้ามาช่วยกัน ซึ่งในส่วนของ AWN จะเปิดให้บริการระบบ DCB อีกครั้งในวันที่ 22 ก.ค.นี้ โดยจะเริ่มส่ง SMS ให้คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองในเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่แจ้งไว้กับทางบริษัท ในเบื้องต้น SMS ที่ส่งได้จะเป็นเลขหมายในเครือข่าย AIS ก่อน"





http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1404293561

_________________________



กสทช.สั่งกำหนดวงเงินกรณีซื้อสินค้าเก็บเงินรวมบิลค่าโทรศัพท์-เริ่ม22 ก.ค.



altสำนักงาน กสทช. กำหนดมาตรการคุ้มครองกรณีการซื้อสินค้าและใช้บริการผ่านการเก็บเงินรวมกับบิลค่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ (DCB) ต้องมีการกำหนดวงเงินในการใช้บริการ และมี SMS แจ้งยืนยันทันทีที่ใช้บริการ พร้อมให้กูเกิลกำหนดให้มีการยืนยันพาสเวิร์ดทุกครั้งที่ซื้อ และให้โอเปอเรเตอร์ส่ง SMS แจ้งการซื้อถึงผู้ปกครอง เริ่ม 22 ก.ค. 57 เฉพาะในเครือข่ายเดียวกันก่อน


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากการประชุมหารือระหว่างกสทช. สำนักงาน กสทช. ตัวแทนบริษัท กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด ตัวแทนบริษัท เนเวอร์ ไลน์ จำกัด บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด        เพื่อหาแนวทางที่จะป้องกันปัญหาในลักษณะเดียวกับกรณีคุกกี้รันที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้ข้อสรุปว่า ทางบริษัท   กูเกิล (ประเทศไทย) จำกัด รับจะให้ทีมวิศวกรเซ็ตระบบให้ต้องมีการยืนยันพาสเวิร์ดทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้าและบริการผ่านกูเกิลเพลย์ (Google Play) พร้อมกับให้มีอีเมล์ยืนยันการทำรายการซื้อตอบกลับจากกูเกิลเป็นภาษาไทย ในส่วนของ AWN จะกำหนดวงเงินค่าใช้บริการในการซื้อหรือใช้บริการในระบบ DCB หรือ Direct Carrier Billing ไว้ที่ครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท และไม่เกินวงเงินใหญ่ที่กำหนดของแต่ละเลขหมาย และจะมี SMS แจ้งไปยังเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทันทีที่มีการซื้อหรือใช้บริการ ทั้งนี้ ความร่วมมือของกูเกิลในทางเทคนิคจะเป็นตัวกำหนดว่าระบบจะสามารถแจ้งเตือนได้ทันทีหรือไม่

นายฐากร กล่าวว่า ในส่วนของสำนักงาน กสทช. มองว่าประเด็นปัญหาดังกล่าวทุกฝ่ายโดยเฉพาะผู้ปกครองต้องร่วมเข้ามาช่วยกันดูแลในเรื่องนี้ สำนักงานฯ จึงขอให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกรายที่ให้บริการ DCB หรือ Direct Carrier Billing นอกจากจะต้องกำหนดวงเงินค่าใช้บริการ และส่ง SMS แจ้งไปยังเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทันทีที่มีการซื้อหรือใช้บริการแล้ว ยังต้องส่ง SMS ไปยังเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของคุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองทราบถึงการซื้อขายและใช้บริการด้วย (Parential Alert) เพื่อให้คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแลเรื่องนี้ด้วย สำหรับ AWN ที่จะเปิดให้บริการการทำรายการผ่านระบบ DCB ใหม่ในวันที่ 22 ก.ค. 2557 AWN พร้อมที่ส่ง SMS ให้คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองในเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่แจ้งไว้กับทางบริษัท ในเบื้องต้น SMS ที่ส่งได้จะเป็นเลขหมายในเครือข่าย AIS ก่อน

สำหรับบริษัท เนเวอร์ ไลน์ จำกัด ในครั้งนี้เป็นการมาให้ข้อมูลกับทางสำนักงาน กสทช. และมาสังเกตการณ์ เนื่องจากเป็นกรณีที่ทางบริษัทไม่เคยเจอมาก่อน การซื้อสินค้าและบริการอาทิ ไอเท็มของเกมต่างๆ ที่อยู่บนเกมต่างๆ ของไลน์จะอยู่ในรูปแบบ In App purchase

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=237325:-22-&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524#.U7P3K1ZAfM4

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.