Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 มิถุนายน 2557 (ปฏิบัติการคสช.ล้างบางการสื่อสาร)(เกาะติดประมูล4G) เลขา กสทช.ฐากร ระบุ CAT และ TOT ไม่ยอมปล่อยคลื่น 900 1800 ให้ กสทช. ระบุ บริหารต่อไปได้อีก 2 ปีตามบทเฉพาะกาลของสัญญาสัมปทานที่ทำร่วมกับเอกชน


ประเด็นหลัก


       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าในวันพุธที่ 3 ก.ค. 2557 เวลาประมาณ 15.00 น. กสทช.จะเชิญบริษัท กสท โทรคมนาคม และบริษัท ทีโอที เข้าหารือกรณีที่ทั้ง2 บริษัทไม่ยินยอมให้นำเอาคลื่นความถี่ 900 และ 1800 MHz มาจัดสรรด้วยการประมูลตามแผนงานของกสทช. เนื่องจากก่อนหน้านี้กสท ได้เรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พิจารณากรณีที่กสทช.จะนำคลื่นความถี่ 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน หรือ ดีพีซี มาเปิดประมูลภายหลังหมดสัญญาสัมปทานนั้นเนื่องจากทาง กสท ไม่เห็นด้วยเพราะกสท มองว่าในฐานะเจ้าของสัมปทานสามารถนำคลื่นดังกล่าวมาบริหารต่อไปได้อีก 2 ปีตามบทเฉพาะกาลของสัญญาสัมปทานที่ทำร่วมกับเอกชน เช่นเดียวกับกรณีทีโอทีในคลื่นความถี่ 900 MHz
   

______________________________________

กสทช.เรียก 'กสท / ทีโอที' ถกปัญหาความความถี่ กับส่งรายได้สัมปทานเข้าแผ่นดิน



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

       กสทช.เรียก กสท กับ ทีโอที ถกวันที่ 3 ก.ค.หาทางรอดของ 2องค์กร หวังสางปัญหาที่เห็นต่างกันทั้งเรื่องการประมูลความถี่ 1800 MHz 900 MHz และ 2.3 GHz รวมทั้งการส่งส่วนแบ่งรายได้สัญญาสัมปทานเข้าแผ่นดินที่ทำให้ 2 องค์กรเจอภาวะระส่ำทางการเงิน ก่อนได้ข้อสรุปส่งให้คสช.พิจารณาสัปดาห์หน้า ด้านคุกกี้รันได้ข้อสรุปแล้ว
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่าในวันพุธที่ 3 ก.ค. 2557 เวลาประมาณ 15.00 น. กสทช.จะเชิญบริษัท กสท โทรคมนาคม และบริษัท ทีโอที เข้าหารือกรณีที่ทั้ง2 บริษัทไม่ยินยอมให้นำเอาคลื่นความถี่ 900 และ 1800 MHz มาจัดสรรด้วยการประมูลตามแผนงานของกสทช. เนื่องจากก่อนหน้านี้กสท ได้เรียกร้องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) พิจารณากรณีที่กสทช.จะนำคลื่นความถี่ 1800 MHz ของบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน หรือ ดีพีซี มาเปิดประมูลภายหลังหมดสัญญาสัมปทานนั้นเนื่องจากทาง กสท ไม่เห็นด้วยเพราะกสท มองว่าในฐานะเจ้าของสัมปทานสามารถนำคลื่นดังกล่าวมาบริหารต่อไปได้อีก 2 ปีตามบทเฉพาะกาลของสัญญาสัมปทานที่ทำร่วมกับเอกชน เช่นเดียวกับกรณีทีโอทีในคลื่นความถี่ 900 MHz
     
       นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องความอยู่รอดของรัฐวิสาหกิจต่อไปในอนาคตจะต้องมีแนวทาง ปฎิบัติอย่างไร เพราะก่อนหน้านี้ทีโอที และกสทได้เสนอให้มีการแก้กฎหมายในมาตรา83 วรรค 3 พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ.2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ว่าด้วยการส่งเงินรายได้เข้าเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งทีโอทีกับกสท ระบุว่าหากยังมีกฎหมายดังกล่าวจะส่งผลให้บริษัทต้องประสบกับปัญหาทางการเงินอย่างหนัก เพราะส่วนแบ่งรายได้จากสัมปทานเดิมที่เคยได้รับ ปัจจุบันจะถูกส่งเข้าเป็นรายได้ของแผ่นดิน
     
       รวมทั้งยังมีประเด็นคลื่นความถี่ 1800 MHz ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค ผู้รับสัมปทานจาก กสท จำนวน 25 MHz ที่ดีแทคไม่ได้ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน และคลื่นความถี่อื่นๆ อาทิ คลื่นความถี่ย่าน 2.3 GHz จำนวน 64 MHzซึ่งอยู่กับทีโอทีว่าจะดำเนินการเช่นไรต่อไป
     
       ขณะเดียวกันกสทช.ยังจะหารือกับทางคสช.กรณีในวันที่ 15 ก.ย.2557 นี้อาจจะเกิดกรณีซิมดับสำหรับผู้บริโภคที่อยู่บนระบบคลื่นความถี่ 1800 MHz จำนวนราว 4 ล้านเลขหมายซึ่งเป็นลูกค้าของบริษัท ทรูมูฟ จำกัดและบริษัท ดิจิตอลโฟน จำกัด หรือ ดีพีซี หากไม่มีผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ก่อนวันหมดระยะเวลาใช้ประกาศเยียวยาซิมดับ
     
       ทั้งนี้ภายหลังจากการหารือดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว กสทช.จะรวบรวมเอกสารส่งไปยังคสช.ภายในสัปดาห์หน้าเพื่อให้พิจารณาในประเด็นต่างๆเหล่านั้น เนื่องจากคสช.ต้องการให้เคลียร์ประเด็นดังกล่าวทั้งหมดให้ได้ก่อนที่จะพิจารณาการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz ที่คสช.สั่งชะลอการประมูลก่อนหน้านี้
     
       ขณะเดียวกันกสทช.ได้หารือกับตัวแทน บริษัท กูเกิล ประเทศไทย บริษัท เนเวอร์ ไลน์ และผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้ง 5 รายในประเด็นการหาแนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีมีเยาวชนซื้อไอเท็มในเกมออนไลน์ คุกกี้รัน ผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือจนทำให้มีค่าบริการเป็นแสนบาท โดยภายหลังหารือได้ข้อสรุปว่าทางบริษัท กูเกิล ยอมให้ทีมวิศวกรเซ็ตระบบให้ต้องมีการยืนยันพาสเวิร์ดทุกครั้งที่มีการซื้อสินค้า และบริการผ่านกูเกิลเพลย์ พร้อมกับให้มีอีเมล์ยืนยันการทำรายการซื้อตอบกลับจากกูเกิลเป็นภาษาไทย
     
       นอกจากนี้ในฝั่งผู้ประกอบการคือบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค (AWN) ในเครือเอไอเอส เจ้าของเครือข่ายที่มีการฟ้องร้องจากกรณีดังกล่าวก็พร้อมจำกัดวงเงินค่าใช้บริการในการซื้อหรือใช้บริการการเรียกเก็บค่าบริการเสริมผ่านใบแจ้งหนี้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (Direct Carrier Billing หรือ DCB) ไว้ที่ครั้งละไม่เกิน 1,000 บาท และไม่เกินวงเงินใหญ่ที่กำหนดของแต่ละเลขหมาย พร้อมทั้งจะมีเอสเอ็มเอสแจ้งไปยังเลขหมายโทรศัพท์มือถือทันทีที่มีการซื้อใช้บริการ โดยทาง AWNแจ้งว่าจะกลับมาเปิดให้บริการในระบบดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ 22 ก.ค.2557 พร้อมทั้งจะส่งเอสเอ็มเอสเตือนไปให้ผู้ปกครองรับทราบในหมายเลขโทรศัพท์ มือถือที่แจ้งไว้กับทางบริษัทซึ่งในระยะแรกจะส่งได้เฉพาะเลขหมายในเครือข่ายเอไอเอสก่อน ขณะที่ทางบริษัท เนเวอร์ ไลน์ ได้เข้าสังเกตการณ์ในการหารือครั้งนี้ด้วยเช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นกรณีที่ทางบริษัทไม่เคยเจอมาก่อน



http://www.manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9570000074553

_______________________


กสทช. เตรียมชงปัญหาคลื่น-สัมปทาน "ทีโอที-กสทฯ" เข้า คสช.



รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันที่ 3 ก.ค. 2557 นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เชิญตัวแทนของ บมจ.ทีโอที และ บมจ. กสท โทรคมนาคม เข้าหารือเพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เกี่ยวกับผลกระทบ และความคืบหน้าของการปฏิบัติตาม มาตรา 84  พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจาย วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ที่ระบุให้รัฐวิสาหกิจต้องนำรายได้จากสัมปทานด้านโทรคมนาคม ส่งให้ กสทช. นำส่งเข้ากระทรวงการคลังเป็นรายได้แผ่นดิน รวมถึงให้ส่งคืนคลื่นให้ กสทช. นำไปจัดสรรใหม่หลังสิ้นสุดสัมปทาน   รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการใช้คลื่นความถี่ย่าน 2.3 – 2.6 GHz ของทีโอที และการจะเข้าร่วมประมูลคลื่น 1800 MHz ของ กสท โทรคมนาคมด้วย

หลังจากก่อนหน้านี้ คสช. ได้มีหนังสือให้ กสทช.ระงับการจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ไปก่อนเพื่อตรวจสอบโครงการ




http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1404295526






ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.