Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

15 กรกฎาคม 2557 ยูบีเอส ประจำประเทศไทย.แมกไกวร์ ระบุ ภายใน 3 ปี หรือปี 2560 ประชากรที่ออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเติบโต 48% กลายเป็น 294 ล้านราย จากปัจจุบันที่สัดส่วนการเข้าอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 32%


ประเด็นหลัก

นายแมกไกวร์ ประเมินว่า ในความเป็นจริงประชากรเน็ตของอาเซียนปัจจุบันน่าจะมีอยู่ถึง 199 ล้านราย นับว่าสูงกว่าที่บริษัทวิจัยต่างๆ ประเมินไว้ ปีที่ผ่านมาบริษัทวิจัยคอมสกอร์ คาดว่า จำนวนมีอยู่ประมาณ 62 ล้านราย

สำหรับ ความนิยมการเข้าใช้งาน ผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคโดยเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบิ๊กดาต้า เก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ค้าปลีกจำนวน 10,000 เว็บที่ได้ความนิยมสูงสุดชี้ว่า ผู้บริโภคนิยมเข้าชมเว็บที่บริการอีคอมเมิร์ซมากกว่าเว็บของห้างค้าปลีกดั้งเดิม ซึ่งมีสัดส่วนการเข้าชมเพียง 2.4%

พร้อมระบุว่า ภายใน 3 ปี หรือปี 2560 ประชากรที่ออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเติบโต 48% กลายเป็น 294 ล้านราย จากปัจจุบันที่สัดส่วนการเข้าอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 32%


______________________________________

อีคอมเมิร์ซอาเซียนบูม 3ปีคนใช้เน็ตแตะ 48%


"ยูบีเอส" ชี้ตลาด "อีคอมเมิร์ซ" อาเซียนกำลังบูม รับกระแสสมาร์ทโฟนโตแรง-สัดส่วนเข้าถึงเน็ตก้าวกระโดด



หนังสือพิมพ์วอลล์สตรีทเจอร์นัลรายงานผลการศึกษาโดยธนาคารยูบีเอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ว่า ธุรกิจอีคอมเมิร์ซภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ระหว่างการเติบโตแบบก้าวกระโดด ทั้งขณะนี้คอนซูเมอร์มีการเปิดรับและนิยมเข้าไปจับจ่ายบนเว็บไซต์ห้างค้าปลีกต่างๆ

นายเรย์มอนด์ แมกไกวร์ หัวหน้าฝ่ายวิจัยและกลยุทธ์ ยูบีเอส ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า สัดส่วนการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตภูมิภาคนี้มีอัตราสูงกว่าที่หลายหน่วยงานคาดการณ์ไว้มาก และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามลำดับ รับอานิสงส์การเติบโตการใช้สมาร์ทโฟนราคาถูกที่ช่วยผลักดันให้การเข้าถึงโมบาย อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดี ด้วยผลสำรวจที่ชี้ว่าผู้บริโภคชาวอาเซียนมักเข้าไปศึกษาสินค้าบนช่องทางออนไลน์ 41 ครั้ง ก่อนเดินไปหน้าร้านจริง และแม้บางครั้งผู้บริโภคต้องพบอุปสรรค เช่น ระบบโลจิสติกส์หรือข้อจำกัดด้านการใช้บัตรเครดิต ทว่าธุรกิจค้าปลีกออนไลน์มีส่วนแบ่งการตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ ตามการเข้าถึงเว็บไซต์ของผู้บริโภค

“ความสมดุลเริ่มเอนเอียงไปทางออนไลน์แพลตฟอร์ม เทรนด์ดังกล่าวจึงนับเป็นความท้าทายต่อธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม ซึ่งต้องร่วมมือกันปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลง”

พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า ช่องว่างทางการตลาด คือ ผู้ประกอบการค้าปลีกออนไลน์ที่เริ่มเข้ามาแล้วยังไม่มีโปรแกรมส่วนลดที่มีนัยสำคัญหรือเชิงลึก ซึ่งต่างกับร้านจริงมากนัก

สำหรับผู้เล่นที่เริ่มเข้ามาบุกเบิกและเป็นที่รู้จักเช่น ลาซาด้า โดยร็อคเก็ต อินเทอร์เน็ต อาลีบาบา ยักษ์อีคอมเมิร์ซจีน รวมถึงผู้ให้บริการยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น ราคูเทน

ผลสำรวจล่าสุดระบุว่า จากปัจจุบันที่การชอปปิงออนไลน์ในอาเซียนมีสัดส่วนอยู่เพียง 0.2% ของมูลค่าตลาดค้าปลีกทั้งหมด แต่หากต่อไปเพิ่มขึ้นถึง 5% มูลค่าจะพุ่งขึ้นไปถึง 21,800 ล้านดอลลาร์ เทียบในเอเชียด้วยกันตลาดใหญ่อย่างจีน ขณะนี้มีสัดส่วนแล้ว 8%

เขากล่าวต่อว่า สถานการณ์ตลาดภูมิภาคอาเซียนเทียบได้กับตลาดจีนช่วงปี 2549-2551 ที่สัดส่วนการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าจากปัจจัยที่ผู้บริโภคเริ่มนิยมใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ ขณะที่ผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างกระแส คือ ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซ

นายแมกไกวร์ ประเมินว่า ในความเป็นจริงประชากรเน็ตของอาเซียนปัจจุบันน่าจะมีอยู่ถึง 199 ล้านราย นับว่าสูงกว่าที่บริษัทวิจัยต่างๆ ประเมินไว้ ปีที่ผ่านมาบริษัทวิจัยคอมสกอร์ คาดว่า จำนวนมีอยู่ประมาณ 62 ล้านราย

สำหรับ ความนิยมการเข้าใช้งาน ผลสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคโดยเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงบิ๊กดาต้า เก็บข้อมูลจากเว็บไซต์ค้าปลีกจำนวน 10,000 เว็บที่ได้ความนิยมสูงสุดชี้ว่า ผู้บริโภคนิยมเข้าชมเว็บที่บริการอีคอมเมิร์ซมากกว่าเว็บของห้างค้าปลีกดั้งเดิม ซึ่งมีสัดส่วนการเข้าชมเพียง 2.4%

พร้อมระบุว่า ภายใน 3 ปี หรือปี 2560 ประชากรที่ออนไลน์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเติบโต 48% กลายเป็น 294 ล้านราย จากปัจจุบันที่สัดส่วนการเข้าอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ 32%


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140715/593200/อีคอมเมิร์ซอาเซียนบูม-3ปีคนใช้เน็ตแตะ-48.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.