Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

11 สิงหาคม 2557 บริษัทวิจัย Vanson Bouene สำรวจระบุ มูลค่าของการใช้แอปพลิเคชั่น(Application Economy) เมื่อ 2 ปีที่แล้ว มีเพียง 53,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่อีก 2 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่าถึง 143,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ประเด็นหลัก



มูลค่าของการใช้แอปพลิเคชั่น(Application Economy) เมื่อ 2 ปีที่แล้ว มีเพียง 53,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่อีก 2 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่าถึง 143,000 ล้านเหรียญสหรัฐ "สุทัศน์ วงศ์วิเศษกุล" ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซีเอ โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่าความสามารถในการเข้าถึงสมาร์ทดีไวซ์ของคนไทยเพิ่มขึ้น ทำให้ยอดผู้ใช้สมาร์ทโฟนปัจจุบันมีกว่า 20 ล้านคน เพิ่มจากปีที่แล้วที่มีเพียง 15.3 ล้านคน ส่งผลให้การพัฒนาแอปพลิเคชั่นในไทยเพิ่มขึ้นจากที่เคยเติบโต 40% เมื่อปี 2555 เพิ่มเป็น 57% ในปีที่แล้ว คาดว่ามูลค่าตลาดรวมทั้งโมบายและแอปพลิเคชั่นจะสูงกว่า 484 ล้านเหรียญสหรัฐ


______________________________




"ซีเอ" แนะธุรกิจปรับตัว รับยุค "โมบายแอปพลิเคชั่น"



ปัจจุบันสมาร์ทโฟนกลายเป็นสิ่งสามัญในมือผู้บริโภค การใช้แอปพลิเคชั่นเพื่อความบันเทิงเป็นเรื่องปกติ และเป็นโอกาสที่ธุรกิจไม่ควรละเลย "อิปิน ฉั่ว" รองประธาน ผู้รับผิดชอบภูมิภาคเอเชียเซาท์ บริษัท ซีเอ เทคโนโลยี เปิดเผยว่า บริษัทวิจัย Vanson Bouene สำรวจผู้บริหารไอทีระดับสูงกว่า 1,300 ราย จาก 6 ประเทศในเอเชีย และอีก 15 ประเทศทั่วโลก ระหว่าง พ.ค.-ก.ค. 2556

พบว่าผู้บริหารระดับสูงของบริษัทในเอเชียให้ความสำคัญกับ "ไอที" ในเชิงยุทธศาสตร์องค์กรถือเป็นพื้นฐานสำคัญของธุรกิจถึง 89% สูงกว่าผู้บริหารจากยุโรปที่ 78% และสหรัฐอเมริกา 51% โดยมองว่าไอทีช่วยสร้างประสบการณ์และความพึงพอใจให้ลูกค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ด้านสินค้าและบริการ

"กระแสไอทีในเอเชียจะเปลี่ยนไปจากเดิม เงินลงทุนด้านไอที 50% ใช้เพื่อวางระบบที่เหลือใช้บำรุงรักษา แต่ในอีก 3 ปีข้างหน้า 60% เป็นการนำไอทีไปสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางธุรกิจ"

ด้วยราคาของเทคโนโลยีที่ถูกลง จึงเห็นการใช้แอปพลิเคชั่นเป็นเครื่องมือสำคัญในภาคธุรกิจ แต่จากการสำรวจพบว่าตัวเลขการใช้แอปบนสมาร์ทโฟนโตขึ้นทุกปี สวนทางจำนวนเว็บแอปที่คงที่ การพัฒนาแอปพลิเคชั่นจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างไรก็ตาม โมบายแอปพลิเคชั่นกับเว็บแอปพลิเคชั่นมีความแตกต่างกัน 3 ประการ คือความสะดวกในการเข้าถึง

การระบุพื้นที่ทำให้ทราบว่าผู้ใช้อยู่ที่ไหน และการพิสูจน์ตัวตนได้ ซึ่งโมบายแอปพลิเคชั่นเหนือกว่าทั้ง 3 ด้าน เทรนด์การพัฒนาแอปพลิเคชั่นจึงมุ่งไปที่โมบายแอป และในสมาร์ทโฟน 1 เครื่องจะพบว่ามีแอปพลิเคชั่นอย่างน้อย 26 แอป และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากการนำแอปเข้ามาเกี่ยวข้องในทุกกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นแล้ว 2.3 ล้านแอป คาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า ผู้บริโภคแต่ละคนจะมีสมาร์ทดีไวซ์ถึง 5 ชิ้น อาทิ สมาร์ทโฟน แท็บเลต สมาร์ทวอช หรืออุปกรณ์สวมพกพา (Wearable Device) ทำให้มีจำนวนผู้ใช้แอปพลิเคชั่นเพิ่มเป็น 4.4 พันล้านคน

"สิ่งที่ต้องมองคือไม่ว่าธุรกิจใด ๆ ก็ต้องพัฒนาการให้บริการผ่านแอปพลิเคชั่นเพิ่ม เพราะทำให้แข่งขันกับคู่แข่งได้ ถือเป็นเรื่องที่ท้าทาย ถ้าพัฒนาระบบหลังบ้านให้เชื่อมต่อระหว่างบริษัทกันได้จะยิ่งทำให้ผู้ใช้สะดวกขึ้น"

มูลค่าของการใช้แอปพลิเคชั่น(Application Economy) เมื่อ 2 ปีที่แล้ว มีเพียง 53,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่อีก 2 ปีข้างหน้าจะมีมูลค่าถึง 143,000 ล้านเหรียญสหรัฐ "สุทัศน์ วงศ์วิเศษกุล" ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ซีเอ โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่าความสามารถในการเข้าถึงสมาร์ทดีไวซ์ของคนไทยเพิ่มขึ้น ทำให้ยอดผู้ใช้สมาร์ทโฟนปัจจุบันมีกว่า 20 ล้านคน เพิ่มจากปีที่แล้วที่มีเพียง 15.3 ล้านคน ส่งผลให้การพัฒนาแอปพลิเคชั่นในไทยเพิ่มขึ้นจากที่เคยเติบโต 40% เมื่อปี 2555 เพิ่มเป็น 57% ในปีที่แล้ว คาดว่ามูลค่าตลาดรวมทั้งโมบายและแอปพลิเคชั่นจะสูงกว่า 484 ล้านเหรียญสหรัฐ

ในกลุ่มของบริษัทขนาดใหญ่ในไทยเห็นการใช้แอปพลิเคชั่นมากขึ้นทั้งในกลุ่มธนาคารและค้าปลีกที่ต้องวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ ทำให้การลงทุนด้านนี้มีโอกาสเติบโตสูงขึ้น

"การสร้างเครื่องมือสำหรับการพัฒนาแอปพลิเคชั่นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้นักพัฒนาแอปทำงานได้เร็วขึ้น ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับภูมิภาคนี้ แต่ซีเอพร้อมที่จะนำเทคโนโลยี Devops เข้ามาเจาะตลาด พร้อมเข้าไปช่วยลูกค้าวางแผน พัฒนา การสร้างความปลอดภัย และการบริหารจัดการ เพื่อให้นำไอทีไปต่อยอดธุรกิจได้"



http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1407404022

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.