Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

23 กันยายน 2557 PwC.บุญเลิศ ระบุ ภายในปี 2568-2573 ธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิม (Traditional bank) ที่เปิดให้ทำธุรกรรมผ่านสาขาเป็นหลักอาจหายไปจากระบบ รวมถึงการเข้ามาของธุรกิจสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ยังกลายเป็นความท้าทาย





ประเด็นหลัก


นายบุญเลิศ กมลชนกกุล หุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชี และหัวหน้าสายงานธุรกิจการเงินและการธนาคาร บริษัท PwC ประเทศไทย (ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส) เปิดเผยถึงผลสำรวจ The Future Shape of Banking: Time for reformation of Banking and bank? ว่า ภายในปี 2568-2573 ธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิม (Traditional bank) ที่เปิดให้ทำธุรกรรมผ่านสาขาเป็นหลักอาจหายไปจากระบบ เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป จนกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทางของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในอนาคต นอกจากนี้อุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรม (Barriers to entry) ในหมู่ผู้ประกอบการ Non-banks ยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

“อุปสรรคสำคัญของกลุ่มแบงก์ในโลกอนาคตอยู่ที่การปรับตัว โดยมี 3 ปัจจัยเป็นตัวกำหนด ได้แก่ เทคโนโลยี พฤติกรรมลูกค้า และกฎระเบียบข้อบังคับ นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Banking) และออนไลน์แพลตฟอร์มที่ทำให้ปริมาณการใช้บริการผ่านสาขาของธนาคารในปัจจุบันค่อยๆลดลง รวมถึงการเข้ามาของธุรกิจสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ยังกลายเป็นความท้าทายสำคัญที่ทำให้ แบงก์พาณิชย์ดั้งเดิมต้องเร่งพัฒนาตัวเองหากต้องการอยู่รอด”


______________________________




คาด 10 ปีสาขาแบงก์สูญพันธุ์!


เหตุคนรุ่นใหม่หันใช้บริการโมบายแบงกิ้ง

นายบุญเลิศ กมลชนกกุล หุ้นส่วนสายงานตรวจสอบบัญชี และหัวหน้าสายงานธุรกิจการเงินและการธนาคาร บริษัท PwC ประเทศไทย (ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส) เปิดเผยถึงผลสำรวจ The Future Shape of Banking: Time for reformation of Banking and bank? ว่า ภายในปี 2568-2573 ธนาคารพาณิชย์แบบดั้งเดิม (Traditional bank) ที่เปิดให้ทำธุรกรรมผ่านสาขาเป็นหลักอาจหายไปจากระบบ เนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป จนกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดทิศทางของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในอนาคต นอกจากนี้อุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรม (Barriers to entry) ในหมู่ผู้ประกอบการ Non-banks ยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

“อุปสรรคสำคัญของกลุ่มแบงก์ในโลกอนาคตอยู่ที่การปรับตัว โดยมี 3 ปัจจัยเป็นตัวกำหนด ได้แก่ เทคโนโลยี พฤติกรรมลูกค้า และกฎระเบียบข้อบังคับ นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Banking) และออนไลน์แพลตฟอร์มที่ทำให้ปริมาณการใช้บริการผ่านสาขาของธนาคารในปัจจุบันค่อยๆลดลง รวมถึงการเข้ามาของธุรกิจสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ยังกลายเป็นความท้าทายสำคัญที่ทำให้ แบงก์พาณิชย์ดั้งเดิมต้องเร่งพัฒนาตัวเองหากต้องการอยู่รอด”

ทั้งนี้ จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าปัจจุบันประชากรไทยเข้าถึงอินเตอร์เน็ตเพียง 18.3 ล้านคน หรือ 28% ของประชากรทั้งหมด ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน อาทิ สิงคโปร์ ที่ประชากรเกินครึ่งเข้าถึงอินเตอร์เน็ตทำให้การทำธุรกรรมออนไลน์เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตามจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนของไทยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยข้อมูลของเทเลเนอร์กรุ๊ปพบว่า ปัจจุบันคนไทยมี อัตราการใช้สมาร์ทโฟน 36% แต่ยิ่งไทยเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคของเจ็นวาย (Generation Y) และเป็นคนรุ่นใหม่ที่สนใจเทคโนโลยี หลงใหลโมบายล์แอพพลิเคชั่นจึงเชื่อว่า อนาคตการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือของไทยจะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มีสัดส่วนเพียง 6%.


http://www.thairath.co.th/content/452045

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.